ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 24 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. .... | กค. | 01/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คคณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุง หลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาตและการออกใบอนุญาตผลิตสุรา
โดยการปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตผลิตสุรา หลักเกณฑ์
และเงื่อนไขของโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ผลิตสุรา
และยกเลิกทุนจดทะเบียนสำหรับผู้ผลิตสุราแช่และเบียร์ เพื่อลดข้อจำกัดและเปิดโอกาสในการเข้าสู่ธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสุราขนาดกลางและขนาดย่อม
และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการรายย่อยในธุรกิจสุรา
โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้
รวมทั้งการปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนในการขอใบอนุญาตและออกใบอนุญาตผลิตสุรา
เพื่อมิให้เป็นการสร้างภาระแก่ผู้ขออนุญาตโดยไม่จำเป็น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นสมควรดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุญาตผลิตสุรา
เช่น
กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต
ให้สอดคล้องกับร่างกฎกระทรวงนี้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการควบคุมคุณภาพการผลิตสุรารวมถึงการป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นจากการผลิตสุรา
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๔.
ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-มองโกเลีย ครั้งที่ 1 รวมทั้งดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 01/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า
(JTC) ไทย-มองโกเลีย ครั้งที่ ๑
รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ ๕-๖
กันยายน ๒๕๖๕ ณ กรุงอูลานบาตาร์ ประเทศมองโกเลีย และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมฯ
เพื่อให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับมองโกเลียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามตารางติดตามผลการประชุมฯ
รวมทั้งดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ สรุปได้ ดังนี้ ๑.
สรุปผลการประชุมฯ เช่น (๑)
การค้าระหว่างไทยและมองโกเลียมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจาก ๓๕.๕๘
ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ๒๕๖๐ เป็น ๕๓.๙๔ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ๒๕๖๔
เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๑.๖๐ และตั้งเป้าหมายการค้าระหว่างกันที่ ๑๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภายในปี ๒๕๗๐ (๒) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน เช่น
การจัดกิจกรรมจับคู่นักลงทุนระหว่างไทยกับมองโกเลียในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพร่วมกัน
(๓)
ไทยขอให้มองโกเลียเร่งพิจารณาร่างความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน
และ (๔) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในการดำเนินความร่วมมือด้านต่าง
ๆ ได้แก่ เกษตร การท่องเที่ยว การขนส่งและโลจิสติกส์ และความร่วมมือทางวิชาการ ๒. การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ไทยได้จัดกิจกรรมสร้างเครือข่ายธุรกิจระหว่างนักธุรกิจมองโกเลียกับภาครัฐและเอกชนไทย
รวมถึงนักธุรกิจไทยที่ลงทุนในมองโกเลียเพื่อหารือเกี่ยวกับการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | หลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ | นร.10 | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดทำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางการดำเนินการเพื่อให้การส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามมติคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
โดยให้คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมและสำนักงาน ก.พ.
รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาประเด็นในหลักสูตรการอบรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นที่ได้จัดทำอยู่แล้ว
และกำหนดแนวทางการนำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐมาใช้ให้ชัดเจนและเหมาะสมกับหน่วยงานแต่ละประเภทด้วย
จึงจะเป็นการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีมาตรฐานจริยธรรมในระดับเดียวกันได้
ไปพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางดำเนินการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
แล้วให้แจ้งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล
และองค์กรอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. 2022 (ITU Plenipotentiary Conference 2022: PP-22) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) | กสทช. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. ๒๐๒๒ (ITU Plenipotentiary Conference 2022 : PP-22) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication
Union : ITU) รวมถึงร่างข้อสงวนต่อกรรมการสารสุดท้าย และมอบหมายให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนไทยที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าคณะพิจารณาใช้ดุลยพินิจตามสถานการณ์
ตามความเหมาะสมในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อไป ซึ่งมีกำหนดการประชุม ณ
กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย ระหว่างวันที่ ๒๖ กันยายน-๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๕
โดยการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการพัฒนาและปรับปรุงการใช้ประโยชน์จากกิจการโทรคมนาคม
รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือด้านโทรคมนาคมแก่ประเทศกำลังพัฒนา
ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกรวม ๑๙๓ ประเทศ และมอบอำนาจให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการอภิปราย
ลงมติ และลงนามในกรรมการสารสุดท้ายของการประชุม PP-22 ของ ITU
และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ ออกหนังสือแต่งตั้งผู้แทน โดยมอบอำนาจให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าเอกสารท่าที่ของประเทศไทย
ไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
การออกหนังสือแต่งตั้งผู้แทนโดยกระทรวงการต่างประเทศไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา
๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และควรมอบหมายให้คณะผู้แทนไทยใช้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระหว่างปี
พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐ แทนการใช้แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เป็นกรอบในการจัดทำเอกสารท่าทีของประเทศไทย เนื่องจากแผนดังกล่าวได้สิ้นสุดเมื่อปี
พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อทำเหมืองแร่ ของนายประสาน ยุวานนท์ ที่จังหวัดนครราชสีมา | อก. | 30/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้นายประสาน
ยุวานนท์ ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕
(เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเรื่อง
การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำมูลและชี และข้อเสนอแนะมาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ)
วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓ (เรื่อง การอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้)
และวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ [เรื่อง
ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ ชั้นที่ ๑ บี ๑ เอเอ็ม และ๑ บีเอ็ม
เพื่อทำเหมืองแร่ ของบริษัท พีทีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ที่จังหวัดสระบุรี]
เพื่อเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๕ (เรื่อง
การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ)
เพื่อเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มเติม
สำหรับการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างที่จังหวัดนครราชสีมา
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | รายงานการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ | ศป. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ในการขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนคลองเกาะผี ท้องที่ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เพื่อการกำจัดขยะมูลฝอยและบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต | มท. | 16/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๔
วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๓ และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ ที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน
ในการขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนคองเกาะผี ท้องที่ตำบลวิชิต
อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
เพื่อการกำจัดขยะมูลฝอยและบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทย (เทศบาลนครภูเก็ต)
ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมตอคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๒๗ (เรื่อง
มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง
แนวนโยบายและมาตรการการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จังหวัดภูเก็ต) ด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าและบำรุงรักษาป่าชายเลนทดแทน
ไม่น้อยกว่า ๒๐ เท่า
ของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อม กรณี
การดำเนินการโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน
พ.ศ. ๒๕๖๕ นั้น
ให้เทศบาลนครภูเก็ตใช้จ่ายจากเงินรายได้ของเทศบาลนครภูเก็ตดำเนินการเป็นลำดับแรก
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทย (เทศบาลนครภูเก็ต) รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เช่น
ควรกำหนดกรอบระยะเวลาในการใช้พื้นที่ดังกล่าวให้มีความชัดเจน
ควรกำหนดแนวทางป้องกันการรั่วไหลสารพิษหรือสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ
สร้างจิตสำนึกต่อประชาชนในการลดและคัดแยกขยะ ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชุมชนใกล้เคียงเพื่อให้เกิดการยอมรับและสนับสนุนการดำเนินโครงการ
รวมทั้งควรมีการพิจารณาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะมีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลการดำเนินการด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | นโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง | อก. | 02/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการต่อนโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยระยะแรกสมควรปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
พร้อมทั้งกำหนดสิทธิประโยชน์ให้เหมาะสม โดยแบ่งกิจการที่ต้องการส่งเสริมเป็น ๓
ประเภท ได้แก่ (๑) กลุ่มกิจการสำรวจแร่ (๒) กลุ่มกิจการทำเหมืองแร่
และ/หรือแต่งแร่ และ (๓) กลุ่มกิจการถลุงแร่หรือประกอบโลหกรรม
และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และกระทรวงอุตสาหกรรมประสานความร่วมมือหรือปรึกษาหารือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไป
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและกรมทรัพยากรธรณี
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติพิจารณานำนโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และนโยบายต่อเนื่องไปกำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่
ฉบับที่ ๒ ต่อไป เพื่อให้การบริหารจัดการมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดชนิดของแร่และประเภทอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่จะส่งเสริมในแต่ละช่วงเวลาให้มีความเหมาะสมชัดเจนสอดคล้องกับความต้องการใช้งานและทิศทางในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ
๒๐ ปี โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนเป็นสำคัญด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re - Open ธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรม | กค. | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่นให้กับโรงเรียนที่ประสบภัยธรรมชาติในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | ศธ. | 12/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน
อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่นให้กับโรงเรียนที่ประสบภัยธรรมชาติในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรอบวงเงิน ๓๙๕,๒๓๗,๒๐๐ บาท ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้กระทรวงศึกษาธิการ
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม
กำกับ ดูแล การดำเนินการดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด
และควรเร่งการดำเนินงาน ทั้งการจัดจ้างตามระเบียบพัสดุและการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน
อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่นที่ได้รับความเสียหายให้กลับเข้าสู่สภาพปกติโดยด่วน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการไปรษณีย์และโทรคมนาคม แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยความร่วมมือด้านการปราบปรามแก๊ง Call Center และ Hybrid Scam | ดศ. | 05/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการไปรษณีย์และโทรคมนาคมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
ว่าด้วยความร่วมมือด้านการปราบปรามแก๊ง Call
Center และ Hybrid Scam (Memorandum of Understanding
between the Ministry of Digital Economy and Society of the Kingdom of Thailand
and the Ministry of Post and Telecommunications of the Kingdom of Cambodia on
Cooperation for Suppressing Call Center Gang and Hybrid Scam) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมาย
เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ (จะมีการลงนามในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕) โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกรอบความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามแก๊ง Call
Center และ Hybrid Scam โดยกำหนดกิจกรรมความร่วมมือในเรื่องต่าง
ๆ อาทิ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญเชิงเทคนิค
และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการปราบปรามแก๊ง Call Center และ Hybrid
Scam การแต่งตั้งผู้ประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสืบหาหลักฐานในประเทศไทยและกัมพูชา
และการแต่งตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่าย ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ๒. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
กระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
ร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่จะมุ่งก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
ร่างบันทึกความเข้าใจฯ จึงไม่ใช่สนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเห็นควรเร่งดำเนินการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
(Digital Literacy) รวมทั้งการรู้เท่าทันภัยที่มากับสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับประชาชน
เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมอันเกิดจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและระดับประเทศ
และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนทุกภาคส่วนในการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล
ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. .... | มท. | 05/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมเป็นเวลา
๒ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗
เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานที่ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ พ.ศ. .... | ดศ. | 05/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ
หรือหน่วยงานที่ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ มาใช้บังคับ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดำเนินการเก็บ
รวบรวม ใช้ เปิดเผย ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันประเทศ
การรักษาความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ การจัดเก็บภาษีของหน่วยงานรัฐ
การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ การดำเนินการของหน่วยงาน ศาล อัยการ
และผู้บังคับใช้กฎหมาย โดยมิให้นำบทบัญญัติในหมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๕ หมวด ๖ และหมวด
๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
ทั้งหมดมาใช้บังคับกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุด
เช่น ให้เพิ่มภารกิจของกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ
การควบคุมป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภคไว้ในมาตราดังกล่าว
กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดำเนินการเก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผย
ประมวลข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีเรื่องดังกล่าวด้วย และตามร่างมาตรา ๓ (๓) คำว่า
“ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย” นั้น มีความครอบคลุมเพียงใด
เนื่องจากเป็นถ้อยคำที่อาจมีการตีความได้หลายนัย
จึงพึงระมัดระวังเพื่อไม่ให้ขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๒ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน | นร.01 | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทานประจำเดือน
มกราคม-มีนาคม ๒๕๖๕ โดยมีผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น (๑) การรายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน
(มท.) (๒) การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ ๒๐ หน่วยงาน และ (๓) การติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 รวม 62 วัน (ห้วงที่ 3-4) | ตช. | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน ๑๖๘,๒๗๗,๘๐๐ บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง
เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
ของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ระหว่างวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๕ รวม ๖๒ วัน
หรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จะยุติลง ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงสาธารณสุข
ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล การดำเนินการดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และให้มีการรายงานผลการดำเนินงานตามที่ได้ปฏิบัติในห้วงเวลาข้างต้นและการใช้จ่ายงบประมาณต่อสำนักงบประมาณ
ตามนัยข้อ ๑๒ แห่งระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งจะได้นำผลการดำเนินงานไปใช้ประโยชน์กับการพัฒนางานในโอกาสต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ผลการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (13th IMT-GT Summit) | นร.11 สศช | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | การกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล | รง. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ตามมาตรา
๑๓ (๒) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล
สำหรับลูกจ้างเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินวันละ ๑,๕๐๐ บาท
และสำหรับบุคคลในครอบครัวเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินวันละ ๑,๑๐๐ บาท ซึ่งสิทธิสำหรับบุคคลในครอบครัวจะต้องเป็นสิทธิที่อยู่เดิม
ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๐
สิงหาคม ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าในการดำเนินการดังกล่าวแต่ละรัฐวิสาหกิจจะต้องคำนึงถึงสถานะทางการเงิน
ผลการดำเนินงานของกิจการ ขีดความสามารถในการหารายได้
และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุมรายจ่ายที่จะเกิดขึ้น
เพื่อมิให้กระทบต่อการใช้จ่ายเงินทุนสำหรับการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2565 | นร.11 สศช | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น การดำเนินการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ การติดตาม การตรวจสอบ
และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
การสร้างการตระหนักรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของภาคีต่าง ๆ
ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ | กษ. | 22/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ
ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์)
ประธานกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติเสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๒
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ดังนี้ ๑. แต่งตั้ง นายสุวิทย์ สุขชิต ผู้แทนกลุ่มเกษตรกรทำไร่พงศ์ประศาสน์
อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นกรรมการ แทนกรรมการเดิมที่ลาออก ๒. แต่งตั้ง นายศราวุฎ เรืองเอี่ยม เกษตรกรจากจังหวัดระยอง
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ลาออก ๓. แต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม และปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นกรรมการเพิ่มเติม
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 | รง. | 08/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนประกันสังคม
สำนักงานประกันสังคม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้ว เห็นว่ารายงานการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบต่อไป และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
|