ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 19 จากข้อมูลทั้งหมด 19 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2566 (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล) | ดศ. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. ๒๕๖๖ (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล)
ได้แก่ (๑)
เรื่องที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลดำเนินการช่วยเหลือเร่งด่วนเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ในปี
๒๕๖๖ มากที่สุด คือ ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค ร้อยละ ๙๑.๑ (๒)
มาตรการ/โครงการที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในชุมชน/หมู่บ้านมากที่สุด คือ
โครงการคนละครึ่ง ร้อยละ ๗๕.๘ (๓)
ความพึงพอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาลที่ผ่านมาประชาชนส่วนมากมีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุด
ร้อยละ ๔๒.๑ (๔)
ความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
ประชาชนส่วนมากมีความเชื่อมั่นในระดับมาก-มากที่สุด ร้อยละ ๓๕.๔ และ (๕) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เช่น
ควรมีมาตรการ/โครงการช่วยเหลือและลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
ควรเร่งแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศอย่างจริงจัง
และควรเร่งสร้างความร่วมมือ เครือข่าย
และกระบวนการป้องกันไม่ให้คนในสังคมเข้าไปเกี่ยวข้องหรือเข้าไปสู่วงจรของยาเสพติด
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ขอความเห็นชอบต่อปฏิญญาด้านกีฬาอาเซียน จำนวน 2 ฉบับ | กก. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อปฏิญญาด้านกีฬาอาเซียน จำนวน ๒ ฉบับ ได้แก่
ร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการยกระดับบทบาทของกีฬาเพื่อการเสริมสร้างประชาคมอาเซียนและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
มีสาระสำคัญในการเสริมสร้างและยกระดับบทบาทด้านการกีฬาของอาเซียนอย่างรอบด้านเพื่อการเสริมสร้างประชาคมอาเซียนและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
อาทิ
ด้านความร่วมมือด้านการกีฬาเพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มและวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีขึ้น
ด้านความร่วมมือที่เข้มแข็ง ด้านวิทยาศาสตร์และการกีฬา และร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน
โดยการคุ้มครองการกีฬาและการละเล่นพื้นบ้านในโลกสมัยใหม่ มีสาระสำคัญในการรักษาและส่งเสริมกีฬาและการละเล่นพื้นบ้านในโลกสมัยใหม่ทั้งในระดับท้องถิ่น
ระดับชาติ และระดับภูมิภาค ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนปฏิญญาด้านกีฬาอาเซียน จำนวน ๒ ฉบับ
ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผล และประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||
3 | หลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ | นร.10 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดทำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางการดำเนินการเพื่อให้การส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามมติคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
โดยให้คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมและสำนักงาน ก.พ.
รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาประเด็นในหลักสูตรการอบรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นที่ได้จัดทำอยู่แล้ว
และกำหนดแนวทางการนำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐมาใช้ให้ชัดเจนและเหมาะสมกับหน่วยงานแต่ละประเภทด้วย
จึงจะเป็นการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีมาตรฐานจริยธรรมในระดับเดียวกันได้
ไปพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางดำเนินการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
แล้วให้แจ้งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล
และองค์กรอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อว. | 30/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
และสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 23/2565 | นร.11 สศช | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
6 | นโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง | อก. | 02/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการต่อนโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยระยะแรกสมควรปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
พร้อมทั้งกำหนดสิทธิประโยชน์ให้เหมาะสม โดยแบ่งกิจการที่ต้องการส่งเสริมเป็น ๓
ประเภท ได้แก่ (๑) กลุ่มกิจการสำรวจแร่ (๒) กลุ่มกิจการทำเหมืองแร่
และ/หรือแต่งแร่ และ (๓) กลุ่มกิจการถลุงแร่หรือประกอบโลหกรรม
และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และกระทรวงอุตสาหกรรมประสานความร่วมมือหรือปรึกษาหารือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไป
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและกรมทรัพยากรธรณี
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติพิจารณานำนโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และนโยบายต่อเนื่องไปกำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่
ฉบับที่ ๒ ต่อไป เพื่อให้การบริหารจัดการมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดชนิดของแร่และประเภทอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่จะส่งเสริมในแต่ละช่วงเวลาให้มีความเหมาะสมชัดเจนสอดคล้องกับความต้องการใช้งานและทิศทางในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ
๒๐ ปี โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนเป็นสำคัญด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
7 | องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียขอความเห็นชอบร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17 & C-19 และแปลง B-17-01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (ฉบับแก้ไข) | พน. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้ ๑.๑ ร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๓
สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17 & C-19 และแปลง B-17-01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
(ฉบับแก้ไข) นี้ เพื่อให้ออกเป็นร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๓
สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17 & C-19 และแปลง B-17-01
ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ๑.๒ ให้องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
โดยหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารองค์กรร่วมฯ
ลงนามในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๓ฯ
กับกลุ่มผู้ซื้อก๊าซธรรมชาติและรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารองค์กรร่วมฯ
ลงนามในฐานะพยาน ๒.
ให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุดที่เห็นว่า
ในการสำรวจและการจัดหาก๊าซธรรมชาติ
ควรมีการคำนึงถึงผลกระทบด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย และก่อนการลงนามสัญญา
องค์กรร่วมฯ ต้องตรวจสอบถึงความเหมาะสมและความถูกต้องของเงื่อนไขทางเทคนิคตามข้อตกลงทางธุรกิจ
รวมทั้งความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการจัดทำสัญญาด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานที่ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ พ.ศ. .... | ดศ. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ
หรือหน่วยงานที่ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ มาใช้บังคับ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดำเนินการเก็บ
รวบรวม ใช้ เปิดเผย ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันประเทศ
การรักษาความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ การจัดเก็บภาษีของหน่วยงานรัฐ
การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ การดำเนินการของหน่วยงาน ศาล อัยการ
และผู้บังคับใช้กฎหมาย โดยมิให้นำบทบัญญัติในหมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๕ หมวด ๖ และหมวด
๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
ทั้งหมดมาใช้บังคับกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุด
เช่น ให้เพิ่มภารกิจของกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ
การควบคุมป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภคไว้ในมาตราดังกล่าว
กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดำเนินการเก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผย
ประมวลข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีเรื่องดังกล่าวด้วย และตามร่างมาตรา ๓ (๓) คำว่า
“ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย” นั้น มีความครอบคลุมเพียงใด
เนื่องจากเป็นถ้อยคำที่อาจมีการตีความได้หลายนัย
จึงพึงระมัดระวังเพื่อไม่ให้ขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๒ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 รวม 62 วัน (ห้วงที่ 3-4) | ตช. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน ๑๖๘,๒๗๗,๘๐๐ บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง
เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
ของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ระหว่างวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๕ รวม ๖๒ วัน
หรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จะยุติลง ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงสาธารณสุข
ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล การดำเนินการดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และให้มีการรายงานผลการดำเนินงานตามที่ได้ปฏิบัติในห้วงเวลาข้างต้นและการใช้จ่ายงบประมาณต่อสำนักงบประมาณ
ตามนัยข้อ ๑๒ แห่งระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งจะได้นำผลการดำเนินงานไปใช้ประโยชน์กับการพัฒนางานในโอกาสต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||
10 | รัฐบาลสาธารณรัฐฟิจิเสนอขอให้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟิจิประจำสาธารณรัฐอินโดนีเซียมีเขตอาณาครอบครุมประเทศไทย และแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐฟิจิประจำประเทศไทย (นายอะเมนาตาเว วากาซาวูวังกา เยาโวลี) | กต. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ดังนี้ ๑.ให้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟิจิประจำสาธารณรัฐอินโดนีเซียมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ๒. แต่งตั้ง นายอะเมนาตาเว วากาซาวูวังกา เยาโววี (Mr. Amenatave Vakasavuwaqa Yauvoli) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐฟิจิประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สืบแทน นายโกลีนีโอ กาตา
ตากาลี (Mr. Kolinio Gata Takali)
ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
|
||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ผลการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (13th IMT-GT Summit) | นร.11 สศช | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
12 | รายงานการถอดบทเรียนการดำเนินการของส่วนราชการและจังหวัดในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2564 | นร.12 | 19/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานการถอดบทเรียนการดำเนินการของส่วนราชการและจังหวัดในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๔ โดยเป็นการสรุปบทเรียนในการบริหารจัดการผลกระทบจากโควิด-๑๙
ในภาพรวมของส่วนราชการและจังหวัด
ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานและให้บริการประชาชนได้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพหากเกิดสภาวะวิกฤตในอนาคต
โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ เช่น
การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลเพื่อเป็นกลไกที่สำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของภาครัฐในการให้บริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มบริการแบบเบ็ดเสร็จ
และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการและระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการทำธุรกรรมกับภาครัฐ
การจัดทำและทบทวนแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกแบบ การให้บริการผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ๒.
