ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 17 จากข้อมูลทั้งหมด 17 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาอ้อยและน้ำตาลทราย | นร. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า เนื่องจากปัจจุบันการกำหนดราคาน้ำตาลทรายภายในประเทศไม่สอดคล้องกับราคาในตลาดโลก
อีกทั้งอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยยังได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีสรรพสามิตในการจัดเก็บภาษีสินค้าเครื่องดื่มตามปริมาณน้ำตาลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค
ประกอบกับระบบแบ่งปันผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายที่ใช้มานานจนถึงปัจจุบันสมควรพิจารณาปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ต่าง
ๆ ที่เปลี่ยนไปเพื่อให้สามารถคุ้มครองดูแลและแบ่งปันผลประโยชน์ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย
โรงงานน้ำตาล และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งสามารถสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยใช้วิธีการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวอ้อยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
ดังนั้น จึงขอมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรับไปดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง
โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน อธิบดีกรมสรรพสามิต และเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นกรรมการ
รวมทั้งมีผู้แทนหน่วยงาน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการให้ครบถ้วน
โดยให้มีหน้าที่และอำนาจในการศึกษาและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบให้ครบถ้วนในทุกมิติ
โดยให้นำข้อมูลและข้อเสนอแนะของคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของกระทรวงพาณิชย์มาประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย
ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเร่งรัดดำเนินการในเรื่องดังกล่าวข้างต้นตามขั้นตอนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Minister: AEM) ครั้งที่ 55 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Minister : AEM) ครั้งที่ ๕๕ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๖
ณ เมืองเซอมารัง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สรุปได้ ดังนี้ (๑) ผลการประชุม AEM ครั้งที่ ๕๕ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง โดยผลการประชุม AEM ครั้งที่ ๕๕ มีประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่อินโดนีเซียผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปี
๒๕๖๖ แล้ว ๕ ประเด็น เช่น การจัดทำกรอบอำนวยความสะดวกด้านการบริการของอาเซียน จัดทำความตกลงกรอบเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียนและเสนอต่อผู้นำอาเซียนใน
ASEAN Summit โดยตั้งเป้าหมายการเจรจาให้แล้วเสร็จในปี
๒๕๖๘ จัดทำยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของภูมิภาคและการพัฒนาทักษะแรงงานใน
๕ อุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น ภาคพลังงานและการขนส่ง ภาคการเกษตร
และภาคการจัดการของเสีย และ (๒) เอกสารผลลัพธ์การประชุม โดยที่ประชุม AEM ครั้งที่ ๕๕ ได้รับรองและเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจ จำนวน ๑๓
ฉบับ โดยมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมปฏิญญารัฐมนตรีว่าด้วยกรอบการดำเนินงานสำหรับโครงการพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมซึ่งไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๖
เช่น ปรับเพิ่มเนื้อหาในส่วนของเป้าหมายเชิงกลยุทธ์โดยให้เพิ่มเติมถ้อยคำในการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงและยืดหยุ่น
เป็นต้น ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การเร่งรัดการดำเนินการเพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลการดำเนินงานของรัฐบาล | นร. | 31/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ
(๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๖) ให้โฆษกประจำกระทรวงดำเนินการเผยแพร่ผลการดำเนินงานของรัฐบาลในเรื่องต่าง
ๆ ในภารกิจ หน้าที่และอำนาจของแต่ละกระทรวง
รวมทั้งผลการปฏิบัติงานของรัฐมนตรีในช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ให้รวดเร็ว สม่ำเสมอ
และต่อเนื่อง ทั้งนี้ ให้ประสานข้อมูลข่าวสาร ผลการดำเนินงานของกระทรวงในเรื่องสำคัญต่าง
ๆ กับโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องด้วย
เพื่อให้การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลการดำเนินงานของรัฐบาลในภาพรวมเป็นไปอย่างถูกต้อง
รวดเร็ว และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน นั้น
ขอให้ทุกกระทรวงเร่งดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
รวมทั้งให้เร่งดำเนินการแต่งตั้งโฆษกประจำกระทรวงให้ชัดเจนโดยเร็ว
เพื่อจะได้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและประสานการดำเนินการตามภารกิจดังกล่าวข้างต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การเลื่อนวันหยุดชดเชยวันหยุดราชการ ประจำปี 2566 และการกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษประจำปี 2567 | นร.05 | 24/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.เห็นชอบให้เลื่อนวันหยุดชดเชยวันสิ้นปี ประจำปี
๒๕๖๖ จากวันอังคารที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๗ เป็นวันศุกร์ที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๖ ๒. เห็นชอบการกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ
ประจำปี ๒๕๖๗ จำนวน ๑ วัน คือวันจันทร์ที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๗
และรับทราบภาพรวมวันหยุดราชการ ประจำปี ๒๕๖๗ จำนวน ๒๐ วัน ๓. ในกรณีที่หน่วยงานใด มีภารกิจในการให้บริการประชาชน
หรือมีความจำเป็น หรือราชการสำคัญในวันหยุดดังกล่าวที่ได้กำหนดหรือนัดหมายไว้ก่อนแล้ว
ซึ่งหากยกเลิกหรือเลื่อนไปจะเกิดความเสียหายหรือกระทบต่อการให้บริการประชาชน
ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร โดยมิให้เกิดความสียหายแก่ทางราชการและกระทบต่อการให้บริการประชาชน ๔. ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน
ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย
และกระทรวงแรงงานพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมของการกำหนดให้วันดังกล่าวข้างต้น เป็นวันหยุดให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
แล้วแต่กรณีต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... | มท. | 29/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
ในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
แปลง “ที่เลี้ยงสัตว์เขาบายสี” บางส่วนในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ
จังหวัดชลบุรี
เพื่อให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินใช้เป็นที่ตั้งศูนย์พัฒนาวิชาชีพตรวจสอบของประเทศ
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหม ที่เห็นว่าแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ไม่ปรากฎแนวเขตท่อส่งน้ำของฐานทัพเรือสัตหีบกำหนดไว้รวมถึงในหลักการ
เหตุผล หรือเนื้อหาที่กำหนดสงวนแนวเขตท่อส่งน้ำดังกล่าวไว้ในร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้แต่อย่างใด
จึงขอสงวนพื้นที่แนวเขตท่อส่งน้ำใช้ประโยชน์ในราชการของกองทัพเรือในร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและกองทัพเรือได้มีการหารือและได้ข้อยุติร่วมกันเกี่ยวกับการใช้ที่ดินของกองทัพเรือบางส่วนในบริเวณที่ที่จะถอนสภาพ
เพื่อประโยชน์ในการวางท่อส่งน้ำของฐานทัพเรือสัตหีบตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
โดยที่การเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นการปฏิบัติราชการตามปกติเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายแม่บทบัญญัติให้อำนาจไว้
และมิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีมิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ
หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามมาตรา ๑๖๙ (๑)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๖
(เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร)
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | รายงานตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 ประจำปี 2565 | สสส. | 29/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานตามมาตรา
๓๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ประจำปี ๒๕๖๕
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) ผลงานเด่นในปี ๒๕๖๕ เช่น สานพลังสู้ภัย “สิ่งเสพติด”
โดยขับเคลื่อนการคงมาตรการห้ามนำเข้าและห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทย
และเสริมพลังปัญญา สร้างทักษะ “เด็กปฐมวัย”
โดยสนับสนุนการพัฒนากระบวนการสื่อสารส่งเสริมการอ่าน (๒) ผลการดำเนินงานสำคัญตามเป้าประสงค์
๖ ประการ เช่น เป้าประสงค์ที่ ๑ ลดปัจจัยเสี่ยงหลักทางสุขภาพ
โดยพัฒนาองค์ความรู้ประเด็นการควบคุมและป้องกันผลกระทบจากยาสูบ และสนับสนุนการพัฒนาร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ระยะที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ เป้าประสงค์ที่ ๒ พัฒนากลไกที่จำเป็นเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอื่น
ๆ โดยจัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ
ซึ่งเป็นภัยด้านสิ่งแวดล้อมที่คุกคามสุขภาพของประชาชน
และสนับสนุนให้คนไทยที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนให้สามารถเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพและสวัสดิการขั้นพื้นฐาน
และ (๓) การตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการทำงานในปี ๒๕๖๕
ซึ่งรวมถึงรายงานผลการตรวจสอบงบการเงินของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้วเห็นว่า
ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 จำนวน 5 ฉบับ | อว. | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๘ จำนวน ๕ ฉบับ ดังนี้ ๑.๑
ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทและชนิดของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดชนิดและประเภทของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ๑.๒
ร่างกฎกระทรวงกำหนดสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นสัตว์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดสิ่งมีชีวิตอื่นที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประสาทรับรู้ถึงความเจ็บปวดเป็นสัตว์ ๑.๓
ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตใช้หรือผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต
คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต
และการขอรับใบแทนใบอนุญาตใช้หรือผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ๑.๔
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการใช้และผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการใช้และผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ๑.๕
ร่างกฎกระทรวงกำหนดงานที่ไม่เป็นงานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดงานที่ไม่เป็นงานทางวิทยาศาสตร์ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรพิจารณาร่างกฎกระทรวงให้มีความชัดเจน ไม่ขัดต่อกฎระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่าง
ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นการลดอุปสรรคหรือช่องว่างในทางปฏิบัติ
โดยเฉพาะประเด็นการกำหนดคำนิยาม “สัตว์ทดลอง” “สัตว์เลี้ยง” และ
“สัตว์จากธรรมชาติ”
ในร่างกฎกระทรวงกำหนดชนิดและประเภทของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ....
รวมทั้งพิจารณากำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม
และสร้างความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนต่อการนำสัตว์เลี้ยงและสัตว์จากธรรมชาติมาใช้เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งจะเป็นการลดปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายกับประชาชนผู้เลี้ยงสัตว์
ผู้ประกอบการฟาร์มสัตว์ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสัตว์จากธรรมชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... | ทส. | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี
เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดพื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี
เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ รวมทั้งกำหนดมาตรการคุ้มครอง
เพื่อประโยชน์ในการสงวน การอนุรักษ์ และการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลน
ให้คงสภาพธรรมชาติและมีสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่มีความสมบูรณ์ เนื้อที่ประมาณ ๙,๕๓๔ ไร่ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐของสำนักงาน กสม. | สม. | 05/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีอนุมัติหลักการการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๑๗,๓๘๑,๐๐๐ บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบุคลากรของสำนักงาน กสม. ตามนัยข้อ ๘ และข้อ ๙ (๒) ของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่าย
งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒
ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแล้ว ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กสม. ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๖๙ (๓) แล้ว
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2565 | สช. | 27/06/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ครั้งที่ ๑๕ พ.ศ. ๒๕๖๕ รวม ๓ มติ ได้แก่ มติ ๑ การขจัดความยากจนตามแนวคิดเศรษฐกิจ BCG : การยกระดับเศรษฐกิจครัวเรือน มติ ๒
การขับเคลื่อนแพลตฟอร์มเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของประชาชน
ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และมติ ๓
การจัดการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในวิกฤตสุขภาพ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติฯ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ
และกระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และสำนักงบประมาณ
ข้อสังเกตของกระทรวงแรงงานและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรมีหน่วยงานในการติดตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญในการกำหนดกรอบทิศทางนโยบายสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ แล้วแต่กรณี ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการผลักดันการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินในภูมิภาคและการส่งเสริมธุรกรรมสกุลเงินท้องถิ่น | กค. | 09/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการผลักดันการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินในภูมิภาคและการส่งเสริมธุรกรรมสกุลเงินท้องถิ่น
และอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการผลักดันการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินในภูมิภาคและการส่งเสริมธุรกรรมสกุลเงินท้องถิ่น
โดยร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองระดับผู้นำทางอาเซียนในการส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์และส่งเสริมความร่วมมือในการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินในภูมิภาคโดยใช้เทคโนโลยี
รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสนับสนุนการจัดตั้งLocal Currency Transaction Task Force เพื่อสนับสนุนการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการทำธุรกรรม
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการผลักดันการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินในภูมิภาคและการส่งเสริมธุรกรรมสกุลเงินท้องถิ่น
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการคลังดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒. ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การของบกลางเพื่อชดเชยการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนในการชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนแบบสามัญและเฉพาะเจาะจงของกลุ่มธนาคารโลก ปี 2561 | กค. | 11/04/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๒๐๐,๖๐๑,๐๔๓.๔๕ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการชดเชยการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนในการชำระหุ้นเพิ่มทุนแบบสามัญและเฉพาะเจาะจงของกลุ่มธนาคารโลก ปี ๒๕๖๑ โดยเบิกจ่ายในงบรายจ่ายอื่น ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ และมอบหมายให้กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๖๙ (๓) แล้ว ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง) และสำนักงบประมาณรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นควรดำเนินการให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป และเห็นควรให้มีแนวทางการบริหารความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนในระยะต่อไปอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ภาระที่อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนสูง ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องใช้งบประมาณเพื่อดำเนินการดังกล่าวเกินกว่ากรอบวงเงินที่ได้อนุมัติไว้ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | รัฐบาลสาธารณรัฐกานาเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐกานาประจำประเทศไทย (นางฟลอเรนซ์ เบอร์คี อะโคนอร์) | กต. | 07/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นางฟลอเรนซ์ เบอร์คี อะโคนอร์ (Mrs. Florence Buerki Akonor) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐกานาประจำประเทศไทยคนใหม่ โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
มาเลเซีย สืบแทน นางอาคูอา เซชีวา อาเฮนโครา (Ms.
Akua Sekyiwa Ahenkora) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ OKMD : OKMD National Knowledge Center (Ratchadamnoen Center 1 และ 2) | สบร. | 14/02/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ขออนุมัติการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลการต่อต้านการทำการประมงผิดกฎหมาย ระหว่างกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทย และกรมประมง กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม | กษ. | 14/02/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566) | ปสส. | 07/02/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ซึ่งพิจารณาระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
เป็นพิเศษ วันอังคารที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
พิจารณาระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา
ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๘ กุมภาพันธ์
๒๕๖๖ และพิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๗
(สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ขออนุมัติเป็นหลักการให้จ่ายเงินสนับสนุนด้านงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก (Economic Research lnstitute for ASEAN and East Asia : ERIA) | พณ. | 31/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการสนับสนุนด้านงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก
(Economic Research lnstitute for ASEAN and East
Asia : ERIA) สำหรับปี
๒๕๖๔-๒๕๖๙ จำนวน ๖๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ โดยให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
โดยคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น เห็นควรให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาความเหมาะสมของการใช้จ่ายงบประมาณ
โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และเน้นย้ำให้สถาบัน ERIA เผยแพร่การศึกษาค้นคว้าและวิจัยให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|