ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2564 และแนวโน้มปี 2564 - 2565 | นร.11 สศช | 16/11/2564 | ||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี
๒๕๖๔ และแนวโน้มปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ สรุปได้ ดังนี้ ๑. เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี ๒๕๖๔ ปรับตัวลดลงร้อยละ ๐.๓
เทียบกับการขยายตัวร้อยละ ๗.๖ ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี ๒๕๖๔ ลดลงจากไตรมาสที่สองของปี ๒๕๖๔ ร้อยละ ๑.๑ (QoQ_SA) รวม ๙ เดือนแรก ของปี ๒๕๖๔ เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ ๑.๓ โดยด้านการใช้จ่าย
การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลง ขณะที่การส่งออกสินค้า การลงทุนภาคเอกชน
และการใช้จ่ายภาครัฐบาลขยายตัว การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ลดลงร้อยละ ๓.๒ เทียบกับการขยายตัวร้อยละ
๔.๘ ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีสาเหตุจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ที่มีความรุนแรงมากขึ้น ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาครัฐบาล
การลงทุนรวมโดยการลงทุนภาคเอกชน การส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัวในกลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น
เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ รถยนต์นั่ง และลดลงในกลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าลดลง
ได้แก่ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนด้านการผลิต
สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และสาขาก่อสร้าง สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้และประมง
สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร สาขาการเงิน ขยายตัว
การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
สาขาการไฟฟ้าและก๊าซ สาขาการขายส่งการขายปลีกและการซ่อมแซมฯ ลดลงต่อเนื่อง ๒.
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี ๒๕๖๔ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ ๑.๒ ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ
จากการลดลงร้อยละ ๖.๑ ในปี ๒๕๖๓ อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ ๑.๒
และบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ ๒.๕ ต่อ GDP เทียบกับการเกินดุลร้อยละ ๔.๐ ต่อ GDP ในปี ๒๕๖๓ ๓.
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี ๒๕๖๕ คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ ๓.๕-๔.๕ ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า
ๆ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (๑) การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและภาคการผลิตตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ที่มีแนวโน้มคลี่คลายลงและความคืบหน้าของการกระจายวัคซีน (๒) การฟื้นตัวอย่างช้า ๆ
ของภาคการท่องเที่ยวระหว่างประเทศภายใต้นโยบายการเปิดประเทศของภาครัฐ (๓)
การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการส่งออกสินค้า (๔)
การขับเคลื่อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ และ (๕) ฐานการขยายตัวที่ยังอยู่ในระดับต่ำ
ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ ๔.๙
ขณะที่การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ ๔.๓ และร้อยละ ๔.๒
ตามลำดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ ๔.๖ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ
๐.๙-๑.๙ และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ ๑.๐ ของ GDP ๔.
การบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของในปี ๒๕๖๔ และ ปี ๒๕๖๕ ควรให้ความสำคัญกับ
(๑) การป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศให้อยู่ในวงจำกัด (๒) การสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจ
(๓) การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและการท่องเที่ยวภายในประเทศ
(๔) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า (๕) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน (๖)
การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ และ (๗) การติดตามและเฝ้าระวังความผันผวนของภาคเศรษฐกิจต่างประเทศที่มีแนวโน้มที่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
|