ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 2 จากข้อมูลทั้งหมด 2 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 500 ล้านบาท ของสำนักงานธนานุเคราะห์ | พม. | 25/06/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารออมสิน วงเงิน ๕๐๐ ล้านบาท ออกไปอีก ๒
ปี ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๙
เพื่อเป็นเงินทุนสำรองสำหรับหมุนเวียนรับจำนำและสำหรับใช้จ่ายในการบริหารเงินให้เกิดสภาพคล่องในกิจการ
ของสำนักงานธนานุเคราะห์ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (สำนักงานธนานุเคราะห์)
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อสังเกตของนายกรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ดังนี้ กระทรวงการคลัง เห็นว่าเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา
๔๙ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ การก่อหนี้ภายใต้การต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าว
จะต้องเป็นไปตามกฎหมายและอยู่ภายใต้ขอบวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐผู้กู้
ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของประเทศและของหน่วยงานของรัฐ โดยต้องกระทำด้วยความรอบคอบ
และคำนึงถึงความคุ้มค่า ความสามารถในการชำระหนี้
การกระจายภาระการชำระหนี้ เสถียรภาพและความยั่งยืนทางการเงินการคลัง ตลอดจนความน่าเชื่อถือของประเทศและของหน่วยงานของรัฐผู้กู้
รวมถึงให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะโดยเคร่งครัด สำนักงบประมาณ เห็นควรพิจารณาจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง
การวางแผนทางการเงินล่วงหน้า และการพัฒนาระบบบริหารทางการเงินให้มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้ทันต่อสถานการณ์ และการกู้เงินดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง อย่างถูกต้องครบถ้วน
โดยต้องกระทำด้วยความรอบคอบและคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้
รวมถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในทุกมิติ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ อย่างเคร่งครัด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28 | นร.14 | 13/02/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะรัฐมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
ครั้งที่ ๓๐ และการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับหุ้นส่วนการพัฒนา
ครั้งที่ ๒๘ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (นายสุรสีห์
กิตติมณฑล) ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม สรุปได้ ดังนี้ (๑) อนุมัติร่างขอบเขตการดำเนินงาน
(TOR) ของหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร
(CEO) ของสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงที่เสนอโดยไทย
เนื่องจากผู้ที่ดำรงตำแหน่งในปัจจุบันจะหมดวาระในวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๘ และผู้ที่ดำรงตำแหน่งคนต่อไปจะมาจากไทย
(๒) รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เช่น
๑) ความร่วมมือกับพันธมิตรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ๒)
การดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และ ๓)
การดำเนินการตามแผนระดับภูมิภาคเชิงรุก เป็นต้น และ (๒)
ประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงและหุ้นส่วนการพัฒนาร่วมกล่าวถ้อยแถลงในการประชุม เช่น
ไทยกล่าวชื่นชมการดำเนินงานที่ผ่านมาของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงที่ดำเนินการพัฒนาลุ่มน้ำตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
พ.ศ. ๒๕๓๘ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ท้าทายในปัจจุบัน
กัมพูชากล่าวขอบคุณหุ้นส่วนการพัฒนาที่ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการและเงินทุน
และขอบคุณประเทศคู่เจรจาที่ทำงานร่วมกันกับประเทศสมาชิก และหุ้นส่วนการพัฒนากล่าวยินดีกับผลสำเร็จของกิจกรรมที่สร้างความมีส่วนร่วมของประเทศในลุ่มน้ำโขง
รวมถึงการมีส่วนร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในงานกิจกรรมสำคัญระดับโลก เป็นต้น
ตามที่คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยเสนอ
|