ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 31 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | แผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 - 2573 | ทส. | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงแรงงาน) | รง. | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๑ ธันวาคม
๒๕๖๗) เป็นต้นไป ดังนี้ ๑. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ประธานกรรมการ ๒. ปลัดกระทรวงแรงงาน รองประธานกรรมการ ๓. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ ๔. ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ ๕. ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม กรรมการ และความมั่นคงของมนุษย์ ๖. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ ๗. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ ๘. ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ ๙. ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ ๑๐. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ ๑๑. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ ๑๒. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ ๑๓. ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรรมการ ๑๔. ปลัดกรุงเทพมหานคร กรรมการ ๑๕. อัยการสูงสุด กรรมการ ๑๖. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ ๑๗. เลขาธิการคณะกรรมการป้องกัน กรรมการ และปราบปรามยาเสพติด ๑๘. เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการ ๑๙. อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง กรรมการ ๒๐. อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กรรมการ ๒๑.
ผู้อำนวยการสำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ กรรมการ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
กระทรวงแรงงาน ๒๒. ประธานมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กรรมการ ๒๓. ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก กรรมการ ๒๔. ประธานสภาองค์การนายจ้าง กรรมการ แห่งประเทศไทย ๒๕. ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงาน กรรมการ แห่งประเทศไทย ๒๖. หัวหน้าทีมนโยบายเพื่อการพัฒนาสังคม กรรมการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ๒๗. ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ กรรมการ ประจำประเทศไทย กัมพูชา
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ๒๘. อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรรมการและเลขานุการ
กระทรวงแรงงาน ๒๙. ผู้อำนวยการกองคุ้มครองแรงงาน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กระทรวงแรงงาน ๓๐. ผู้อำนวยการกลุ่มงานแรงงานหญิง เด็ก กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน
กองคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กระทรวงแรงงาน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ขอยกเลิกโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และขอเสนอโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 | กษ. | 03/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยกเลิกโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๗ (เรื่อง โครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ภายใต้มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต ๒๕๖๗/๖๘) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ๒.
เห็นชอบโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต
๒๕๖๗/๖๘ ภายในกรอบวงเงิน ๓๘,๕๗๘.๒๒ ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเป็นภาระต่องบประมาณนั้น
ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ รวมทั้งให้นำข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ
(นบข.) ไปประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้
การชดเชยต้นทุนเงินให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ให้คงหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการชดเชยอัตราต้นทุนทางการเงินที่ต้องขอรับชดเชยจากภาครัฐในอัตราต้นทุนทางการเงินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ประจำไตรมาส บวก ๑ เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา และหากจะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราการชดเชยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หารือร่วมกับกระทรวงการคลัง
กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการดำเนินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลกข้าว
ปีการผลิต ๒๕๖๗/๖๘ ดังกล่าว ตามความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ๓. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงบประมาณ เห็นควรจัดทำระบบหรือกลไกในการตรวจสอบที่มีมาตรฐาน
เพื่อให้สามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างถูกต้องและทันสถานการณ์ รวมทั้งบูรณาการข้อมูลการลงทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
จำนวนเกษตรกร จำนวนพื้นที่เพาะปลูก ราคาซื้อขายในตลาด ปริมาณผลผลิตต่อไร่
ต้นทุนการผลิตต่อไร่ เพื่อจัดทำอัตราการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีความเหมาะสมตามความจำเป็น
ข้อมูลเกษตรกรไม่ตกหล่นและไม่ซ้ำซ้อนในทุกมิติ
โดยดำเนินการในพื้นที่ที่อนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน
ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๖
รวมทั้งการปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดทำระบบการรายงาน การติดตาม
และการประเมินผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับจากการดำเนินโครงการ
เพื่อให้มีข้อมูลในการบริหารงานอย่างถูกต้องครบถ้วน และการกำหนดนโยบายภาครัฐที่เหมาะสมและยั่งยืนต่อไป ธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นควรติดตามการปฏิบัติตามเงื่อนไขของเกษตรกรผู้รับเงินสนับสนุนอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตข้าวตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และในระยะต่อไป
ควรกำหนดแผนในการยกระดับผลิตภาพเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั้งการลดต้นทุนการผลิต
และเพิ่มผลิตภาพผ่านการใช้เทคโนโลยีให้มีความต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
รวมถึงจะช่วยลดการใช้ทรัพยากรของภาครัฐ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1.นายทรงยศินทร์ ชนปทาธิป ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | คค. | 29/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงคมนาคม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๓ ราย
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้ ๑. นายทรงยศินทร์ ชนปทาธิป ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นายปิยพงษ์ จิวัฒนกุลไพศาล ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำ และเตรียมความพร้อมโครงการ และฟื้นฟูโครงการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย | กษ. | 29/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งป่าชุมชนในพื้นที่อื่นของรัฐ พ.ศ. .... | ทส. | 19/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งป่าชุมชนในพื้นที่อื่นของรัฐ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดตั้งป่าชุมชน
การจัดการป่าชุมชน การควบคุมดูแลป่าชุมชน การเพิกถอนป่าชุมชน
และการอื่นที่จำเป็นในพื้นที่อื่นของรัฐ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกับรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง ฉบับใหม่ | สกพอ. | 29/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นาวาตรี สุธรรม ระหงษ์ และนายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์) | ทส. | 29/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน ๒ ราย
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๗) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้ ๑. นาวาตรี สุธรรม ระหงษ์ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๒. นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | สรุปผลการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมการเข้าถึงการพัฒนาและการดูแลเด็กปฐมวัยอย่างเท่าเทียมในภูมิภาคอาเซียน ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | ศธ. | 08/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมการเข้าถึงการพัฒนาและการดูแลเด็กปฐมวัยอย่างเท่าเทียมในภูมิภาคอาเซียน
ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
สรุปได้ ดังนี้ ๑)
การหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กปฐมวัย ๔ ประเด็น
ได้แก่ (๑) การเปลี่ยนแปลงจากการศึกษาปฐมวัยสู่การศึกษาระดับประถมศึกษา (๒)
ผู้ดูแลครู และผู้ปกครอง (๓) งบฯ สำหรับการดูแลและการจัดการการศึกษาปฐมวัย และ (๔)
การดูแลและการจัดการเด็กปฐมวัยกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยไทยเห็นว่ารัฐบาลควรร่วมกำหนดนโยบายที่สนับสนุนความยืดหยุ่นด้านการศึกษาปฐมวัยรวมถึงการจัดสวัสดิการและบริการอื่น
ๆ ๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำเสนอนโยบาย ๓ เร่ง ๓ ลด ๓ เพิ่ม เช่น
เร่งให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก ลดการใช้สื่อหน้าจอในเด็กปฐมวัยก่อนวัย
๒ ขวบ เพิ่มกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ผ่านการเล่นที่หลากหลาย และ ๓)
ที่ประชุมฯ ได้รับรองร่างแถลงการณ์เวียงจันทน์ ว่าด้วยความเสมอภาค การเข้าถึง
และสิ่งแวดล้อม : การพัฒนาความสามารถในการปรับตัวรับกับสภาพภูมิอากาศของเด็กปฐมวัยในอาเซียน
ซึ่งให้ความสำคัญกับการสนับสนุนนโยบายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการปรับตัวเพื่อรับสภาพภูมิอากาศ
การวางแผนรับมือกับความเสี่ยงด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นต้น และเห็นชอบมอบหมายกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทยดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | อว. | 08/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติมอบหมายเป็นหลักการให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๓๔ จำนวน ๒ ราย ตามลำดับ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ดังนี้ ๑. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายพิพัฒน์
รัชกิจประการ) ๒. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก
เพิ่มพูน ชิดชอบ)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | รัฐบาลสาธารณรัฐมาลีเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐมาลีประจำประเทศไทย (พลจัตวา เฟลิกซ์ ดีอาโล) | กต. | 08/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง พลจัตวา เฟลิกซ์ ดีอาโล (Brigadier General Felix Diallo) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐมาลีประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย สืบแทน นางกีเซ มาอีมูนา ดีอาล (Mrs.
Guisse Maimouna Dial) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ขออนุมัติดำเนินโครงการปรับปรุงคลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวา จังหวัดสุโขทัย | กษ. | 01/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยกรมชลประทาน ดำเนินโครงการปรับปรุงคลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวา จังหวัดสุโขทัย
มีกำหนดแผนงานโครงการ ๖ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ - ๒๕๗๓) กรอบวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น
๓,๕๕๗ ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการคลัง เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม
และกำกับดูแลการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาและขยายกรอบวงเงินโครงการ โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | กษ. | 01/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล
- บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากเดิม ๕ ปี (ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ - พ.ศ. ๒๕๖๖) เป็น ๘ ปี (ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ - พ.ศ. ๒๕๖๙) และให้เพิ่มกรอบวงเงินโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล -
บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากเดิม ๒๑,๐๐๐ ล้านบาท เป็น ๒๕,๔๐๐ ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นว่า เนื่องจากมีกิจกรรมการแก้ไขรูปแบบงานก่อสร้าง
เพิ่มเติมอาคารประกอบ และส่วนประกอบอื่นของโครงการ ควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยกรมชลประทาน ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และประชาสัมพันธ์โครงการก่อนการก่อสร้าง
รวมทั้งควรพิจารณาเร่งรัดดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนงานดำเนินการภายในระยะเวลา และกรอบวงเงินอย่างเคร่งครัด
เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในเขตพื้นที่ตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อพื้นที่ชุมชน
และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดย กรมชลประทาน ควรรายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล -
บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อคณะกรรมการลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติทราบ
ทุก ๖ เดือน เพื่อติดตามและกำกับโครงการดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดไว้
เนื่องจากเป็นโครงการสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างให้มีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ และนายอารี ไกรนรา) | รง. | 01/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน ๒ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑ ตุลาคม ๒๕๖๗) เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้ ๑. นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง | อก. | 24/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๕ ราย
เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ดังนี้ ๑. นายภาสกร ชัยรัตน์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ๒. นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ๓. นายศุภกิจ บุญศิริ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๔. นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ๕. นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ขอรับจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยและความเสียหายรอบแรก ครั้งที่ 1 และเงินชดเชยความเสียหายรอบแรก ครั้งที่ 2 ตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 | กค. | 24/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๑,๔๕๓,๑๑๓,๕๕๙.๘๒ บาท สำหรับการจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยตามมาตรา
๙ และเงินชดเชยความเสียหายตามมาตรา ๑๑ แห่ง พ.ร.ก. Soft Loan รอบแรก ครั้งที่ ๑ และรอบแรก ครั้งที่ ๒
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติในคราวการประชุมเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ที่ได้เห็นชอบกรอบวงเงินดังกล่าวแล้ว
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชฝิ่นและพืชเห็ดขี้ควาย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พ.ศ. .... | ยธ. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชฝิ่นและพืชเห็ดขี้ควาย
เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พ.ศ. ....
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสาระสำคัญจากฝิ่นและเห็ดขี้ควาย
เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
รวมทั้งกำหนดมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเพาะปลูกและสารสกัดสำคัญจากพืชดังกล่าว
โดยอาศัยอำนาจในมาตรา ๕๕ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
โดยให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไปปรับแก้พื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควายในร่างพระระราชกฤษฎีกาเพื่อความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป ๒.
ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้ กระทรวงมหาดไทย เห็นว่าหน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมการดำเนินการทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญ
ต้องตรวจสอบการทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญ ให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมพืชดังกล่าว
รวมทั้งควบคุมไม่ไห้มีการปลูกฝิ่นนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตโดยเคร่งครัด เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน
สังคม และความมั่นคงของประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เห็นควรกำหนดให้มีรูปแบบการรายงานผลการดำเนินงานได้หลายรูปแบบ
เช่น แบบฟอร์มกระดาษ และแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ทั้งนี้
สถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการกำหนดให้เป็นพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย
มีความพร้อมในการดำเนินการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง
โดยขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในมาตรา ๕ เพื่อความถูกต้องและความเป็นปัจจุบันของพื้นที่ดังกล่าว
ดังนี้ ๑. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในมาตรา ๕ (๑) จาก “(ก) อาคารปฏิบัติการวิจัยกลาง”
เป็น “(ก) อาคารปฏิบัติการวิจัยกลาง
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร” ๒. มหาวิทยาลัยพายัพ ในมาตรา ๕ (๕) จาก “อาคารวิวรณ์
สำนักบริการวิชาการและวิจัย” เป็น “อาคารวิวรณ์ สำนักบริการวิชาการ” |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ท่าทีการเจรจาร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ครั้งที่ 15 และการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน (JDS) ครั้งที่ 6 ระดับรัฐมนตรี ระหว่างไทยกับมาเลเซีย | กต. | 30/07/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อท่าทีการเจรจาร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ
ได้แก่ ๑)
ท่าทีการเจรจาร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ครั้งที่ ๑๕
มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความคืบหน้าของความร่วมมือระหว่างไทยกับมาเลเซียอย่างรอบด้านและแสดงเจตนารมณ์ร่วมของรัฐบาลทั้งสองประเทศที่จะขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างกันในทุกระดับ
ทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียมีความใกล้ชิดยิ่งขึ้นอันจะนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองและประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนของทั้งสองฝ่าย
๒) ท่าทีการเจรจาร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน
(JDS) ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ครั้งที่ ๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานภายใต้กรอบ
JDS ทั้งในระดับเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงาน เจ้าหน้าที่ระดับสูง
และระดับคณะทำงานรวมถึงการแสดงเจตนารมณ์ร่วมของทั้งสองประเทศในการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนไทย
- มาเลเซีย เพื่อมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชายแดนบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน
โดยผลักดันโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ
ให้มีความคืบหน้าและการอำนวยความสะดวกด้านการค้า และการลงทุนระหว่างกัน และ ๓) ร่างแผนยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน
(JDS Strategic Plan) ค.ศ. ๒๐๒๔ - ๒๐๒๗ เป็นการเอกสารผลลัพธ์การประชุมมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวทางและเป้าหมายในการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับชายแดนโดยร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ
ไม่มีรูปแบบหรือถ้อยคำที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
กอปรกับไม่มีการลงนามในร่างแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ดังนั้น ร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ
จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ
ทั้ง ๓ ฉบับ ได้ในวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนท่าทีการเจรจาร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับมาเลเซีย
ครั้งที่ ๑๕
ท่าทีการเจรจาร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย
ครั้งที่ ๖
และร่างแผนยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน
ค.ศ. ๒๐๒๔ - ๒๐๒๗ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ไห้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นควรให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ตามความเหมาะสม
และให้รายงานต่อคณะรัฐมนตรีทราบในภายหลังพร้อมเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ รวมทั้งให้สื่อสารผลลัพธ์ให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2567-2570) | นร.12 | 09/07/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
(พ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๗๐) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาระบบราชการของไทย
โดยมุ่งเน้นการเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีความทันสมัย
พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ และยกระดับการให้บริการประชาชน
โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑) วิสัยทัศน์ “ภาครัฐที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ
มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน” และมีเป้าหมายสู่การเป็น “รัฐที่ล้ำหน้าและรัฐที่เปิดกว้าง”
๒) ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ จำนวน ๓ ยุทธศาสตร์
ได้แก่ (๑) ยุทธศาสตร์การยกระดับบริการภาครัฐโดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
(๒) ยุทธศาสตร์การลดบทบาทภาครัฐและเปิดการมีส่วนร่วมกับภาคส่วนอื่น และ (๓)
ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนผลิตภาพภาครัฐด้วยนวัตกรรมและดิจิทัล ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการาชการเสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการรับความเห็น ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
(องค์การมหาชน) ไปพิจารณาประกอบการปรับปรุงแก้ไข (ร่าง)
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น
ก่อนให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐนำไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินภารกิจของหน่วยงานต่อไป
เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เห็นควรมีการวางระบบติดตามและประเมินผล เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานตามกลยุทธ์และแผนยุทธศาสตร์อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะ (Skill) และการปรับกระบวนการทางความคิด (Mindset) ของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้มีความพร้อม
สามารถรองรับกระบวนการทำงานในรูปแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการทบทวนและปรับปรุงกฎหมาย
กฎ และระเบียบ ให้มีความทันสมัย
และไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานและการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กระทรวงพลังงาน เห็นควรมีการกำหนดบทบาทและขอบเขตการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานที่ชัดเจน
เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการดำเนินงาน
เกิดการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริงต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | ปช. | 25/06/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
(Integrity & Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ๒.
เห็นชอบข้อเสนอแนะระดับนโยบายของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องนำไปประกอบการพิจารณาขับเคลื่อนและยกระดับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐในปีต่อไป
รวมทั้งให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยและข้อเสนอแนะของสำนักงาน
ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ดังนี้ กระทรวงมหาดไทย เห็นว่าการประเมิน ITA ควรแยกส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานที่ให้บริการกับหน่วยงานนโยบายออกจากกัน
และปรับข้อคำถามในตัวชี้วัดให้แตกต่างกันตามภารกิจ
การเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างตามแบบวัด OIT ควรมีการยืดหยุ่นให้ใช้ระบบการรายงานของหน่วยงานแทนได้
และควรเพิ่มเกณฑ์การประเมินที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่เป็นประจักษ์ ชัดเจน โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นว่าสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติควรพิจารณากำหนดเกณฑ์การประเมิน
ITA ให้สอดคล้องกับลักษณะงานหรือภารกิจของแต่ละหน่วยงาน
รวมทั้งควรสื่อสารสร้างความเข้าใจและชี้แจงเกณฑ์การประเมิน ITA ก่อนเริ่มปีงบประมาณ
เพื่อให้หน่วยงานสามารถวางแผนการดำเป็นการและจัดทำแผนปฏิบัติราชการที่จะนำไปขับเคลื่อนภายในหน่วยงานได้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ
|