ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 3 จากข้อมูลทั้งหมด 3 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่น และกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พ.ศ. .... | ยธ. | 08/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่น
และกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย
เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดพื้นที่ทดลองเพราะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่นและเห็ดขี้ควายเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
รวมทั้งกำหนดมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเพาะปลูกและสาระสำคัญจากพืชดังกล่าว
โดยอาศัยอำนาจในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๕๕ วรรคสอง
แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งบัญญัติให้ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ส. เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
การลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด และการป้องกันปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด จะกำหนดพื้นที่เพื่อดำเนินการศึกษาทดลองเพาะปลูกพืชที่เป็นยาเสพติด
ผลิตและทดสอบเกี่ยวกับยาเสพติดได้ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นว่าควรเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในส่วนพื้นที่เพาะปลูกและสกัดสารสำคัญ
จากพืชเห็ดขี้ควายในมาตรา ๖ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าหน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมการดำเนินการทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญ
ต้องตรวจสอบการทดลองเพาะปลูกและสกัดสาระสำคัญ
ให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมพืชดังกล่าว ควรให้มีการรวบรวมข้อมูล สถิติ
ปริมาณการเพาะปลูก การผลิต โดยให้สอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการวิจัยงบประมาณที่ใช้
สรุปผลการวิจัย ความคุ้มค่า ประโยชน์ที่ได้รับ ความคืบหน้า ทางการวิจัย
ปริมาณที่นำไปใช้ในการศึกษา วิจัย รวมถึงส่วนที่คงเหลือหรือทำลาย
โดยให้รายงานข้อมูลไปยังเลขาธิการ ป.ป.ส. เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ปริมาณการผลิต
การนำไปใช้และประโยชน์ในภาพรวมของทุกพื้นที่ เพื่อกำหนดมาตรการ ควบคุม
การตรวจสอบรวมถึงแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น และควรพิจารณาเพิ่มเติมการจัดทำบัญชีรับจ่ายพืชเสพติดและระยะเวลาในการรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้อนุญาต
การตรวจสอบวิเคราะห์ ปริมาณสารสำคัญ โดยเฉพาะสารปนเปื้อน
การมีฉลากและเอกสารกำกับบรรจุภัณฑ์ผลผลิตที่เกิดขึ้น และการจัดให้มีระบบติดตามและตรวจสอบย้อนกลับ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการควบคุมกำกับการทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจาดฝิ่นและเห็ดขี้ควาย
ก่อให้เกิดบรรทัดฐานเดียวกันกับการควบคุมกำกับ ดูแล การใช้ประโยชน์พืชเสพติดอื่น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การนำที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะมาใช้ในโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกบริเวณหนองตาเหี่ยม ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก | มท. | 05/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการนำที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะบริเวณที่ราชพัสดุ
แปลงหมายเลขที่ พล ๓๘๕ พื้นที่จำนวน ๑๐๔-๓-๖๔ ไร่ เพื่อนำมาใช้ในโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกบริเวณหนองตาเหี่ยม
ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทย
(สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดพิษณุโลกและเทศบาลเมืองอรัญญิก)
รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมพิษณุโลก พ.ศ. ๒๕๕๓
และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไปดำเนินการอย่างเคร่งครัดด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ขออนุมัติหลักการโครงการส่งเสริมการสร้างคนดีตามหลักการทางศาสนาที่ถูกต้องเพื่อสืบสานและรักษาสังคมพหุวัฒนธรรมที่ดีงามของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566-2570 | นร.52 | 07/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการโครงการส่งเสริมการสร้างคนดีตามหลักการทางศาสนาที่ถูกต้องเพื่อสืบสานและรักษาสังคมพหุวัฒนธรรมที่ดีงามของจังหวัดชายแดนภาคใต้
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ทั้งนี้
ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงยุติธรรม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าให้มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามระบบและมีความต่อเนื่อง
ให้ความสำคัญกับการสื่อสารและการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเจตนารมณ์ของโครงการฯ
ให้กลุ่มเป้าหมายทราบอย่างชัดเจน พิจารณาปรับแผนงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
หรือโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ
ตามระเบียบว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-๒๕๗๐
ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้บูรณาการการดำเนินงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงวัฒนธรรม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินโครงการต่าง ๆ
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในภาพรวมมีความเหมาะสม คุ้มค่า
เป็นไปตามความลำดับความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อลดความซ้ำซ้อน
เกิดความเสมอภาค และไม่เป็นภาระงบประมาณเกินจำเป็น
|