ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 260 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การลงนามร่างพิธีสารเพื่อแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขาของอาเซียนสำหรับการตรวจประเมินตามมาตรฐานวิธีการในการผลิตยา (Protocol to Amend the ASEAN Sectoral Mutual Recognition Arrangement for Good Manufacturing Practice (GMP) Inspection of Manufacturers of Medicinal Products) | สธ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างพิธีสารเพื่อแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขาของอาเซียนสำหรับการตรวจประเมินตามมาตรฐานวิธีการในการผลิตยา
[Protocol to Amend the ASEAN Sectoral Mutual
Recognition Arrangement for Good Manufacturing Practice (GMP) Inspection of
Manufacturers of Medicinal Products] มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขาของอาเซียนสำหรับการตรวจประเมินตามมาตรฐานวิธีการในการผลิตยา
โดยขยายขอบเขตของผลิตภัณฑ์ยาที่นำมาบังคับใช้ เช่น ผลิตภัณฑ์ยาชีววัตถุในรูปแบบยาสำเร็จรูปแต่ไม่รวมผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเลือด
หรือจากพลาสมา และผลิตภัณฑ์บำบัดด้วยยีน
และสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมที่ใช้ในการผลิตยาและยาชีววัตถุ
แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือรายสาขา
และกำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องนำข้อกำหนดไปดำเนินการภายใน๕
ปีหลังจากพิธีสารฯ
มีผลใช้บังคับโดยประเทศสมาชิกอาเซียนอาจขยายระยะเวลาในการดำเนินการออกไปได้ไม่เกิน
๒ ปี ซึ่งร่างพิธีสารฯ
จะเป็นการลดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
และเพิ่มโอกาสของการสงสินค้าจากไทยไปจำหน่ายในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยไม่ต้องตรวจประเมินซ้ำ
เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการส่งออกสำหรับผู้ผลิตในไทยได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบในเชิงลบทางด้านธุรกิจ
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป
ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ (เรื่อง
แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการเสนอหนังสือสัญญาตามบทบัญญัติมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย) ๒.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนามในร่างพิธีสารเพื่อแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขาของอาเซียนสำหรับการตรวจประเมินตามมาตรฐานวิธีการในการผลิตยา
เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างพิธีสารฯ แล้ว ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญในร่างพิธีสารฯ
ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย ๓.
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนามในร่างพิธีสารเพื่อแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขาของอาเซียนสำหรับการตรวจประเมินตามมาตรฐานวิธีการในการผลิตยา
เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างพิธีสารฯ แล้ว
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดองทดแทนตำแหน่งกรรมการที่ว่างลง (นายธนกร วังบุญคงชนะ) | นร15 | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายธนกร วังบุญคงชนะ)
เป็นกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปองดอง
แทนกรรมการเดิมซึ่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
ตามที่สำนักงานรขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปองดองเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. .... | สช. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
ฉบับที่ ๓ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย
ยุทธศาสตร์ และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ
ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ
และให้รายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบ
แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายเสกสรร สุขแสง และนางสาวพัชรศรี ศรีเมือง) | ยธ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๒ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
ดังนี้ ๑. นายเสกสรร สุขแสง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ของขวัญปีใหม่ ปี 2566 (จำนวน 19 หน่วยงาน) (การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน) | ดศ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติมีมติรับทราบการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่
พ.ศ.๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชน ตามที่กระทรวงการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ดังนี้ ๑.
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมให้ดาวโหลดสติ๊กเกอร์ “อัศวินต่อต้านข่าวปลอม” ฟรี ผ่าน Like Sticker Shop @antifakenewscenter สามารถใช้งานได้ไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน ๒. แจ้งเตือนภัยจากการหลอกลวงทางออนไลน์และข่าวปลอม
ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
ให้ประชาชนรู้เท่าทันและสามารถรับมือกับการหลอกลวงรูปแบบใหม่ได้ ๓.
ยกเว้นค่าบริการข้อมูลสารสนเทศด้านอุตุนิยมวิทยาและสถิติภูมิอากาศของประเทศ
(วันที่ ๑-๑๕ มกราคม ๒๕๖๖) ผ่านเว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา ๔.
นำผลสำรวจความต้องการของประชาชน สำหรับการวางแผนช่วยเหลือประชาชนของหน่วยงานรัฐ ปี
๒๕๖๖ เช่น เรื่องควบคุมราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค
ลดค่าไฟฟ้า-ค่าน้ำประปา/ค่าอินเทอร์เน็ต และแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรเสนอคณะรัฐมนตรี ๕. จัด (๑)
งาน NSO Data Camp (๒)
งานประชุมเสวนาวิชาการและนิทรรศการการใช้ประโยชน์ข้อมูลสถิติ และ (๓)
กิจกรรมนักสถิติรุ่นเยาว์สัญจร
เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลสถิติ
(เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖) ๖.
จัดใหมีบริการ/นวัตกรรมด้านดิจิทัลภาครัฐสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ เช่น
ระบบการหางาน ห้องสมุดออนไลน์ ระบบการเดินทาง และระบบสวัสดิการด้านสุขภาพ ๗.
เพิ่มจำนวนเว็บไซต์และแอปพลิเคชันให้สามารถรองรับการใช้งานของคนพิการและคนทุกกลุ่ม ๘. ยกเว้นบริการค่าโทร เช่น (๑) บริการ NT Voice
ยกเว้นค่าโทรที่โทรไปยังเลขหมายปลายทางที่เป็น Fixed Line/IP Phone ของ NT ทั่วไทย (วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๕-๒ มกราคม ๒๕๖๖) และ (๒) บริการ my โทรฟรีในเครือข่าย และส่ง SMS ฟรี
ไม่จำกัดจำนวครั้ง (วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕-๑ มกราคม ๒๕๖๖) ๙.
ส่วนลดค่าบริการไปรษณีย์ไทยด่วนพิเศษ (EMS) ในประเทศ ร้อยละ ๑๙-๔๘ สำหรับประชาชนที่ใช้บริการแบบ Walk In (วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๕-๕ มกราคม ๒๕๖๖) ๑๐.
ส่งเสริมการมี Digital ID เพื่อให้ประชาชนประหยัดเวลา/ค่าใช้จ่าย
และปลอดภัยในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
รวมถึงส่งเสริมให้ปะชาชนสามารถยืนยันตัวตนได้สะดวก ลดความเสี่ง การถูกปลอมแปลง
(คาดว่าจะประกาศใช้ภายในเดือนมกราคม ๒๕๖๖) ๑๑.
ให้ผู้ประกอบการ SMEs ยืนขอใช้สิทธิทางภาษี
ส่วนลดค่าใช้จ่าย ร้อยละ ๒๕๐ ในการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษา/ฝึกอบรม
หรือในการจัดการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง โดยเฉพาะทักษะดิจิทัล ๑๒.
สร้างความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้กับประชาชนผ่านสื่อวีดิทัศน์
และอินโฟกราฟิก ผ่านสื่อส่วนกลางของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
(วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๕-๓ มกราคม ๒๕๖๖)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | คค. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข
๗ และทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗
และทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๐๐.๐๑
นาฬิกา ของวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ ถึงเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันพุธที่ ๔
มกราคม ๒๕๖๖ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทางบนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลดังกล่าว
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรเร่งประชาสัมพันธ์การยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบนทางหลวงพิเศษดังกล่าว
เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางในช่วงวันหยุดราชการต่อเนื่องได้อย่างคล่องตัวสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฎกระทรวงต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 19/2565 | นร.11 สศช | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๙/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ดังนี้ รับทราบการขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่าของกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อช.) จากเดิมสิ้นสุดเดือนกันยายน ๒๕๖๕
เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม ๒๕๖๖ ภายใต้กรอบวงเงินเดิม ๗๔๑.๕๘๘ ล้านบาท โดยมอบหมายให้
อช. ดำเนินโครงการในส่วนที่เหลือโดยใช้จ่ายจากแหล่งเงินอื่นตามความจำเป็นและความเหมาะสมต่อไป
และเร่งเสนอรายงานผลการดำเนินโครงการ พร้อมทั้งส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายตามข้อ ๑๙
และข้อ ๒๐
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยเร็ว และรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ราย ๓ เดือน
ครั้งที่ ๑๐ (๑ สิงหาคม-๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๕)
พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
พ.ศ ๒๕๖๓ ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรเร่งปฏิบัติตามระเบียบสำนักนากยรัฐมนตรีฯ ข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐
สำหรับโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว หรือไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
หากมีเงินกู้เหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังในโอกาสแรก
เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Startup) | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital
Startup) ได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นหน่วยงานจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล
และเป็นหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประกอบการดิจิทัลและบริการดิจิทัลที่ขอขึ้นทะเบียนบัญชีดิจิทัล
และมอบหมายให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พิจารณาผลักดันบัญชีบริการดิจิทัลเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
และเป็นหนึ่งในหมวดพัสดุที่รัฐต้องส่งเสริมหรือสนับสนุน
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการดิจิทัลร่วมพัฒนาระบบราชการไทย ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เช่น
ควรคำนึงถึงการลดต้นทุนของการจัดทำบริการดิจิทัลผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น
(Digital Startup) และช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ควรมีผู้แทนของกรมต่าง
ๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีส่วนร่วม คำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า
ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ ควรพิจารณากำหนดให้มีคณะทำงานหรือคณะกรรมการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลที่ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
อาทิ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
กรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย
เพื่อให้เกิดการบูรณาการและประโยชน์จากองค์ความรู้ ฐานข้อมูล
และความเชี่ยวชาญของบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) [ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....] | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ
(องค์การมหาชน) พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการยกฐานะของสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ
(Government Big Data Institute : GBDI)
หน่วยงานภายในภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ให้เป็นสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (National Big
Data Institute : NBDI) ซึ่งเป็นองค์การมหาชน
เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อน วิเคราะห์
และบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศโดยตรง ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้แก้ไขชื่อหน่วยงาน ตัดคำว่า
“คลัง” และ “แห่งชาติ” ออก เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน
ตลอดจนมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ที่กำหนดว่า
“ไม่ควรใช้คำว่า “แห่งชาติ”
ในการกำหนดชื่อหน่วยงานของรัฐเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเอกรัฐ
และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งทำหน้าที่ในฐานะ “แห่งชาติ” อยู่แล้ว” และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ เช่น การกู้ยืมเงินของ NDBI ต้องทำด้วยความระมัดระวัง
รอบคอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk)
โดยจะต้องยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะและกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ตลอดจนระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรให้ผู้บริหารหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับมิติด้านเศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นกรรมการด้วย
ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาปรับเปลี่ยนองค์กรรูปแบบใหม่
เมื่อได้ดำเนินการจัดตั้ง NDBI ครบ ๒ ปี เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | รายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา | กสศ. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ในรอบสามปีที่หนึ่ง (ตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๑-๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕ โดยรายงานฯ
มีสาระสำคัญประกอบด้วย (๑) ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
(๒) ผลการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
(๓) รายงานข้อจำกัดหรืออุปสรรคของการดำเนินกิจการของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
และ (๔) ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง ตามที่คณะกรรมการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต (1. ศาสตราจารย์สหธน รัตนไพจิตร ฯลฯ จำนวน 5 คน) | กค. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต จำนวน ๕ คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๕) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ดังนี้ ๑. ศาสตราจารย์
ดร. สหธน รัตนไพจิตร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ๒. นางสุนทรีย์
ส่งเสริม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ๓. นายชาญชัย
บุญญฤทธิ์ไชยศรี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการเงินการธนาคาร ๔. นางประราลี รัตน์ประสาทพร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านคอมพิวเตอร์
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ผลการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง | พน. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน
ครั้งที่ ๔๐ และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๑๓-๑๖
กันยายน ๒๕๖๕ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ
สรุปได้ ดังนี้ (๑) การประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ ๔๐ ที่ประชุมฯ
ได้รับทราบผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านพลังงานอาเซียน
ระยะที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๘ ในด้านต่าง ๆ เช่น การเชื่อมโยงโครงข่าย
สายส่งไฟฟ้าอาเซียน การเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซอาเซียน
ถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานหมุนเวียน
รวมทั้งได้รองรับถ้อยแถลงร่วมของการประชุมฯ ด้วยแล้ว และ (๒) การประชุมอื่น ๆ
และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง เช่น การประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนบวกสาม
ครั้งที่ ๑๙/๒๕๖๕ โดยมุ่งเน้นความร่วมมือด้านความมั่นคงทางพลังงานหมุนเวียน
และการแลกเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีใหม่เกี่ยวกับพลังงานผ่านโครงการต่าง ๆ
การประชุมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก ครั้งที่ ๑๖ ได้หารือเกี่ยวกับความมั่นคงทางพลังงานและการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
และการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา โดยสหรัฐอเมริกาได้เสนอโครงการ
Southeast Asia Smart Power Program ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโครงการด้านพลังงานสะอาดในภูมิภาคและยกระดับความเชื่อมโยงทางพลังงานและส่งเสริมการค้าพลังงานพหุภาคีในภูมิภาค
เป็นต้น ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายพงศธร ศิริอ่อน) | กษ. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายพงศธร ศิริอ่อน
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งวิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ กรมชลประทาน ให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา
(ด้านสำรวจและหรือออกแบบ) (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่งตั้งวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ) | อว. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ
เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๖ ธันวาคม
๒๕๖๕) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขและการดูแลทางสังคม แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์เเลนด์เหนือ ว่าด้วยความร่วมมือด้านจีโนมิกส์ | สธ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
ประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขและการดูแลทางสังคม
แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์เเลนด์เหนือ ว่าด้วยความร่วมมือด้านจีโนมิกส์ และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมความร่วมมือทางจีโนมิกส์ระหว่างฝ่ายไทยกับฝ่ายสหราชอาณาจักร อาทิ
