ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 250 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 ให้แก่ประชาชน ของกระทรวงคมนาคม | คค. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่สำคัญ
เพื่อมอบเป็น “ของขวัญจากกระทรวงคมนาคม เพื่อความอุดมสุขของประชาชน” “GIFTS” ให้ประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.
๒๕๖๗ จำนวน ๕ ด้าน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ประกอบด้วย ๑.
คมนาคมส่งมอบความสุข (G = Gift to People) ๒.
คมนาคมสร้างสรรค์เส้นทางไทย (I = Infrastructure for Nation) ๓. คมนาคมสะดวก
บริการประทับใจ (F = Facilitation) ๔.
คมนาคมส่งเสริมการท่องเที่ยว (T = Tourist Promotion) ๕.
คมนาคมใส่ใจ ปลอดภัยทุกการเดินทาง (S =
Safety Journey)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีและใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสม | นร. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่
๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ให้หน่วยงานต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการผลิตและการส่งออกข้าวของประเทศ
เช่น ปัญหาคุณภาพของพันธุ์ข้าว ผลผลิตต่อไร่ ระยะเวลาในการพิจารณาออกใบรับรองมาตรฐานคุณภาพข้าวประเภทต่าง
ๆ นั้น เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงเริ่มฤดูการเพาะปลูกข้าว
จึงขอมอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด
ดังต่อไปนี้ ๑.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมการข้าว) เร่งดำเนินการแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่ได้จัดเตรียมไว้แล้วซึ่งมีคุณภาพดี
ให้ผลผลิตสูง สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และเหมาะสมกับสภาพดินในแต่ละพื้นที่
ให้แก่เกษตรกรโดยเร็วและทั่วถึง เพื่อให้ทันต่อช่วงเวลาการเพาะปลูกในฤดูกาลนี้ ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมการข้าว
เร่งรัดการดำเนินการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวต่อไปเพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ต่าง
ๆ มากยิ่งขึ้น และสามารถจูงใจให้เกษตรกรนำมาปลูกทดแทนพันธุ์ข้าวที่ใช้อยู่เดิม
รวมทั้งให้ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมข้าวของไทยเพื่อให้พันธุ์ข้าวดังกล่าวสอดคล้องกับความต้องการของตลาดในวงกว้างด้วย
๓.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว และกรมวิชาการเกษตร) เร่งดำเนินการส่งเสริม
สนับสนุน ประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับสภาพดินในแต่ละพื้นที่
ให้ชัดเจน ทั่วถึง เพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพและสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้ได้มากที่สุด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสารและการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู พ.ศ. .... | คค. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารตามวิธีการในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู
(ช่วงแคราย-มีนบุรี) โดยมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้น ๑๕ บาท สูงสุด ๔๕ บาท
และกำหนดให้คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยอาจประกาศกำหนดผลิตภัณฑ์ของตั๋วโดยสาร
เพื่อส่งเสริมการใช้บริการรถไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารเพื่อสนับสนุนกิจกรรมตามนโยบาย
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ๒. ให้กระทรวงคมนาคม
(การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรเร่งพิจารณาแนวทางการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมในระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑล เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และสามารถจูงใจให้ประชาชนหันมาเดินทางในระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ประเด็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์และดิจิทัลต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การดำเนินการโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 ให้แก่ประชาชน (กระทรวงศึกษาธิการ) | ศธ. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินการโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่
พ.ศ. ๒๕๖๗ ให้แก่ประชาชน ของกระทรวงศึกษาธิการ เช่น (๑) การจัดฝึกอบรมหลักสูตร “ช่างชุมชน”
ฟรี (๒) โครงการอาชีวะอาสา ร่วมด้วยช่วยประชาชน ฟรี (๓) ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ New Year Sale 2024 ลดราคาสินค้าร้านศึกษาภัณฑ์พาณิชย์
