ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 10 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 196 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 | รง. | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนเงินทดแทน
สำนักงานประกันสังคม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้วเห็นว่า
ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | รายงานผลการดำเนินงานโครงการเข้าร่วมงาน The International Horticultural Expo (EXPO 2022 Floriade Almere) ณ ราชอาณาจักรเนเธอร์เเลนด์ | กษ. | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานโครงการเข้าร่วมงาน The International Horticultural Expo (EXPO
2022 Floriade Almere) ณ
ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย
ศรีอ่อน) ในขณะนั้น เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยเข้าร่วมงานดังกล่าว โดยมีผลการเข้าร่วมงานฯ
ที่สำคัญ เช่น การสร้างอาคาร Thailand Pavilion และสวนภายนอกอาคาร
เพื่อจัดแสดงสินค้าและบริการข้อมูลประเทศไทย
การจัดนิทรรศการแสดงสินค้าพืชสวนไทยหมุนเวียน
รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและนวัตกรรมทางด้านการเกษตร
ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าเยี่ยมชมงานเป็นอย่างยิ่ง
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ผลการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 23 | กต. | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Rim
Association : IORA) ครั้งที่ ๒๓ เมื่อวันที่
๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา และมอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามตารางติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ
โดยที่ประชุมฯ ได้รับรองร่างแถลงการณ์โคลัมโบ ค.ศ. ๒๐๒๓ และร่างวิสัยทัศน์สมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย
ค.ศ. ๒๐๓๐ และสืบต่อไป เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในการรับมือกับประเด็นท้าทายของโลก
และได้มีการเพิ่มเติมประเด็นในร่างแถลงการณ์โคลัมโบ ค.ศ. ๒๐๒๓ เช่น
ยืนยันดำเนินการตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์
เน้นย้ำถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถของสำนักเลขาธิการ IORA
และร่างวิสัยทัศน์สมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ค.ศ. ๒๐๓๐ และสืบต่อไป เช่น
เน้นย้ำมุมมอง IORA ต่ออินโด-แปซิฟิก
เพิ่มบทบาทสตรีและสภาธุรกิจ IORA สร้างความตระหนักรู้และมีส่วนร่วมของสภาธุรกิจ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การดำเนินการโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 ให้แก่ประชาชน (กระทรวงพาณิชย์) | พณ. | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินการโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ.
๒๕๖๗ ให้แก่ประชาชน (กระทรวงพาณิชย์) ดังนี้ ๑) เพิ่มอาชีพ ได้แก่ โครงการแฟรนไชส์สร้างอาชีพสำหรับผู้ประสงค์จะทำธุรกิจด้าน
Soft Power ธุรกิจแฟรนไชส์ และสินค้า
Gl ลดค่าแพคเกจแฟรนไชส์ให้สูงสุด ร้อยละ ๓๐ ๒) เพิ่มทักษะ
เช่น โครงการ “ติดปีกทางการค้าให้ผู้ประกอบการไทยด้วย Soft Power x ทรัพย์สินทางปัญญา” โดยการนำแนวคิด Soft Power มาปรับใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและบริการ
๓) เพิ่มโอกาส เช่น จับคู่เจรจาธุรกิจการค้าออนไลน์กับผู้ซื้อศักยภาพในตลาดโลก
ให้ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไป และ ๔) เพิ่มความสุข เช่น ดำเนินโครงการ “พาณิชย์ลดราคา
New Year Mega Sale 2024” โดยร่วมกับผู้จำหน่าย
ห้างสรรพสินค้า ห้างท้องถิ่น ร้านสะดวกซื้อ และธุรกิจแฟรนไชส์
ลดราคาสินค้าและค่าบริการ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co - operation and Development: OECD) | นร.11 สศช | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบร่างหนังสือแสดงเจตจำนงของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
(Organisation for Economic Co-operation and
Development : OECD) มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในการขอเข้าสู่กระบวนการภาคยานุวัติเพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิก
OECD แบบเต็มรูปแบบ
โดยระบุเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ OECD ที่มีมาอย่างยาวนาน