เห็นชอบข้อเสนอแนะการบริหารงานและการให้บริการประชาชนกรณีเกิดสภาวะวิกฤตในอนาคต
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้สำนักงาน
ก.พ.ร. ติดตามความคืบหน้าและรายงานต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2565 | กค. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕
สรุปได้ ดังนี้ (๑) มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ในเรื่องเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (๒)
รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ภาพรวมการเบิกจ่าย ประจำปีงบประมาณ
๒๕๖๕ ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน ๑,๓๐๖,๑๒๓ ล้านบาท ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน กระทรวงที่มีการเบิกจ่ายสูงสุด
เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการคลัง
สำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (๓)
รัฐวิสาหกิจมีกรอบลงทุนปี ๒๕๖๕ จำนวน ๓๑๘,๑๐๓ ล้านบาท
มีผลการเบิกจ่ายสะสม ๑๔,๒๖๓ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๙๕
ของแผนเบิกจ่ายสะสม (๔) โครงการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ มีจำนวน ๑๐๒ โครงการ
มูลค่ารวม ๒.๕๑ ล้านล้านบาท และมีมูลค่าการลงทุนในปี ๒๕๖๕ จำนวน ๑๙๒,๗๗๖ ล้านบาท และ (๕)
การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ. ๒๕๖๓
จำนวน ๑,๑๒๖ โครงการ วงเงิน ๙๘๖,๙๖๔
ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น ๙๔๓,๕๕๔ ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ ๙๖ ของวงเงินอนุมัติ
และการเบิกจ่ายเงินกู้โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๔๓ โครงการ วงเงิน ๓๔๒,๓๑๗
ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น วงเงิน ๒๒๙,๖๕๓
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๖๗ ของวงเงินอนุมัติ
ตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการ [ร่างพระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ....] | สผ. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบข้อสังเกตและผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการ
[ร่างพระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. .... ซึ่งนายรังสิมันต์
โรม กับคณะ เป็นผู้เสนอ] มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีสามารถออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้โดยมีระยะเวลา ๓๐ วัน
(เดิม กำหนดไว้ไม่เกิน ๓ เดือน) เสนอต่อรัฐสภา
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. .... | นร.05 | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อให้ระบบการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา
สามารถเชื่อมโยงผ่านระบบดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ
ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลและระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
รวมทั้งให้สามารถตอบสนองความต้องการของหน่วยงานของรัฐและประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น
กรณีร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ข้อ ๘ และข้อ ๑๑ ซึ่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไขใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ว่า
ก่อนที่จะกำหนดควรมีการรับฟังความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย
ควรมีการกำหนดรูปแบบและวิธีการ
เพื่อความชัดเจนและเป็นมาตรฐานในการดำเนินการของหน่วยงานเจ้าของเรื่อง
ให้ความสำคัญกับความหลากหลายของช่องทางการรับรู้และวิธีการเผยแพร่ที่ประชาชนเข้าถึงได้สะดวก
มีรูปแบบที่เข้าใจได้โดยง่าย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
16 | การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2565 ถึงวันที่ 19 มิถุนายน 2565) และประกาศที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี | นร.08 | 15/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอศรีสาคร
อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอไม้แก่น และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง
และอำเภอกาบัง ออกไปอีก ๓ เดือน ตั้งแต่วันที่
๒๐ มีนาคม ๒๕๖๕ จนถึงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๕ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ๒. เห็นชอบให้ยกเลิกการกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายของนายกรัฐมนตรี
จำนวน ๙ ฉบับ ตามประกาศ เรื่อง
การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และประกาศ เรื่อง
การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
(ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
และเห็นชอบให้โอนอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมาย จำนวน ๑๔ ฉบับ
มาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ
บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม
ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชนในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ๓. เห็นชอบและรับทราบร่างประกาศ ดังนี้ ๓.๑ เห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอศรีสาคร
อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดปัตตานี
ยกเว้นอำเภอไม้แก่น และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และอำเภอกาบัง
ร่างประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ และร่างประกาศ เรื่อง
การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ๓.๒ รับทราบร่างประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งนายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ รวม ๔ ฉบับ
ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๔.
ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ | กษ. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ
ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์)
ประธานกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติเสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๒
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ดังนี้ ๑. แต่งตั้ง นายสุวิทย์ สุขชิต ผู้แทนกลุ่มเกษตรกรทำไร่พงศ์ประศาสน์
อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นกรรมการ แทนกรรมการเดิมที่ลาออก ๒. แต่งตั้ง นายศราวุฎ เรืองเอี่ยม เกษตรกรจากจังหวัดระยอง
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ลาออก ๓. แต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม และปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นกรรมการเพิ่มเติม
|
||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ร่างกฎกระทรวงออกตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 รวม 3 ฉบับ | กษ. | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงออกตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์
พ.ศ. ๒๕๕๘ รวม ๓ ฉบับ ได้แก่ ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของโรงฆ่าสัตว์ พ.ศ. ....
ร่างกฎกระทรวงกำหนดวันฆ่าสัตว์ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียน
การเพิกถอนการขึ้นทะเบียน และคุณสมบัติของบุคคลซึ่งจะได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานตรวจโรคสัตว์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดประเภทของโรงฆ่าสัตว์ กำหนดวันและเวลาฆ่าสัตว์ วันและเวลาเปิดและปิดโรงฆ่าสัตว์และโรงพักสัตว์
รวมทั้งการขึ้นทะเบียน และคุณสมบัติของบุคคลซึ่งจะได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานตรวจโรคสัตว์
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.
๒๕๕๙ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการ [ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....] | สผ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบข้อสังเกตและผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการ
[ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งนายวิรัช พันธุมะผล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กับคณะ
เป็นผู้เสนอ] มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับสิทธิการประกันตัวผู้ต้องหา
เพื่อคุ้มครองเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาที่ไม่ใช่คดีอุกฉกรรจ์ให้ได้รับการประกันตัวด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ในการประกันตัว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ๒.
ให้ส่งคืนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (นายวิรัช พันธุมะผล กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
ที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการไปยังสภาผู้แทนราษฎรภายในกำหนดเวลา
พร้อมแจ้งข้อสังเกตดังกล่าวไปเพื่อประกอบการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
|