ทุกสาขา (๔) ลดราคาหนังสือ e-Book ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทุกช่องทางการจำหน่าย และ (๕) ลดราคาสื่อเสริมและบอร์ดเกม ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 10 | กค. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ (เรื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio
Guarantee Scheme ระยะที่ ๑๐) ในส่วนของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อเพิ่มอีก
๓,๒๕๐ ล้านบาท
จากเดิม วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็น
วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ ๕๓,๒๕๐ ล้านบาท
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง
(บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและธนาคารแห่งประเทศไทย เช่นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงการคลัง
(บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม) พิจารณากำหนดกลุ่มเป้าหมายในการจัดสรรวงเงินค้ำประกันสินเชื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือก่อนเป็นลำดับแรก
เช่น ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (Small and
Medium Enterprises : SMEs) ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง
ขนาดย่อม และขนาดย่อย (Micro, Small and Medium Enterprises :
MSMES) ผู้ประกอบการธุรกิจในพื้นที่เมืองรอง
เพื่อส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันให้สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... | สธ. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท
๒ และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒
และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔
การดำเนินการของผู้รับอนุญาตเพื่อประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์และการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในเรื่องดังกล่าว
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงคมนาคม สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น ควรพิจารณาให้เพิ่มข้อยกเว้นการปฏิบัติตามร่างกฎกระทรวงฯ
ในการมีมอร์ฟีน (Morphine) ซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่
๒ ไว้ในเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางในระหว่างประเทศตามข้อแนะนำการรักษาพยาบาลในเรือขององค์การอนามัยโลกและองค์กรแรงงานระหว่างประเทศและตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ว่าด้วยการจัดให้มีอุปกรณ์
สิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านการรักษาพยาบาลในห้องพยาบาลบนเรือการฝึกอบรมการปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาลบนเรือ
การกำหนดระยะเวลาการแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตตามร่างกฎกระทรวงฯ ข้อ ๑๙ วรรคสอง
ควรกำหนดให้สอดคล้องตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘ และการปรับอัตราค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นควรแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการที่ดีขึ้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างกฎกระทรวงลดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ พ.ศ. .... | พณ. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงลดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการลดอัตราค่าธรรมเนียมลงกึ่งหนึ่ง
สำหรับค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร
การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรองและค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
(ในท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล และ ๔
อำเภอในจังหวัดสงขลาเฉพาะในท้องที่อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย)
ต่อไปอีก ๓ ปี (ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๙) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร.
ที่เห็นควรสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการรับรู้ในวงกว้างและสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้ามาลงทุนในพื้นที่
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การเปิดสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา และการปิดสถานกงสุลใหญ่ ณ กรุงอันตานานาริโว สาธารณรัฐมาดากัสการ์ เป็นการถาวร | กต. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศปิดสถานกงสุลใหญ่
ณ กรุงอันตานานาริโว สาธารณรัฐมาดากัสการ์ เป็นการถาวร และอนุมัติในหลักการให้เปิดสถานกงสุลใหญ่
ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีเขตกงสุลครอบคลุม ๘
จังหวัดของราชอาณาจักรกัมพูชา ประกอบด้วย (๑) จังหวัดเสียมราฐ (๒) จังหวัดพระตะบอง
(๓) จังหวัดไพลิน (๔) จังหวัดบันทายมีชัย (๕) จังหวัดอุดรมีชัย (๖)
จังหวัดพระวิหาร (๗) จังหวัดสตึงแตรง และ (๘) จังหวัดโพธิสัตว์ รวมทั้งเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการในรายละเอียดการเปิดสถานกงสุลใหญ่
ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ ขอให้กระทรวงการต่างประเทศและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๘/๒๐๗๗ ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๖) สำนักงาน ก.พ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นว่าควรกำหนดอัตรากำลังภายใต้กรอบอัตรากำลังที่มีอยู่เดิม
เพื่อมิให้เป็นภาระงบประมาณในระยะยาวต่อไป ควรดำเนินการบริหารอัตรากำลังในภาพรวมตามความจำเป็นของภารกิจ
โดยคำนึงถึงหลักการและแนวทางการบริหารจัดการอัตรากำลังตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ
กำหนดไว้ในมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการประชุมเมื่อวันที่
๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖ ด้วย และในประเด็นเรื่องการกำหนดตัวชี้วัดของการจัดตั้งสถานกงสุลใหญ่
ณ เมืองเสียมราฐเพื่อสะท้อนผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าในการจัดตั้งหน่วยงาน กระทรวงการต่างประเทศควรจัดเก็บสถิติข้อมูลและปริมาณงานในภารกิจแต่ละด้าน
เพื่อกำหนดตัวชี้วัดเชิงกระบวนการทำงานในระยะ ๑-๒ ปี และตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ในระยะ
๓-๕ ปี ข้างหน้า โดยการจัดเก็บสถิติข้อมูลของสถานกงสุลใหญ่ ณ
เมืองเสียมราฐควรแยกออกจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ
เพื่อให้มีข้อมูลที่ชัดเจน
ใช้ประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าของหน่วยงานที่มีการจัดตั้งขึ้นใหม่
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 พ.ศ. .... | สธ. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท
๒ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า
หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุด ที่เห็นว่าการกำหนดระยะเวลาการแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตตามร่างกฎกระทรวงฯ
ข้อ ๑๖ วรรคสอง ควรกำหนดให้สอดคล้องตามมาตรา ๑๐
แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด ที่เห็นว่าร่างกฎกระทรวงข้อ
๑๖ วรรคหนึ่ง
ซึ่งกำหนดให้ผู้อนุญาตพิจารณาคำขออนุญาตให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
เห็นว่าระยะเวลาสามสิบวันเป็นระยะเวลาที่พอสมควรที่ผู้อนุญาตจะได้พิจารณาคำขอและอนุญาตให้แล้วเสร็จ
แต่ก็มีข้อสังเกตว่าหากผู้อนุญาตไม่สามารถพิจารณาคำขอให้เสร็จสิ้นได้ภายในกำหนดสามสิบวันจะมีมาตรการอย่างไรในระหว่างที่พิจารณาคำขอ
จึงสมควรที่จะกำหนดมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบดังกล่าวด้วย และร่างกฎกระทรวงข้อ ๑๖
วรรคสอง
ที่กำหนดให้ผู้ขออนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาต
เห็นว่ากำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่กระชั้นชิด
ซึ่งในการอุทธรณ์คำสั่งผู้อุทธรณ์จะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการเตรียมข้อมูลในการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
จึงสมควรที่จะเพิ่มกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์จากสิบห้าวันเป็นสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ผู้ขออนุญาตได้รับหรือถือว่าได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต
ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมมากกว่าตามร่างซึ่งกำหนดให้อุทธรณ์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | รัฐบาลสาธารณรัฐนิการากัวเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐนิการากัวประจำประเทศไทย (นางซันดี อานาเบลล์ ดาบิลา ซันโดบัล) | กต. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นางซันดี อานาเบลล์ ดาบิลา ซันโดบัล (Mrs. Sandy Anabell Davila Sandoval) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐนิการากัวประจำประเทศไทยคนใหม่ โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น สืบแทน นายโรดริโก โกโรเนล
คินลอก (Mr. Rodrigo Coronel Kinloch) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 พ.ศ. .... | สธ. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตผลิต นำเข้า
ส่งออกจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต การออกใบอนุญาต
การออกใบแทนใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การแก้ไขรายการในใบอนุญาต
การให้ผู้รับอนุญาตดำเนินการ เพื่อประโยชน์ในการควบคุม กำกับดูแล
และการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น การกำหนดระยะเวลาการแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตตามร่างกฎกระทรวงฯ
ข้อ ๑๓ วรรคสาม และข้อ ๑๔ วรรคสอง ควรกำหนดให้สอดคล้องตามมาตรา ๑๐
แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘
และกระทรวงสาธารณสุขควรเร่งดำเนินการตามมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ โดยจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนและเผยแพร่ตามช่องทางที่กำหนดรวมถึงในเว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ
(www.info.go.th) ต่อไป ไปประกอบการตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด
เช่น ร่างกฎกระทรวงข้อ ๑๓ วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้ผู้อนุญาตพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยสามสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอและสามารถขยายระยะเวลาไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง
ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน เห็นว่าระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่พอสมควรที่ผู้อนุญาตจะได้พิจารณาคำขอและอนุญาตให้แล้วเสร็จ
แต่ก็มีข้อสังเกตว่าหากผู้อนุญาตไม่สามารถพิจารณาคำขอให้เสร็จสิ้นได้ภายในกำหนดจะมีมาตรการอย่างไรในระหว่างที่พิจารณาคำขอ
จึงสมควรที่จะกำหนดมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบดังกล่าวด้วย และร่างกฎกระทรวงข้อ ๑๓
วรรคสาม ที่กำหนดให้ผู้ขออนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาต
เห็นว่ากำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่กระชั้นชิด
ซึ่งในการอุทธรณ์คำสั่งผู้อุทธรณ์จะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการเตรียมข้อมูลในการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
จึงสมควรที่จะเพิ่มกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์จากสิบห้าวันเป็นสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ผู้ขออนุญาตได้รับหรือถือว่าได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต
ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมมากกว่าตามร่างซึ่งกำหนดให้อุทธรณ์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2535 (เรื่อง แนวทางการจัดระบบบริหารการพัฒนาแหล่งน้ำ) ในส่วนที่กำหนดว่า "ระบบท่อส่งน้ำต่าง ๆ ควรจะมีผู้รับผิดชอบรายเดียวในการพัฒนาระบบให้เป็นท่อส่งน้ำสายหลัก (Trunk Transmission Main) และการดำเนินการบริหาร/จัดการ (Operate) เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นผู้ค้าส่ง (Wholeseller) ในการซื้อน้ำจากอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทานและขายน้ำดิบให้กับระบบจำหน่ายต่าง ๆ" | กษ. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๔
กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ (เรื่อง แนวทางการจัดระบบบริหารการพัฒนาแหล่งน้ำ)
ในส่วนที่กำหนดว่า “ระบบท่อส่งน้ำต่าง ๆ
ควรจะมีผู้รับผิดชอบรายเดียวในการพัฒนาระบบให้เป็นท่อส่งน้ำสายหลัก (Trunk Transmission Main) และการดำเนินการบริหาร/จัดการ
(Operate) เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นผู้ค้าส่ง (Wholeseller)
ในการซื้อน้ำจากอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทานและขายน้ำดิบให้กับระบบจำหน่ายต่าง
ๆ” ไปเพื่อดำเนินการ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ
ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไปอย่างเคร่งครัด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างปฏิญญาเนปยีดอของการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 4 | กต. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเปลี่ยนชื่อร่างแถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ ๘ เป็นร่างปฏิญญาเนปยีดอของการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
ครั้งที่ ๔
และปรับเปลี่ยนผู้รับรองเอกสารฉบับดังกล่าวจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นนายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในการประชุมผู้นำฯ
โดยไม่กระทบสาระสำคัญของร่างเอกสารดังกล่าวที่คณะรัฐมนตรีได้เคยให้ความเห็นชอบแล้ว
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรส่งเสริมให้ประเทศในอนุภูมิภาคฯ
ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์อาชญากรรมข้ามชาติ
รวมทั้งข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศ
เพื่อให้ประเทศสมาชิกสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบและบทลงโทษจากการกระทำผิดให้กับประชาชนในพื้นที่
ซึ่งจะส่งผลให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเข้าสู่วงจรอาชญากรรมข้ามชาติ
และเพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติร่วมกันได้อย่างชัดเจน และควรเน้นย้ำแนวทางการดำเนินงานของกรอบความร่วมมือดังกล่าวให้สอดประสานกับประเด็นความเชื่อมโยงด้านคมนาคมและการขนส่งที่กรอบความร่วมมืออื่น
ๆ ในพื้นที่ได้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว อาทิ อาเซียน
แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ๖ ประเทศ (GMS) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
(ACMECS) เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันและเกื้อหนุนการดำเนินการระหว่างกัน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ข้อเสนอแนะแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ | ปช. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.รับทราบแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย
ในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทุจริตในการดำเนินแผนงาน/โครงการในภาครัฐ
ประกอบด้วย ขั้นการวางแผนก่อนดำเนินโครงการ ขั้นการดำเนินโครงการ
และขั้นการสรุปผลหลังการดำเนินโครงการ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ ๒. รับทราบผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย
ในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตามที่กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน
ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรายงาน
และแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | รัฐบาลเนปาลเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งเนปาลประจำประเทศไทย (นายธัน พหาทุร โอลิ) | กต. | 12/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายธัน พหาทุร โอลิ (Mr. Dhan Bahadur Oli) ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งเนปาลประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นายคเณศ ประสาท ธกาล (Mr.
Ganesh Prasad Dhakal) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... | อว. | 12/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ....
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ “คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม” เป็น “คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม”
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการพัฒนาสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ลาดกระบัง ของคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา | สว. | 12/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการพัฒนาสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง
(ไอซีดี) ลาดกระบัง ของคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา โดยมีข้อเสนอแนะ
แบ่งออกเป็น ๒ แนวทาง ได้แก่ ๑) แนวทางการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน เช่น การแก้ไขปัญหาสัญญาสัมปทานสถานี
ระยะสั้น รฟท. ควรเร่งตรวจสอบรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการเพื่อคัดเลือกเอกชนเป็นผู้ประกอบการสถานี
และ รฟท.
ควรบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดโดยการบริหารจัดการพื้นที่ลานจอดไม่ให้รถบรรทุกจากภายนอกเข้ามาจอดในสถานีแบบประจำ
และ ๒) ข้อเสนอแนะสำหรับแผนระยะกลางและระยะยาว เช่น รฟท. ควรประสานผู้ประกอบการไอซีดีปัจจุบัน
ทั้ง ๖ ราย ในการบริหารการรับส่งตู้สินค้าที่มีประสิทธิภาพ โดยการกำหนด KPI truck turnaround time ไม่เกิน
๒ ชั่วโมง และประเมินผลต่อเนื่อง
และควรเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางระหว่างสถานี (ไอซีดี) ลาดกระบัง
และท่าเรือแหลมฉบังให้ได้มากกว่า ๓๐ เที่ยวต่อวัน (ไป-กลับ)
และเพิ่มขนส่งด้วยระบบรางอย่างน้อยร้อยละ ๕๐
ของจำนวนตู้สินค้าทั้งหมดที่ขนส่งผ่านสถานี
เพื่อลดปริมาณรถบรรทุกที่เข้ามารับส่งตู้สินค้าในสถานี และกรุงเทพมหานคร ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมสำหรับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 8 | คค. | 12/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมสำหรับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ ๘ และอนุมัติให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
(นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ร่วมให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว โดยร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
มีสาระสำคัญเพื่อส่งเสริมการคมนาคมขนส่งในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ซึ่งไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
จึงไม่ใช่สนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ จึงไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
