ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 4 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 61 - 80 จากข้อมูลทั้งหมด 260 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
61 | โครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน | อว. | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามันของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และให้ดำเนินการให้ถูกต้อง
เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๓๕ ตลอดจนกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ รวมถึงควรเชื่อมโยงข้อมูลด้านสุขภาพระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั่วถึง
เท่าเทียม และมีประสิทธิภาพ ควรมีการทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผ่านสื่อที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง
ให้นำความเห็นของหน่วยงานโดยเฉพาะสำนักงบประมาณไปดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการ
ขั้นตอนของระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยให้ความสำคัญกับการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง
และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณเป็นหลัก ควรพิจารณาการใช้เงินนอกงบประมาณที่รวมรายได้หรือเงินอื่นใดที่หน่วยงานมีอยู่
หรือสามารถนำมาใช้จ่ายสมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ นอกเหนือจากงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
62 | ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตร | กค. | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตร
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นอากรสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตร จำนวน ๓ รายการ ได้แก่
๑) รถตัดอ้อยที่มีขนาด ๓๐๐ แรงม้าขึ้นไป ๒) เครื่องอัดใบอ้อย และ ๓)
เครื่องกวาดใบอ้อย โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาจนถึงวันที่
๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องครบถ้วนในทุกมิติของมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็น
และประโยชน์ที่จะได้รับให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
63 | รายงานผลการทบทวนและปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตของหน่วยงานของรัฐ | นร.12 | 05/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการทบทวนและปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตของหน่วยงานของรัฐ
ประกอบด้วย (๑)
ผลการทบทวนระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตและข้อเสนอการดำเนินการหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
จำนวน ๑๑๔ หน่วยงาน มีกระบวนงานที่เสนอปรับลดระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตภายในปี ๒๕๖๕
จำนวน ๑๐๐ กระบวนงาน โดยมีการปรับลดระยะเวลาลงเฉลี่ยร้อยละ ๔๔ (๒) ประเด็นท้าทายของการดำเนินการ
กรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่สามารถปรับลดระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตในกระบวนงานที่อยู่ในความรับผิดชอบได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
(๓) ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตของหน่วยงาน
และ (๔) แนวทางการดำเนินการต่อไปของสำนักงาน ก.พ.ร. ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
64 | การกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | กต. | 05/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้วันที่ ๑๖-๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี
และจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อบรรเทาปัญหาด้านการจราจร
อำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ผู้เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจพิเศษเอเปค
ครั้งที่ ๒๙ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งเพื่อให้การอารักขาและการรักษาความปลอดภัยผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งนี้ ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน
ให้ส่วนของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย
และกระทรวงแรงงานพิจารณาความเหมาะสมของการกำหนดเป็นวันหยุดให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในแต่ละกรณีไป
นอกจากนี้ หน่วยงานที่มีภารกิจให้บริการประชาชนหรือมีความจำเป็นหรือราชการสำคัญในวันหยุดดังกล่าวโดยได้กำหนดหรือนัดหมายไว้ก่อนแล้ว
ซึ่งหากยกเลิกหรือเลื่อนไปจะเกิดความเสียหาย
หรือกระทบต่อการให้บริการประชาชน ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร
โดยมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและการให้บริการประชาชน
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
โดยจะพิจารณาดำเนินการมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและการให้บริการประชาชน
และจะดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
และขอให้พิจารณาถึงผลกระทบของการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการประชาชนควบคู่กันไปด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้
ในส่วนของสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้เป็นไปตามความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
โดยให้ช่วงวันดังกล่าวเป็นวันทำการปกติ
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
และขอความร่วมมือสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้หน่วยงานที่ไม่ได้ให้บริการประชาชนหรือไม่ใช่ critical function เน้นการทำงาน work
from home ในช่วงวันดังกล่าว เพื่อบรรเทาปัญหาด้านการจราจร
และอำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้เข้าร่วมประชุม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
65 | ขออนุมัติกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน (กรณีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับรายจ่าย) วงเงิน 15,200 ล้านบาท และวงเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 1,500 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | คค. | 05/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกู้เงินของการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (รฟท.)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ดังนี้ (๑)
เงินกู้เพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่องในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ วงเงิน ๑๕,๒๐๐ ล้านบาท
เพื่อให้มีเงินสดหมุนเวียนในการใช้จ่ายดำเนินงาน และการชำระหนี้เงินกู้ และ (๒)
เงินกู้ระยะสั้น วงเงิน ๑,๕๐๐ ล้านบาท
โดยให้ดำเนินการคัดเลือกสถาบันการเงินด้วยวิธีการประมูลวงเงินกู้ระยะสั้น
(วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี)
เพื่อให้มีวงเงินสำรองไว้ใช้เสริมสภาพคล่องในการบริหารโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ โดย
รฟท. จะเป็นผู้รับภาระต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๙/๑๓๒๓๘ ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หนังสือสำนักงบประมาณ
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๒๔/๔๒๒๓ ลงวันที่ ๒๖
กรกฎาคม ๒๕๖๕) เช่น ให้กระทรวงการคลังพิจารณา วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข
และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินและการค้ำประกันเงินกู้ได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นของการกู้เงินดังกล่าว
การกู้ระยะสั้น (วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี) ให้ รฟท.
พิจารณาคัดเลือกสถาบันการเงินด้วยวิธีประมูลวงเงินกู้ระยะสั้น
(วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี) และให้ รฟท.
เร่งรัดดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาองค์กรตามมติคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
66 | ขอความเห็นชอบต่อการรับรองร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงสิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียน | รง. | 05/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
67 | รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 | ปปง. | 05/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
68 | การประกาศเปิดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association: EFTA) และผลการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) ไทย-สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 1 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
ดังนี้ ๑. รับทราบการประกาศเปิดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป
(European Free Trade Association :
EFTA) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยและรัฐมนตรีของประเทศสมาชิก
EFTA ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสาธารณรัฐไอซ์แลนด์
(๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ การศึกษา และกีฬาของราชรัฐลิกเตนสไตน์ (๓)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของราชอาณาจักรนอร์เวย์ และ (๔)
เลขาธิการสำนักงานกิจการเศรษฐกิจของสมาพันธรัฐสวิสและเลขาธิการ EFTA ได้ร่วมกันประกาศเปิดการเจรจาการค้าเสรีระหว่างไทยกับ EFTA อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๕ ณ เมืองบอร์การ์เนส
สาธารณรัฐไอซ์แลนด์ โดยทั้งสองฝ่ายได้กล่าวแสดงความมุ่งมั่นให้การเจรจาฯ
ประสบความสำเร็จ ๒.
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee :
JETCO) ไทย-สหราชอาณาจักร ครั้งที่ ๑ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงการปรับปรุงถ้อยคำในเอกสารแถลงการณ์การของการประชุมฯ เพื่อให้สะท้อนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
69 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2565 [ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….] | สกพอ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ [ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เรื่อง
แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….] โดย กพอ.
มีมติเห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ขอรับการจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน
๙๙.๘๗๘๘ ล้านบาท ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ๒.
อนุมัติร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง
แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
๗ แห่ง พื้นที่รวมประมาณ ๗,๙๘๖ ไร่ ซึ่ง กพอ. มีมติเห็นชอบแล้ว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓.
ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ๙๙.๘๗๘๘ ล้านบาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าเช่าสำนักงาน ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสำนักงาน
และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วน
รวมทั้งภาระค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป (หากมี)
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกดำเนินการตามความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ ๔.
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.ร. โดยให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมทั้งกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรส่งเสริมการดำเนินงานด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
ควรพิจารณาอย่างรอบคอบไม่ให้กระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนโดยรอบ
และพิจารณาถึงพื้นที่ที่สามารถรองรับการขยายการลงทุนรวมถึงการลงทุนในกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ด้วย
ควรพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีมาดำเนินการในโอกาสแรก
หากไม่เพียงให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒ อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้
หากมีภาระค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
และกำกับดูแลและบูรณาการการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
70 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ครั้งที่ 12/2565 | นร.04 | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
71 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับ การปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 รวม 61 วัน (ห้วงที่ 7 - 8) | ตช. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ภายในวงเงิน ๑๓๕,๘๗๖,๔๐๐ บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง
เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
ของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ รวม ๖๑ วัน
หรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จะยุติลง ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ ๒. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
72 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ค่าวัสดุอาหารไม่เพียงพอ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | ยธ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ค่าวัสดุอาหารไม่เพียงพอ
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๕๗๔,๖๘๖,๖๐๐ บาท ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
73 | โครงการอาคารรักษาพยาบาลศิริราชและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล | อว. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
74 | แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2566 | กค. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
75 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แผนงานเชิงรุกของรัฐบาล : การยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) (พ.ศ. 2565 - 2567) ของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา | สว. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง แผนงานเชิงรุกของรัฐบาล : การยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
(Corruption Perceptions Index : CPI) (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗) ของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล
วุฒิสภา ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสรุปได้ว่าสามารถขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าวได้
รวมถึงได้มีการให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานเพิ่มเติม
และได้ให้ข้อสังเกตในบางมาตรการที่อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้
หรืออาจต้องหารือในรายละเอียดเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและไม่ส่งผลกระทบต่อไปในอนาคต
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเสนอ และให้แจ้งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
76 | ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2568 | อว. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
77 | รายงานประจำปี 2564 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ | อว. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี
๒๕๖๔ ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประกอบด้วยผลการดำเนินงานและรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบและรับรองแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้เสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
78 | รัฐบาลสาธารณรัฐมอริเชียสเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐมอริเชียสประจำประเทศไทย (นายแจกดิชวาร์ โกเบอร์ดัน, จี.โอ.เอส.เค.) | กต. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายแจกดิชวาร์ โกเบอร์ดัน, จี.โอ.เอส.เค. (Mr.
Jagdishwar Goburdhun, G.O.S.K.)
ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐมอริเชียสประจำประเทศไทยคนใหม่ โดยมีถิ่นพำนัก ณ
กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย สืบแทน นายอีโซป พาเทล (Mr. Issop Patel)
ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
79 | การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | อก. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ จำนวน ๒ ราย ตามลำดับ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๒๐ กันยายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้ ๑. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
80 | การสิ้นสุดหน้าที่ของกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำเมืองชตุทท์การ์ท และการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองชตุทท์การ์ท (นายดาฟิท เคล็ทท์) | กต. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ดังนี้ ๑. รับทราบการสิ้นสุดหน้าที่ของ
นางมารีอันเนอ ซอร์น (Mrs. Marianne Zorn) กงสุลกิตติมศักดิ์ประจำเมืองชตุทท์การ์ท สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ เนื่องจากขอลาออกจากตำแหน่ง ๒. อนุมัติแต่งตั้ง
นาย.ดาฟิท เคล็ทท์ (Mr. David Klett) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำเมืองชตุทท์การ์ท สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สืบแทน
นางรีอันเนอ ซอร์น
|