ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 260 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | ร่าง แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | ปช. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2565 | นร16 | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
(คทช.) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๕ รวม ๖ เรื่อง ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
(สคทช.) เสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑.
เรื่องเพื่อทราบ จำนวน ๒ เรื่อง ได้แก่ (๑) การแก้ไขคำสั่ง คทช. ที่ ๑/๒๕๖๓ เรื่อง
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ โดยแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบคณะอนุกรรมการภายใต้ คทช. จำนวน
๔ คณะ และ (๒) ผลการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการ คทช. และคณะอนุกรรมการภายใต้ คทช. ๒.
เรื่องเพื่อพิจารณา จำนวน ๓ เรื่อง ได้แก่ (๑) (ร่าง)
หลักเกณฑ์การมอบหมายหน่วยงานตามผลการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน (๒)
การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่ป่าไม้ถาวร และ (๓) (ร่าง)
แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ๓.
เรื่องอื่น ๆ ได้แก่ เรื่อง
ผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) และแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน
๒๕๖๕ เกี่ยวกับผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ
ของพื้นที่กลุ่มที่ ๒ จำนวน ๑๑ จังหวัด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2564 | นร.12 | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานการพัฒนาระบบราชการ
ประจำปี ๒๕๖๔ เป็นการายงานผลการดำเนินงานที่สำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ
ประจำปี ๒๕๖๔ ประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ ข้อมูลภาพรวมเกี่ยวกับคณะกรรมการที่สำนักงาน
ก.พ.ร. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ ยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ.
๒๕๖๔-๒๕๖๕) และสรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ ส่วนที่ ๒
ข้อมูลผลการดำเนินงานที่สำคัญในแต่ละยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการของภาครัฐในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ รวมทั้งได้จัดทำสรุปผลการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี ๒๕๖๔ รายกระทรวง
เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้ประโยชน์ในการพัฒนาหน่วยงานต่อไป ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร.
เสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
รับข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทัศนคติของบุคลากรภาครัฐทุกระดับ
การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ หน่วยงานควรเลือกเข้าชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง
ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลและสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้ในระยะยาวและควรเร่งการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ในวงกว้างถึงความก้าวหน้าที่สำคัญของการดำเนินการที่ผ่านมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการพัฒนาเร่งระบบ e-Service และการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2566-2580) | นร16 | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐) โดย (ร่าง) นโยบายและแผนฯ
มีนโยบายหลัก ๔ ด้าน ได้แก่ (๑) การสงวนหวงห้ามที่ดินของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
และการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ (๒)
การใช้ที่ดินและทรัพยากรที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด (๓)
การกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และ
(๔) การบูรณาการและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินอย่างมีเอกภาพ
และมีตัวชี้วัดรวมทั้งหมด ๑๙ ตัวชี้วัด มี ๑๑ แนวทางการพัฒนาหลัก และ ๑๗
แผนงานที่สำคัญ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม และข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย เช่น ควรมีการประเมินความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งของภาครัฐ
เอกชน รวมถึงประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดินทำกินตามนโยบายของ คทช.
เพื่อประเมินผลและปรับปรุงแผนการดำเนินงานต่อไป ให้ความสำคัญกับการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายต่าง
ๆ และควรให้ภาคประชาชนในพื้นที่ที่มีส่วนร่วม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | การแก้ไขสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน จำกัด | อก. | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการแก้ไขสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน จำกัด โดยขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมทุนในข้อ ๑๐
และชื่อคู่สัญญาร่วมทุน ดังนี้ (๑) ให้มีการแก้ไขสัญญาร่วมทุนจัดตั้งบริษัท
โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน จำกัด ข้อ ๑๐ จากเดิมที่ระบุว่า
“...คณะกรรมการบริษัท
ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการที่มาจากการเสนอชื่อของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย
โดยจำนวนสัดส่วนของกรรมการนั้นให้เป็นไปตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือ ทั้งนี้
จำนวนกรรมการฝ่ายรัฐต้องมีไม่น้อยกว่า ๓ คน โดยเป็นผู้แทนจากกระทรวงอุตสาหกรรม ๒
คน และผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ๑ คน เป็นกรรมการ
โดยผู้แทนจากกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานกรรมการ” และ (๒)
ให้มีการแก้ไขชื่อคู่สัญญาร่วมทุนจากเดิม “บริษัท บวรกิจร่วมทุน จำกัด” เป็น “บริษัท
สนิทเสถียร จำกัด”
โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานอัยการสูงสุดไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปให้ถูกต้อง
เหมาะสม เป็นไปตาม กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งให้คำนึงถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา ๗๕ วรรคสอง
ที่บัญญัติให้รัฐต้องประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน
เว้นแต่กรณีที่มีความจำเป็น เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ
การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม การจัดให้มีสาธารณูปโภค หรือการจัดทำบริการสาธารณะ ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... | อก. | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทเชิงพาณิชย์และเครื่องทอดน้ำมันท่วมเชิงพาณิชย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน
๕ ลิตร แต่ไม่เกิน ๑๒ ลิตร
หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน ๕๐ กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน
๒๐๐ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณภาพและความปลอดภัยสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบและรับทราบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐ (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ ๒ จำนวน ๑๑ จังหวัด และให้หน่วยงานที่มีดินอยู่ในความรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่ตามแนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ
ดังกล่าว ให้แล้วเสร็จ ภายใน ๓๖๐ วัน โดยอาจขอขยายระยะเวลาการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้ตามเหตุผลความจำเป็นแต่ไม่เกิน
๑๘๐ วัน หากมีผู้ใดได้รับผลกระทบดังกล่าว
ให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง
รวดเร็ว เหมาะสม ตามควรแก่กรณี โดยเป็นไปตามกฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด
สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีราษฎรถือครองทำกิน พื้นที่ที่มีศักยภาพทำการเกษตรไม่คุ้มค่า
พื้นที่หล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศ และพื้นที่ที่ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อให้ชุมชนใช้ประโยชน์ร่วมกันนั้น
ขอให้กันไว้ใช้ในกิจกรรมของกรมป่าไม้ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม
๒๕๓๗ ในการเสนอออกกฎหมายของหน่วยงาน
ควรพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายที่จะให้การรับรองและความคุ้มครองหน่วยงานของรัฐ
เจ้าหน้าที่รัฐ
และผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ
และควรมีการกำกับและติดตามผลการดำเนินการเพื่อให้สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จเป็นไปตามแผนที่วางไว้และเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมพัฒนาที่ดิน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดพิจารณาแนวทางการดำเนินการ
กรณีพื้นที่กันออกจากป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ที่ทับซ้อนกับป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ [เรื่อง
การจำแนกประเภทที่ดินจังหวัดขอนแก่น (เฉพาะแห่ง)] ให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน
ถูกต้อง ตรงกัน รวมทั้งให้เร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวให้แล้วเสร็จและเป็นรูปธรรมโดยเร็วด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | ขอความเห็นชอบโครงการบูรณาการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Mainstreaming Biodiversity-based Tourism in Thailand to Support Sustainable Tourism Development) | ทส. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | รายงานสรุปผลการดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ณ เดือนตุลาคม 2565 | นร.11 สศช | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓
และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ณ เดือนตุลาคม ๒๕๖๕
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ สรุปได้ ดังนี้ ๑.
การบริหารกรอบวงเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ.
๒๕๖๔ โดยกรอบวงเงินกู้แผนงานด้านฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-๑๙
ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่แผนงานด้านการแก้ไขปัญหาการระบาดของโควิด-๑๙
สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้
และแผนงานด้านการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ ๒.
ภาพรวมการดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงินกู้ โดยพระราชกำหนดฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ วงเงินกู้
๑,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท มีการเบิกจ่ายแล้ว ๙๕๐,๑๙๓.๗๒๒๕ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๗๓
และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ วงเงินกู้ ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท มีการเบิกจ่ายแล้ว
๔๒๗,๑๒๒.๙๗๘๙ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๔๓ ๓.
ผลการดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ ได้แก่ ด้านการแก้ไขปัญหาการระบาดของโควิด-๑๙
เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข มีผลการเบิกจ่าย ๖,๒๒๒.๑๓๙๕ ล้านบาท
ด้านการเยียวยาและช่วยเหลือประชาชน เช่น การบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค
(ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา) มีผลการเบิกจ่าย ๗๕๓,๖๐๓.๗๐๑๙ ล้านบาท
และด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม เช่น การสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรให้เข้าถึงปัจจัยการผลิต
มีผลการเบิกจ่าย ๒๓,๓๕๖.๘๘๓๖ ล้านบาท ๔.
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน เช่น ความล่าช้าในการดำเนินโครงการ ๕. ผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจประเทศโดยรวม เช่น การรักษากำลังซื้อของประเทศ และการพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมในประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา | สว. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
การขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมในประเทศไทย
ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา
ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า
แนวทางการขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมของคณะกรรมาธิการดังกล่าว มีความเหมาะสม
สอดคล้อง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาบูรณาการเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน
และเห็นด้วยกับแนวทางและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว
โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้ ๑) การกำหนดกรอบยุทธศาสตร์และกลไกการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมในระดับชาติควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเฉพาะให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ๒)
การส่งเสริมและการสร้างผู้นำในการขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมแบบคลัสเตอร์ควรเพิ่ม
“นิคมเกษตรอุตสาหกรรมภูมิภาค”
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นพื้นที่ในการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมแบบคลัสเตอร์
สำหรับการคัดเลือกเกษตรต้นแบบในแต่ละจังหวัด
ควรให้สภาเกษตรกรแห่งชาติและสภาหอการค้าจังหวัด เข้ามามีส่วนร่วมในการคัดเลือก และ
๓) การขับเคลื่อนหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม
โดยการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเชื่อมโยงเกษตรอุตสาหกรรมในทุกภาคส่วน
โดยแนวทางในการส่งเสริมในส่วนของการวิจัยด้านการเกษตรควรขยายให้ครอบคลุมปัจจัยการผลิตอื่น
ๆ เช่น ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช เครื่องจักรกลการเกษตรขนาดเล็ก ระบบเตือนภัยต่าง ๆ
เพื่อช่วยลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต เป็นต้น ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการปรับปรุงและจัดทำนโยบายอัตราค่าไฟฟ้า ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา | สว. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการปรับปรุงและจัดทำนโยบายอัตราค่าไฟฟ้า
ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า ร่างนโยบายการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย
ปี ๒๕๖๔-๒๕๖๘ มีความสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยโดยการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเห็นว่า
รายงานดังกล่าวครอบคลุมต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์และการดูแลสังคมผู้ด้อยโอกาส
รวมทั้งรองรับการเปลี่ยนแปลงบริบทของอุตสาหกรรมไฟฟ้ากระทรวงอุตสาหกรรมเห็นว่า สะท้อนต้นทุนในการให้บริการของกิจการไฟฟ้าอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมทั้งผู้รับใบอนุญาตและผู้ใช้ไฟฟ้าทุกกลุ่ม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า
ควรเร่งศึกษาและดำเนินการพัฒนาพลังงานทดแทน (Renewable
Energy) ให้สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของแต่ละพื้นที่
และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเห็นว่า
จะนำรายงานดังกล่าวมาศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมประกอบการดำเนินงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน
พ.ศ. ๒๕๕๐ ต่อไป ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | ขออนุมัติลงนามและดำเนินการให้ความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางการศาลระหว่างประเทศในคดีแพ่งระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามมีผลใช้บังคับ | ศย. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางการศาลระหว่างประเทศในคดีแพ่งระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามมีผลใช้บังคับ
และอนุมัติให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงนามความตกลงฯ โดยร่างความตกลงฯ
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดความร่วมมือระหว่างศาลผู้มีอำนาจของทั้งสองประเทศในการดำเนินการที่จำเป็นในคดีแพ่ง
อาทิ การส่งเอกสารของศาลและเอกสารทางคดี การขอให้สืบพยานและส่งพยานหลักฐาน
การส่งหมายเรียกพยานและผู้เชี่ยวชาญ โดยมีถ้อยคำและบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
ร่างความตกลงดังกล่าวจึงเป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนการลงนามและดำเนินการให้มีผลผูกพัน และให้กระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานศาลยุติธรรมดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความตกลงฯ
มีผลใช้บังคับ และให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางการศาลระหว่างประเทศในคดีแพ่งแห่งราชอาณาจักรและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้สำนักงานศาลยุติธรรมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยการดำเนินการต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
รวมทั้งจัดให้มีระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเปิดเผยต่อสาธารณชนด้วย
สำหรับค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินการตามความตกลงดังกล่าวให้สำนักงานศาลยุติธรรมใช้จ่ายจากการปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณหรือเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 14 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย - ไทย (IMT - GT) และผลการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงาน IMT-GT | นร.11 สศช | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางศิริมา ลีละวงศ์) | สธ. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางศิริมา ลีละวงศ์
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิชาการพยาบาล) ระดับสูง] กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพทรงคุณวุฒิ
(ด้านการพยาบาล) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
ตั้งแต่วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 (The Fifth APEC Meeting of Ministers Responsible for Forestry : MMRF5) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง | ทส. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แทนตำแหน่งที่ว่าง (นายภูมิวิศาล เกษมศุข) | ปปง. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายภูมิวิศาล เกษมศุข เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แทนตำแหน่งที่ว่าง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย | กต. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | การแจ้งผลการตรวจสอบรายงานการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 และการตรวจสอบการประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 ของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | ตผ. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา | สผ. | 01/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | รายงานผลการเดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | พณ. | 01/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|