แต่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบตามพระราชกฤษฎีกาการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๔ (๗) เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมสำหรับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ ๘ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | การขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการและการจัดทำเอกสารภาคผนวกเพิ่มเติมเพื่อแนบท้ายความตกลงให้ความสนับสนุนด้านการเงิน (Financing Agreement) “โครงการการรวมตัวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคอาเซียนจากสหภาพยุโรปเพิ่มเติมต่อประเทศไทย (ARISE Plus - Thailand) ในสาขาความช่วยเหลือด้านการค้า” | พณ. | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับใช้เป็นภาคผนวกเพิ่มเติมเพื่อแนบท้ายความตกลงให้ความสนับสนุนด้านการเงิน
(Financing Agreement) “โครงการการรวมตัวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคอาเซียนจากสหภาพยุโรปเพิ่มเติมต่อประเทศไทย
(ARISE Plus-Thailand) ในสาขาความช่วยเหลือด้านการค้า”
และอนุมัติให้อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือฯ ของฝ่ายไทย รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม โดยร่างหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับใช้เป็นภาคผนวกเพิ่มเติมเพื่อแนบท้ายความตกลงฯ
มีสาระสำคัญเป็นการขอขยายระยะเวลาในการดำเนินการ (Execution Period) ออกไปอีก ๙ เดือน เฉพาะในส่วนของระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ (Implementation
Period) จากเดิม ๔๒ เดือน เป็น ๕๑ เดือน (สิ้นสุดวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน
๒๕๖๙) ซึ่งต้องจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับใช้เป็นภาคผนวกเพิ่มเติมเพื่อแนบท้ายความตกลงให้ความสนับสนุนด้านการเงิน
(Financing Agreement) “โครงการการรวมตัวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคอาเซียนจากสหภาพยุโรปเพิ่มเติมต่อประเทศไทย
(ARISE Plus-Thailand) ในสาขาความช่วยเหลือด้านการค้า”
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | รายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562-2565) | ยธ. | 21/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๕) แผนสิทธิมนุษยชนฯ เป็นเครื่องมือ กลไก และมาตรการให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการส่งเสริม
ปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชน ซึ่งกระทรวงยุติธรรมได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำและขับเคลื่อนแผนดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง
โดยแผนสิทธิมนุษยชนฯ ประกอบด้วย โครงการ/กิจกรรม จำนวน ๒,๔๐๙ โครงการ มีโครงการที่ทำเสร็จ
จำนวน ๑,๘๓๗ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๒๖
และมีผลการดำเนินการในภาพรวม โดยมอบหมายกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ)
รับผิดชอบกำหนดแนวทาง วิธีการ รายงานผล และแบบรายงาน ทั้งนี้
เมื่อสิ้นสุดวาระการบังคับใช้แผนฯ กระทรวงยุติธรรมจึงได้รวบรวมข้อมูล
และจัดทำรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนฯ
เพื่อแสดงถึงพัฒนาการความก้าวหน้า ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงวัฒนธรรม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรให้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายใต้หลักการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม
ส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์และสร้างความเสมอภาคบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมได้ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา ดำเนินการผลักดัน
(ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
โดยอีกหลายกลุ่มไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิบางประการ เช่น การกำหนดสถานะของบุคคล
การมีสิทธิอาศัยและใช้ประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งมีการทับซ้อนกับพื้นที่อนุรักษ์หรือพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของทางราชการที่ไม่สามารถอนุญาตให้ประชาชนใช้ประโยชน์ได้ตามกฎหมาย
และการขาดโอกาสการเข้าถึงบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน เป็นต้น ควรพิจารณากำหนดตัวชี้วัดในภาพรวม
อาทิ ดัชนีเสรีภาพ (Freedom in the world) พร้อมทั้งกำหนดค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดแต่ละด้านให้ชัดเจน
เพื่อให้การติดตามประเมินผลสามารถสะท้อนความก้าวหน้าและผลสำเร็จในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในภาพรวมของประเทศอย่างแท้จริง
วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับสนธิสัญญา/อนุสัญญาระหว่างประเทศ
ปฏิญญาสากลด้านสิทธิมนุษยชน หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน และมีกลไกติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า
(Early warning) ในกรณีที่พบความเสี่ยงหรือปัญหาจากการดำเนินงาน
และหาแนวทางลดความเสี่ยงหรือแก้ไขได้ทันสถานการณ์
เพื่อให้การพัฒนางานด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |