ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 16 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 311 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การดำเนินการตามข้อสังเกต (Concluding Observations) ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ต่อรายงานประเทศฉบับที่ 4-8 ของประเทศไทย | ยธ. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบข้อสังเกต
(Concluding Observations)
ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
ต่อรายงานประเทศฉบับที่ ๔-๘ ของประเทศไทย
และตารางหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ
และพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ
ดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและข้อเสนอแนะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่เห็นว่าการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สามารถเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยป้องกันคนในสังคมให้หลีกเลี่ยงการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์และโซเซียลมีเดียในทางที่ผิด
หรือนำมาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ Hate Speech และ Hate
Crime ทางเชื้อชาติได้ และในประเด็นที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบ จำนวน ๓ ประเด็น ประกอบด้วย ๑)
ประเด็นที่ดิน อาณาเขต และทรัพยากรของกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม ๒)
ประเด็นการค้ามนุษย์ และ ๓) ประเด็นย่อหน้าที่มีความสำคัญเป็นการเฉพาะ
พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นแรงงานข้ามชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ขอความเห็นชอบการปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงขององค์การเภสัชกรรม | สธ. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบการขยายเพดานอัตราค่าจ้างขั้นสูงของพนักงานองค์การเภสัชกรรม
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑.๑ ระดับ ๙ จากอัตรา ๙๕,๘๑๐ บาท เป็นอัตรา ๑๑๘,๐๒๐ บาท ๑.๒ ระดับ ๑๐ จากอัตรา ๑๐๔,๓๑๐ บาท เป็นอัตรา
๑๒๗,๐๒๐ บาท ๑.๓ ระดับ ๑๑ จากอัตรา ๑๑๓,๕๒๐ บาท เป็นอัตรา
๑๓๘,๒๗๐ บาท ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุข
(องค์การเภสัชกรรม) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณที่เห็นควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า
ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐประกอบด้วย
และควรพิจารณาค่าใช้จ่ายบุคลากรให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
โดยคำนึงถึงสถานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของหน่วยงานอย่างรอบคอบ
จัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานหรือการเพิ่มรายได้
รวมทั้งแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาระงบประมาณและเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน
รวมถึงฐานะทางการเงินในอนาคต
โดยคำนึงถึงหลักความคุ้มค่าและประหยัดในการใช้จ่ายงบประมาณอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชุ่มน้ำ | ทส. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐ และวันที่ ๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จากเดิม ที่มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานประสานงานระดับชาติและตั้งงบประมาณสำหรับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ
รวมทั้งเป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินการตามมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็น
ให้กรมทรัพยากรน้ำ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบแทน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้แก้ไขชื่อหน่วยงานในมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ (เรื่อง
การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ เรื่อง
ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติของประเทศไทย
และมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ) จากเดิม “กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี”
เป็น “กรมเจ้าท่า” ตามความเห็นของกระทรวงคมนาคม รวมทั้งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่เห็นควรปรับรายชื่อหน่วยงานสนับสนุนท้ายมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่ขอทบทวนให้สอดคล้องเป็นปัจจุบัน
และขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นเงินบริจาคสนับสนุนอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ที่ได้รับจัดสรรแล้ว
โดยค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป
ขอให้กรมทรัพยากรน้ำจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามอัตราที่กำหนดตามขั้นตอนต่อไป
ควรใช้กลไกที่มีอยู่เพื่อให้การอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมความหลากหลายของระบบนิเวศ
เช่น การดำเนินการของสถาบันการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาศักยภาพ
เสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะในการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกกระทรวง
ตลอดจนประชาชนทั่วไป และพิจารณาวางแผนการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ของพื้นที่ชุ่มน้ำตามลำดับความสำคัญแต่ละแห่งให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การดำเนินโครงการบรรพชาอุปสมบทถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา | วธ. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ
และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท ๙๙ รูป
ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
โดยไม่ถือเป็นวันลา
เสมือนเป็นการปฏิบัติราชการและได้รับเงินเดือนตามปกติระหว่างวันที่ ๒๓ ธันวาคม
๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๖
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ขอความเห็นชอบแผนการดำเนินงาน กรอบงบประมาณ การจัดงาน Expo 2025 Osaka Kansai ณ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น | สธ. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการดำเนินงานเข้าร่วมการจัดงาน
Expo 2025 Osaka Kansai ณ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น
และกรอบงบประมาณจำนวนเงินทั้งสิ้น ๙๗๓,๔๘๒,๐๑๑ บาท ระยะเวลาปีงบประมาณ ๒๕๖๖-๒๕๖๙ เพื่อใช้จัดงานนิทรรศการ Expo
2025 Osaka Kansai ณ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น
และมอบหมายสำนักงบประมาณพิจารณาแหล่งเงินที่เหมาะสมในการดำเนินงาน โดยให้อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
โดยตำแหน่งเป็น Commissioner General of Section (CG)
ของประเทศไทย เป็นผู้ลงนามในสัญญาต่าง ๆ สำหรับการเข้าร่วมงาน Expo
2025 Osaka Kansai ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ทั้งนี้
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดงาน Expo 2025 Osaka Kansai ให้กระทรวงสาธารณสุข
(กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม และกำกับดูแลการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
สำหรับการจัดสรรงบประมาณและแหล่งเงินในการดำเนินงานให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
การสนับสนุนบริการสุขภาพต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ก่อนลงนามในสัญญาใด ๆ อย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นางสาวบุปผา เรืองสุด และนายประทีป ทรงลำยอง) | รง. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงแรงงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๒ ราย
เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้ ๑. นางสาวบุปผา เรืองสุด ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อว. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมและสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์เพิ่มขึ้น
และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชาดังกล่าว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... | มท. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 4/2565 | ศอบต. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
(กพต.) ครั้งที่ ๔/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕
ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑. เรื่องเพื่อทราบ จำนวน ๗ เรื่อง ได้แก่ (๑) รายงานความก้าวหน้ากิจกรรมโคบาลชายแดนใต้ภายใต้โครงการเมืองปศุสัตว์กรอบระเบียบฮาลาล
จังหวัดชายแดนภาคใต้ (๒) รายงานความก้าวหน้าโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและประวัติศาสตร์อุโมงใหญ่ “ต้าสวุ่ยต้อ”
ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา (๓)
รายงานความคืบหน้าการพัฒนาศักยภาพด่านศุลกากรชายแดนไทย-มาเลเซีย
เพื่อยกระดับการค้าชายแดนและความร่วมมือในมิติต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส
(ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก ด่านศุลกากรตากใบ และด่านศุลกากรบูเก๊ะตา) (๔)
รายงานความก้าวหน้าโครงการพลังงานไฟฟ้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ (๕) รายงานความก้าวหน้าโครงการพลังงานไฟฟ้า (๖)
รายงานความก้าวหน้าการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาของน้ำทุกระบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
และ (๗) ผลการเยือนจังหวัดชายแดนภาคใต้ของนาย ยูซุฟ อัล-ดูเบอี ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายการเมือง
องค์การความร่วมมืออิสลามและคณะระหว่างวันที่ ๒๙-๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๕ ๒. เรื่องการติดตามความก้าวหน้าตามมติ กพต. จำนวน ๓ เรื่อง ได้แก่
(๑) โครงการเสริมสร้างคนดีตามหลักการทางศาสนาเพื่อสืบสานและรักษาสังคมพหุวัฒนธรรมที่ดีงามของจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐ (๒) กิจกรรมมหกรรมการอ่านแห่งชาติ “มหัศจรรย์สร้างสรรค์
และการอ่านเพื่อเด็กปฐมวัย ชายแดนใต้”
ภูมิภาษา วิถีพหุวัฒนธรรม นวัตกรรม สุขภาวะเด็กปฐมวัย และ (๓)
การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็กเล็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ (๔
จังหวัด และ ๔ อำเภอ ในจังหวัดสงขลา) ๓. เรื่องเพื่อพิจารณา จำนวน ๕ เรื่อง ได้แก่ (๑) ขออนุมัติหลักการโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและบูรณปฏิสังขรณ์วัดและโบราณสถานทางพระพุทธศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
(๒) ขออนุมัติหลักการส่งเสริมอัตลักษณ์ทางภาษา ประเพณี วัฒนธรรม
เพื่อสร้างความเข้มแข็งของสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (๓) ขออนุมัติหลักการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเชิงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส
ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (๔) ขออนุมัติหลักการการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายพลเรือนที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
และ (๕) ขอทบทวนมติ กพต. ครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เรื่อง
การสนับสนุนสวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | แผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 3 (พ.ศ. 2564-2568) | กต. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ (๑)
ผลการเข้าร่วมการรับรองผลการนำเสนอรายงานประเทศตามกลไก Universal
Periodic Review (UPR) รอบที่ ๓
ในการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human
Rights Council-UNHCR) สมัยที่ ๔๙ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕
ซึ่งคณะผู้แทนถาวรไทย ณ นครเจนีวา ได้ร่วมรับรองผลการนำเสนอรายงานประเทศฯ และแจ้งตอบรับข้อเสนอแนะภายใต้กลไก
UPR เพิ่มอีก ๒๕ ข้อ
(จากเดิมที่ได้ตอบรับไว้แล้วในที่ประชุมคณะทำงาน UPR สมัยที่
๓๙ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ จำนวน ๑๙๓ ข้อ และขอนำกลับมาพิจารณาเพิ่มเติม ๘๕
ข้อ) รวมเป็น ๒๑๘ ข้อ และรับทราบ (ไม่ตอบรับ) ข้อเสนอแนะ ๖๐ ข้อ รวมทั้งได้ให้คำมั่นโดยสมัครใจรวม
๘ ข้อ และ (๒) ผลการดำเนินการภายหลังการรับรองผลการนำเสนอรายงานประเทศฯ
ซึ่งรวมถึงการยกร่างแผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก
UPR รอบที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๘) และเห็นชอบร่างแผนการปฏิบัติตามฯ
พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนการปฏิบัติตามดังกล่าวไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาปรับกรอบระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมตามร่างแผนการปฏิบัติตามฯ
ให้เหมาะสมสอดคล้องกับข้อเท็จจริง รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น
การกำหนดให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหน่วยงานรองในการร่วมมือกับหน่วยงานต่าง
ๆ ในการบริหารจัดการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-๑๙
(ศบค.) นั้น ปัจจุบันการปฏิบัติภารกิจของ ศบค. ได้ยุติลงแล้ว เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่) | กค. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน
๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่) และอนุมัติงบประมาณวงเงินรวม ๑,๒๕๐ ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน
๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่)
พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โดยในส่วนของค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเป็นภาระต่องบประมาณนั้น
ให้ธนาคารออมสินดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
เพื่อใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องด้วย
ควรมีการติดตามการใช้วงเงินกู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ควรประชาสัมพันธ์และสื่อสารทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
และเร่งพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ
เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | คค. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข
๗ และทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗
และทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๐๐.๐๑
นาฬิกา ของวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ ถึงเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันพุธที่ ๔
มกราคม ๒๕๖๖ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทางบนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลดังกล่าว
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรเร่งประชาสัมพันธ์การยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบนทางหลวงพิเศษดังกล่าว
เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางในช่วงวันหยุดราชการต่อเนื่องได้อย่างคล่องตัวสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฎกระทรวงต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ศธ. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้สถานศึกษาที่มีนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งตั้งครรภ์อยู่ในสถานศึกษาต้องไม่ให้นักเรียนหรือนักศึกษานั้นออกจากสถานศึกษาดังกล่าว
เว้นแต่เป็นการย้ายสถานศึกษาตามเจตนารมณ์ของนักเรียนหรือนักศึกษาที่ตั้งครรภ์
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Startup) | ดศ. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital
Startup) ได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นหน่วยงานจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล
และเป็นหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประกอบการดิจิทัลและบริการดิจิทัลที่ขอขึ้นทะเบียนบัญชีดิจิทัล
และมอบหมายให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พิจารณาผลักดันบัญชีบริการดิจิทัลเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
และเป็นหนึ่งในหมวดพัสดุที่รัฐต้องส่งเสริมหรือสนับสนุน
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการดิจิทัลร่วมพัฒนาระบบราชการไทย ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เช่น
ควรคำนึงถึงการลดต้นทุนของการจัดทำบริการดิจิทัลผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น
(Digital Startup) และช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ควรมีผู้แทนของกรมต่าง
ๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีส่วนร่วม คำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า
ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ ควรพิจารณากำหนดให้มีคณะทำงานหรือคณะกรรมการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลที่ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
อาทิ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
กรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย
เพื่อให้เกิดการบูรณาการและประโยชน์จากองค์ความรู้ ฐานข้อมูล
และความเชี่ยวชาญของบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 | ดศ. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙
สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐
เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) นโยบายการดำเนินงานด้าวเทียมสื่อสารแห่งชาติ
และรับทราบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศของประเทศ ตามที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอ ๒. เห็นชอบในหลักการ (ร่าง)
นโยบายการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ มีสาระสำคัญเพื่อเป็นกรอบนโยบายในการจัดสร้างหรือการบริหารจัดการดาวเทียม
และการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมของรัฐ เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานรัฐ และมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติที่เหมาะสมที่สุดและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
โดยให้รับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางประกอบการพิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมายและพันธกรณีต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ในฐานะฝ่ายเลขานุการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เช่น
(๑) ให้เร่งรัดดำเนินการตามมติของคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เพื่อให้การดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติเกิดผลสำเร็จ
เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป (๒) เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว
หากไม่เพียงพอเห็นควรให้ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ แล้วแต่กรณี
โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | การจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) [ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....] | ดศ. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ
(องค์การมหาชน) พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการยกฐานะของสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ
(Government Big Data Institute : GBDI)
หน่วยงานภายในภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ให้เป็นสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (National Big
Data Institute : NBDI) ซึ่งเป็นองค์การมหาชน
เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อน วิเคราะห์
และบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศโดยตรง ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้แก้ไขชื่อหน่วยงาน ตัดคำว่า
“คลัง” และ “แห่งชาติ” ออก เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน
ตลอดจนมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ที่กำหนดว่า
“ไม่ควรใช้คำว่า “แห่งชาติ”
ในการกำหนดชื่อหน่วยงานของรัฐเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเอกรัฐ
และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งทำหน้าที่ในฐานะ “แห่งชาติ” อยู่แล้ว” และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ เช่น การกู้ยืมเงินของ NDBI ต้องทำด้วยความระมัดระวัง
รอบคอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk)
โดยจะต้องยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะและกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ตลอดจนระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรให้ผู้บริหารหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับมิติด้านเศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นกรรมการด้วย
ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาปรับเปลี่ยนองค์กรรูปแบบใหม่
เมื่อได้ดำเนินการจัดตั้ง NDBI ครบ ๒ ปี เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | รายงานผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนโครงการชุมชนไม้มีค่า ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 - 2564) | อว. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนโครงการชุมชนไม้มีค่า
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๔)
ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (๑) กรมป่าไม้ได้ออกพระราชบัญญัติป่าไม้
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๒ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๗ เพื่อปลดล็อกไม้หวงห้าม (๒)
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อสร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยี
และนวัตกรรมเกี่ยวกับฐานข้อมูล “ชนิดไม้มีค่าที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
และแปลงสาธิตการปลูก” การพัฒนาเทคโนโลยี
และนวัตกรรมแม่นยำทางป่าไม้เพื่อสนับสนุนการจัดการและการประเมินมูลค่าไม้ และ (๓) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มชุมชนไม้มีค่า
จำนวน ๓๒๑ ชุมชน ทำให้มีรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากต้นไม้และป่าไม้ประมาณ ๙๐
ล้านบาท และสนับสนุนชุมชนไม้มีค่าในการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก จำนวน ๖๐ ชุมชน
ได้ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนปริมาณ ๔๖๘,๓๕๕ ตัน คาร์บอนไดออกไซด์
รวมทั้งสนับสนุนเกษตรกรในการใช้ต้นไม้เป็นหลักประกัน
โดยเบื้องต้นได้สนับสนุนเฉพาะในพื้นที่เอกสารสิทธิ์ จำนวน ๒๙๒ ต้น
และให้มูลค่าหลักประกันแก่เกษตรกรที่ใช้ต้นไม้ยื่นกู้ คิดเป็นมูลค่า ๓.๑๐ ล้านบาท
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ขอผ่อนผันการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ เพื่อการดำเนินโครงการหลวง จำนวน 39 โครงการ | ทส. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. อนุมัติผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรี
เพื่อดำเนินโครงการหลวง จำนวน ๓๙ โครงการ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
ดังนี้
๑.๑ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓
ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ในเขตพื้นที่ต้นน้ำชั้นที่
๑
๑.๒ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ และวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๓๕
ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มเติม
(โซนซี)
๑.๓ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๒๘ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๙
และวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ บี และลุ่มน้ำชั้นที่ ๒ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เช่น (๑)
การดำเนินกิจกรรมของโครงการหลวงจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อพื้นที่ต้นน้ำและทรัพยากรป่าไม้ในบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์
(๒)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำที่สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
๒๐ ปี ด้วย ตัวอย่างเช่น การอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำ การรักษาสมดุลของระบบนิเวศทั้งลุ่มน้ำ
และ (๓) หากมีการดำเนินการใด ๆ ในแม่น้ำลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ ทะเล หรือบนชายหาดของทะเลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย
พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ.2564-2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566-2570 และ (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566-2570 | อว. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ (แผนด้านการอุดมศึกษาฯ) และ (ร่าง)
แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
เป็นแผนภายใต้กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ (แผนด้าน ววน.) จัดทำขึ้นเพื่อใช้ทดแทนนโยบายและยุทธศาสตร์เดิม
โดยกำหนดให้มีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดในช่วงเวลาเดียวกัน ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติเสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
๑.๑ แผนด้านการอุดมศึกษาฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
ประกอบด้วย ๓ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) พัฒนาศักยภาพคน (Capacity Building) (๒) ส่งเสริมระบบนิเวศวิจัยอุดมศึกษา (Research Ecosystem
Building) (๓) จัดระบบอุดมศึกษาใหม่ (Higher Education
Transformation) และมีการขับเคลื่อนสำคัญกำหนดเป็น ๗ นโยบายหลัก (Flagship
Policies) และ ๓ กลไกหลัก (Flagship Mechanisms) ตามความสำคัญเร่งด่วน เช่น กำลังคนระดับสูงที่มีทักษะรองรับอุตสาหกรรมและบริการใหม่แห่งอนาคตเพิ่มขึ้น
การรองรับสังคมสูงวัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยสมบูรณ์
การยกระดับฐานข้อมูลระบบอุดมศึกษาให้มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง แม่นยำ มีเสถียรภาพ
เป็นต้น
๑.๒ (ร่าง) แผนด้าน ววน. พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ ได้แก่
(๑) การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (๒)
การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทาย
และปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรม (๓) การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุคเพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต
และ (๔) การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน
โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ๒. ให้สภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงวัฒนธรรม รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงสาธารณสุข
เช่น แผนด้านการอุดมศึกษาฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
ควรมีความสอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ และควรมีการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐในการพัฒนานวัตกรรมที่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๓. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการดำเนินงาน
และติดตามความก้าวหน้าให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมตามห้วงระยะเวลาที่กำหนดด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว และปีแห่งการแลกเปลี่ยนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี ปี พ.ศ. 2566 - 2567 ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี | กก. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
และปีแห่งการแลกเปลี่ยนระหว่างราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๗
ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
โดยบันทึกความเข้าใจฯ
มีสาระสำคัญเป็นการสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพร่วมกัน
ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย ๒. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|