ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 22 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา | กก. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มทะเลทราบสงขลาขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา [องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)]
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นว่าในการดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ขอให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ควรมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของงบประมาณแผ่นดิน
และคำนึงถึงภารกิจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานเป็นหลัก
และการดำเนินงานด้านงบประมาณต้องพิจารณาอย่างละเอียด รอบคอบ
และเป็นไปตามกฎหมายของทางราชการ รวมทั้ง
ไม่ส่งผลต่อวงเงินงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่เป็นสำคัญ
ควรกำหนดเพิ่มเติมในแผนยุทธศาสตร์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาว่า
กรณีเป็นแผนหรือโครงการที่ต้องดำเนินการในเขตโบราณสถาน
จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ก่อนดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการดังกล่าว
และควรกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานตามแผนการขับเคลื่อนฯ ให้มีความชัดเจน
รวมทั้งควรพิจารณาถึงกรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
อย่างเคร่งครัดในการจัดตั้งสำนักงานการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของงบประมาณในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอแผนงานยุทธศาสตร์ชาติการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
และดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับการขอรับการจัดสรรงบประมาณ ๓.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วยว่า
เมื่อการพิจารณาประกาศกำหนดให้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณาตามลำดับในลักษณะ
Bottom Up จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องไปสู่คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติแล้ว
ยังสมควรที่จะต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการประกาศกำหนดพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่
ประการใด เพื่อพิจารณาทบทวนและแก้ไขพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร.01 | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม บทนิยาม องค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
(กคร.) และคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรจังหวัด
(กคร. จังหวัด) และกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเผยแพร่บัญชีการรับจ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการเรี่ยไรและรายงานการเงินของการเรี่ยไรผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐนั้น
เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(ฉบับปรับปรุง) และสถานการณ์ปัจจุบัน ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เช่น การกำหนดคำนิยามคำว่า
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ”
ควรกำหนดให้ครอบคลุมถึงบุคคลและคณะบุคคลบรรดาซึ่งมีกฎหมายกำหนดให้ใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในทางปกครองที่จัดตั้งขึ้นในระบบราชการ
รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐด้วย ควรแก้ไขบทเฉพาะกาลตามร่างข้อ ๙
ให้สอดคล้องกับผู้มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรจังหวัดด้วย
ควรมีการกำหนดคุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไว้ในระเบียบดังกล่าว
และหากมีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบดังกล่าวต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมเรี่ยไร
และกำหนดให้ กคร. มีอำนาจในการควบคุมเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐทั้งหมดอาจทำให้มีกรณีเกิดความล่าช้าและกระทบต่อประโยชน์ทางราชการ
ซึ่งหากมีการแต่งตั้ง กคร. ของกระทรวง/หน่วยงานขึ้นตรง
(ที่รัฐมนตรีกำกับดูแลเป็นประธาน) เป็นเอกเทศ แยกจาก กคร. เดิม ทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานลงได้ ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี | ทส. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
สมัยที่ ๗ (The Seventh Session of the Committee on
Environment and Development : CED 7) ระดับรัฐมนตรี
เห็นชอบในหลักการต่อร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ และภาคผนวกของปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ (Annex) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๙
พฤศจิกายน -๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร
และผ่านระบบการประชุมทางไกล มีสาระสำคัญเป็นการสร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านมลพิษทางอากาศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
ตามหลักการที่กำหนดไว้ในปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ และอนุมัติให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ และภาคผนวกของปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการปกป้องโลกของเราผ่านความร่วมมือระดับภูมิภาคและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
และร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคว่าด้วยมลพิษอากาศ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าร่างปฏิญญาฯ
แผนการดำเนินงานฯ ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐
และให้ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กก. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน
ครั้งที่ ๒๕ และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๕ ณ
ราชอาณาจักรกัมพูชา ในรูปแบบผสมผสาน (One-site และ Online)
โดยมีสาระสำคัญ เช่น (๑) การรับรองปฏิญญาพนมเปญว่าด้วยการพลิกโฉมการท่องเที่ยวอาเซียนซึ่งเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนต่อการส่งเสริมการฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวจะต้องนำเสนอต่อผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน
ครั้งที่ ๔๐ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ กัมพูชา (๒)
การรับรองแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนบวกสามเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและมุมมองต่อมาตรการในการบรรเทาผลกระทบที่ดำเนินการโดยประเทศสมาชิกฯ
และหารือถึงแนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับภูมิภาคเพื่อการเปิดภาคการท่องเที่ยวใหม่อีกครั้ง
(๓) การรับรองแผนงานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย ปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕
และยินดีต่อการกำหนดให้ปี ๒๕๖๕ เป็นปีแห่งความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย
ในการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ ๙ และ (๔)
การรับรองแผนงานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเซีย ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗
และยินดีต่อการยกระดับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเซีย
เป็นระดับรัฐมนตรีในการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเซีย
ครั้งที่ ๑ ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | หลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ | นร.10 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดทำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางการดำเนินการเพื่อให้การส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามมติคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
โดยให้คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมและสำนักงาน ก.พ.
รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาประเด็นในหลักสูตรการอบรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นที่ได้จัดทำอยู่แล้ว
และกำหนดแนวทางการนำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐมาใช้ให้ชัดเจนและเหมาะสมกับหน่วยงานแต่ละประเภทด้วย
จึงจะเป็นการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีมาตรฐานจริยธรรมในระดับเดียวกันได้
ไปพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางดำเนินการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
แล้วให้แจ้งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล
และองค์กรอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างถ้อยแถลงผู้นำอาเซียนว่าด้วยปีแห่งเยาวชนอาเซียน พ.ศ. 2565 เพื่อเสริมสร้างบทบาทของเยาวชนในการสร้างประชาคมอาเซียน | พม. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) | กก. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ขออนุมัติเปลี่ยนวิธีดำเนินการ โครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับวังยาว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากงานจ้างเหมา เป็น งานดำเนินการเอง ของกรมทางหลวง | คค. | 13/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเปลี่ยนวิธีดำเนินการโครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับวังยาว
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากงานจ้างเหมา เป็น งานดำเนินการเอง ของกรมทางหลวง
ในวงเงิน ๔๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ตามนัยข้อ ๗ (๓) ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
จำนวน ๖๙,๔๔๔,๔๐๐ บาท
ที่กระทรวงการคลังอนุมัติให้ขยายระยะเวลาเบิกจ่ายงบประมาณได้ถึงวันทำการสุดท้ายของเดือนกันยายน
๒๕๖๕ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ที่กรมทางหลวงได้จัดสรรไว้แล้ว
จำนวน ๑๔๑,๖๖๖,๗๐๐ บาท โดยให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณอีกครั้งตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณพ.ศ.
๒๕๖๒ ประกอบกับหลักเกณฑ์ว่าด้วยการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย
การโอนเงินจัดสรรหรือการเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร พ.ศ. ๒๕๖๒
สำหรับงบประมาณในส่วนที่เหลืออีก ๑๙๘,๘๘๘,๙๐๐ บาท ให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยให้กรมทางหลวงเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
หากไม่สามารถดำเนินการได้งบประมาณนั้นย่อมถูกพับไป โดยผลของกฎหมายตามนัยมาตรา ๔๓
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ และหากการดำเนินโครงการดังกล่าว
เข้าข่ายเป็นทางหลวงหรือถนน
ซึ่งมีความหมายตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงทุกขนาดที่ตัดผ่านพื้นที่ที่กำหนด
ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ
หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๒ เอกสารท้ายประกาศ ๔ ลำดับที่ ๒๐
จะต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังกล่าวด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายวรณัฐ คงเมือง) | นร.08 | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายวรณัฐ คงเมือง ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ
ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 22/2565 | นร.11 สศช | 16/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และคณะในศูนย์สุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 | อว. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบวงเงินของแผนอัตรากำลังของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและคณะในศูนย์สุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ จำนวน ๓๕๒,๔๙๘,๘๐๐ บาท
และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) พิจารณาทบทวนการกำหนดจำนวนอัตรากำลังภายใต้แผนฯ
ให้เหมาะสม สอดคล้องกับภารกิจเท่าที่จำเป็นและประหยัด
โดยคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงินที่จะนำมาใช้
โดยเฉพาะรายได้หรือเงินนอกงบประมาณอื่นใดที่มหาวิทยาลัยมีอยู่หรือที่สามารถนำมาใช้จ่ายเป็นลำดับแรก
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รับความเห็นของสำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกำกับเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ ข้อสังเกตของสำนักงาน
ก.พ. รวมทั้งรับความเห็นและข้อเสนอแนะของสำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น คณะในศูนย์สุขศาสตร์ควรพิจารณาทบทวนกรอบอัตรากำลังที่ขอรับการสนับสนุนให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
พิจารณารูปแบบการจ้างงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ ควรบูรณาการการทำงาน
และเชื่อมโยงฐานข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพและข้อมูลผู้ป่วยในพื้นที่
ทั้งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การเน้นย้ำการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานศาลยุติธรรมและกรมราชทัณฑ์ | สม. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบมติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ครั้งที่ ๕๒/๒๕๖๔ (๒๗) เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๔
ที่ขอให้เน้นย้ำการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานศาลยุติธรรมในประเด็นเกี่ยวกับการนำเครื่องมือติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับผู้ต้องหาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีให้มากยิ่งขึ้น
และเน้นย้ำให้กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม กำหนดสถานที่ที่เหมาะสมกับผู้ต้องขังแต่ละประเภทเพื่อแก้ไขปัญหาความแออัดของเรือนจำ
อันเนื่องมาจากการไม่แยกประเภทผู้ต้องขัง ๒. ให้สำนักงานศาลยุติธรรมและกระทรวงยุติธรรม (กรมราชทัณฑ์)
รับมติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามข้อ ๑
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรมได้มีการประกาศและเผยแพร่ในส่วนของหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลงาน
ความรู้ ความสามารถ และสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาและผู้พิพากษาสมทบในศาลชำนัญพิเศษต่าง ๆ ในราชกิจจานุเบกษา
รวมทั้งยังได้เผยแพร่ในเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
สำนักงานศาลยุติธรรม ด้วยแล้ว และได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลการลงโทษกรณีถูกสั่งลงโทษไล่ออก
ปลดออก ให้ออก หรือกรณีอื่น ๆ ตามมติคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
และมีการรวบรวมประมวลลักษณะการกระทำความผิดและแนวทางการลงโทษให้คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นแนวทางในการดำเนินงานหากมีกรณีบุคคลภายนอกขอข้อมูลคัดถ่ายเกี่ยวกับแนวทางดังกล่าวสามารถดำเนินการคัดถ่ายได้ที่สำนักงานศาลยุติธรรม
ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 | สนง. กสม. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
กรณีผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งส่งผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนในวงกว้างแม้ว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ดำเนินนโยบายและมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว
แต่ยังคงมีประชาชนจำนวนหนึ่ง
โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางและผู้ด้อยโอกาสได้รับผลกระทบและเข้าไม่ถึงมาตรการช่วยเหลือของรัฐ
ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยสรุปผลในภาพรวมได้ว่า
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแล้ว
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 12 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 256 - 31 มีนาคม 2565) | นร.04 | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ครั้งที่ ๑๒ (ระหว่างวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๔-๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕)
ซึ่งสรุปรายงานดังกล่าวเป็นการรายงานผลการดำเนินงานตาม (๑) นโยบายหลัก ๙ ด้าน เช่น
การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ
การทะนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก
การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย
การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม เป็นต้น และ (๒) นโยบายเร่งด่วน ๘
เรื่อง เช่น การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน
การปรับปรุงระบบสวัสดิการคุณภาพชีวิตของประชาชน
การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม การยกระดับศักยภาพของแรงงาน
การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต
การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เป็นต้น ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รายการอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจ แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 5 อาคาร | ตช. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รายการอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจ
แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๕ อาคาร เดิม รายการอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจ แขวงตลาดบางเขน
เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เป็น รายการอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจ
ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
(พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ว่างในที่ดินราชพัสดุของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในโครงการเมืองทองธานี)
ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการ/แผนงานใด ๆ
ในระยะต่อไปของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติถือปฏิบัติตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๒ (เรื่อง การเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ)
ที่ให้ส่วนราชการเจ้าของแผนงาน/โครงการตรวจสอบความพร้อมในการดำเนินการตามแผนงาน/โครงการนั้น
ๆ อย่างละเอียดรอบคอบ ให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกมิติก่อน เช่น
ความพร้อมทางกายภาพของที่ตั้งโครงการ สภาพภูมิศาสตร์ กรรมสิทธิ์ครอบครอง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินโครงการให้เป็นไปตามนัยข้อกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๓๕
และที่แก้ไขเพิ่มเติม อย่างเคร่งครัดด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2564 | กสทช. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๔ ประกอบด้วย (๑)
ผลการดำเนินงานสำคัญของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๔ (๒) แผนการดำเนินงานและงบประมาณรายจ่าย
ประจำปี ๒๕๖๕ (๓) งบการเงิน และรายงานการตรวจสอบภายใน (๔) ปัญหาและอุปสรรคในการประกอบกิจการฯ
(๕) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคในกิจการฯ
(๖) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ และ (๗) รายงานสภาพตลาดและการแข่งขัน
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินงานโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) | อว. | 19/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินงานโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) วงเงินรวมทั้งสิ้น ๒,๐๕๔,๐๕๓,๙๐๐ บาท ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด
ที่ นร ๐๗๒๒/๖๕๘๔ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๕) ที่เห็นควรบูรณาการและพิจารณาตรวจสอบไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับโครงการของภาครัฐที่ดำเนินการในลักษณะเดียว
รวมทั้งพิจารณาดำเนินการให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสม และเมื่อโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
ควรส่งต่อให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบในการส่งเสริมความเข็มแข็งของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทยให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ขออนุมัติดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 1/2564 | กษ. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบกิจการยาง
(ยางแห้ง) เพื่อรับซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง อนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๒ เกี่ยวกับการมอบหมายหน่วยงานขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชดเชยดอกเบี้ยของผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง
(ยางแห้ง) วงเงินสินเชื่อ ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท อนุมัติปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์
และอนุมัติเพิ่มองค์ประกอบในคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
(หนังสือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด่วนที่สุด ที่ กษ ๒๙๐๘.๐๒/๔๕๔๖ ลงวันที่ ๒๒ ธันวาคม
๒๕๖๔ และหนังสือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด่วนที่สุด ที่ กษ ๒๙๐๘.๐๒/๕๘๑ ลงวันที่ ๗
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕) ทั้งนี้
ในส่วนค่าชดเชยดอกเบี้ยและค่าบริหารโครงการของโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง)
เพื่อรับซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
ให้การยางแห่งประเทศไทยดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การยางแห่งประเทศไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (การยางแห่งประเทศไทย) กำกับดูแล
และติดตามการดำเนินโครงการ และการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
รวมทั้งพิจารณาจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยอย่างถูกต้องโปร่งใส และหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาการปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา ครั้งที่ 10 | พณ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา
ครั้งที่ ๑๐ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
(นายสินิตย์ เลิศไกร) เข้าร่วมประชุม ซึ่งเนการาบรูไนดารุสซาลาม ในฐานะประธานอาเซียน
ปี ๒๕๖๔ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม สรุปได้ ดังนี้ (๑) การแลกเปลี่ยนแนวทางแก้ไขผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับการเปิดตลาดการค้าและการลงทุน ทั้งนี้
ไทยได้เน้นย้ำความสำคัญของระบบการค้าที่เปิดกว้างและสนับสนุนบทบาทขององค์การการค้าโลก
เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับวัคซีนและยาที่จำเป็น (๒)
รับทราบข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของสภาธุรกิจแคนาดา-อาเซียน ที่ให้ความสำคัญกับการเปิดเสรีทางการค้า
โดยเฉพาะการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา
การเปิดพรมแดนให้นักธุรกิจสามารถเดินทางระหว่างกัน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน
การส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าดิจิทัล
และการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (๓) เห็นชอบการเปิดเจรจาการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา
โดยกำหนดเป้าหมายให้สรุปผลการเจรจาภายใน ๒ ปี
และเห็นชอบเอกสารขอบเขตสาระที่จะเจรจาในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา
(๔) กระทรวงพาณิชย์คาดว่าอาเซียนและแคนาดาจะสามารถสรุปแผนงานเจรจาและเริ่มการเจรจารอบแรกในช่วงไตรมาสแรกของปี ๒๕๖๕ ทั้งนี้
ได้จัดทำขอบเขตสาระเบื้องต้นที่จะเจรจาในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา โดยมีประเด็นที่สำคัญ เช่น
ภาพรวมการเจรจา มาตรการป้องกันและเยียวยาทางการค้า และนโยบายแข่งขันทางการค้า และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเตรียมการเจรจาในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โดยให้คำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และเตรียมมาตรการบรรเทาผลกระทบในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนยึดท่าทีตามกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดาของประเทศไทย
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงวัฒนธรรม
ที่ควรคำนึงถึงหลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง
ซึ่งแต่ละประเทศต่างดำเนินการตามพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้าร่วมเป็นภาคี
โดยคำนึงถึงขีดความสามารถของแต่ละประเทศ
และไม่ควรใช้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมืดกีดกันทางการค้าต่อไปในอนาคต
ควรคำนึงถึงข้อดีและผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนผลประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |