ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 60 จากข้อมูลทั้งหมด 260 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 เรื่อง ขออนุมัติโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก | สกพอ. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. รับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(สกพอ.) ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) เสนอ ดังนี้ ๑.๑ รับทราบมติ กพอ. ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕
ในการให้กองทัพเรือเป็นหน่วยงานดำเนินโครงการ (Implementing
Agency) สำหรับโครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ ๒
(โครงการทางวิ่งและทางขับที่ ๒)
โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (โครงการสนามบินอู่ตะเภา)
ทั้งนี้ ทางวิ่งและทางขับที่ ๒ เป็นทรัพย์สินราชพัสดุ
เมื่อกองทัพเรือดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ให้ส่งมอบสิทธิการใช้ประโยชน์ให้กับ
สกพอ. เพื่อดำเนินการตามสัญญาร่วมลงทุนต่อไป
โดยหากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น
ให้ถือว่าคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหรือเห็นชอบตามมติ กพอ. ๑.๒ พิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ เรื่อง ขออนุมัติโครงการสนามบินอู่ตะเภา จากเดิม
“อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณจำนวน ๑๗,๗๖๘ ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการสนามบินอู่ตะเภา
และให้กองทัพเรือดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณต่อไป” เป็น
“อนุมัติกรอบวงเงินจำนวน ๑๗,๗๖๘ ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการสนามบินอู่ตะเภา
และให้กองทัพเรือดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณต่อไป ทั้งนี้
สำหรับแหล่งเงินเพื่อการดำเนินงานการก่อสร้างโครงการทางวิ่งและทางขับที่ ๒
โครงการสนามบินอู่ตะเภา อนุมัติให้กระทรวงการคลังจัดหาเงินกู้ตามมาตรา ๒๒
แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ในกรอบวงเงิน ๑๖,๒๑๐ ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือ
โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสมทบในอัตราส่วนของแหล่งเงินกู้และเงินงบประมาณเป็นไปตามที่กระทรวงการคลังตกลงกับแหล่งเงินกู้ ๒. ให้
สกพอ. ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของ กพอ. และกองทัพเรือรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เช่น (๑)
ให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ
พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในกรอบวงเงิน ๑๖,๒๑๐.๙๐ ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือ
(๒) ให้กองทัพเรือ และ สกพอ. จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องตามเงื่อนไขในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ของแหล่งเงินกู้ต่างประเทศ
และ (๓) ให้กองทัพเรือจัดเตรียมงบประมาณสำหรับโครงการทางวิ่งและทางขับที่ ๒
รวมทั้งจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินในแต่ละปีส่งให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้
ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
42 | แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565 - 2570) | ทส. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐) ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่
๓ สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยแผนปฏิบัติการฯ ได้กำหนดเป้าหมายขยะที่ต้องได้รับการจัดการอย่างถูกต้องผ่าน
๓ มาตรการ ได้แก่ (๑) การจัดการขยะที่ต้นทาง เช่น
การควบคุมป้องกันการออกแบบผลิตภัณฑ์ (๒) การเพิ่มประสิทธิภาพระบบกำจัดขยะ เช่น
กำหนดให้มีสถานที่กำจัดขยะเพิ่มขึ้นและครอบคลุมทุกภูมิภาค และ (๓)
การพัฒนาเครื่องบริหารจัดการขยะ เช่น
การพัฒนากฎหมายส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนให้ครอบคลุมการจัดการที่ต้นทาง
โดยมีกลไกการขับเคลื่อนคือ การสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ทุกภาคส่วน และการใช้กลไกคณะกรรมการ
คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะ
อีกทั้งกำหนดการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเป็นประจำทุกปี ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
43 | ขอผ่อนผันยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชายเลนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านเขาจีน-บ้านโคกพยอม ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล | มท. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผ่อนผันยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชายเลนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
ท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านเขาจีน-บ้านโคกพยอม ตำบลคลองขุด
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จำนวน ๓ ฉบับ ได้แก่ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓
กรกฎาคม ๒๕๓๔ (เรื่อง
รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม
๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๔๓ เรื่อง
การแก้ปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
โดยให้กระทรวงมหาดไทย (องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล)
ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ (เรื่อง
การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลน ประเทศไทย) ด้วย ทั้งนี้
ให้กระทรวงมหาดไทย (องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล)
รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรให้หน่วยงานดำเนินการตามมาตรา ๖๒ “ห้ามมิให้ผู้ใดทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ให้ผิดไปจากสภาพที่เป็นอยู่เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่”
เพื่อให้การพัฒนาโครงการถูกต้องตามบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
หากมีการดำเนินการใด ๆ ในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบทะเล
หรือบนชายหาดของทะเลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย
พระพุทธศักราช ๒๕๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และขอให้ปฏิบัติตามมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ควรให้เทศบาลตำบลคลองขุดเร่งดำเนินโครงการฯ
ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
พร้อมทั้งจัดทำและเสนอรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง ครบถ้วน อย่างเคร่งครัดต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
44 | ขออนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ระยะที่ 2 | กษ. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง
ระยะที่ ๒ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
โดยในส่วนของกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง
ระยะที่ ๒ จำนวน ๑,๐๕๐.๕ ล้านบาท
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) ธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) ร่วมกับธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเร่งรัดกระบวนการพิจารณาสินเชื่อของโครงการฯ
ระยะที่ ๑ และโครงการฯ ระยะที่ ๒ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ผู้ประกอบการประมงที่เข้าร่วมโครงการทั้ง
๒ ระยะ
สามารถใช้ประโยชน์จากสินเชื่อตามโครงการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์ ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง เช่น
ควรพิจารณาคุณสมบัติของผู้ประกอบการประมงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
และควรมีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
45 | การขอความเห็นชอบการขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากสำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องอย่างบูรณาการของประเทศไทย (Thailand Integrated Logistics and Intermodal Transport Development Plan) | คค. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากสำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา
เพื่อดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องอย่างบูรณาการของประเทศไทย
(Thailand Integrated Logistics and Intermodal
Transport Development Plan) โดยให้ทุน วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๓๖๐๗๔๐
ดอลลาร์สหรัฐ แก่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยสำหรับการลงนามในบันทึกความตกลงการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการฯ
ดังกล่าว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม
(สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร) รับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุด
ไปพิจารณาดำเนินการ โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมในการเข้าถึงข้อมูลและการใช้ประโยชน์จากรายงานผลการศึกษาอย่างละเอียด
รอบคอบ และรัดกุมด้วย ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความตกลงการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการจากสำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา
เพื่อดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องอย่างบูรณาการของประเทศไทย
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
46 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา | สผ. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
47 | การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | ดศ. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์
โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล
ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย
และกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
และอนุมัติให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมาย
เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านไปรษณีย์
โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลระหว่างสองกระทรวง
โดยกำหนดรูปแบบความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูล
การแลกเปลี่ยนการเยือนของเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนการจัดนิทรรศการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสัมมนา ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศในประเด็นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๘ หรือไม่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
48 | การรับรองเอกสารสำคัญ 2 ฉบับ ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 | กก. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบต่อผลการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อตกลงยอมรับร่วมกันในคุณสมบัติของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวอาเซียน
และร่างกรอบการดำเนินงานของอาเซียนด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) มีสาระสำคัญกล่าวถึงวิสัยทัศน์ระยะยาว
และการระบุเป้าหมายการดำเนินงานที่ครอบคลุม
รวมถึงเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
เพื่อส่งเสริมให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและมีคุณภาพส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ
สวัสดิภาพ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้การรองรับผลการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวอาเซียนและร่างกรอบการดำเนินงานของอาเซียนด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) โดยการแจ้งเวียน (ad-referendum) ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างกรอบการดำเนินงานของอาเซียนด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
49 | รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา | สว. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา โดยมีผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๑,๘๓๕.๔๔๗
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๖๙ และมีผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดใน ๒ ยุทธศาสตร์
ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง
และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินการได้สำเร็จเกินค่าเป้าหมายที่กำหนด ตามที่สำนักเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
50 | ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับวิสาหกิจชุมชน) | กค. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ซึ่งมีเงินได้ปีละไม่เกิน ๑.๘ ล้านบาท ออกไปอีกเป็นระยะเวลา ๓ ปี ทั้งนี้
สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับแต่งตั้งวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑
ธันวาคม ๒๕๖๘ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. เห็นชอบมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ซึ่งรับผิดชอบจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนร่วมขับเคลื่อนและสร้างการรับรู้และความเข้าใจในมาตรการภาษี
เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งร่วมติดตามและประเมินประโยชน์ที่จะได้รับจากมาตรการนี้
เพื่อการจัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่จะได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการตามมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
51 | การรับรองเอกสารผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ (AMCA) ครั้งที่ 10 และการประชุมที่เกี่ยวข้องกับประเทศคู่เจรจา หัวข้อ “การส่งเสริมบทบาทด้านวัฒนธรรมและศิลปะอาเซียนในยุคหลังการระบาดของโควิด-19 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ผ่านระบบการประชุมทางไกล | วธ. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ
ครั้งที่ ๑๐ (Draft Joint Media Statement of the 10th
AMCA) มีสาระสำคัญเป็นการแถลงผลการประชุม AMCA ครั้งที่ ๑๐ เกี่ยวกับการส่งเสริมบทบาทของวัฒนธรรมและศิลปะของอาเซียน
และการเสริมสร้างความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนกับประเทศคู่เจรจาอาเซียนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
และร่างถ้อยแถลงร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Joint
Ministerial Statement on Cultural Property Protection) มีสาระสำคัญเป็นการแสดงความมุ่งมั่นของรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะในการคุ้มครองทรัพย์สินทางวัฒนธรรมอันเป็นมรดกร่วมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะแห่งราชอาณาจักรไทยรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ
ทั้ง ๒ ฉบับ ในการประชุม AMCA ครั้งที่ ๑๐
และการประชุมที่เกี่ยวข้องกับประเทศคู่เจรจา ที่จะจัดขึ้นในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๕
ผ่านระบบการประชุมทางไกล ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมฯ
และร่างถ้อยแถลงร่วมระดับรัฐมนตรีฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
52 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. .... [แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2556 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560] | มท. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว
จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. ๒๕๕๖ และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว
จังหวัดสมุทรสาคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
เพื่อแก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
(สีเขียว) ในที่ดินบริเวณหมายเลข ๔.๒๓ หมายเลข ๔.๔๒ และหมายเลข ๔.๓๓
รวมทั้งเพิ่มข้อห้ามการจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในที่ดินบริเวณดังกล่าวให้สอดคล้องกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าว
ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมของจังหวัดสมุทรสาครที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหรือระเบียบและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
หากมีการแก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) อีกในอนาคต
เห็นควรพิจารณาการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ถูกต้องตามหลักวิชาการด้านการผังเมือง
เพื่อเป็นไปตามเจตนารมณ์ของการใช้ที่ดินประเภทนี้ที่ให้ใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมสถาบันราชการ
การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
พบแหล่งธรรมชาติท้องถิ่นและย่านชุมชนเก่าชุมชนตลาดน้ำบ้านแพ้ว ควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมแห่งชาติ
และแหล่งศิลปกรรมที่มีอยู่เดิมด้วย
ในการพิจารณาการอนุญาตกิจการต้องคำนึงถึงจำนวนและที่ตั้งของสถานประกอบกิจการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และควรกำกับดูแลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศกระทรวงมหาดไทย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
53 | การปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของการท่าเรือแห่งประเทศไทย | คค. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ (๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕) ดังนี้ ๑)
ระดับ ๑๖ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการ จากอัตรา ๑๑๓,๕๒๐ บาท เป็นอัตรา ๑๔๒,๘๓๐ บาท ๒) ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ ๑๐๔,๓๑๐ บาท
เป็นอัตรา ๑๓๓,๗๗๐ บาท และ ๓) ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่าย
จากอัตรา ๙๕,๘๑๐ บาท เป็นอัตรา ๑๒๔,๗๗๐
บาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม
(การท่าเรือแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น
การท่าเรือแห่งประเทศไทยควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์
เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐประกอบการพิจารณาเรื่องดังกล่าว
ควรพิจารณาค่าใช้จ่ายบุคลากรให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
และควรบริหารค่าใช้จ่ายด้วยความรอบคอบโดยเฉพาะการปรับขึ้นอัตราเงินเดือนควรสะท้อนกับผลการปฏิบัติงานได้ชัดเจน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
54 | แนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | นร.07 | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณใช้เป็นแนวทางประกอบการวางแผนการดำเนินงานและกำหนดแผนปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับช่วงวาระการดำเนินงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๒ ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรีและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
๒.
ให้สำนักงบประมาณได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
55 | ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. .... (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) | สผ. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๓
เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ พ.ศ. .... โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของสภาผู้แทนราษฎร
เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักการของร่างพระราชบัญญัติฯ บางประการ และคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบและการเร่งรัดการให้ได้มาซึ่งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา
การพิจารณากำหนดกลไกการกระจายอำนาจการบริหารจัดการการศึกษาไปยังเขตพื้นที่การศึกษาให้สมบูรณ์และครบถ้วน
การกำหนดกลไกและมาตรการในการกำกับและติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษา
การศึกษาความจำเป็นถึงการมีอยู่ของศึกษาธิการภาค
และการพิจารณาทบทวนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ ๒.
ให้กระทรวงศึกษาธิการรับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม
แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคคณะรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
56 | ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. .... (สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา) | สว. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๓
เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ พ.ศ. .... โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของสภาผู้แทนราษฎร
เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักการของร่างพระราชบัญญัติฯ บางประการ และคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบและการเร่งรัดการให้ได้มาซึ่งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา
การพิจารณากำหนดกลไกการกระจายอำนาจการบริหารจัดการการศึกษาไปยังเขตพื้นที่การศึกษาให้สมบูรณ์และครบถ้วน
การกำหนดกลไกและมาตรการในการกำกับและติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษา
การศึกษาความจำเป็นถึงการมีอยู่ของศึกษาธิการภาค
และการพิจารณาทบทวนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ ๒.
ให้กระทรวงศึกษาธิการรับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม
แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคคณะรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
57 | ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการ Community - based Poverty Reduction for Lancang - Mekong Cooperation Countries ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 | มท. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการ
Community-based Poverty Reduction for
Lancang-Mekong Cooperation Countries ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ และเห็นชอบให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
กับเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการกองทุนฯ และกำหนดหลักการเบื้องต้น
การยืนยันเงินงบประมาณและโครงการ หน่วยงานดำเนินโครงการ
การจัดสรรและบริหารงบประมาณ การบริหารจัดการโครงการ การกำกับดูแลและการตรวจสอบ
การยอมรับโครงการและการประเมินผล การทบทวนและการแก้ไขเพิ่มเติม การประยุกต์ใช้
และระยะเวลา ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นควรปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
รวมทั้งจัดให้มีระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องและเปิดเผยต่อสาธารณชน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
58 | การดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับสาธารณรัฐเยเมน | กต. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบรับรองการดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council-UNSC) ที่ ๒๖๒๔ (ค.ศ. ๒๐๒๒) เกี่ยวกับสาธารณรัฐเยเมน โดยที่ UNSC ได้ออกข้อมติเพื่อคงไว้
ซึ่งมาตรการลงโทษเกี่ยวกับสาธารณรัฐเยเมนเป็นประจำทุกปี
และเนื้อหาของมติมิได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของมาตรการลงโทษที่มีอยู่เดิม โดยข้อมติ
UNSC ที่ ๒๖๒๔ (ค.ศ. ๒๐๒๒) มีสาระสำคัญเป็นการต่ออายุและเพิ่มเติมมาตรการตามข้อมติ
UNSC ที่ ๒๑๔๐ (ค.ศ. ๒๐๒๔) และข้อมติ UNSC ที่ ๒๒๑๖ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรการต่าง ๆ
เพื่อให้ไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาติจะต้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น (๑)
การเพิ่มกลุ่มฮูษีในรายชื่อบุคคลและองค์กรที่ถูกมาตรการลงโทษทางอาวุธตามข้อมติเดิม
[๒๒๑๖ (ค.ศ. ๒๐๑๕)] (๒)
ประณามการโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายฮูษีที่โจมตีซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
(๓)
ย้ำว่าไม่มีทางออกโดยวิธีการทางการทหารและจะมุ่งหารือและปรองดองระหว่างฝ่ายต่าง ๆ
(๔) การต่ออายุมาตรการที่ให้ทุกรัฐสมาชิกดำเนินมาตรการต่าง ๆ
ที่จำเป็นเพื่อป้องกันการเดินทางเข้าหรือผ่านดินแดนของตน
ของบุคคลที่กำหนดโดยคณะกรรมการดำเนินการตามาตรการคว่ำบาตรสาธารณรัฐเยเมนไปจนถึงวันที่
๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ (๕)
การเพิ่มความพยายามในการต่อสู้กับการลักลอบนำเข้าอาวุธและส่วนประกอบผ่านเส้นทางทางบกและทางทะเล
ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องนำข้อมติ UNSC
ดังกล่าวไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงคมนาคม
ที่เห็นควรเฝ้าระวังเพื่อการป้องกันสถานการณ์ตามข้อมติ UNSC ที่ ๒๖๒๔ (ค.ศ. ๒๐๒๒) อย่างเคร่งครัด
และดำเนินการสนับสนุนให้ความร่วมมือตามข้อมติเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพันธกรณีเพื่อป้องกันการจัดหาทางตรงหรือทางอ้อม
ตลอดจนดำเนินการสนับสนุนให้ความร่วมมือตามข้อมติทั้งในด้านการเมือง การต่างประเทศ
และความมั่นคง
โดยเป็นไปตามขอบเขตของกฎหมายภายในของประเทศและพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะที่ประเทศเป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติ และให้ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
59 | หลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ | นร.10 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดทำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางการดำเนินการเพื่อให้การส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามมติคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
โดยให้คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมและสำนักงาน ก.พ.
รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาประเด็นในหลักสูตรการอบรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นที่ได้จัดทำอยู่แล้ว
และกำหนดแนวทางการนำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐมาใช้ให้ชัดเจนและเหมาะสมกับหน่วยงานแต่ละประเภทด้วย
จึงจะเป็นการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีมาตรฐานจริยธรรมในระดับเดียวกันได้
ไปพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางดำเนินการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
แล้วให้แจ้งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล
และองค์กรอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
60 | การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับหน่วยงานเครือข่าย | นร.01 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับหน่วยงานเครือข่าย
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบด้วย (๑)
พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ (๒)
ด้านกลไกและวิธีการจัดการเรื่องร้องทุกข์ (๓) ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และมอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงานเรื่องร้องทุกข์
ดังนี้ (๑)
ขอความร่วมมือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์
เพื่อให้ประชาชนทราบถึงระยะเวลาในการดำเนินการแก้ไขปัญหา
ซึ่งจะช่วยให้ลดเวลารอคอยและลดการติดตามเรื่องกับผู้ปฏิบัติงาน
และผลักดันให้เกิดการขยายผลและเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการจัดการเรื่องร้องทุกข์ไปยังระดับภูมิภาคและท้องถิ่น
เพื่อให้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการดูแลแก้ไขอย่างครอบคลุมและเป็นธรรม ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม สำนักงาน ก.พ.ร.
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นควรปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณหรือรางวัลให้แก่หน่วยงานที่สามารถจัดการเรื่องร้องทุกข์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรมีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของหน่วยงานในภาพรวมให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงในหลายช่องทางด้วย
ควรมีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนให้ทุกส่วนราชการปฏิบัติ
โดยมีกลไกในการแจ้งความคืบหน้าให้แก่ผู้ร้อง และควรขยายผลการรับเรื่องผ่านไลน์สร้างสุข
(@psc1111) และ
Traffy Fondue (@traffyfondue) ไปยังส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลทั่วประเทศ
เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการเรื่องร้องทุกข์
อีกทั้งยกระดับมาตรฐานการรับเรื่องและบริหารจัดการปัญหาและข้อร้องเรียนของภาครัฐ
ไปพิจารณาดำเนินการให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนแจ้งให้ส่วนราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป |