ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 16 จากข้อมูลทั้งหมด 16 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การวิจัยทางคลินิกและการจัดการข้อมูลการใช้สมุนไพรในคน ของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา | สว. | 14/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
การวิจัยทางคลินิกและการจัดการข้อมูลการใช้สมุนไพรในคน
ของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา และข้อสังเกตเพิ่มเติมของที่ประชุมวุฒิสภาในเรื่องดังกล่าว
เกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยทางคลินิกรวมถึงการจัดการข้อมูลการใช้สมุนไพรในคนอย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์สมุนไพรและภูมิปัญญาไทยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
และการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพของคนในประเทศเพื่อการบำบัดรักษาและป้องกันโรคภัย ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ ๒.
มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักรับรายงาน ข้อเสนอแนะของ คณะกรรมาธิการ
และข้อสังเกตเพิ่มเติมของที่ประชุมวุฒิสภาไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะและข้อสังเกตดังกล่าว
และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม
แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | มาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566) | กค. | 26/09/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดมาตรการในการพักหนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs)
ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เห็นชอบมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล
รวมถึงการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ผู้เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ดังกล่าวภายใต้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม
เพิ่มรายได้” และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวนรวมทั้งสิ้น ๑๒,๐๙๖ ล้านบาท โดยมอบหมายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมโดยคำนึงถึงสภาพคล่องของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรต่อไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป
ควรคัดกรองผู้ที่เข้าร่วมโครงการให้เป็นลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อนทางด้านสภาพคล่องอย่างแท้จริง
เพื่อมิให้ลูกหนี้ที่มีศักยภาพในการชำระหนี้ เกิดแรงจูงใจที่จะไม่ชำระหนี้
และมอบหมายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีข้อมูลของเกษตรกร
ร่วมกันประเมินสภาพปัญหาของผู้ที่แสดงความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ
และกำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือให้เหมาะสมแก่สภาพปัญหาของเกษตรกรแต่ละราย
ควรมีการสร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้ที่มีศักยภาพยังชำระหนี้ต่อเนื่อง
โดยออกแบบมาตรการที่ให้ผลตอบแทนแก่ลูกหนี้มากพอที่จะยังชำระหนี้ต่อ
รัฐจะต้องให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์และสื่อสารทำความเข้าใจกับลูกหนี้ถึงเจตนารมณ์และเงื่อนไขของโครงการอย่างชัดเจน
ครบถ้วน เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การจัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2566 ครบ 7 ปี | นร. | 26/09/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า วันที่ ๑๓ ตุลาคม ของทุกปี
ถือเป็นวันสำคัญของชาติและเป็นวันหยุดราชการประจำปี
เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร และสำหรับปีนี้นับเป็นวันแห่งการสวรรคตครบ ๗ ปี
หรือเรียกว่า “สัตตมวรรษ” รัฐบาลจึงนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กำหนดชื่อวันดังกล่าวว่า
“วันนวมินทรมหาราช” ตามที่รัฐบาลขอพระราชทานพระมหากรุณา
เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้
ในการนี้ จึงขอให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐพิจารณาจัดกิจกรรมต่าง ๆ
ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม
เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติและถวายพระราชกุศลเนื่องในโอกาสดังกล่าว ทั้งนี้
ขอเชิญชวนประชาชนและเอกชนทุกภาคส่วนจัดกิจกรรม/เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
ดังกล่าวอย่างพร้อมเพรียงกันด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | รายงานตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 | สม. | 20/06/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๕
และรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษารับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ปรากฎในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ฯ
ไปพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งให้ความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุด
เช่น ควรให้มีการเน้นย้ำการดำเนินการต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดควบคู่ไปกับการคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนสากล
รวมถึงการติดตามพลวัตของประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด
ควรดำเนินการเกี่ยวกับกรณีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ราษฎรซึ่งได้รับความเสียหายหรือผลกระทบจากการดำเนินนโยบายของรัฐอย่างรอบคอบและอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้ส่งความเห็นของกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และสำนักงานอัยการสูงสุด
ซึ่งได้แจ้งเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อเสนอแนะในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่สามารถดำเนินการได้
ไม่อาจดำเนินการได้ หรือต้องใช้เวลาในการดำเนินการ
ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อทราบและประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ หากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประสงค์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญต่อการดำเนินการตามข้อเสนอแนะในเรื่องใดเป็นการเร่งด่วนและให้หน่วยงานแจ้งผลการดำเนินการให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการได้หรือต้องใช้เวลาในการดำเนินการขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติส่งข้อเสนแนะดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงอีกทางหนึ่งด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล ครั้งที่ 2 ณ สาธารณรัฐฝรั่งเศส | ทส. | 23/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทย
กรอบการเจรจาและท่าทีของประเทศไทย
สำหรับการประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยในการจัดมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก
รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล ครั้งที่ ๒ ณ สาธารณรัฐฝรั่งเศส ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เสนอ ทั้งนี้ หากมีการประชุมคณะกรรมการเจรจาฯ มีการจัดทำความตกลงระหว่างประเทศระหว่างประเทศที่เข้าร่วมการเจรจา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย
ตามความความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 9 | กค. | 18/04/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน
ครั้งที่ ๙ และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
โดยร่างแถลงการณ์ฯ จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของการเป็นประชาคมอาเซียน
คือการส่งเสริมความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือระหว่างกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภูมิภาคอาเซียน
และการรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียน
เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ตลอดจนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน
ครั้งที่ ๙
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการคลังดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ขออนุมัติโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G/5G บนคลื่น 700 MHz ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) | ดศ. | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่
๔G/๕G บนคลื่น ๗๐๐ MHz กรอบวงเงินลงทุนรวมประมาณ ๓๐,๖๐๒ ล้านบาท และรับทราบกรอบวงเงินของค่าใชจ่ายในการดำเนินโครงการ
(งบทำการ) ๓๑,๐๒๖ ล้านบาท ของ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ
และมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
จำกัด (มหาชน) รับความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตามหนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร
๑๑๐๖/๑๓๕๒ ลงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๖ ไปดำเนินการต่อไปด้วย
และมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ประสานกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อร่วมกันพิจารณากำหนดนิยามเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมที่ถือเป็นบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน
อาทิ การให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการอินเทอร์เน็ต
ให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้บริการโทรคมนาคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปตามแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยี
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ประกอบการกำหนดภารกิจของหน่วยงานภาครัฐรวมถึง
บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ ทั้งนี้กรณีที่พิจารณาแล้วเห็นว่า
การให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ถือเป็นการให้บริการโทรคมนาคมขั้นพื้นฐาน
อาจจะพิจารณารูปแบบการสนับสนุนเงินลงทุนและค่าบำรุงรักษาโครงข่าย (บางส่วน)
ให้แก่ผู้ให้บริการจัดให้มีบริการดังกล่าวโดยใช้จ่ายจากเงินค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด
(มหาชน)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและมติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/๕๔๔๓
ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๕)
ที่ควรเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้งานจากเทคโนโลยี ๕G ที่หลากหลายเพิ่มขึ้น
โดยอาจจะเริ่มต้นจากเมืองที่มีความพร้อมของบุคลากรและมีความสามารถในการลงทุนและประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและข้อมูลที่เกิดจากโครงการฯ
ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาเมืองสู่เมืองอัจฉริยะได้อย่างแท้จริง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2566 และครั้งที่ 4/2566 | นร.11 สศช | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ
เห็นชอบ และรับทราบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๖
และครั้งที่ ๔/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๖
ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ การรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ราย ๓ เดือน ครั้งที่ ๖ (๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕-๓๑ มกราคม ๒๕๖๖)
และแนวทางการปิดบัญชี “เงินกู้ตามพระราชกำหนด COVID-19 ๒๕๖๔” ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรดำเนินการตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
และกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด
การปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้ถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตามหลักเกณฑ์ อัตราค่าใช้จ่าย และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (นายประสิทธิ์ วัฒนาภา) | อว. | 07/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายประสิทธิ์
วัฒนาภา เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ แทนประธานกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมเสนอ
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๗ มีนาคม ๒๕๖๖) เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2564/2565 | อก. | 07/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย
ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ เป็นรายเขต ๙ เขต โดยมีราคาอ้อยขั้นสุดท้ายฤดูการผลิตปี
๒๕๖๔/๒๕๖๕ เฉลี่ยทั่วประเทศในอัตราตันอ้อยละ ๑,๑๐๖.๔๐ บาท ณ ระดับความหวานที่ ๑๐ ซี.ซี.เอส.
อัตราขึ้น/ลงของราคาอ้อย เฉลี่ยทั่วประเทศ เท่ากับ ๖๖.๓๘ บาท ต่อ ๑ หน่วย
ซี.ซี.เอส. และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี
๒๕๖๔/๒๕๖๕ เฉลี่ยทั่วประเทศ เท่ากับ ๔๗๔.๑๗ บาทต่อตันอ้อย
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น ให้กระทรวงอุตสาหกรรม
โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
ดำเนินการให้โรงงานน้ำตาลนำส่งเงินเข้ากองทุนตามส่วนต่างระหว่างรายได้สุทธิและราคาอ้อยขั้นสุดท้าย
ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ ให้กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย
เพื่อรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อประโยชน์ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในภาพรวม
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีกรณีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขององค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นเพื่อชำระหนี้ให้กระทรวงการคลัง) | กค. | 28/02/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีกรณีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขององค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นเพื่อชำระหนี้ให้กระทรวงการคลัง)
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่กิจการขององค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นเฉพาะการโอนของกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อชำระหนี้ให้แก่กระทรวงการคลัง
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๓
ซึ่งเป็นวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินขององค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นเพื่อชำระหนี้ให้กระทรวงการคลัง
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ขออนุมัติโครงการปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ เครื่องที่ 4-5 และโครงการปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภา เครื่องที่ 1-3 | พน. | 28/02/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การลงนามข้อตกลงเพื่อการใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ (CTS User Agreement) | กค. | 21/02/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้เงินผลประโยชน์พิเศษโครงการเหมืองแร่โพแทชของอาเซียน | อก. | 14/02/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้เงินผลประโยชน์พิเศษโครงการเหมืองแร่โพแทชของอาเซียน
โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรม
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้และเงินค่าปรับของโครงการเหมืองแร่โพแทชของอาเซียน
พร้อมทั้งให้ถอนฟ้องคดีศาลปกครองคดีหมายเลขดำที่ ๒๐๓๓/๖๕ ลงวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๕
และให้โครงการเหมืองแร่โพแทชของอาเซียนผ่อนชำระหนี้ด้วยผลผลิตแร่โพแทชตามเงื่อนไขที่กำหนด
รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานรับและบริหารจัดการผลผลิตแร่โพแทชที่ได้จากการชำระหนี้ของโครงการ
และพิจารณาแนวทางการผลักดันการจัดหาวัตถุดิบในการผลิตแม่ปุ๋ยโพแทชเซียมให้แก่ภาคเกษตรกรรมของประเทศ
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาคเกษตรกรรมและประเทศชาติต่อไป
และให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้ถูกต้อง
เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
โดยคำนึงถึงผลประโยชน์/ผลกระทบที่จะเกิดแก่ประชาชนเป็นสำคัญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในภาคการเกษตรที่ควรจะได้ใช้ปุ๋ยเคมีในราคาที่ถูกลงจากปัจจุบันที่มีนัยสำคัญ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น กรณีผ่อนชำระหนี้สินด้วยแร่โพแทชต้องพิจารณาดำเนินการตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้
และควรวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นของโครงการฯ
อย่างรอบด้าน และคณะรัฐมนตรีสามารถทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ เงินผลประโยชน์พิเศษโครงการเหมืองแร่โพแทชของอาเซียนได้
เป็นต้น ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บีเอ็ม และพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ เพื่อทำเหมืองแร่ ของบริษัท รุ่งเรืองผลศิลา จำกัด ที่จังหวัดชัยนาท | อก. | 31/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ขอยื่นคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (สำนักงานอัยการสูงสุด) | อส. | 24/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ของสำนักงานอัยการสูงสุด จำนวน ๒๐,๒๒๕,๖๗๖,๒๐๐ บาท ทั้งนี้
การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณดังกล่าวเป็นการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อคณะรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
โดยแสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ตามนัยมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อสำนักงบประมาณจะได้จัดทำงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม และกำกับดูแลการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|