เช่น การเรียนรู้และปรับตัวของประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD การเข้าเป็นภาคีตราสารทางกฎหมายของ OECD เป็นต้น
รวมถึงการดำเนินการของประเทศไทยเพื่อเข้าเป็นสมาชิก OECD และอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงฯ
รวมทั้งมอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานประสานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิก
OECD ของประเทศไทย
และมอบหมายหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบตามตารางห่วงโซ่คุณค่าเงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิก
OECD ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอคดล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน
Framework for the Consideration of Prospective Members รวมถึงการดำเนินการอื่นใดที่จะช่วยขจัดอุปสรรคและสนับสนุนกระบวนการเข้าสู่การเป็นสมาชิก
OECD ของประเทศทไยในอนาคต ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ
ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ๒. ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงยุติธรรมและสำนักงบประมาณที่เห็นควรพิจารณาวางแผนการดำเนินการภายหลังประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก
OECD ในอนาคต
เพื่อให้การมีส่วนร่วมของประเทศไทยใน OECD และการนำมาตรฐานต่าง
ๆ มาปฏิบัติใช้ในประเทศมีความยั่งยืน เช่น
การพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติและคณะอนุกรรมการเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดแผนการดำเนินการตามระยะ (ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว) แผนสนับสนุนด้านวิชาการและการวิเคราะห์ข้อมูล
และแผนการบริหารจัดการ เป็นต้น สำหรับภาระงบประมาณที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าว
ให้ใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ไปพลางก่อน และจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 พ.ศ. .... | สธ. | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท
๒ หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ พ..ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้จำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท
๒ หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ กำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาต การออกใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต
การต่ออายุใบอนุญาต และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒
วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด
ที่เห็นว่าร่างข้อ ๑๕ วรรคหนึ่ง
หากผู้อนุญาตไม่สามารถพิจารณาคำขอและอนุญาตให้เสร็จสิ้นได้ภายในกำหนด ๔๕ วัน
จะมีมาตรการอย่างไรในระหว่างที่พิจารณาคำขอ ควรกำหนดมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบดังกล่าวด้วย
และร่างข้อ ๑๕ วรรคสอง กำหนดให้ผู้ขออนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาต เห็นว่า
กำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่กระชั้นชิดควรเพิ่มระยะเวลาอุทธรณ์จาก ๑๕
วันเป็น ๓๐
วันนับตั้งแต่วันที่ผู้ขออนุญาตได้รับหรือถือว่าได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต
ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมมากกว่า ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การเปิดสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา และการปิดสถานกงสุลใหญ่ ณ กรุงอันตานานาริโว สาธารณรัฐมาดากัสการ์ เป็นการถาวร | กต. | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศปิดสถานกงสุลใหญ่
ณ กรุงอันตานานาริโว สาธารณรัฐมาดากัสการ์ เป็นการถาวร และอนุมัติในหลักการให้เปิดสถานกงสุลใหญ่
ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีเขตกงสุลครอบคลุม ๘
จังหวัดของราชอาณาจักรกัมพูชา ประกอบด้วย (๑) จังหวัดเสียมราฐ (๒) จังหวัดพระตะบอง
(๓) จังหวัดไพลิน (๔) จังหวัดบันทายมีชัย (๕) จังหวัดอุดรมีชัย (๖)
จังหวัดพระวิหาร (๗) จังหวัดสตึงแตรง และ (๘) จังหวัดโพธิสัตว์ รวมทั้งเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการในรายละเอียดการเปิดสถานกงสุลใหญ่
ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ ขอให้กระทรวงการต่างประเทศและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๘/๒๐๗๗ ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๖) สำนักงาน ก.พ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นว่าควรกำหนดอัตรากำลังภายใต้กรอบอัตรากำลังที่มีอยู่เดิม
เพื่อมิให้เป็นภาระงบประมาณในระยะยาวต่อไป ควรดำเนินการบริหารอัตรากำลังในภาพรวมตามความจำเป็นของภารกิจ
โดยคำนึงถึงหลักการและแนวทางการบริหารจัดการอัตรากำลังตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ
กำหนดไว้ในมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการประชุมเมื่อวันที่
๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖ ด้วย และในประเด็นเรื่องการกำหนดตัวชี้วัดของการจัดตั้งสถานกงสุลใหญ่
ณ เมืองเสียมราฐเพื่อสะท้อนผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าในการจัดตั้งหน่วยงาน กระทรวงการต่างประเทศควรจัดเก็บสถิติข้อมูลและปริมาณงานในภารกิจแต่ละด้าน
เพื่อกำหนดตัวชี้วัดเชิงกระบวนการทำงานในระยะ ๑-๒ ปี และตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ในระยะ
๓-๕ ปี ข้างหน้า โดยการจัดเก็บสถิติข้อมูลของสถานกงสุลใหญ่ ณ
เมืองเสียมราฐควรแยกออกจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ
เพื่อให้มีข้อมูลที่ชัดเจน
ใช้ประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าของหน่วยงานที่มีการจัดตั้งขึ้นใหม่
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2535 (เรื่อง แนวทางการจัดระบบบริหารการพัฒนาแหล่งน้ำ) ในส่วนที่กำหนดว่า "ระบบท่อส่งน้ำต่าง ๆ ควรจะมีผู้รับผิดชอบรายเดียวในการพัฒนาระบบให้เป็นท่อส่งน้ำสายหลัก (Trunk Transmission Main) และการดำเนินการบริหาร/จัดการ (Operate) เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นผู้ค้าส่ง (Wholeseller) ในการซื้อน้ำจากอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทานและขายน้ำดิบให้กับระบบจำหน่ายต่าง ๆ" | กษ. | 19/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๔
กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ (เรื่อง แนวทางการจัดระบบบริหารการพัฒนาแหล่งน้ำ)
ในส่วนที่กำหนดว่า “ระบบท่อส่งน้ำต่าง ๆ
ควรจะมีผู้รับผิดชอบรายเดียวในการพัฒนาระบบให้เป็นท่อส่งน้ำสายหลัก (Trunk Transmission Main) และการดำเนินการบริหาร/จัดการ
(Operate) เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นผู้ค้าส่ง (Wholeseller)
ในการซื้อน้ำจากอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทานและขายน้ำดิบให้กับระบบจำหน่ายต่าง
ๆ” ไปเพื่อดำเนินการ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ
ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไปอย่างเคร่งครัด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 และกลไกการบริหารจัดการ | ทส. | 19/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ๒๕๖๗
และกลไกการบริหารจัดการ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป และรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ
และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการต่างประเทศ
เห็นว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่องควรพิจารณาติดตามความคืบหน้าและทบทวนความมีประสิทธิภาพของมาตรการเป็นระยะ
ๆ ตามที่เห็นเหมาะสม
ซึ่งรวมถึงการบังคับใช้มาตรการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในทุกระดับอย่างเคร่งครัดด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เห็นควรเพิ่มเติมการบูรณาการการทำงานระหว่างจังหวัด
และขจัดปัญหาอุปสรรคในการกระจายอำนาจการบริหารจัดการสถานการณ์ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ควรเร่งรัดการออกกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาด
และกฎหมายการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant
Release and Transfer Register : PRTR)
ต่อไป ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน
กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดให้การลดหรือการควบคุมปริมาณการปล่อยมลพิษทางอากาศ
(PM2.5) เป็นตัวชี้วัด (KPIs) ที่สำคัญของแต่ละจังหวัด
รวมทั้งเร่งชี้แจงทำความเข้าใจให้ทุกจังหวัดทราบและถือปฏิบัติต่อไปได้อย่างถูกต้อง
เหมาะสม เพื่อให้การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (PM2.5)
เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมได้อย่างยั่งยืนต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของรองนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ | นร 05 | 19/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.)
ของรองนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ รวมทั้งหมด ๓๗ ราย
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายชนินทร์
รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๒. นางสาวอรณี
รัตนประเสริฐ นักทัณฑวิทยาชำนาญการ ๓. นายศึกษิษฏ์
ศรีจอมขวัญ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๔. นายชื่นชอบ
คงอุดม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๕. พลเอก
ธนะศักดิ์ ชื่นอิ่ม รองปลัดกระทรวงกลาโหม ๖. นางสาวพินทุ์สุดา
ชัยนาม เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง ๗. นายมนตรี
เดชาสกุลสม รองปลัดกระทรวงคมนาคม ๘. นายเวทางศ์
พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ๙. นางโสรดา
เลิศอาภาจิตร์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ๑๐. นายสมคิด
จันทมฤก รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ๑๑. นายสมาสภ์
ปัทมะสุคนธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ๑๒. นางโชติกา
อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ๑๓.
นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ๑๔. นายพงศธร พอกเพิ่มดี นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านสาธารณสุข) รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๑๕. นายเอกภัทร
วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ๑๖. นายมงคลชัย
สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๑๗. นางนิชา
หิรัญบูรณะ ธุวธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ๑๘. นางอุดมพร
เอกเอี่ยม รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๑๙.
นางสาวสาวิตรี ชำนาญกิจ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๐. นายวีรศักดิ์
ทิพย์มณเฑียร รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ๒๑. นายยุทธนา
สาโยชนกร รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ๒๒. นายฉัตรชัย
บางชวด รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งซาติ ๒๓. นายกิตติศักดิ์ จุลสำรวล กรรมการร่างกฎหมายประจำ
(นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) ๒๔. นายสุวัฒน์ เอื้อเฟื้อ รองเลขาธิการ
ก.พ. ๒๕. นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ
ก.พ.ร. ๒๖. นายนฤชา ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษาด้านการลงทุน ๒๗. นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ๒๘. นายศุภฤกษ์ ภู่พงศ์ศักดิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ๒๙. นายประเสริฐ ศิรินภาพร รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ๓๐. นางพิชญดา หัศภาค รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ ๓๑. นายศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา
รักษาราชการแทนเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา ๓๒. นายเทพสุ บวรโชติดารา เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ๓๓. นายธัชพล กาญจนกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ๓๔. พลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ๓๕. พลเรือตรี จุมพล นาคบัว ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทาง ทะเล ๓๖. นายทศพร แย้มวงษ์ รองเลขาธิการวุฒิสภา |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (1. นายเกรียงศักดิ์ ปิยกุลมาลา ฯลฯ จำนวน 29 ราย) | สธ. | 19/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒๙ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
จำนวน ๒๘ ราย และวันที่มีคำสั่งให้รักษาการในตำแหน่งที่ได้รับการเสนอแต่งตั้ง
จำนวน ๑ ราย ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑. นายเกรียงศักดิ์
ปิยกุลมาลา ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕ ๒. นายจรัญ จันทมัตตุการ ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒o มิถุนายน ๒๕๖๕ ๓. นายพิสิษฐ์ เวชกามา ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรกรรม
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๔. นางสาวสมบัติ ชุติมานุกูล ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรมป้องกัน) โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่
๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ (วันที่มีคำสั่งให้รักษาการในตำแหน่ง) ๕. นายประดิษฐ์ ไชยบุตร ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลราชบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๕ ๖. นายชิโนรส ลี้สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์
(นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒๗
กันยายน ๒๕๖๕ ๗. นายพรณรงค์ ศรีม่วง ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม) โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๕ ๘. นางสาวหทัยรัตน์ อัจจิมานนท์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ๙. นายชัยวัฒน์
สิงห์หิรัญนุสรณ์ ดำรงตำแหน่งนักวิชาการอาหารและยาทรงคุณวุฒิ
(ด้านอาหารและยา) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ๑๐. นางสาวพินทุสร
เหมพิสุทธิ์ ดำรงตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ
(ด้านกำลังคนสาธารณสุข) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ๑๑. นางสุอร ชัยนันท์สมิตย์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม
สาขากุมารเวชกรรม) โรงพยาบาลขอนแก่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๖ ๑๒. นายมงคล ภัทรทิวานนท์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๖ ๑๓. นายปรเมษฐ์ กิ่งโก้ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม) โรงพยาบาลศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๖ ๑๔. นายพิพัฒน์ คงทรัพย์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา) กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลพระปกเกล้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๖ ๑๕. นายปรีชา เปรมปรี ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์
(นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๑๑
พฤษภาคม ๒๕๖๖ ๑๖. นางสายสมร สบู่แก้ว ดำรงตำแหน่งทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านทันตกรรม) กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ ๑๗. นายปราโมทย์ ปรปักษ์ขาม ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) สถาบันโรคทรวงอก
กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๑๘. นายพรภวิษญ์ ศรีภิรมย์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาออร์โธปิดิกส์)
โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ๑๙. นางอดิศร์สุดา เฟื่องฟู ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม)
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน
๒๕๖๕ ๒๐. นางวีรนันท์ วิชาไทย ดำรงตำแหน่งทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านทันตกรรม) สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๗ มีนาคม
๒๕๖๖ ๒๑. นางสาววรางคณา พิชัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลราชวิถี
กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖ ๒๒. นางประภาวรรณ เชาวะวณิช ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม
สาขาตจวิทยา) สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๖ ๒๓. นายมนต์ชัย
ศิริบำรุงวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์
ตั้งแต่วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ๒๔. นางพู่กลิ่น ตรีสุโกศล ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม) กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๓๑
พฤษภาคม ๒๕๖๖ ๒๕. นางสาวศิริลักษณ์
ไทยเจริญ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค
ตั้งแต่วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ๒๖. นางเบญจมาภรณ์ ภิญโญพรพาณิชย์ ดำรงตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ
(ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัย) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ๒๗. นางสุภาพร ภูมิอมร ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เทคโนโลยีชีวภาพ)
(นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๙
มีนาคม ๒๕๖๖ ๒๘. นายบุรินทร์
สุรอรุณสัมฤทธิ์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต ตั้งแต่วันที่
๑๗ มกราคม ๒๕๖๖ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการพัฒนาสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ลาดกระบัง ของคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา | สว. | 12/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการพัฒนาสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง
(ไอซีดี) ลาดกระบัง ของคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา โดยมีข้อเสนอแนะ
แบ่งออกเป็น ๒ แนวทาง ได้แก่ ๑) แนวทางการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน เช่น การแก้ไขปัญหาสัญญาสัมปทานสถานี
ระยะสั้น รฟท. ควรเร่งตรวจสอบรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการเพื่อคัดเลือกเอกชนเป็นผู้ประกอบการสถานี
และ รฟท.
ควรบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดโดยการบริหารจัดการพื้นที่ลานจอดไม่ให้รถบรรทุกจากภายนอกเข้ามาจอดในสถานีแบบประจำ
และ ๒) ข้อเสนอแนะสำหรับแผนระยะกลางและระยะยาว เช่น รฟท. ควรประสานผู้ประกอบการไอซีดีปัจจุบัน
ทั้ง ๖ ราย ในการบริหารการรับส่งตู้สินค้าที่มีประสิทธิภาพ โดยการกำหนด KPI truck turnaround time ไม่เกิน
๒ ชั่วโมง และประเมินผลต่อเนื่อง
และควรเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางระหว่างสถานี (ไอซีดี) ลาดกระบัง
และท่าเรือแหลมฉบังให้ได้มากกว่า ๓๐ เที่ยวต่อวัน (ไป-กลับ)
และเพิ่มขนส่งด้วยระบบรางอย่างน้อยร้อยละ ๕๐
ของจำนวนตู้สินค้าทั้งหมดที่ขนส่งผ่านสถานี
เพื่อลดปริมาณรถบรรทุกที่เข้ามารับส่งตู้สินค้าในสถานี และกรุงเทพมหานคร ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การทบทวนกิจกรรมการศึกษาเพื่อความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ วุฒิสภา | สว. | 12/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
การทบทวนกิจกรรมการศึกษาเพื่อความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ
วุฒิสภา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเห็นว่า รายงานการพิจารณาศึกษาในเรื่องนี้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ชาติในระยะที่
๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐
แผนปฏิบัติการด้านการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ และจุดเน้นของการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน
และได้มีการดำเนินการที่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะดังกล่าว เช่น
การดำเนินนโยบายการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี การประเมินสถานการณ์ตามห้วงระยะเวลา
และการเพิ่มมาตรฐานการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น
สำหรับข้อเสนอแนะในส่วนที่ยังไม่ได้ดำเนินการหรือที่ยังไม่บรรลุผลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความพร้อมที่จะนำข้อเสนอแนะดังกล่าวไปดำเนินการต่อไป
พร้อมทั้งมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า การพิจารณานำกิจกรรมด้านการศึกษาเพื่อความมั่นคงที่กำหนดไว้เฉพาะภายใต้แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้อาจไม่สามารถสะท้อนให้เห็นภาพการขับเคลื่อนงานการศึกษาเพื่อความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ได้อย่างครบถ้วน
และควรเปิดโอกาสให้ผู้รับทุนการศึกษาสามารถเดินทางไปศึกษาในประเทศอื่นนอกเหนือจากประเทศมุสลิมและได้มีโอกาสเข้าทำงาน
รวมทั้งเห็นควรปรับข้อความบางส่วน เช่น การใช้คำว่า “การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิด”
แทน “การลดการบ่มเพาะ” เป็นต้น ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการติดต่อธุรกิจระยะสั้นเป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว | กต. | 12/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการในการกำหนดให้ญี่ปุ่นอยู่ในรายชื่อประเทศในประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการติดต่อธุรกิจระยะสั้น
ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน เป็นกรณีพิเศษ
โดยมีผลบังคับใช้ ๓ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๙
เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการต่างประเทศกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมการค้า
การลงทุน และการดำเนินธุรกิจระหว่างทั้งสองประเทศ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ๒.
เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการติดต่อธุรกิจระยะสั้น ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน
เป็นกรณีพิเศษ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขรูปแบบการร่างกฎหมายให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓.
ให้กระทรวงแรงงานรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา
๖๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๔.
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย ที่เห็นควรเร่งรัดการจัดทำความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับการเดินทางประเภทธุรกิจในระยะสั้นระหว่างไทย-ญี่ปุ่น
เพื่อให้ฝ่ายไทยได้รับประโยชน์ตามหลักต่างตอบแทนเช่นเดียวกัน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ขอความเห็นชอบการปรับโอนพิกัดศุลกากรของกฎถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) | พณ. | 12/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับโอนพิกัดศุลกากรของกฎถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า
ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA)
และอนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ในฐานะคณะกรรมาธิการร่วมความตกลง AANZFTA (AANZFTA Joint Committee : JC) ของไทยแจ้งการให้ความเห็นชอบดังกล่าวต่อสมาชิก AANZFTA โดยมอบหมายให้กระทรวงพณิชย์และกระทรวงการคลังดำเนินกระบวนการภายในเพื่อให้บัญชีกฎถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้าภายใต้ความตกลง
AANZFTA ฉบับ HS 2022
เริ่มมีผลบังคับใช้ภายในวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงพาณิชย์สนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบัญชีกฎถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้า (Product-Specific
Rules of Origin) ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) ฉบับ HS
2022 ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
และให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจที่ตรงกันในการปรับโอนพิกัดศุลกากรของกฎถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้าภายใต้ความตกลง
AANZFTA ต่อผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
เพื่อลดปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในทางปฏิบัติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 | นร.07 | 04/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ ประกอบด้วย โครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบฯ พ.ศ. ๒๕๖๘ ตามยุทธศาสตร์ชาติ
๖ ด้าน ได้แก่ (๑) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง (๒)
ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (๓) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
(๔) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม (๕)
ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ (๖)
ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ และรายการค่าดำเนินการภาครัฐ
ประกอบด้วย รายจ่ายเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ และรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
ทั้งนี้
ให้สำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ที่เห็นว่าในการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณต่อไป
ควรมีการเพิ่มเติมเป้าหมายและตัวชี้วัดของนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ
(พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ที่สามารถประเมินและวัดผลสัมฤทธิ์ของนโยบายการจัดสรรงบประมาณ
ที่เป็นประเด็นการดำเนินการเร่งด่วน
รวมทั้งการเพิ่มเติมการเชื่อมโยงเป้าหมายและตัวชี้วัดของนโยบายและแผนฯ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ในระบบการจัดการงบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Budgeting) ของสำนักงบประมาณ
เพื่อให้การจัดทำงบประมาณสามารถบรรลุเป้าหมายในการขับเคลื่อนภารกิจงานความมั่นคงได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
พ.ศ. ๒๕๖๘ ประเด็นแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ
ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับกรอบการจัดสรรงบประมาณประจำปี และอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ควรเพิ่มประเด็นแนวทางบูรณาการด้านที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ ในยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
เพื่อให้เร่งรัดการขับเคลื่อนภารกิจงาน “การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One
Map)” และ “การจัดที่ดินทำกิน” ให้เป็นภารกิจพิเศษ (Agenda
Base) รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินเพื่อความยั่งยืน
ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อว. | 28/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชารัฐศาสตร์
เพิ่มขึ้น ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 | พณ. | 28/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกปีการผลิต
๒๕๖๖/๖๗ และอนุมัติกรอบวงเงิน จำนวน ๗๘๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
โดยให้ใช้จ่ายจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในโอกาสแรกก่อน
หากไม่เพียงพอให้กระทรวงพาณิชย์
โดยกรมการค้าภายในเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่เห็นควรติดตามและกำกับดูแลให้ผู้ประกอบการค้าข้าวดำเนินการรับซื้อและเก็บสต็อกข้าวให้เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการฯ
อย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวและรายได้ของเกษตรกรชาวนาในช่วงสงกรานต์ดังกล่าวจากการดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในปีการผลิต
๒๕๖๖/๖๗ และการขอรับชดเชยดอกเบี้ยสำหรับสัญญาเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ควรกำหนดว่าเป็นการชดเชยสำหรับสัญญาเงินกู้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อข้าวเท่านั้น
และควรมีการตรวจสอบคุณภาพสต็อกข้าวเป็นประจำตลอดระยะเวลาที่เก็บรักษา ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ในการจัดทำมาตรการ/โครงการเพื่อสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและภาคเกษตรต่อจากนี้ไป
ให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินมาตรการ/โครงการในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนการเพิ่มระดับผลิตภาพ
(Productivity) ของภาคการเกษตร การพัฒนาภาคเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทานหรือเป็นการยกระดับกระบวนการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร
ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ (เรื่อง
การจัดทำมาตรการ/โครงการเพื่อสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือเกษตรกร) อย่างเคร่งครัดด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ขออนุมัติเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการค่าเช่าที่ดิน EECi อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง | อว. | 28/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมวิทยาศาสตร์บริการเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการดังกล่าวข้างต้น
จากวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ก่อหนี้ผูกพันไว้เดิม จำนวน ๒๒,๙๑๙,๐๐๐ บาท
เป็นจำนวน ๒๙,๔๒๒,๖๐๐ บาท
ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-พ.ศ. ๒๕๗๐ ตามนัยข้อ ๗ (๓) ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ซึ่งได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายแล้ว จำนวน ๔,๕๘๓,๘๐๐ บาท ส่วนที่เหลือ จำนวน ๒๔,๘๓๘,๘๐๐ บาท
ให้กรมวิทยาศาสตร์บริการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีรองรับตามความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายในแต่ละปีให้ครบวงเงินตามสัญญาต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ที่เห็นควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ต่าง
ๆ ที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ กฎหมาย ระเบียบ
ประกาศ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
เพื่อให้การใช้งบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และให้กรมวิทยาศาสตร์บริการปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ | รง. | 21/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง
อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ ๑๓) ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖
เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับต่อไป ตามที่กระทรวงแรงงาน
|