ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 12 จากข้อมูลทั้งหมด 12 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานในเขตโครงการชลประทานบุรีรัมย์ เป็นทางน้ำชลประทานที่เรียกเก็บค่าชลประทาน จำนวน 3 ฉบับ | กษ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานในเขตโครงการชลประทานบุรีรัมย์
เป็นทางน้ำชลประทานที่เรียกเก็บค่าชลประทานดังกล่าว จำนวน ๓ ฉบับ ได้แก่ ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยสวาย
เป็นทางน้ำชลประทานที่เรียกเก็บค่าชลประทาน พ.ศ. .... ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยตาเขียว
เป็นทางน้ำชลประทานที่เรียกเก็บค่าชลประทาน พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำลำตะโคง
เป็นทางน้ำชลประทานที่เรียกเก็บค่าชลประทาน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ทางน้ำชลประทานในท้องที่ตามร่างกฎกระทรวง
เป็นทางน้ำชลประทานจากผู้ใช้น้ำที่นำน้ำไปใช้เพื่อกิจการโรงงาน การประปา
หรือกิจการอื่นนอกจากภาคเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลปริมาณน้ำ
และให้การใช้น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของจุดยึดโยงต่าง
ๆ รวมทั้งแก้ไขชื่อผู้มีอำนาจลงนามให้เป็นปัจจุบันก่อนประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไปด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล และน้ำมันอื่น ๆ
ที่คล้ายกัน ในบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่
๐๑.๐๕ รายการน้ำมันดีเซลที่มีกำมะถัน
และรายการน้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลที่สะท้อนต้นทุนตามข้อเท็จจริง เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงภาระการชดเชยต้นทุนส่วนต่าง
ตลอดจนความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรเสนอมาตรการจัดหารายได้เพื่อชดเชยการสูญเสียรายได้ที่เกิดจากการลดภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันดีเซลและน้ำมันอื่น
ๆ ที่คล้ายกันให้มีความชัดเจน หรืออาจทยอยผ่อนคลายการดำเนินมาตรการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการช่วยเหลือประชาชนในมิติอื่น
เพื่อบรรเทาค่าครองชีพของประชาชนที่จะปรับตัวสูงขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๔.
ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | หลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ | นร.10 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดทำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางการดำเนินการเพื่อให้การส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามมติคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
โดยให้คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมและสำนักงาน ก.พ.
รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาประเด็นในหลักสูตรการอบรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นที่ได้จัดทำอยู่แล้ว
และกำหนดแนวทางการนำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐมาใช้ให้ชัดเจนและเหมาะสมกับหน่วยงานแต่ละประเภทด้วย
จึงจะเป็นการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีมาตรฐานจริยธรรมในระดับเดียวกันได้
ไปพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางดำเนินการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
แล้วให้แจ้งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล
และองค์กรอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แผนงานเชิงรุกของรัฐบาล : การยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) (พ.ศ. 2565 - 2567) ของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา | สว. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง แผนงานเชิงรุกของรัฐบาล : การยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
(Corruption Perceptions Index : CPI) (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗) ของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล
วุฒิสภา ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสรุปได้ว่าสามารถขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าวได้
รวมถึงได้มีการให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานเพิ่มเติม
และได้ให้ข้อสังเกตในบางมาตรการที่อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้
หรืออาจต้องหารือในรายละเอียดเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและไม่ส่งผลกระทบต่อไปในอนาคต
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเสนอ และให้แจ้งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement : NAM) | กต. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
(Non-Aligned Movement : NAM)
มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๕ เกี่ยวกับร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ภายใต้หัวข้อ “บทบาทของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในการพื้นฟูทั่วโลกภายหลังการแพร่ระบาดครั้งใหญ่
: หนทางสู่อนาคต” โดยร่างปฏิญญาทางการเมืองฯ
มีสาระสำคัญเป็นการเน้นย้ำถึงวิสัยทัศน์และหลักการของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่ยึดมั่นในสันติภาพ
ความเสมอภาค และความร่วมมือ
โดยมิได้ใช้ถ้อยคำที่มุ่งหมายให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ
กรณีจึงไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ภายใต้หัวข้อ “บทบาทของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในการพื้นฟูทั่วโลกภายหลังการแพร่ระบาดครั้งใหญ่
: หนทางสู่อนาคต”
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และร่างคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน และปฏิบัติราชการแทนกัน ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง | นร.04 | 30/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
และร่างคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน
และปฏิบัติราชการแทนกัน
ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้
หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การประชุม International Tiger Forum ครั้งที่ 2 ณ สหพันธรัฐรัสเซีย | ทส. | 30/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | มาตรการกำกับดูแลและคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากการบริโภคกัญชาและกัญชง | นร. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี
(นายวิษณุ เครืองาม) เสนอว่า โดยที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ พ.ศ. ๒๕๖๕ ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
ได้กำหนดให้สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชง ซึ่งเป็นพืชในสกุล Cannabis เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๕
ยกเว้นสารสกัดที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol,
THC) ไม่เกินร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก
เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้สกัดจากกัญชาหรือกัญชงที่ปลูกภายในประเทศ
หรือสารสกัดจากเมล็ดพันธุ์พืชกัญชาหรือกัญชง ที่ได้รับการปลูกภายในประเทศ
จะมีผลใช้บังคับในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๕ ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๕
เป็นต้นไป จะทำให้สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชง
หากมีสารสกัดที่มีปริมาณสาร THC ไม่เกินร้อยละ ๐.๒
โดยน้ำหนัก ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ อีกต่อไปและสามารถดำเนินการใด ๆ
ได้อย่างถูกกฎหมายซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับกัญชาในขั้นตอนต่าง ๆ
จึงมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อกำหนดมาตรการกำกับดูแลและคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากการบริโภคกัญชาและกัญชง
โดยขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. .... ซึ่งมีหลักการดังกล่าวเสนอโดยสมาชิกพรรคภูมิใจไทยและพรรคพลังประชารัฐ
อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น
ในระหว่างที่กฎหมายดังกล่าวยังไม่มีผลใช้บังคับ
จึงมีความจำเป็นต้องสร้างความรับรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนในการนำกัญชาและกัญชงไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและตระหนักถึงภัยของกัญชาและกัญชงที่ยังมีอยู่
ตลอดจนพฤติกรรมที่รัฐยังจำเป็นต้องควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ
เห็นควรให้มีการบูรณาการนโยบายพืชกัญชาและกัญชงขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี
เป็นประธานกรรมการ และกรรมการที่มาจากผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ตลอดจนนักวิชาการ และภาคประชาชน
เพื่อทำหน้าที่ชั่วคราวในการกำหนดมาตรการกำกับดูแลและคุ้มครองในเรื่องต่าง ๆ
รวมทั้งสร้างความเข้าใจกับประชาชนและคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ (international
Narcotics Control Board : INCB) จนกว่ากฎหมายจะมีผลใช้บังคับ
ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วลงมติเห็นชอบตามที่ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ
เครืองาม) เสนอ และให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของเวทีทบทวนการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศและคำมั่นโดยสมัครใจของไทย | กต. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาความคืบหน้าของการดำเนินการตามการรับรองข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย
เป็นระเบียบ และปกติ (Global Compact for
Safe, Orderly and Regular Migration : GCM)
และเห็นชอบให้คณะผู้แทนไทยร่วมรับรองร่างปฏิญญาความคืบหน้าฯ ในเวทีทบทวนการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศ
รวมทั้งให้ความเห็นชอบต่อร่างคำมั่นโดยสมัครใจของไทยเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย
เป็นระเบียบ และปกติ เพื่อให้คณะผู้แทนไทยประกาศในเวทีทบทวนการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับข้อสังเกตของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เห็นว่าอาจไม่มีความจำเป็นในการตั้งเป้าหมายตัวเลขค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างประเทศ
เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการดำเนินการและเป็นไปตามระดับความพร้อมของแต่ละประเทศ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาความคืบหน้าของเวทีทบทวนการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ผลการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (13th IMT-GT Summit) | นร.11 สศช | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | แนวทางการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของไทย | กต. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน
(High-Level Political Forum on Sustainable
Development : HLPF) ประจำปี ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๖-๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔
ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ซึ่งในการประชุมฯ
มีการนำเสนอ ดังนี้ (๑) รายงานการทบทวนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.
๒๐๓๐ ระดับชาติ โดยสมัครใจ (๒)
รายงานความคืบหน้าของไทยในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ และ (๓)
รับรองปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุม HLPF โดยมีประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับการฟื้นฟูจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable
Development Goals : SDGs) หลังจากสถานการณ์โรคโควิด-๑๙
และแนวทางการขับเคลื่อน SDGs กับภาคีเพื่อการพัฒนา ทั้งนี้
ไทยได้นำแนวทางจากการประชุมดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อน SDGs ของไทยด้วย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ขออนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | สปสช. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ภายในวงเงิน ๒๐๔,๑๔๐,๐๒๗,๘๐๐ บาท ประกอบด้วย ค่าบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายรายหัว
ค่าบริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน
ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เป็นต้น สำหรับงบประมาณบริหารงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
วงเงิน ๑,๙๕๐,๘๓๘,๙๐๐ บาท นั้น
เห็นควรให้คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ให้ตามความจำเป็นเหมาะสม
ประหยัดและสอดคล้องกับภารกิจการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
(มติคณะกรรมการควบคุมคุณภาพฯ ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๕
พฤศจิกายน ๒๕๖๔) และข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรเร่งประชาสัมพันธ์การให้บริการดังกล่าวให้แก่ประชากรไทยทุกคน
โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีสวัสดิการรักษาพยาบาลของหน่วยงานอื่น เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างทั่วถึง
และควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของวงเงินที่เสนอขอ
โดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการงบประมาณให้มีความคุ้มค่าและคำนึงถึงความจำเป็นของการใช้จ่ายงบประมาณ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|