ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 2 จากข้อมูลทั้งหมด 2 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุม ครั้งที่ 9/2564 | นร.11 สศช | 05/10/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบมติของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ในคราวประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ในส่วนของโครงการจ้างแพทย์
พยาบาลวิชาชีพ และสายงานบริการทางการแพทย์อื่น
เพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
เห็นควรให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่ได้รับการจัดสรรไปดำเนินการก่อนเป็นลำดับแรก และหากจะพิจารณาใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา
และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
เห็นควรเร่งดำเนินการพิจารณากำหนดจำนวนกรอบอัตรากำลังที่จะจ้างงานภายใต้โครงการฯ
ให้เป็นไปตามความจำเป็น เหมาะสมสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในแต่ละพื้นที่
รวมทั้งจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
อนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ในคราวประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ที่ได้พิจารณากลั่นกรองข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
และพิจารณาความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ
และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการและกระทรวงต้นสังกัดรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินการโดยเคร่งครัดตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการจ้างแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ
และสายงานบริการทางการแพทย์อื่น เพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
ให้เป็นไปตามข้อ ๑ ๓. ให้เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 40 วรรคสาม และมาตรา 42 วรรคหนึ่ง สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | กก. | 21/09/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) ก่อหนี้ผูกพันเกินกว่า ๑
ปีงบประมาณก่อนได้รับเงินประจำงวด และสามารถลงนามในสัญญาได้ก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม
๒๕๖๔ วงเงินรวม ๒๐๔,๓๗๒,๙๐๐ บาท สำหรับกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราการแลกเปลี่ยน
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายรายการต่าง ๆ จำนวน ๑๘ รายการ ได้แก่ ค่าเช่าอาคารที่ทำการ
ททท. จำนวน ๙ สำนักงาน ค่าเช่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคล ททท. จำนวน ๖ รายการ
ค่าเช่าที่จอดรถยนต์ ททท. จำนวน ๒ รายการ และค่าเช่าคลังเก็บวัสดุ ททท. จำนวน ๑
รายการ สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ใช้บังคับ ให้ ททท. ใช้จ่ายตามรายการและวงเงินงบประมาณรายจ่ายของ ททท.
ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป ให้ ททท. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณให้สอดคล้องกับค่าเช่าที่จะต้องจ่ายตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการในรายการเช่าทั้ง ๑๘ รายการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ
รวมถึงการใช้จ่ายเงินสำหรับการดำเนินการดังกล่าวจะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส คุ้มค่า
และประหยัด ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรพิจารณาความเหมาะสมและการใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่า
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙
ที่ส่งผลให้เกิดวิถีใหม่ในการดำรงชีวิตและการทำงาน พร้อมกับรายงานผลการดำเนินงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทราบอย่างต่อเนื่อง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|