ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 5 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 81 - 100 จากข้อมูลทั้งหมด 260 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
81 | เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ จังหวัด ... | ปช. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบกลไกผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบไปสู่การปฏิบัติงานในระดับจังหวัด
และให้กระทรวงมหาดไทยรับข้อเสนอของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เกี่ยวกับร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ จังหวัด ... และให้กระทรวงมหาดไทย
โดยผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
เพื่อดำเนินการให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
และเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ไปพิจารณาดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
82 | ขออนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามแนวทางการบริหารงบประมาณรายจ่ายบุคลากรภายใต้แผนงานบุคลากรภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | สธ. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนทั้งสิ้น
๔๘๖,๐๘๖,๘๐๐ บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ ภายใต้แผนงานบุคลากรภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
83 | แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ | นร.10 | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
84 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ครั้งที่ 1/2565 | นร.11 สศช | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
(กพศ.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ และเห็นชอบการกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่จังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปางเป็นระเบียงฯ ภาคเหนือ หรือ Northern Economic Corridor : NEC-Creative LANNA (๒) ให้พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี
และจังหวัดหนองคาย เป็นระเบียงฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ Northeastern
Economic Corridor : NeEC-Bioeconomy (๓) ให้พื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี เป็นระเบียงฯ
ภาคกลาง-ตะวันตก หรือ Central-Western Economic Corridor : CWEC และ (๔) ให้พื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นระเบียงฯ ภาคใต้ หรือ Southern Economic Corridor
: SEC ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เช่น การกำหนดพื้นที่ระเบียงฯ ๔ ภาค
และพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการพัฒนาอื่น
ๆ
ควรคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาควบคู่กับความสามารถในการรองรับและจำกัดของพื้นที่
ควรมีการพิจารณาเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์กับพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และควรมีมาตรการทางภาษีสำหรับผู้ที่ไม่อยู่ในข่ายได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
85 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระองค์ไชยานุชิต เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน พ.ศ. .... จำนวน 4 ฉบับ | กษ. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานคลองบึงหนามแดง
เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน พ.ศ. ....
ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานคลองสอง
เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน พ.ศ. ....
ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานคลองรางปีกนก เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน
พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานคลองจรเข้น้อย
เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน พ.ศ. .... จำนวน ๔ ฉบับดังกล่าว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ทางน้ำชลประทานคลองบึงหนามแดง
ทางน้ำชลประทานคลองสอง ทางน้ำชลประทานคลองรางปีกนก และทางน้ำชลประทานคลองจรเข้น้อย
ในท้องที่ตามร่างกฎกระทรวง เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทานจากผู้ใช้น้ำที่นำน้ำไปใช้เพื่อกิจการโรงงาน
การประปาหรือกิจการอื่นนอกจากภาคเกษตรกรรม เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลปริมาณน้ำ
และให้การใช้น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
86 | มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 | ทส. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕
ประกอบด้วย (๑) รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี ๒๕๖๔ (๒) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย
ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (๓) ร่างแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ.
๒๕๖๕-๒๕๗๐ (๔) ร่างกรอบทิศทางการสนับสนุนเงินกองทุนสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ตามมาตรา ๒๓ (๔) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๓๕ ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ (๕)
การกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตไฟฟ้า
(ยกเว้นโรงงานผลิตไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง) และ (๖)
การกำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
87 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 26/2565 | นร.11 สศช | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
88 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายวราวุธ ภู่อภิญญา ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | กต. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๓ ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ
สับเปลี่ยนหมุนเวียน และตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ข้าราชการตำแหน่งลำดับที่ ๑ และ ๒
ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ และข้าราชการลำดับที่ ๓ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. นายวราวุธ ภู่อภิญญา ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน
นิวซีแลนด์ ๒. นายสรยุทธ ชาสมบัติ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
89 | ร่างแผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติ | ทส. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างแผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้และทรัพยากรป่าไม้
ตลอดจนพัฒนาระบบบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ
มีเป้าหมายคือเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ของประเทศอย่างน้อยร้อยละ ๔๐ ของพื้นที่ประเทศ
ประกอบด้วย ป่าอนุรักษ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ป่าเศรษฐกิจและป่าชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ
๒๕ ระยะเวลาของแผนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐ โดยร่างแผนแม่บทฯ ได้กำหนดมาตรการไว้ ๓
ด้าน ตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ได้แก่ ด้านการจัดการป่าไม้
ด้านการใช้ประโยชน์ผลิตผลและการบริการจากป่าไม้และอุตสาหกรรมป่าไม้
และด้านการพัฒนาระบบบริหารและองค์กรเกี่ยวกับการป่าไม้ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น
ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรใช้ประโยชน์จากการจัดทำและการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ ต่อยอดมิติเศรษฐกิจด้านภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของไทยที่ได้มาตรฐาน
มีธรรมาภิบาล ตอบโจทย์ความยั่งยืนทั้งห่วงโซ่อุปทาน
เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันในภาวะตลาดโลกที่มีเงื่อนไขและการแข่งขันสูงในปัจจุบัน
การดำเนินบทบาทตามยุทธศาสตร์ต่าง ๆ
ควรกำหนดหน่วยงานหรือคณะบุคคลผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และเหมาะสม
รวมถึงควรบูรณาการฐานข้อมูลสารสนเทศในภาพรวมทั้งในระดับประเทศ และระดับพื้นที่
ตลอดจนการดำเนินการระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้ประสานสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
ควรเพิ่มการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในประเด็นเรื่องของ
“การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” เพิ่มเติมนอกจากการอนุรักษ์
การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน ในส่วนที่ ๕ ข้อ ๕.๑ ประการที่ ๖
และควรคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่ครอบครองและใช้ประโยชน์อยู่เดิม
โดยอาจมีมาตรการเยียวยาหรือช่วยเหลือที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อภาคประชาชน ในส่วนที่
๕ ข้อ ๕.๑ ประการที่ ๙ ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม
โดยคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้แต่ละประเภทให้มีความเหมาะสม
ชัดเจน สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
และเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
แล้วให้จัดทำเป็นคู่มือการปฏิบัติงาน (Handbook)
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมในการขอทบทวน
ปรับปรุงหรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องที่อาจมีความซ้ำซ้อนหรือไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
90 | โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม : เมืองเก่าสงขลา (Culture Smart City : Songkhla Old Town) | วธ. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม
: เมืองเก่าสงขลา (Culture Smart City : Songkhla Old Town) ในนามรัฐบาล โดยวงเงินงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบฯ
ปี พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ เป็นจำนวน ๖๐ ล้านบาท ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
สำหรับค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และในปีต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงวัฒนธรรม
(กรมส่งเสริมวัฒนธรรม) ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงวัฒนธรรม (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม)
รับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการควรบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่น
ในการขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมวัฒนธรรมในพื้นที่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ประกอบกับโครงการเป็นการใช้งบประมาณผูกพันระยะยาว ๕ ปี
เห็นควรให้มีการติดตามประเมินผลและทบทวนถึงปัญหาอุปสรรคอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ
และให้มีการจัดทำบทเรียนกลไกความสำเร็จในการพัฒนาให้เกิดเป็นเมืองต้นแบบ
เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนของประเทศในภาพรวมด้านการพัฒนาพื้นที่เชิงวัฒนธรรมที่เชื่อมกับการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
บนฐานการเชื่อมต่อการทำงานกับกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อีกทั้ง
ในส่วนของการผลักดันประเด็นเรื่อง soft power ของกระทรวงวัฒนธรรมควรมีการจัดทำแผนในลักษณะบูรณาการทุกมิติร่วมกันเป็นภาพใหญ่ของประเทศ
โดยกำหนดบทบาทของแต่ละหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน
บนพื้นฐานของการสร้างความเข้าใจร่วมกันถึงความหมายและขอบเขตของการใช้ soft
power ในมิติการพัฒนาประเทศ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
91 | มาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา | ป.ย.ป. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบมาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
ในประเด็นที่เกี่ยวกับการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของเยาวชนไทยด้วยมาตรการสนับสนุนอินเทอร์เน็ตและมาตรการสนับสนุนคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา
เพื่อการศึกษาซึ่งจะได้ดำเนินการในกลุ่มนักเรียนที่มีฐานะยากจนและยากจนพิเศษตามเกณฑ์ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ในระดับชั้น ป.๑-ม.๖ และเทียบเท่า ตามที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ยุทธศาสตร์ และการสร้างความสามัคคีปรองดองเสนอ ๒.
ให้สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง กระทรวงการคลัง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับมาตรการตามข้อ ๑
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โดยให้รับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงบประมาณไปประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย โดยให้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาความซ้ำซ้อนในการดำเนินการ
เกิดการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและสามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาได้อย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ๓.
ให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งรัดการส่งเสริม พัฒนา
และฝึกอบรมครูผู้สอนให้มีความรู้ความสามารถในการนำอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มศักยภาพ
รวมทั้งการพัฒนาทักษะให้ครูผู้สอนสามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
92 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2537 เรื่อง การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล | ทส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๕ มกราคม ๒๕๓๗ เรื่อง การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ
จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์
กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี
และไม้ตาล จากเดิม “เห็นควรให้ความเห็นชอบในหลักการอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย)
เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส
สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม
มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
โดยให้ทดลองดำเนินการในบางพื้นที่ก่อน
เช่นเดียวกับการแปรรูปไม้ยางพาราตามหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒
พฤษภาคม ๒๕๒๔ ทั้งนี้ ในการอนุญาตให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันพิจารณาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอนุญาตและมาตรการตรวจสอบควบคุมเช่นเดียวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ มกราคม ๒๕๓๒” เป็น “อนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้
(โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์
กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี
ไม้ตาล และไม้ผลทุกชนิดที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน
โดยมีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และมาตรการตรวจสอบควบคุมตามที่คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้กำหนด”
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการเพิ่มไม้ผลทุกชนิดที่ปลูกขึ้นอยู่ในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ต้องมีกฎหมาย ระเบียบ มาตรการ หรือเงื่อนไขกำชับไว้ชัดเจน
ในการนำวัตถุดิบป้อนโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับของโรงงาน
ให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรี ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และควรมีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ได้จากอุตสาหกรรมไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ
ให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้มีที่มาจากการตัดไม้ทำลายป่า
ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
และเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้อย่างคุ้มค่า
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม
คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดมาตรการตรวจสอบที่มาของไม้ที่จะนำมาแปรรูปให้ชัดเจนและรัดกุม
เพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบตัดไม้จากป่าธรรมชาติ หรือการนำไม้ที่ได้จากที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิมาแปรรูปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
93 | การร่วมลงนาม รับรอง และให้ความเห็นชอบเอกสาร รวมถึงท่าทีในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Minister: AEM) ครั้งที่ 54 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
94 | แจ้งผลคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ.1455-1472/2558 คดีหมายเลขแดงที่ อ.418-435/2565 ระหว่างนายนิพนธ์ เซ๊ะวิเศษ กับพวกรวม 19 คน ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 1 กับพวกรวม 7 คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย | อส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
ในคดีหมายเลขดำที่ อ.๑๔๕๕-๑๔๗๒/๒๕๕๘ คดีหมายเลขแดงที่
อ.๔๑๘-๔๓๕/๒๕๖๕ ระหว่างนายนิพนธ์
เซ๊ะวิเศษ กับพวกรวม ๑๙ คน ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ ๑ กับพวกรวม
๖ คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง
คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
และความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย
ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
การที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย
พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นให้ยกฟ้องคดี ทำให้คดีนี้ถึงที่สุดแล้ว ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
95 | รายงานงบการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2546 ของการยางแห่งประเทศไทย | กษ. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานงบการเงิน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ของการยางแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย งบแสดงฐานะทางการเงิน และงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบแล้วเห็นว่างบการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินและมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ทั้งนี้ ในการรายงานครั้งต่อ ๆ ไป
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (การยางแห่งประเทศไทย)
เร่งรัดการเสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนพัฒนายางพารา
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรับรองแล้วต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็วภายในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดด้วย
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
96 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสระแก้ว และตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว พ.ศ. .... | คค. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่ตำบลสระแก้ว และตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสระแก้ว และตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว
จังหวัดสระแก้ว เพื่อสร้างและขยายทางหลวงชนบท ถนนสาย ก
ตามโครงการผังเมืองรวมสระแก้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าก่อนการก่อสร้างทางหลวงชนบททุกเส้นทาง
ควรให้ความสำคัญและตระหนักถึงแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากการก่อสร้างทางหลวงชนบทกีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ
เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการระบายน้ำไม่ทันและอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมหรืออุทกภัยต่อไปในอนาคต
หากโครงการก่อสร้างและขยายทางหลวงชนบทถนนสาย ก ตามโครงการผังเมืองรวมเมืองสระแก้ว
เป็นถนนผังเมืองรวมตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองรวม จะไม่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ
หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๒
ควรตระหนักและให้ความสำคัญต่อระยะเวลาในการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาในครั้งต่อไปด้วย
รวมทั้งควรเร่งรัดการดำเนินการสำรวจพื้นที่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งทางบกอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
97 | ขอปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียน | ศธ. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เลื่อนการพิจารณาเรื่อง การขอปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียนออกไปก่อน
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
98 | การโอนข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส) | นร. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติรับโอน นายธีระพงษ์
วงศ์ศิวะวิลาศ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ
(นักบริหารระดับสูง) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕
เป็นต้นไป ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
99 | ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อว. | 30/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสาขาวิชาเทคโนโลยี
และสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ เพิ่มระดับชั้นปริญญาโทในสาขาวิชาเทคโนโลยี
รวมทั้งกำหนดสีประจำคณะพยาบาลศาสตร์ และเปลี่ยนชื่อ “วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย” เป็น
“คณะการแพทย์บูรณาการ” ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
100 | ร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ (กลุ่มที่ 2 บทบัญญัติเกี่ยวกับการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของบริษัท) | กค. | 30/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
และร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม ๒ ฉบับ (กลุ่มที่ ๒
บทบัญญัติเกี่ยวกับการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของบริษัท) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิตและกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัยที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยกำหนดมาตรการและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ
ของบริษัทที่ดำเนินการประกอบธุรกิจประกันชีวิตและธุรกิจประกันวินาศภัย เช่น
การกำกับดูแลบริษัทประกันภัย กระบวนการในการแก้ไขปัญหาฐานะการเงินของบริษัทให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นเพื่อลดการใช้ดุลยพินิจของนายทะเบียน
เพิ่มความมั่นคงในการประกอบธุรกิจให้มีเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเงิน
และแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษและการเปรียบเทียบคดีให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
|