ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 7 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 121 - 140 จากข้อมูลทั้งหมด 260 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
121 | รายงานผลการเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2564 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 | กค. | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
ปีบัญชี ๒๕๖๔ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนได้นำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียน จำนวน
๓,๑๐๐.๐๘ ล้านบาท ส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินเรียบร้อยแล้ว
ตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
122 | ร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีประจำปีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. .... | คค. | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีประจำปีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการลดอัตราภาษีประจำปีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวที่จดทะเบียนระหว่างวันที่
๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๘ ลงร้อยละ ๘๐ ของอัตราที่กำหนดตาม (๑๑)
ของอัตราภาษีประจำปีท้ายพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์
(ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นระยะเวลา ๑ ปี
นับแต่วันที่จดทะเบียนเพื่อเป็นการจูงใจให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้กรมการขนส่งทางบกกำหนดคำนิยามของรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ภายใต้ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับมาตรการอื่น
ๆ ของภาครัฐ ไปประกอบการตรวจพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
123 | โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re - Open ธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรม | กค. | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
124 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2565 - 2570 | อว. | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๖๕-๒๕๗๐ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำร่างแผนปฏิบัติการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยร่างแผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์
“ประเทศไทยเกิดระบบนิเวศที่ครบถ้วนและเชื่อมโยงแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในปี พ.ศ. ๒๕๗๐”
และวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
รวมทั้งเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคการศึกษาที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนและดำเนินงานที่สอดคล้องกัน ประกอบด้วย ๕
ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม
กฎหมายและกฎระเบียบสำหรับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (๒)
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(๓) การเพิ่มศักยภาพบุคลากรและการพัฒนาการศึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์ (๔)
การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ (๕)
การส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ๒.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงมหาดไทย เช่น
ควรมีการทดลองร่วมกับภาคเอกชนในการนำเทคโนโลยี AI
มาใช้ในลักษณะ Sandbox เพิ่มเติมจากการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างครอบคลุมในทุกมิติ
ซึ่งจะทำให้สามารถเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ได้
และควรส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทนำในการขับเคลื่อนและพัฒนา AI โดยภาครัฐทำหน้าที่อำนวยความสะดวกและสนับสนุนการดำเนินงานของภาคส่วนอื่น ๆ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
125 | การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 3 | กค. | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
126 | การขอเพิ่มวงเงินกู้ระยะสั้นแบบ Credit Line ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย | พน. | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพิ่มวงเงินกู้ระยะสั้นแบบ Credit Line จากวงเงินเดิม ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็น ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท จนถึงวันที่ ๑๑
กันยายน ๒๕๖๗ ซึ่งเป็นวันที่วงเงินกู้ระยะสั้นแบบ Credit Line ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๔
จะครบกำหนดระยะเวลา ๓ ปี ภายใต้เงื่อนไขเดิม ประกอบด้วย ผู้เบิกเกินบัญชี
ตั๋วสัญญาใช้เงิน การทำ Trust Receipt (T/R) และการทำสัญญาเงินกู้เมื่อทวงถาม
(Call Loan)
โดยจะพิจารณาทำสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงินที่เสนอรูปแบบที่มีต้นทุนต่ำที่สุดตามอัตราดอกเบี้ยตลาด
โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยจากการกู้เงินดังกล่าว
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพิจารณากู้เงินตามความจำเป็นและวางแผนการบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และการกู้ยืมเงินดังกล่าวจะต้องได้รับอนุมัติไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะก่อนเริ่มดำเนินการ
ให้ภาครัฐดำเนินมาตรการอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น
การกำหนดมาตรการช่วยเหลือตามกลุ่มเป้าหมาย
การสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนในประเด็นสถานการณ์ราคาพลังงานโลก ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
127 | การจัดทำเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 (ร่างพระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 พ.ศ. ....) | กค. | 12/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันประเสริฐยิ่งของราษฎร
ทรงเป็นศูนย์รวมของราษฎรทั่วแผ่นดิน และทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ
เพื่อประโยชน์สุขของราษฎร