การแลกเปลี่ยนข้อมูล การแลกเปลี่ยนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ การจัดฝึกอบรม สัมมนา
และการดำเนินโครงการ รวมทั้งการตั้งคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางจีโนมิกส์
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
ประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขและการดูแลทางสังคม แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์เเลนด์เหนือ
ว่าด้วยความร่วมมือด้านจีโนมิกส์
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) ด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | แนวทางการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า | กค. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมถอนเรื่องนี้คืนไปได้
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และข้อเสนอแนะของกระทรวงคมนาคม
ที่เห็นควรให้ความสำคัญในเรื่องความพร้อมของการดำเนินการ และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการดังกล่าวให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบในโอกาสแรก
อันจะเป็นโอกาสในการเข้าถึงบริการแห่งรัฐอย่างครบวงจร สามารถบรรเทาความเดือดร้อน
และเกิดผลสัมฤทธิ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินโครงการฯ
ควรพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินงานหรือแนวปฏิบัติที่มีความชัดเจนในการดำเนินการในกรณีวงเงินคงเหลือไม่พอดีกับค่าโดยสารที่ต้องชำระ
โดยเฉพาะกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ Version ๒๕ รวมทั้งประชาสัมพันธ์การดำเนินการดังกล่าวให้ชัดเจนและทั่วถึงเพื่อให้ผู้มีสิทธิสามารถใช้วงเงินค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชนสาธารณะได้เต็มตามสิทธิที่ควรได้รับในแต่ละเดือน
และขอให้ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหลักธรรมาภิบาล ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | รายงานผลการดำเนินการต่อข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม กรณีการดำเนินคดีล่าช้าอันเกี่ยวเนื่องกับการอายัดตัว | สม. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมติรับทราบรายผลการดำเนินการต่อข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
กรณีการดำเนินคดีล่าช้าอันเกี่ยวเนื่องกับการอายัดตัว
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ซึ่งได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยมีผลสรุปในภาพรวมว่า
กระทรวงยุติธรรมโดยสำนักงานกิจการยุติธรรมได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเร่งรัดบันทึกข้อมูลในระบบฐานข้อมูล
ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม
โดยได้เชื่อมโยงข้อมูลการอายัดตัวผู้ต้องขังและข้อมูลผู้ต้องขัง การฝึกอาชีพ
และการศึกษาอบรมนอกเรือนจำของนักโทษเด็ดขาดโดยคำนึงถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน
นอกจากนี้ประเด็นการแก้ไขปรับปรุงกฎ ระเบียบ และสำนักงานศาลยุติธรรม
จะได้นำไปพิจารณาและประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา | ศธ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดให้จังหวัดสุโขทัย
จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดกระบี่ จังหวัดตราด และจังหวัดสระแก้ว
เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามที่คณะกรรมการนโยบายพื้นนวัตกรรมการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น การจัดทำหลักสูตรควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างในแต่ละจังหวัด
และควรเร่งออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อความคล่องตัวยิ่งขึ้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5/2565 | นร.04 | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
(กตน.) ครั้งที่ ๕/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕
ผ่านระบบการประชุมทางไกล และมอบหมายให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุมฯ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยผลการประชุมฯ ประกอบด้วย (๑) การติดตามสถานการณ์อุทกภัย
(๒) การขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมเกษตรมูลค่าสูงเพื่อความมั่นคงทางอาหาร (๓)
รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ และงบประมาณที่เกินกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป (๔) รายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการด้านการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมกับประชาชนภายใต้
กตน.และ (๕) การพัฒนาระบบติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล
ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 6 จังหวัด | ศธ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดให้กรุงเทพมหานคร
จังหวัดจันทบุรี จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสงขลา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหัวดอุบลราชธานี
เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเสนอ
และให้คณะกรรมการนโยบายการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรพิจารณาความคุ้มค่า ต้นทุนและผลประโยชน์
เสถียรภาพ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ สำหรับการจัดสรรงบประมาณให้กับนวัตกรรมการศึกษา
ควรเร่งรัดการดำเนินการที่จะช่วยลดปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาร่วมกัน
อาทิ
การออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่สถานศึกษานำร่องถึงอำนาจตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๒
และการกำหนดบทบาทในการขับเคลื่อนของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาให้มีความชัดเจนมากขึ้น
สำหรับการขอรับจัดสรรงบประมาณให้นำผลประเมินผลการดำเนินงานในช่วง ๓ ปี ตามมาตรา ๔๐
มาประกอบการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
โดยคำนึงถึงศักยภาพและความพร้อมของสถานศึกษาแต่ละพื้นที่ ความคุ้มค่า ความซ้ำซ้อน ความครอบคลุมทุกแหล่งเงิน
รวมถึงการสร้างความรับรู้และความเข้าใจในทุกมิติถึงประโยชน์ที่ทุกภาคส่วนจะได้รับเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|