ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 14 จากข้อมูลทั้งหมด 14 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา (นายกฤษฎา คงคะจันทร์) | นร.04 | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติรับโอน นายกฤษฎา คงคะจันทร์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด) เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์ หรือ Soft Power ของประเทศ | นร. | 24/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
ตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้ว่า
รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์ หรือ Soft Power ของประเทศ
เพื่อยกระดับและพัฒนาความรู้ ความสามารถ
และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยให้สร้างมูลค่าและสร้างรายได้ รวมทั้งการอนุรักษ์
ฟื้นฟู และพัฒนาต่อยอดศิลปะ วัฒนธรรม และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อนำมาต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่ม นั้น
ขอให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐร่วมกันขับเคลื่อนและผลักดัน Soft
Power ประเภทต่าง ๆ
ของไทยในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่หรือที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานที่ท่องเที่ยว ศิลปะ
ประเพณี วัฒนธรรม การแสดง อาหาร ดนตรี ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและขยายวงกว้างออกไปมากยิ่งขึ้นโดยเร็วต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การขอความเห็นชอบการต่อวาระการดำรงตำแหน่งของนางสาวรัชดา ไชยคุปต์ ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิสตรี | พม. | 03/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการต่อวาระการดำรงตำแหน่งของนางสาวรัชดา
ไชยคุปต์
ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิสตรี ต่อไปอีก ๓ ปี (วาระตั้งแต่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๖
ถึงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๙) เป็นวาระที่ ๓ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในฐานะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาของประเทศไทย
มีหนังสือแจ้งเรื่องการต่อวาระการดำรงตำแหน่งของนางสาวรัชดา ไชยคุปต์
ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิสตรี ต่อไปอีก ๓ ปี ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียน
ในโอกาสแรก ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ไปพลางก่อน
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล) | นร.05 | 15/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
ราย นางจินดารัตน์ วิริยะทวี ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่
๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... | ทส. | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี
เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดพื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี
เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ รวมทั้งกำหนดมาตรการคุ้มครอง
เพื่อประโยชน์ในการสงวน การอนุรักษ์ และการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลน
ให้คงสภาพธรรมชาติและมีสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่มีความสมบูรณ์ เนื้อที่ประมาณ ๙,๕๓๔ ไร่ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | สรุปผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยโดยสถาบัน IMD ปี 2566 | นร.11 สศช | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบสรุปผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
โดยสถาบันการจัดการนานาชาติ (International
Institute for Management Development : IMD) ปี ๒๕๖๖
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามประเด็นการขับเคลื่อนที่ควรให้ความสำคัญในระยะต่อไป
โดยสถาบัน IMD ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ ๖๔ เขตเศรษฐกิจ
เพื่อประเมินประสิทธิภาพและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการรักษาและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
โดยใช้เกณฑ์ตัวชี้วัดในการจัดลำดับฯ รวมทั้งสิ้น ๓๓๖ ตัวชี้วัด แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม
ประกอบด้วย (๑) สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (๒) ประสิทธิภาพภาครัฐ (๓)
ประสิทธิภาพภาคธุรกิจ และ (๔) โครงสร้างพื้นฐาน โดยในปี ๒๕๖๖ ไทยอยู่อันดับที่ ๓๐
ดีขึ้นจากปี ๒๕๖๕ ที่อยู่อันดับที่ ๓๓ การจัดอันดับฯ ย่อยทุกด้านดีขึ้นจากปี ๒๕๖๕
เนื่องจากหลายปัจจัย เช่น ตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้น และมีประเด็นที่ให้ความสำคัญ
เช่น เสถียรภาพทางการเมือง การคอร์รัปชัน กฎหมายและกฎระเบียบที่ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจ
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง
กระทรางการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและวัตกรรม กระทรวงคมนาคม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน ก.พ.ร.
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและวัตกรรม สำนักงาน
ก.พ.ร. และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น
ให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในกลุ่มตัวชี้วัดที่มีอันตรายค่อนข้างต่ำ
อาทิ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
และด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์
ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญและยั่งยืน
ควรให้ความสำคัญกับกลุ่มปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ที่มีอันดับตกลงมาจากอันดับที่ ๓๘ มาอยู่ที่อันดับ ๓๙ ซึ่งเป็นผลมาจากด้านค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาเกิดการชะลอตัวลงเล็กน้อย
ควรเร่งปรับปรุงและพัฒนางานตามภารกิจตามตัวชี้วัดการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน
เพื่อให้การบริหารงานและการให้บริการมีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานเทียบเท่าสากล
สามารถเทียบเคียงนานาประเทศได้ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2565 | สช. | 27/06/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ครั้งที่ ๑๕ พ.ศ. ๒๕๖๕ รวม ๓ มติ ได้แก่ มติ ๑ การขจัดความยากจนตามแนวคิดเศรษฐกิจ BCG : การยกระดับเศรษฐกิจครัวเรือน มติ ๒
การขับเคลื่อนแพลตฟอร์มเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของประชาชน
ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และมติ ๓
การจัดการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในวิกฤตสุขภาพ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติฯ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ
และกระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และสำนักงบประมาณ
ข้อสังเกตของกระทรวงแรงงานและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรมีหน่วยงานในการติดตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญในการกำหนดกรอบทิศทางนโยบายสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ แล้วแต่กรณี ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | รายงานสัดส่วนหนี้สาธารณะ ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 | กค. | 30/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสัดส่วนหนี้สาธารณะ
ตามมาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นจริง
ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖
ยังอยู่ภายใต้กรอบการบริหารหนี้สาธารณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด
ได้แก่ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ กรอบที่กำหนดไม่เกินร้อยละ
๗๐ สัดส่วนหนี้ที่เกิดขึ้นจริงร้อยละ ๖๑.๓๐
สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ กรอบที่กำหนดไม่เกินร้อยละ
๓๕ สัดส่วนหนี้ที่เกิดขึ้นจริงร้อยละ ๓๐.๙๑
สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด กรอบที่กำหนดไม่เกินร้อยละ
๑๐ สัดส่วนหนี้ที่เกิดขึ้นจริงร้อยละ ๑.๖๓
และสัดส่วนภาระหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ
กรอบที่กำหนดไม่เกินร้อยละ ๕ สัดส่วนหนี้ที่เกิดขึ้นจริงร้อยละ ๐.๐๕
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อว. | 02/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาการบัญชีและเพิ่มระดับชั้นปริญญาตรีในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
รวมทั้งกำหนดสีประจำสาขาวิชาการบัญชีและแก้ไขเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนดำเนินสะดวก – ศรีดอนไผ่ - ประสาทสิทธิ์ จังหวัดราชบุรี พ.ศ. .... | มท. | 25/04/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนดำเนินสะดวก–ศรีดอนไผ่-ประสาทสิทธิ์
จังหวัดราชบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลดอนไผ่ ตำบลประสาทสิทธิ์ ตำบลศรีสุราษฎร์ ตำบลดำเนินสะดวก
ตำบลขุนพิทักษ์ และตำบลตาหลวง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อม
ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ซึ่งมีนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนดำเนินสะดวก-ศรีดอนไผ่-ประสาทสิทธิ์
ให้เป็นศูนย์กลางการบริหาร การปกครอง การศึกษา การค้า การบริการทางสังคม
และการคมนาคมขนส่งระดับอำเภอ
ส่งเสริมและอนุรักษ์พื้นที่เกษตรกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์ให้เป็นแหล่งผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพและยั่งยืน
ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวตลาดนำในรูปแบบวิถีชีวิตชุมชนเกษตรและวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำของชุมชนดำเนินสะดวกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต
รวมทั้งอนุรักษ์วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชุมชน ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น (๑) ร่างประกาศฉบับนี้
มีพื้นที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้นที่ ๕ และยังพบแหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ การดำเนินการใด
ๆ ในพื้นที่ดังกล่าวจึงควรคำนึงถึง กฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย
และ (๒) ที่ดินหลายประเภท เช่น ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม และที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม
ตามร่างประกาศฉบับนี้
ห้ามใช้ประโยชน์เพื่อกิจการโรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
เว้นแต่โรงงานตามประเภท ชนิด
และจำพวกที่กำหนดให้ดำเนินการได้ตามบัญชีท้ายประกาศนี้ อย่างไรก็ตาม
กิจการที่ไม่เข้าข่ายโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน (เครื่องจักรไม่ถึง ๕๐ แรงม้าหรือคนงานไม่ถึง
๕๐ คน) ยังสามารถดำเนินการได้ ดังนั้น
การพิจารณาอนุญาตจึงต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และเป็นไปตามกฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ขอความเห็นชอบ (ร่าง) ข้อตกลงความร่วมมือโครงการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำของประเทศไทย ด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน | กษ. | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง)
ข้อตกลงความร่วมมือโครงการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำของประเทศไทย
ด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน
โดยมีสาระสำคัญเป็นการสนับสนุนกระบวนการบริหารจัดการน้ำโดยคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ
โดยส่งเสริมให้เกษตรกรที่ประสบภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำยม-น่าน
ในเขตจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์
ให้สามารถปรับตัวและประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยมีการดำเนินการที่สำคัญ
เช่น
การจัดทำฐานข้อมูลและระบบคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเพื่อนำไปปรับปรุงการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง
และการปรับปรุงงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
(กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรกำกับติดตามการดำเนินโครงการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้กรอบระยะเวลาโครงการที่กำหนด
เพื่อให้บรรลุผลเป็นรูปธรรมในการเพิ่มศักยภาพการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมอากาศของภาคเกษตรในกลุ่มเป้าหมายของโครงการ
การพิจารณานอกเหนือจาก (ร่าง) ข้อตกลงฯ ขอให้คำนึงถึงการดำเนินการที่จะกระทำได้ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย
ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับแผนงาน/โครงการด้านทรัพยากรน้ำจากคณะกรรมการลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้อง
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ให้ถูกต้อง เหมาะสม ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน (ร่าง)
ร่างข้อตกลงความร่วมมือโครงการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำของประเทศไทย
ด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การดำเนินงานโครงการจัดเตรียมความพร้อมในการให้บริการการเดินอากาศ ณ สนามบินอู่ตะเภา ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด | คค. | 14/02/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนทาสบเส้า จังหวัดลำพูน พ.ศ. .... | มท. | 07/02/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนทาสบเส้า จังหวัดลำพูน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา
จังหวัดลำพูน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมือง
และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค การบริการสาธารณะ
และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ซึ่งมีนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนทาสบเส้าให้เป็นศูนย์กลางการบริหาร
การค้าและการบริการในระดับอำเภอ ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม
รวมทั้งสงวนและรักษาพื้นที่เกษตรกรรม
และพื้นที่โล่งของชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์ตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้
๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ โรงงานลำดับที่ ๑๐๕
ที่กำหนดไว้ในท้ายประกาศกระทรวงฯ
ควรกำหนดให้ดำเนินการได้เฉพาะในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
และให้ความสำคัญกับการจัดทำข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น
ในเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินหลัก
เพื่อใช้ประกอบการประเมินผลการบังคับใช้ผังเมืองรวมในอนาคต
การพิจารณาอนุญาตต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการดำรงชีวิตปกติสุขของประชาชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
เพื่อรักษาพื้นที่เกษตรกรรมและสภาพแวดล้อม
รวมถึงพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การจัดตั้งและการแก้ไขปัญหาศาสนสถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของทางราชการ ของคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา | สว. | 07/02/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|