ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 18 จากข้อมูลทั้งหมด 18 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างกฎกระทรวงลดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ พ.ศ. .... | พณ. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงลดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการลดอัตราค่าธรรมเนียมลงกึ่งหนึ่ง
สำหรับค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร
การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรองและค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
(ในท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล และ ๔
อำเภอในจังหวัดสงขลาเฉพาะในท้องที่อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย)
ต่อไปอีก ๓ ปี (ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๙) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร.
ที่เห็นควรสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการรับรู้ในวงกว้างและสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้ามาลงทุนในพื้นที่
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | กต. | 07/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ ๔๓ และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง โดยมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (นายศรัณย์
เจริญสุวรรณ) ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
ซึ่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ เมื่อวันที่ ๕-๗
กันยายน ๒๕๖๖ ในหัวข้อหลัก “อาเซียนเป็นศูนย์กลาง : สรรค์สร้างความเจริญ” โดยผลการประชุมสุดยอดอาเซียนดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการสะท้อนเจตนารมณ์ทางการเมืองของผู้นำอาเซียนและคู่เจรจาในการขับเคลื่อนความร่วมมือโดยมีอาเซียนเป็นแกนกลาง
ซึ่งสอดคล้องกับหัวข้อหลักของการเป็นประธานอาเซียนของอินโดนีเซีย คือ
"อาเซียนเป็นศูนย์กลาง : สรรค์สร้างความเจริญ" (ASEAN Matters :
Epicentrum of Growth) รวมทั้งได้สนับสนุนประเด็นการเติบโตที่ยั่งยืน
ผ่านการพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า และมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบหลักนำผลการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ
ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่เห็นว่าในประเด็นความประสงค์ของอินเดียในการริเริ่มการหารือด้านการเงินประจำปีอาเซียน-อินเดีย
(ASEAN-India Annual Financial Dialogue) เห็นควรให้สำนักเลขาธิการอาเซียนจัดให้มีการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางของอาเซียนและอินเดียก่อน
และนำผลการหารือรายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน
(ASEAN Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting) ต่อไป และให้ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ
ที่มีอยู่ในปัจจุบันและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | รายงานผลการจัดสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไทยตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ ประจำปี พ.ศ. 2566 | พณ. | 07/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการจัดสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไทยตามกฎหมายการค้าสหรัฐอเมริกาว่าด้วยว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
มาตรา ๓๐๑ พิเศษ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ และมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ
ดำเนินการส่งเสริมการคุ้มครองและป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพ
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ ๑. หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย ได้แก่
กระทรวงกลาโหม (กองทัพบกและกองทัพเรือ) กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร)
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม (กรมสอบสวนคดีพิเศษ)
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการพอกเงิน
และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติกวดขันปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจังและเต็มประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในท้องตลาดและช่องทางออนไลน์และเร่งดำเนินคดีกับผู้ผลิตสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาต้นน้ำ
การละเมิดลิซสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในภาคเอกชนและการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ผ่านอุปกรณ์หรือแอปพลิเคชันสำหรับการสตรีมและดาวน์โหลด ๒. หน่วยงานภาครัฐปฏิบัติตาม “แนวทางการจัดซื้อจัดจ้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์
(Software : ซอฟต์แวร์)
และการใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ”
อย่างเคร่งครัดตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๔ ๓.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการ่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเร่งรัดการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เพื่อนำไปสู่การออกกฎหมายให้เท่าทันกับสถานการณ์และรองรับการเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศต่อไป ๔.
กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเร่งรัดการพิจารณากำหนดให้ตำแหน่งผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเป็นตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้ได้รับเงินเพิ่ม ๕. กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับกรมบัญชีกลาง
กระทรวงการคลังพิจารณาแนวทางการขอหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องส่งเข้าเงินคงคลังไว้เป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเพื่อช่วยสะสางงานค้างสะสม โดยให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงยุติธรรม และสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นว่ากรณีการขอหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องส่งเข้าเงินคงคลังไว้เป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเพื่อช่วยสะสางงานค้างสะสม
นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ.
๒๔๙๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๔ วรรคสอง กำหนดข้อบังคับกระทรวงการคลังว่าด้วยการหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
พ.ศ. ๒๕๔๙ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม อนุญาตให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาก่อนนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการส่งเสริมและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาได้ตามหลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด ควรให้มีการบูรณาการและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง
และการมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ
ส่งเสริมการคุ้มครองและป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพ นั้น
ในขั้นตอนการปฏิบัติ หน่วยงานต่าง ๆ จะต้องพิจารณาดำเนินการ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับกฎหมาย
ระเบียบ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การบูรณาการการดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเร่งด่วน | นร. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
เพื่อให้การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาสำคัญเร่งด่วนของชาติ
รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องต่าง ๆ
ทั้งที่เป็นภัยทางสังคมและภัยทางธรรมชาติ
สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นบรรลุผลได้อย่างรวดเร็วและเท่าทันสถานการณ์ให้มากที่สุด
จึงขอให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
ประสานความร่วมมือและร่วมดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการป้องกัน
แก้ไขปัญหา และให้ความช่วยเหลือเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องต่าง ๆ เช่น
ปัญหาภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด
เพื่อบูรณาการการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การกำหนดให้การจัดการขยะเป็นวาระเร่งด่วน | นร. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า เนื่องจากปัญหาขยะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชนจำเป็นจะต้องร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน
ให้สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
จึงเห็นควรดำเนินการ ดังนี้ ๑. ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเป็นหน่วยงานนำร่องในการดำเนินการบริหารจัดการขยะภายในหน่วยงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและมีความต่อเนื่อง
โดยให้ดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งระบบ ตั้งแต่ในระดับต้นทาง เน้นการลดปริมาณขยะ (Reduce) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ระดับกลางทาง
เน้นการส่งเสริมให้มีการแยกขยะเพื่อให้สามารถนำขยะกลับมาใช้ซ้ำหรือใช้ใหม่
และนำขยะเข้าสู่กระบวนการกำจัดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และระดับปลายทาง
มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีภารกิจจัดการขยะเร่งดำเนินการกำจัดขยะที่มีอยู่ให้หมดไปและไม่เกิดการตกค้าง
รวมทั้งให้จัดหาพื้นที่กำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะ
โดยใช้วิธีการกำจัดขยะที่เหมาะสมกับขยะแต่ละประเภทตามหลักวิชาการและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณากำหนดแนวทางการลดปริมาณขยะของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐให้ชัดเจน
เหมาะสม เช่น การลดการใช้ขวดและถุงพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติกต่าง ๆ
แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายกมลสิษฐ์ วงศ์บุตรน้อย) | ปปง. | 15/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายกมลสิษฐ์ วงศ์บุตรน้อย
ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๖๙ (๒)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... | ทส. | 25/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการคุ้มครองพื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดปัตตานี
เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ เนื้อที่ประมาณ
๑๙,๙๓๗
ไร่ ซึ่งประกอบด้วย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า และสัตว์ป่านานาชนิด
ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง เพื่อประโยชน์ในการสงวน การอนุรักษ์
และการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนให้คงสภาพธรรมชาติและมีสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่มีความสมบูรณ์
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2566 | นร.11 สศช | 18/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
(คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๖ โดย คกง.
มีมติเกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ปี ๒๕๖๖ ของกระทรวงมหาดไทย จำนวน ๒ จังหวัด รวม ๒ โครงการ กรอบวงเงินรวม ๒๒.๘๘๕๐
ล้านบาท ได้แก่ ยกเลิกการดำเนินโครงการ จำนวน ๑ จังหวัด (จังหวัดน่าน) จำนวน ๑
โครงการ และขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๖ จำนวน ๑
จังหวัด (จังหวัดตรัง) จำนวน ๑ โครงการ ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการ คกง. เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
กระทรวงมหาดไทยควรกำกับติดตามหน่วยงานในสังกัดให้ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้เป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด
และหน่วยงานรับผิดชอบโครงการจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตามหลักเกณฑ์
อัตราค่าใช้จ่าย และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด รวมทั้งเร่งรัดการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลโครงการ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารฯ สายสีเหลือง สายเฉลิมรัชมงคล และสายฉลองรัชธรรม ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม พ.ศ. 2565 พ.ศ. .... และร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยอัตราและวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์และค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่นๆ เกี่ยวกับการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ พ.ศ. .... (รวม 5 ฉบับ) | คค. | 27/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบ ๑.๑
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร
วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดค่าโดยสาร โดยมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้น ๑๕ บาท
สูงสุด ๔๕ บาท (๒๓ สถานี) ๑.๒
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร
วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร
สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร
สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อเพิ่มหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนถ่ายระบบกับรถไฟฟ้าสายอื่น
ๆ (คงอัตราค่าโดยสารตามข้อบังคับฉบับเดิม มี ๓๘ สถานี เริ่มต้นที่ ๑๗ บาท สิ้นสุด
๔๓ บาท ๑.๓
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร
วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร
สายฉลองรัชธรรม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร
สายฉลองรัชธรรม พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อเพิ่มหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนถ่ายระบบกับรถไฟฟ้าสายอื่น
ๆ (คงอัตราค่าโดยสารตามข้อบังคับฉบับเดิม มี ๑๖ สถานี เริ่มต้นที่ ๑๔ บาท สิ้นสุด
๔๒ บาท ๑.๔
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม พ.ศ. ๒๕๖๕ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม พ.ศ. ๒๕๖๕
เนื่องจากได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การให้ส่วนลดกรณีการเปลี่ยนถ่ายระบบภายใต้การจัดเก็บค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวไว้ในร่างข้อบังคับตามข้อ
๑.๑ ข้อ ๑.๓ ไว้แล้ว ๑.๕
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยอัตราและวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์และค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่น
ๆ เกี่ยวกับการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเพื่อให้การกำหนดอัตราค่าบริการจอดรถยนต์และวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์สำหรับอาคารจอดรถยนต์ทุกแห่ง
รวมถึงอาคารจอดรถยนต์อื่น ๆ ในอนาคตของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยรวมไว้ในฉบับเดียวกัน รวม ๕ ฉบับ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ๒. ให้กระทรวงคมนาคม
(การรถไฟฟ้าขนส่งมวลแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในกรณีการดำเนินการตามร่างข้อบังคับดังกล่าวจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หรือกระทบต่อการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลแห่งประเทศไทยดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
รวมทั้งกรณีการยกเว้นค่าโดยสารให้แก่พนักงานและลูกจ้างของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลแห่งประเทศไทย
ควรสร้างความชัดเจนว่าเข้าข่ายเป็นค่าตอบแทนหรือสวัสดิการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่
และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2565 | สช. | 27/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ครั้งที่ ๑๕ พ.ศ. ๒๕๖๕ รวม ๓ มติ ได้แก่ มติ ๑ การขจัดความยากจนตามแนวคิดเศรษฐกิจ BCG : การยกระดับเศรษฐกิจครัวเรือน มติ ๒
การขับเคลื่อนแพลตฟอร์มเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของประชาชน
ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และมติ ๓
การจัดการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในวิกฤตสุขภาพ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติฯ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ
และกระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และสำนักงบประมาณ
ข้อสังเกตของกระทรวงแรงงานและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรมีหน่วยงานในการติดตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญในการกำหนดกรอบทิศทางนโยบายสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ แล้วแต่กรณี ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2566 | นร.11 สศช | 20/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี ๒๕๖๖ สรุปได้ ดังนี้
(๑) ความเคลื่อนไหวทางสังคมไตรมาสหนึ่ง ปี ๒๕๖๖
มีการจ้างงาน จำนวน ๓๙.๖ ล้านคน ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ ๒.๔
และอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ ๑.๐๕ ปรับตัวดีขึ้นเข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนหนี้สินครัวเรือนในไตรมาสสี่
ปี ๒๕๖๕ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๕ แต่ชะลอตัวจากไตรมาสที่ผ่านมา
ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนทรงตัว
นอกจากนี้ จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒๔.๕
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ
๒๐๓.๔ จากไตรมาสที่ผ่านมา (๒) สถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ
เช่น มูเตลู : โอกาสในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อ
โดยการท่องเที่ยวมูเตลู สามารถเป็น soft power เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวได้
ซึ่งภาครัฐควรกำหนดนโยบายและแนวทางพัฒนาที่ชัดเจน
และวิสาหกิจเพื่อสังคมกับการรองรับสังคมสูงวัย องค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ
ได้เข้ามาช่วยดูแลกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะวิสาหกิจเพื่อสังคม
ซึ่งเป็นกลไกที่มีความยั่งยืนเนื่องจากสามารถสร้างรายได้ด้วยตัวเองและเกิดความร่วมมือของคนในพื้นที่
และ (๓) บทความ “ คุณธรรมในสังคมไทย”
คนไทยส่วนใหญ่มีคุณธรรมอยู่ในระดับพอใช้และระดับคุณธรรมวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลง
ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศคุณธรรมในสังคมไทยและส่งเสริมให้คนไทยมีการดำเนินชีวิตสู่วิถีชีวิตแห่งคุณธรรม
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 | ปช. | 09/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่า
รายงานการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การขอความเห็นชอบโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบราง | พม. | 14/03/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของแผนงานและงบประมาณโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบราง
(ระยะเวลาการดำเนินโครงการ ๕ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ วงเงินทั้งสิ้น ๗,๗๑๘.๙๔
ล้านบาท) ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
๒๕๖๖ และปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ [สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)] ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ [สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
(องค์การมหาชน)] รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(ตามหนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร
๑๑๐๕/๖๕๔๐ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) เช่น ควรให้ความสำคัญกับการควบคุม
และกำกับดูแลการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และพื้นที่ดำเนินโครงการที่อยู่ในแผนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์
ซึ่งมีรูปแบบเป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน
ควรกำหนดสัดส่วนแหล่งเงินทุนดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบราง
ที่มาจากภาคเอกชนด้วย เพื่อลดภาระทางการคลังของภาครัฐ
และเพื่อให้ภาคเอกชนในฐานะผู้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนามีบทบาทช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
ทั้งในรูปของตัวเงินหรือการสนับสนุนอื่น ๆ อาทิ การจ้างงาน การพัฒนาอาชีพ
หรือการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อก่อสร้าง/ปรับปรุง ซ่อมแซมถนน แหล่งกักเก็บน้ำหรือสิ่งสาธารณประโยชน์อื่น ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้รับความเสียหายจากสาธารณภัย | มท. | 07/03/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อก่อสร้าง/ปรับปรุง ซ่อมแซมถนน แหล่งกักเก็บน้ำ
หรือสิ่งสาธารณประโยชน์อื่น ๆ
ที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ซึ่งได้รับความเสียหายจากสาธารณภัย จำนวน ๗๖ จังหวัด ๒,๗๖๕ โครงการ งบประมาณ ๘,๑๗๑,๕๙๘,๘๐๐ บาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
และให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษาถนน แหล่งกักเก็บน้ำ และสิ่งสาธารณประโยชน์ดังกล่าวให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | มาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้น | มท. | 07/03/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้จ่ายในวงเงิน ๓,๑๙๑,๗๔๐,๐๐๐
บาท โดยใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนมกราคมถึงเมษายน ๒๕๖๖ เพื่อให้ส่วนลดอัตราค่าไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน
๓๐๐ หน่วยต่อเดือน โดยเป็นกรอบวงเงินของการไฟฟ้านครหลวง จำนวน ๕๑๗,๙๕๐,๐๐๐ บาท
และเป็นกรอบวงเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน ๒,๖๗๓,๗๙๐,๐๐๐ บาท
โดยให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเบิกจ่ายเงินจากสำนักงบประมาณต่อไป
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (รองศาสตราจารย์ประวิต เอราวรรณ์) | ศธ. | 28/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ประวิต เอราวรรณ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
ประธานกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร) | ศธ. | 21/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
แทนประธานกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนทาสบเส้า จังหวัดลำพูน พ.ศ. .... | มท. | 07/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนทาสบเส้า จังหวัดลำพูน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา
จังหวัดลำพูน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมือง
และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค การบริการสาธารณะ
และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ซึ่งมีนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนทาสบเส้าให้เป็นศูนย์กลางการบริหาร
การค้าและการบริการในระดับอำเภอ ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม
รวมทั้งสงวนและรักษาพื้นที่เกษตรกรรม
และพื้นที่โล่งของชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์ตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้
๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ โรงงานลำดับที่ ๑๐๕
ที่กำหนดไว้ในท้ายประกาศกระทรวงฯ
ควรกำหนดให้ดำเนินการได้เฉพาะในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
และให้ความสำคัญกับการจัดทำข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น
ในเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินหลัก
เพื่อใช้ประกอบการประเมินผลการบังคับใช้ผังเมืองรวมในอนาคต
การพิจารณาอนุญาตต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการดำรงชีวิตปกติสุขของประชาชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
เพื่อรักษาพื้นที่เกษตรกรรมและสภาพแวดล้อม
รวมถึงพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |