ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 13 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 241 - 260 จากข้อมูลทั้งหมด 260 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
241 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางศุกร์ศิริ บุญญเศรษฐ์ และนางบุษกร ปราบณศักดิ์) | กค. | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ ราย ตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. นางศุกร์ศิริ
บุญญเศรษฐ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
242 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำและเศรษฐกิจชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่นอกเขตชลประทาน ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา | สว. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง
แนวทางส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำและเศรษฐกิจชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่นอกเขตชลประทาน
ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ซึ่งกระทรวงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
แล้ว
สรุปว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดสรรงบประมาณสำหรับการเข้าร่วมประสานงานและข้อมูลประกอบการดำเนินงานของชุมชน
รวมทั้งขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเพิ่มสัดส่วนงบประมาณสำหรับการบริหารจัดการน้ำเพื่อกระจายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านแหล่งน้ำให้กับชุมน
โดยมีการนำเสนอแผนงานผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการลุ่มน้ำเพื่อให้มีความสอดคล้องกับการพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในภาพรวม
และได้ดำเนินการจัดทำคู่มือด้านการบริหารทรัพยากรน้ำ
การพัฒนาแหล่งน้ำที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ที่สภาพภูมิประเทศต่าง ๆ
สำหรับใช้เป็นแนวทางในการถ่ายทอด/ขยายผลองค์ความรู้สู่ชุมชนที่อยู่นอกเขตพื้นที่ชลประทาน
รวมทั้งกรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๘ –ปัจจุบัน โดยเป็นการขุดสระน้ำขนาด ๑,๒๖๐ ลูกบาศก์เมตรในพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในช่วงฝนทิ้งช่วง
โดยได้ดำเนินการมากกว่า ๖๑๓,๒๒๐ ครัวเรือน
ตลอดจนกรมชลประทานได้มีแผนการพัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน
ตามยุทธศาสตร์กรมชลประทาน ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
243 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 2/2565 | นร.04 | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๕ ซึ่งมีผลการประชุมที่สำคัญ
ได้แก่ (๑) รายงานสถานการณ์และแนวโน้มการแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อ (๒) มาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19
สำหรับการจัดงานในช่วงเทศกาลตรุษจีน (๓) รายงานความก้าวหน้าการนำเข้าแรงงาน ๓ สัญชาติ (๔) การปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ทั่วราชอาณาจักร
และมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด (๕) การปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร
(๖) แผนการให้บริการวัคซีนโควิด-19 เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ (๗)
การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๑๖) และ (๘)
ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ตามที่สำนักงานเลขาธิการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
244 | การขอขยายระยะเวลาบังคับใช้แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560 – 2564) | กก. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบการขอขยายระยะเวลาบังคับใช้แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) ออกไปอีก ๑ ปี โดยให้ยังคงใช้ได้ต่อจนถึงวันที่ ๓๐
กันยายน ๒๕๖๕ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติเสนอ ๒. ให้คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าในช่วงระยะเวลา ๑ ปีที่มีการขยายระยะเวลาบังคับใช้แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
ฉบับที่ ๖ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ควรเร่งดำเนินการปรับ (ร่าง)
แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ให้สามารถประกาศใช้ต่อจากแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ ๖ ได้อย่างราบรื่น
ก่อให้เกิดการพัฒนาการกีฬาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
รวมทั้งให้คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณานำแนวทางของสมาคมกีฬามวลชนนานาชาติมาเป็นส่วนหนึ่งในแผนการดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ
ฉบับที่ ๖ ด้วย เพื่อให้การพัฒนากีฬามวลชนในประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ลดความซ้ำซ้อนของงบประมาณในการดำเนินงาน รวมถึงสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้และความร่วมมือจากเครือข่ายของสมาชิกสมาคมกีฬามวลชนนานาชาติมาปรับใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายของแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
ฉบับที่ ๖ ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
245 | การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร | นร.08 | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ๒. เห็นชอบและรับทราบร่างประกาศ ดังนี้ ๒.๑ เห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่
๑๖) และร่างประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ๒.๒ รับทราบร่างประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด ประกาศ
และคำสั่งนายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ รวม ๓ ฉบับ
ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
246 | แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย (หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร) | นร.04 | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย ตั้งแต่วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๕
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
247 | รายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เรื่อง การป้องกันและลดอันตรายจากอุบัติเหตุทางถนนที่มีสาเหตุจากการไม่สวมหมวกนิรภัย | สผผ. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด
๕ หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เรื่อง
การป้องกันและลดอันตรายจากอุบัติเหตุทางถนนที่มีสาเหตุจากการไม่สวมหมวกนิรภัย สรุปได้
ดังนี้ (๑) ให้กระทรวงมหาดไทย
กำหนดให้นโยบายและมาตรการด้านความปลอดภัยทางถนนเป็นวาระเร่งด่วนและสนับสนุนการผลักดันการจัดกิจกรรมต่าง
ๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนนให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละจังหวัดและทุกจังหวัด
(๒) ให้กระทรวงคมนาคม
เร่งรัดพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดให้ผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรและผู้ที่ได้รับใบสั่งต้องเข้ารับการอบรม
(๓) ให้กระทรวงศึกษาธิการ บรรจุหลักสูตรเรื่องความปลอดดภัยทางถนนและสร้างจิตสำนึกในการสวมหมวกนิรภัยให้แก่เด็กและเยาวชน
(๔) ให้กระทรวงสาธารณสุข
สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการรณรงค์ส่งเสริมการสร้างค่านิยมเรื่องการสวมหมวกนิรภัยในชุมชน
(๕) ให้กระทรวงแรงงาน ประสานผู้ประกอบกิจการจัดโครงการรณรงค์ “สวมหมวกนิรภัย ๑๐๐%”
และจัดกรอบแนวทางการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยภายในสถานประกอบกิจการ
และ (๖) ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย
และนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้การบังคับกฎหมายมีประสิทธิภาพ
ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน
กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานตำรวจแห่งชาติรับข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินไปพิจารณาดำเนินการให้ถูกต้อง
ครบถ้วนตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
248 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแค เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... | มท. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแค
เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงบางแค
เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เพื่อขยายคลองและก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กคลองพระยาราชมนตรีช่วงจากคลองหนองใหญ่ถึงคลองภาษีเจริญ
เพื่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำอันเป็นกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป
และรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และกระทรวงมหาดไทยควรประสานกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การบริหารจัดการการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร
ลงสู่โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
249 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปฏิรูปหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Thai universal health coverage reform for sustainable development) ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา | สธ. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง การปฏิรูปหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Thai universal health coverage reform for
sustainable development) ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษาดังกล่าว
สรุปได้ ดังนี้ (๑) ยกระดับการบูรณาการและความยั่งยืนด้านการเงินการคลัง
โดยให้มีชุดสิทธิประโยชน์หลักที่ครอบคลุมบริการสาธารณสุขที่จำเป็นและเบิกจ่ายรูปแบบเดียวกัน
และในระยะยาวเสนอให้มีการเก็บภาษีสุขภาพสำหรับคนไทยทุกคน
และรวมกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐทุกระบบเป็นระบบเดียว (๒) ยกระดับระบบประกันสุขภาพให้ครอบคลุมทุกคนที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนและสิทธิรวมถึงคนต่างด้าว
(๓) พัฒนาการจัดบริการสุขภาพแบบเพิ่มมูลค่า โดยสนับสนุนให้มีการนำร่องการจัดบริหารแบบเพิ่มคุณค่าในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
และขยายผลการจัดบริการแบบเพิ่มคุณค่าอย่างเหมาะสมตามข้อเสนอจากการประเมินผลการนำร่อง
เพื่อวางระบบอย่างยั่งยืนต่อไป ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
250 | รายงานผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ ครั้งที่ 9 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | มท. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ
ครั้งที่ ๙ และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบการประชุมทางไกล
เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๔ โดยมี นายเค
ชันมูกัม (Mr. K. Shanmugam) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกฎหมาย
สาธารณสิงคโปร์
เป็นประธานการประชุมฯ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายนิพนธ์ บุญญามณี) และผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจโท
ณัฐพิชย์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) เป็นรองประธานการประชุมฯ มีสาระสำคัญ ได้แก่ (๑) การประชุมระดับอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ
ครั้งที่ ๙ (The 9th ASEAN Ministerial Meeting on
Disaster Management : AMMDM) (๒)
การประชุมผู้นำภาคีเพื่อการดำเนินตามความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน
ครั้งที่ ๑๐ [The 10th Meeting of the Conference of the
Parties (COP) to AADMER]
(๓) การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-จีน ด้านการจัดการภัยพิบัติ ครั้งที่ ๑ (The
1th AMMDM Plus China) และ (๔ ) การประชุมรัฐมนตรีอาเซียน-ญี่ปุ่น ด้านการจัดการภัยพิบัติ
ครั้งที่ ๑ (The 1th AMMDM Plus Japan) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
251 | ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ในพื้นที่ศูนย์ราชการบริเวณ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี แปลงที่ 21 และแปลงที่ 64 | อส. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน
ในการดำเนินการโครงการก่อสร้างสำนักงานอัยการจังหวัดปัตตานี
พร้อมบ้านพักและสิ่งก่อสร้างประกอบ พื้นที่ ศูนย์ราชการจังหวัดปัตตานี ตำบลรูสะมิแล
อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี แปลงที่ ๒๑ และแปลงที่ ๖๔ ในพื้นที่ป่าชายเลน ตำบลรูสะมิแล
อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เนื้อที่ ๓.๙๑ ไร่ (๓-๓-๖๔ ไร่) ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ
และให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงบประมาณ ที่เห็นว่าการดำเนินโครงการจะต้องคำนึงถึงความคุ้มค่ากับศักยภาพของที่ดินและดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โอนเงินจัดสรร
เปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร หรือเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม
แล้วแต่กรณี ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกมิติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
252 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 41/2564 | นร.11 สศช | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๑๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ในคราวประชุมครั้งที่ ๔๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ ดังนี้
(๑) อนุมัติให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ
กรณีโครงการภายใต้แผนเร่งรัดการเข้าถึงวัคซีน COVID ๑๙ สำหรับประชาชนไทย โดยขยายระยะเวลาดำเนินงาน จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม
๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ (๒) อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาระบบสื่อสารสั่งการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับกระทรวงและระดับเขตสุขภาพเป็น
SmartEOC โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ (๓) อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพ
รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (A๐๐๑) ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค โดยขยายระยะเวลาดำเนินงานจากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม
๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ (๔) อนุมัติให้มหาวิทยาลัยนเรศวร
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่
: กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID ๑๙)
โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนเมษายน
๒๕๖๕ (๕) อนุมัติให้สำนักงานประกันสังคม เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา
๓๓ ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม
๒๕๖๕ (๖) อนุมัติให้กรมการพัฒนาชุมชน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่
ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” โดยระยะเวลาดำเนินงานใน ๔ กิจกรรมย่อย
(กิจกรรมที่ ๒ ๔ ๕ และ ๗) จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม
๒๕๖๕ (๗) อนุมัติให้จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดปัตตานี จังหวัดเลย จังหวัดตาก
จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการ
โดยให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว และ (๘)
มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการเร่งรัดการดำเนินโครงการฯ
ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาดำเนินงานที่เสนอในครั้งนี้ รวมถึงรับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมตามมติคณะกรรมการฯ
ไปประกอบการดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้หน่วยงานต้นสังกัดกำกับดูแลให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
และติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปฏิบัติตามข้อ
๑๙ และ ข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้อีก หากมีเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้น ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากคลังโดยเร็ว ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
รวมทั้งให้ความสำคัญกับการติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการทั้งในช่วงระหว่างดำเนินโครงการและภายหลังสิ้นสุดโครงการ
เพื่อประกอบการจัดทำรายงานตามข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
ตามขั้นตอนต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
253 | รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 | ปปง. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๓ มีรายละเอียดที่สำคัญ ๙ ด้าน คือ (๑) ผลการปฏิบัติงานด้านการป้องกันการฟอกเงิน
(๒) ผลการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการฟอกเงิน (๓) ผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ๔
คณะ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้แก่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
คณะกรรมการธุรกรรม คณะกรรมการเปรียบเทียบ และคณะกรรมการพิจารณาผลการกำกับ ตรวจสอบ
และประเมินผลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของผู้มีหน้าที่รายงาน
(๔) ผลการดำเนินงานด้านการกำกับและตรวจสอบผู้มีหน้าที่รายงาน (๕)
ผู้ปฏิบัติงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ (๖) การพัฒนาองค์การ (๗)
ผลการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการดำเนินการ (๘)
ผลการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขกฎหมายและออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และ (๙)
ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ
และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป ๒.
เห็นชอบให้นำข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของสำนักงาน ก.พ.ร.
ข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี
และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป ๓.
ให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน
ก.พ.ร. ที่เห็นว่าในส่วนของอัตรากำลังจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งและมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ
และควรเพิ่มข้อมูลในส่วนข้อเสนอแนะประเด็นการยกระดับขีดความสามารถด้านการตรวจสอบและสืบสวน
การทำธุรกรรมทางการเงินดิจิทัลหรือสินทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์
และควรจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานในปีนั้น ๆ
ให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณถัดไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
254 | ขออนุมัติรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ทส. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติในหลักการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่
๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป โครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ
เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วงเงินทั้งสิ้น ๔,๐๕๕,๓๑๘,๐๐๐ บาท เสนอขอตั้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๖ จำนวน ๘๑๑,๐๖๓,๖๐๐ บาท
ส่วนที่เหลืออีก ๓,๒๔๔,๒๕๔,๔๐๐ บาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗-๒๕๗๐ ตามนัยมาตรา ๒๖ ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดทำแผนการดำเนินการ และยืนยันความพร้อมของโครงการดังกล่าว
โดยมีรายละเอียดแบบรูปรายการ ประมาณการค่าก่อสร้าง
สถานที่/พื้นที่ พร้อมที่จะดำเนินการ รวมทั้งพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
และคำนึงถึงภาระผูกพันงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณให้เป็นไปตามสัดส่วนของรายจ่ายลงทุนที่กำหนด
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาความเหมาะสมและจำเป็น
ตามวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
255 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า | กษ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า เป็นเงินทั้งสิ้น
๕๗๔,๑๑๑,๒๖๓ บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า
โดยเป็นค่าชดเชยสุกรที่ถูกทำลาย ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๑๕ ตุลาคม
๒๕๖๔ ตามมาตรา ๑๓ (๔) แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมปศุสัตว์) รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรพิจารณาแนวทางในการยกระดับฟาร์มสุกรรายย่อยให้ได้มาตรฐาน Good
Farming Management (GFM) ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
(ASF) และโรคระบาดร้ายแรงอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากโรคระบาดในสุกรทั้งในระดับฟาร์มและระดับประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
256 | ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - ลาว ครั้งที่ 22 | กต. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ลาว
ครั้งที่ ๒๒ ระหว่างวันที่ ๓-๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ณ กรุงเทพมหานคร
และพิจารณามอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามตารางติดตามผลการประชุมฯ
ต่อไป โดยที่ประชุมฯ ได้หารือในเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น
การส่งเสริมความร่วมมือตามแนวชายแดน
การเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบ
และการส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนี้
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทยและ สปป.ลาว
ได้มีการหารือทวิภาคีในประเด็นสำคัญที่นอกเหนือจากผลการประชุมฯ เช่น
ความร่วมมือเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ การคุ้มครองดูแลภาคเอกชนใน
สปป.ลาว การบริหารจัดการในแม่น้ำโขง และความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ที่เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการต่าง ๆ ใน สปป.
ลาว ให้แล้วเสร็จตามแผน การทบทวนแผนการดำเนินงานในการช่วยเหลือผู้เสียหายจากคดีการค้ามนุษย์
ปี ๒๕๖๒-๒๕๖๔ เพื่อวางแผนและประสานต่อความร่วมมือในระยะต่อไป ควรประสานกับสำนักงานอัยการสูงสุด
เข้ามาร่วมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
เนื่องจากเป็นองค์กรที่มีพันธกิจด้านบูรณาการเครือข่ายองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
257 | ขอผ่อนผันการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีในการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์ หรือรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย และโครงการร้อยใจรักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ | กห. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้กระทรวงกลาโหมได้รับการผ่อนผันการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๒ (เรื่อง ขอผ่อนผันใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
เพื่อก่อสร้างทางเพื่อความมั่นคง) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์
๒๕๓๘ [เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง
การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคตะวันตก ภาคกลาง และลุ่มน้ำป่าสัก
และการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนอื่น ๆ
(ลุ่มน้ำชายแดน)] เพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
ในการดำเนินโครงการพัฒนาดอยดุง จังหวัดเชียงราย และโครงการร้อยใจรักษ์
จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ ให้กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(หนังสือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด่วนที่สุด ที่ ทส ๐๒๒๐.๒/๑
ลงวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๕) สำนักงบประมาณ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน
โดยมุ่งเน้นให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาและการอนุรักษ์ควบคู่กันไป
หากมีความจำเป็นที่จะดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่
กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้โครงการจะต้องปฏิบัติตามข้อเสนอแนะมาตรการการใช้ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำ
เช่น การบำรุงรักษาป่าธรรมชาติ
การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่รกร้างว่างเปล่าป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าอย่างเข้มงวด
และบริเวณที่ราษฎรดั้งเดิมให้จัดที่ทำกินให้เป็นการถาวร เพื่อมิให้มีการโยกย้ายและทำลายป่าขยายขอบเขตออกไปอีก
เป็นต้น ตลอดจนควรมีแผนการติดตามประเมินผลการดำเนินการตามมาตรการและข้อเสนอแนะต่าง
ๆ พร้อมทั้งแผนการบำรุงรักษาและแผนการสร้างจิตสำนึกของชุมชนในพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
และให้กองทัพบก กระทรวงกลาโหม ควรประสานการดำเนินงานร่วมกับกรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชนในพื้นที่โครงการต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. สำหรับการขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ (เรื่อง การดำเนินโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นจะต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า)
เกี่ยวกับการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ นั้น
ให้กระทรวงกลาโหม (กองทัพบก)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปหารือร่วมกับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ชัดเจน
แล้วดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
เงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
258 | รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 | ปช. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
(Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และเห็นชอบข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาคุณธรรมความโปร่งใสของภาครัฐ
เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำไปพิจารณาปรับปรุง พัฒนา และยกระดับ
ตลอดจนเตรียมความพร้อมรับการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ ในส่วนของการมอบหมายให้หน่วยงานที่กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐดำเนินการกำกับติดตามการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
(Monitoring) และผลักดันให้หน่วยงานภายใต้กำกับดูแลดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางการประเมินที่กำหนด
ในส่วนของข้อ ๕.๘ (หนังสือสำนักงาน ป.ป.ช. ที่ ปช ๐๐๐๙/๐๔๔๓ ลงวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน
๒๕๖๔ หน้า ๘) นั้น ควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ตรงตามหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยกรจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทจากเดิม
“๕.๘) มอบหมายให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ...”เป็น “๕.๘)
มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ ...” ข้างต้น
ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ ๒. ให้ส่งความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงาน ก.พ.ร.
ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไปพิจารณาต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
259 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบการ SMEs และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) | กค. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบการ
SMEs และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ดังนี้ (๑) การปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำออมสินช่วยเหลือ
SMEs ในภาคการท่องเที่ยว (โครงการ Soft Loan ออมสินฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย)
โดยทบทวนการดำเนินการ ดังนี้ ๑) ขยายกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ
ให้ครอบคลุมถึงธุรกิจอื่นที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
(COVID-19) เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs เป็นไปอย่างทั่วถึงและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เช่น ผู้ผลิตรายย่อย ผู้ค้าส่ง
ผู้ค้าปลีก เป็นต้น และ ๒) ขยายระยะเวลารับคำขอสินเชื่อออกไปจนถึงวันที่ ๓๐
กันยายน ๒๕๖๕ และ (๒) มาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19
โดยขยายระยะเวลารับคำขอสินเชื่อออกไปจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและธนาคารแห่งประเทศไทย
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงสาธารณสุข ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการและโครงการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานการดำเนินงานตามมาตรการและโครงการดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(SFIs) ที่เข้าร่วมโครงการควรพิจารณาให้ลูกหนี้ที่มีความเปราะบางซึ่งมีข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อจากแหล่งอื่นสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
ตลอดจนจัดสรรเงินภายใต้โครงการระหว่าง SFIs
ที่เข้าร่วมให้เหมาะสมกับประมาณความต้องการสินเชื่อของลูกหนี้แต่ละแห่ง
เพื่อให้การให้ความช่วยเหลือมีความยืดหยุ่นและทั่วถึงต่อไป รวมทั้งหากมีการปรับเพิ่มโครงการให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่ขยายเพิ่ม
จะทำให้ผู้ประกอบการ SMEs
รวมถึงประชาชนรับรู้ได้อย่างชัดเจนและอาจจะเข้าร่วมรับความช่วยเหลือได้มากยิ่งขึ้นตามวัตถุประสงค์ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
260 | ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) พ.ศ. .... | รง. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงแรงงาน
เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Payment)
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายกำหนดเวลากรณีนายจ้างยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและนำส่งเงินสมทบ
โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)
ออกไปอีก ๗ วันทำการ นับแต่วันที่พ้นกำหนดวันที่ ๑๕
ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบไว้ โดยมีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา ๒๔ เดือน
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าสำนักงานประกันสังคมควรเพิ่มหน่วยให้บริการรับชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
โดยเพิ่มจำนวนธนาคารพาณิชย์และขยายหน่วยบริการรับชำระเงิน (Non-Bank) นอกจากที่มีอยู่ในปัจจุบัน
รวมทั้งเร่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และเชิญชวนให้นายจ้างและสถานประกอบการยื่นแบบแสดงรายการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Payment) เพิ่มมากขึ้น
และควรหาแนวทาง/มาตรการอื่น ๆ ในการจัดหาผลประโยชน์ให้กองทุนประกันสังคมเพิ่มเติม
โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความมั่นคงของกองทุนเป็นหลัก ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|