และความอุดมสมบูรณ์แก่แผ่นดินตลอดมา ตลอดจนการส่งเสริมศิลปาชีพในงานหัตถศิลป์หลากหลายแขนง
ก่อให้เกิดการทำนุบำรุง สืบทอดงานศิลปะอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องจนศิลปะไทยอันเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของไทยสร้างชื่อเสียงไปยังนานาประเทศทั่วโลก
และเป็นการยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
128 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2565 และครั้งที่ 18/2565 | นร.11 สศช | 12/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
129 | หลักการในการปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 | นร.12 | 12/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘
โดยให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการพิจารณาให้สอดคล้องกับเรื่องการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาการอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘ และรับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
และธนาคารแห่งประเทศไทย ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนก่อนดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
130 | รัฐบาลสาธารณรัฐเบลารุสเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐเบลารุสประจำประเทศไทย (นายวลาดีมีร์ บาราวีคอฟ) | กต. | 05/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายวลาดีมีร์ บาราวีคอฟ (Mr. Uladzimir Baravikou) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐเบลารุสประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สืบแทน นายวลาดีมีร์ โกชิน
(Mr. Vladimir Goshin) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
131 | ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพอากาศ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กห. | 05/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวกขึ้น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ
โดยมีประวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมกฎหมายและกฎในเรื่องเดียวกัน เกี่ยวข้อง
หรือเกี่ยวเนื่องกัน ไว้ในแหล่งเดียวกัน เข้าไว้ด้วยกัน จัดหมวดหมู่บทบัญญัติส่วนต่าง ๆ
ให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบและเป็นเหตุผล เป็นผล โดยไม่มีการแก้ไขหลักการ
เนื้อความ หรือสาระสำคัญเดิม และใช้บังคับแทนกฎหมาย และกฎที่นำมารวบนั้น
เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง
ซึ่งเป็นร่างกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ
ตามนัยมาตรา ๒๗๐ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป
โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่า
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
132 | การขออนุมัติแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570 | มท. | 05/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
133 | ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 7 | กต. | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
ครั้งที่ ๗ จำนวน ๕ ฉบับ ซึ่งเป็นเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมฯ
ที่จะจัดขึ้นในวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ที่เมืองพุกาม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์ฯ
ตามที่ประเทศสมาชิกมีฉันทามติ โดยร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ทั้ง ๕ ฉบับ ประกอบด้วย (๑) แถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
ครั้งที่ ๗ (๒) แถลงการณ์ณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ
ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (๓) แถลงการณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร
ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (๔) แถลงการณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านศุลกากรเพื่อการส่งเสริมการค้าและการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร
ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง และ (๕)
แถลงการณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างอารยธรรม
ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในระดับรัฐมนตรีระหว่างประเทศสมาชิก
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ การบริหารจัดการภัยพิบัติ
การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาระบบศุลกากร
และการร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
134 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2565 เรื่อง (ร่าง) แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2566 - 2570 | สกพอ. | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่
๗ มกราคม ๒๕๖๕ ที่ได้เห็นชอบ (ร่าง)
แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(EEC) ยกระดับระบบการขนส่งให้เชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อทั้งทางถนน
ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งและโลจิสติกส์
และสนับสนุนการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะของประชาชนในพื้นที่ EEC รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าและประปา
เพื่อรองรับการยกระดับขีดความสามารถของพื้นที่ EEC ให้สามารถรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เมืองใหม่ และกิจกรรมการท่องเที่ยว
ประกอบด้วยโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค จำนวน ๗๗ โครงการ
กรอบวงเงินรวม ๓๓๗,๗๙๗.๐๗ ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนโดยภาครัฐประมาณร้อยละ ๕๓
และการลงทุนโดยภาคเอกชน/การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ประมาณร้อยละ ๔๗ โดยหน่วยงานรับผิดชอบโครงการนั้น ๆ
จะดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งงบประมาณจากแหล่งเงินตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ในฐานะหน่วยงานเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ๒.
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงบประมาณ เช่น (๑) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานภายใต้
แผนปฏิบัติการฯ เห็นควรให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และ (๒) การพัฒนาโครงการต่าง ๆ ตามแผนปฏิบัติการฯ
เห็นควรดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ออกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
135 | การกำหนดสินค้าและบริการควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 | พณ. | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการกำหนดสินค้าและบริการควบคุม ปี ๒๕๖๕ จำนวน ๕๑
รายการ จำแนกเป็น ๔๖ สินค้า ๕ บริการ
ตามมติคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
136 | ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารฯ สายเฉลิมรัชมงคล สายฉลองรัชธรรม และอัตราค่าโดยสารร่วม รวม 3 ฉบับ | คค. | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรายงานว่า
เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระประชาชนจากผลกระทบทางเศรษฐกิจในปัจจุบันตามนโยบายรัฐบาลกระทรวงคมนาคมจะไปเจรจากับ
บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) เพื่อชะลอการใช้อัตราค่าโดยสารใหม่สายฉลองรัชธรรม
(สายสีน้ำเงิน) ออกไปก่อน โดยให้คงอัตราค่าโดยสารไว้ราคาเดิมจนถึงวันที่ ๓๑
ธันวาคม ๒๕๖๕ และจะใช้อัตราค่าโดยสารใหม่ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ๒. เห็นชอบในหลักการ ๒.๑ ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารการรถไฟฟ้ามหานคร
สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารตามวิธีการในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
โดยอัตราค่าโดยสารใหม่จะมีอัตราเริ่มต้นที่ ๑๗ บาท สูงสุด ๔๓ บาท โดยสถานีที่ ๖ , ๙,
๑๑ และ ๑๒ ขึ้นไป จะมีอัตราค่าโดยสารเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ๑ บาท
อีกทั้งยังกำหนดให้คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย อาจประกาศกำหนดผลิตภัณฑ์ของตั๋วโดยสาร
เพื่อส่งเสริมการใช้บริการรถไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารเพื่อสนับสนุนกิจกรรมตามนโยบายของรัฐบาล
หรือเพื่อประโยชน์อื่นใด ๒.๒
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร
วิธีการจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารการรถไฟฟ้ามหานคร
สายฉลองรัชธรรม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับให้สอดคล้องกับรถไฟฟ้ามหานคร
สายฉลองรัชมงคล โดยไม่มีการปรับอัตราค่าโดยสาร ๒.๓
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารใหม่ตามวิธีการในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
และกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วมให้ครอบคลุมรถไฟฟ้าสายอื่น รวม ๓ ฉบับ
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยให้กระทรวงคมนาคมแก้ไขร่างข้อบังคับตามข้อ ๒.๓
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
เพื่อให้การดำเนินการตามร่างข้อบังคับดังกล่าวเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
ควรมีมาตรการส่งเสริมการใช้บริการ เช่น การจัดโปรโมชั่น ตั๋วรายเดือน ตั๋วเป็นชุด
พิจารณากำหนดในรูปแบบการให้ส่วนลดค่าโดยสารและยกเลิกการจัดสวัสดิการรถรับ-ส่งพนักงานควบคู่กันไปด้วย
พร้อมทั้งเร่งพิจารณาจัดทำแผนเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร
สายฉลองรัชธรรม ภายใต้ขอบเขตและอำนาจหน้าที่ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
137 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในกิจการศูนย์ข้อมูล (Data Centre)] | กค. | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
[มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในกิจการศูนย์ข้อมูล (Data Centre)]
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบกิจการศูนย์ข้อมูล (Data
Centre)
เพื่อการให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงความจำเป็น
และประโยชน์ที่จะได้รับ ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
และพิจารณากำหนดระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในกิจการศูนย์ข้อมูล(Data Centre)
รวมทั้งมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบติดตามประเมินผลการดำเนินมาตรการและพิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขของมาตรการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขความจำเป็นในแต่ละช่วงเวลา
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
138 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3/2565 | นร.04 | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
(กตน.) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ผ่านระบบการประชุมทางไกล และมอบหมายให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุมฯ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยผลการประชุมฯ ประกอบด้วย (๑) การบูรณาการปราบปรามมิจฉาชีพและอาชญากรรมออนไลน์
(เว็บพนันออนไลน์/แก็งคอลเซ็นเตอร์) (๒)
การช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยและบุคคลากรภาครัฐ และ (๓) รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี
และงบประมาณที่เกินกว่า ๑,๐๐๐
ล้านบาทขึ้นไป
ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ
และสำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ควรให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาและปราบปรามมิจฉาชีพและอาชญากรรมออนไลน์อย่างจริงจัง
พร้อมสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประชาชนให้รู้เท่าทันมิจฉาชีพไม่ให้ตกเป็นเหยื่อถูกหลอกลวง
สูญเสียทรัพย์ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
139 | หนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฮังการีเพื่อการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ ในการได้มาซึ่งที่ดิน อาคาร และห้องชุด สำหรับใช้เป็นที่พำนักและที่ทำการของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลในดินแดนของแต่ละฝ่าย | กต. | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนที่เกี่ยวข้องในการซื้อขายที่ดิน
อาคาร และห้องชุด
เพื่อใช้เป็นที่พำนักและที่ทำการของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลในดินแดนของแต่ละฝ่าย
ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฮังการีบนหลักประติบัติต่างตอบแทน และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามหนังสือแลกเปลี่ยนฯ
โดยร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ระบุเกี่ยวกับ (๑)
ให้รัฐบาลแต่ละฝ่ายมีสิทธิที่จะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อาคาร
และห้องชุดในดินแดนของอีกฝ่าย และ (๒) แต่ละฝ่ายจะได้รับการยกเว้นภาษี ค่าบำรุง
และค่าธรรมเนียมการโอนทั้งปวง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมึความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณที่เห็นว่า
หากการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคตก็ต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ด้วย และหากมีค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เห็นควรให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
140 | การเสนอความเห็นการขอจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน | กค. | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบผลการพิจารณาขอจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าตามร่างพระราชบัญญัติกองทุนช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า
พ.ศ. .... โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับช่วยเหลือ เยียวยา
และบรรเทาผู้ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าในภาคการผลิตทั้งเกษตร
อุตสาหกรรม และภาคบริการ
ตลอดจนพัฒนาศักยภาพการแข่งขันให้สามารถปรับตัวและใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้าได้
ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๔
เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ และครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๔
มีมติเห็นชอบในหลักการการขอจัดตั้งกองทุนฯ
และให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศรับข้อสังเกตของที่ประชุมไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ได้แก่ การดำเนินการในระยะแรกของกองทุนฯ
รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณเป็นทุนประเดิมครั้งแรก จำนวน ๑,๐๐๐ ล้านบาท และกองทุนฯ
ต้องจัดทำหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ชัดเจน ตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเสนอ ๒.
ให้กระทรวงพาณิชย์ (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน เช่น (๑)
ควรให้ความช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันอย่างยั่งยืนสำหรับประกอบการต่อไป
(๒)
ควรพิจารณาให้ความช่วยเหลือที่มิให้เกิดความซ้ำซ้อนกับกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงกองทุนอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบันของหน่วยงานต่าง ๆ
(๓) ควรทบทวนสัดส่วนของวงเงินทุนประเดิม
เนื่องจากเป็นวงเงินที่สูงและเป็นการกำหนดที่ไม่สอดคล้องกับหลักการและวิธีการจัดทำงบประมาณประจำปีและวินัยการเงินการคลังของประเทศ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |