ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 24 จากข้อมูลทั้งหมด 24 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (1.นายโชติชัย เจริญงาม ฯลฯ รวม 6 คน) | นร.12 | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง รวม ๖ คน ตามความในมาตรา ๔๗
แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ.
๒๕๖๔ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ ดังนี้ ๑. นายโชติชัย เจริญงาม ประธานกรรมการ ๒. นายถาวร ชลัษเฐียร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๓. นางสาวเพียงออ เลาหะวิไลย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๔. นายพิศิษฐ์ แสง-ชูโต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๕. นายสมโภชน์ อาหุนัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๖. นายสุเมธ องกิตติกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
|
||||||||||||||||||||||||
22 | การกำหนดสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 | พณ. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการกำหนดสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้แก่ ๑) หน้ากากอนามัย
๒) ใยสังเคราะห์ Polypropylene (Spunbond) เพื่อใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย ๓)
ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ ๔) เศษกระดาษ
และกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก และ ๕) ไก่ เนื้อไก่
เพื่อกำหนดมาตรการการกำกับดูแลให้สินค้ามีปริมาณเพียงพอ
และราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเป็นธรรมต่อประชาชนผู้บริโภค ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงพาณิชย์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||
23 | ขออนุมัติโครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย | กค. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง
จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และวงเงินงบประมาณรายจ่ายของโครงการฯ
ตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบบทเฉพาะกาลมาตรา
๖๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนฯ พ.ศ.
๒๕๖๒ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเสนอ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการฯ
ระยะทางรวม ๓.๙๘ กิโลเมตร โดยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในรูปแบบ PPP
Net Cost โดยภาครัฐรับผิดชอบการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในขณะที่ ภาคเอกชนรับผิดชอบงานส่วนที่เหลือทั้งหมด ได้แก่
การออกแบบรายละเอียดและการก่อสร้าง และการดำเนินงาน และบำรุงรักษา (Operation and Maintenance: O&M) โดยเอกชนจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ลงทุนทั้งหมด ให้แก่ภาครัฐก่อนเริ่มดำเนินงานในลักษณะของ BTO
พร้อมทั้งให้เอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รายได้ค่าผ่านทางโดยมีระยะเวลาสัมปทาน
๓๕ ปี (นับจากวันที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีหนังสือแจ้งให้เริ่มปฏิบัติงาน (Notice
to Proceed) ตามรายงานผลการศึกษาฯ
ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ให้ความเห็นชอบไว้ ๒. อนุมัติค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดในวงเงิน
๕,๗๙๒.๒๔ ล้านบาท โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณตามความจำเนและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง ๓. มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม
และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนฯ พ.ศ. ๒๕๖๒ รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนของค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นว่า
เห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็น
เหมาะสม และประหยัด ตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง และให้กระทรวงคมนาคม (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ ๑) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่เห็นว่า ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐเป็นสำคัญและเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เอกชนสามารถดำเนินโครงการได้จริงและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ก่อให้เกิดผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงขึ้นในจังหวัดภูเก็ตในอนาคต
นอกจากนี้ โครงการฯ ดังกล่าวยังมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ยุทธศาสตร์ที่ ๒
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
สำหรับการพัฒนาโลจิสติกส์ในการเดินทางข้ามจังหวัดและการเดินทางระหว่างประเทศ
ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศได้อย่างเชื่อมโยงกับรูปแบบการเดินทางอื่น ๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒) กระทรวงคมนาคมที่เห็นว่า
ให้ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ๓) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เห็นว่า
ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าของโครงการ
ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่เสนอไว้ในรายงานฯ อย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ หรือมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ให้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๑
เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ เรื่อง การทบทวนมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่
๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติกรณีรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย ๔) กระทรวงมหาดไทยที่เห็นว่า ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ๕) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
๕.๑) ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พิจารณาใช้แหล่งเงินรายได้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินประมาณ
๕,๗๙๒.๒๔ ล้านบาท เป็นลำดับแรก
หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริงต่อไป
๕.๒) ให้กระทรวงคมนาคมร่วมกับจังหวัดภูเก็ตในการพิจารณาแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง
ๆ ให้สามารถรองรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และสนับสนุนให้เกิดการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะและการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้น ๕.๓) เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างรอบคอบ
เห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินการ ดังนี้ ๕.๓.๑) พิจารณาแนวทางการบริหารความเสี่ยงของโครงการฯ
โดยเฉพาะการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยควรกำหนดอัตราค่าเวนคืนให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม
เพื่อให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยสามารถส่งมอบที่ดินให้กับเอกชนได้ตามกำหนดของสัญญาและเปิดให้บริการตามแผนที่ได้กำหนดไว้
และกำหนดเงื่อนไขในการสนับสนุนให้เกิดการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart
City) ๕.๓.๒) พิจารณากำหนดกลไกให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกระแสเงินสดของการดำเนินโครงการฯ
อาทิ เงินลงทุน รายได้ค่าผ่านทาง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษา
เพื่อให้เกิดการแบ่งปันผลประโยชน์ตอบแทนจากการดำเนินโครงการระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ๕.๓.๓) ปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA) ตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบเมื่อวันที่
๗ มีนาคม ๒๕๖๑ อย่างเคร่งครัด
และในกรณีที่มีผลกระทบต่อประชาชนให้เร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว ๖) สำนักงบประมาณที่มีข้อสังเกตว่า เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะได้มีการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวให้แก่หน่วยงานในพื้นที่และประชาชนเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการอีกครั้งหนึ่งก่อนเริ่มดำเนินการ
การดำเนินการตามมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งรับความเห็นของคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ
และประสานหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ
คุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรอบ
ตลอดจนคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบในทุกมิติด้วย |
||||||||||||||||||||||||
24 | การออกกฎกระทรวงเพื่อยกเลิกกฎกระทรวงเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และกฎกระทรวงเพื่อรองรับการควบกิจการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ | นร.09 | 04/01/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเกิดจากการควบเข้ากัน
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ
และค่าธรรมเนียมในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตให้ประกอบหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเกิดจากการควบเข้ากันเป็นบริษัทใหม่
ของกระทรวงการคลัง ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|