ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 20 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การทบทวนกิจกรรมการศึกษาเพื่อความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ วุฒิสภา | สว. | 12/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
การทบทวนกิจกรรมการศึกษาเพื่อความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ
วุฒิสภา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเห็นว่า รายงานการพิจารณาศึกษาในเรื่องนี้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ชาติในระยะที่
๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐
แผนปฏิบัติการด้านการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ และจุดเน้นของการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน
และได้มีการดำเนินการที่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะดังกล่าว เช่น
การดำเนินนโยบายการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี การประเมินสถานการณ์ตามห้วงระยะเวลา
และการเพิ่มมาตรฐานการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น
สำหรับข้อเสนอแนะในส่วนที่ยังไม่ได้ดำเนินการหรือที่ยังไม่บรรลุผลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความพร้อมที่จะนำข้อเสนอแนะดังกล่าวไปดำเนินการต่อไป
พร้อมทั้งมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า การพิจารณานำกิจกรรมด้านการศึกษาเพื่อความมั่นคงที่กำหนดไว้เฉพาะภายใต้แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้อาจไม่สามารถสะท้อนให้เห็นภาพการขับเคลื่อนงานการศึกษาเพื่อความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ได้อย่างครบถ้วน
และควรเปิดโอกาสให้ผู้รับทุนการศึกษาสามารถเดินทางไปศึกษาในประเทศอื่นนอกเหนือจากประเทศมุสลิมและได้มีโอกาสเข้าทำงาน
รวมทั้งเห็นควรปรับข้อความบางส่วน เช่น การใช้คำว่า “การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิด”
แทน “การลดการบ่มเพาะ” เป็นต้น ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ขอความเห็นชอบการร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยการเกษตรกรรมยั่งยืน ระบบอาหารที่ยืดหยุ่น และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Declaration on Sustainable Agriculture, Resilient Food Systems, and Climate Action) ในการประชุม COP28 UNFCCC สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | กษ. | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างปฏิญญาว่าด้วยการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
ระบบอาหารที่ยืดหยุ่น และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Declaration on Sustainable Agriculture, Resilient Food
Systems, and Climate Action) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างปฏิญญาฯ
โดยร่างปฏิญญาฯ เป็นเอกสารที่จะมีการร่วมลงนามรับรองในการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ
ครั้งที่ ๒๘ (COP28 UNFCCC) ในวาระ World Climate
Action วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ ณ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประเทศสมาชิกองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติที่ตระหนักถึงความสำคัญของระบบเกษตรและอาหาร
การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน และการแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความยืดหยุ่นของระบบนิเวศและสนับสนุนความพยายามต่าง
ๆ ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติที่เห็นควรพิจารณาปรับแก้ไขถ้อยคำในร่างปฏิญญาฯ
เพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๒. หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | โครงการสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย (อิสราเอล) | กค. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย
(อิสราเอล) ภายในกรอบวงเงินประมาณ ๑,๒๐๐ ล้านบาท
พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทย
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงตามขั้นตอน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน | สผ. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน
ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ ๒.
มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักรับญัตติพร้อมทั้งข้อเสนอแนะ
ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ กรุงเทพมหานคร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของญัตติพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าว
และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม
แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตรองรับสังคมสูงวัย ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา | สว. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง ข้อเสนอการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตรองรับสังคมสูงวัย
ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ
และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โดยคณะกรรมาธิการฯ
มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองและการแสดงเจตนาไม่รับการรักษาพยาบาลในระยะสุดท้ายของชีวิต
การจัดทำนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิต
รวมทั้งแผนมาตรการ และแนวทางการพัฒนาครอบคลุมทุกมิติให้ชัดเจนและเป็นระบบ
การจัดตั้งหน่วยบริการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative
Care Unit) และการพัฒนากฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม
Opioids เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดการเข้าถึงยาจำเป็นสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ ๒.
มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักรับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
ไปพิจารณาร่วมกระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงแรงงาน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
แพทยสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว
และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม
แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาปัญหาความขัดแย้งภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อส่งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไป | สผ. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาปัญหาความขัดแย้งภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อส่งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไป
ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม | กษ. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรโคนม
โดยปรับเพิ่มราคารับซื้อน้ำนมโคเป็น
๒๒.๗๕ บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ ให้มีผลนับตั้งแต่วันที่กระทรวงพาณิชย์อนุญาตให้ผู้ประกอบการนมพาณิชย์ปรับราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมในตลาดนมพาณิชย์ได้
โดยให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาการปรับขึ้นราคาผลิตภัณฑ์นม (นมพาณิชย์) ให้เหมาะสม
สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้ประกอบการ
ตามมติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์ นม ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๔
มีนาคม ๒๕๖๖ กรณีโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน โดยคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน และให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พิจารณาทบทวนแนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรโคนมให้เหมาะสมและตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้เลี้ยงโคนมรายย่อย
รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำนมโคให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมด้วย และให้เร่งดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมปศุสัตว์และองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงพาณิชย์
เช่น ควรพิจารณาให้มีผลในปีงบประมาณถัดไป เนื่องจากอาจส่งผลให้มีการปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม
โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ซึ่งเกิดจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น
และส่งผลกระทบต่องบประมาณของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและหน่วยรับงบประมาณ
(องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมือง กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา) ที่ได้รับการจัดสรร
สำหรับใช้ในการดำเนินการตามโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ไม่เพียงพอ ดังนั้น
ควรให้สำนักงบประมาณพิจารณาให้ความเห็นในประเด็นดังกล่าว อีกทางหนึ่ง ควรมีการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์นมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กระทรวงสาธารณสุข กำหนดเพื่อให้นักเรียนได้บริโภคอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
ที่มีคุณภาพ ควรพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านปริมาณน้ำนมดิบ
นอกเหนือจากการปรับราคาด้วย เช่น การลดต้นทุนให้แก่เกษตรกร
การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเลี้ยงโคนม
และการสนับสนุนให้มีผลิตภัณฑ์นมที่หลากหลายเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค เป็นต้น ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การดูแล แก้ไขปัญหา และให้การช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย | นร. | 03/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่ได้เกิดสถานการณ์ร่องมรสุมพาดผ่านในพื้นที่ตอนบนของประเทศตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องและก่อให้เกิดปัญหาอุทกภัยขึ้นในหลายจังหวัด
เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แพร่ ตาก สุโขทัย กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี เป็นต้น ส่งผลกระทบให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน
ทั้งการดำรงชีวิต ทรัพย์สินและที่อยู่อาศัยเสียหายเป็นจำนวนมาก
จึงขอกำชับให้รัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเร่งบูรณาการการดำเนินการให้การช่วยเหลือ
เยียวยา รวมทั้งลงพื้นที่เพื่อดูแลและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายได้รับความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว
ทั่วถึง ทันการณ์ ตรงตามสภาพปัญหา ทั้งนี้
ให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด
รวมทั้งให้พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาของพื้นที่ในเชิงรุกเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาเดียวกันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2566 | นร.11 สศช | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ เห็นชอบ และรับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม
๒๕๖๖ โดย คกง.
มีมติเกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยอนุมัติให้กรมควบคุมโรคเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย
จำนวน ๖๐,๐๐๐,๐๐๐ โดส (AstraZeneca) ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ และโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
(COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย จำนวน ๓๐,๐๐๒,๓๑๐ โดส (Pfizer) ปี พ.ศ.
๒๕๖๕ ของกระทรวงสาธารณสุข โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการจากเดือนกันยายน
๒๕๖๖ เป็นเดือนมีนาคม ๒๕๖๗ อนุมัติให้จังหวัดเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ปี ๒๕๖๕ ของกระทรวงมหาดไทย จำนวน ๗ จังหวัด ๙ โครงการ กรอบวงเงิน ๗๔.๑๓๖๓ ล้านบาท
มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบ eMENSCR
ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับจากคณะรัฐมนตรี
รายงานผลสัมฤทธิ์และคืนเงินกู้เหลือจ่าย (ถ้ามี) ตามระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
และรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ราย ๓ เดือน ครั้งที่ ๘ (๑ พฤษภาคม-๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖) ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้กระทรวงต้นสังกัดติดตามหน่วยงานเจ้าของโครงการในการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
และกำกับดูแลหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนดเพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้เป็นไปอย่างคุ้มค่า
มีประสิทธิภาพ และบรรลุผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามที่ได้กำหนดไว้
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ.
๒๕๖๔ ข้อ ๒๒ และ ๒๓ สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
หากมีเงินกู้เหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังภายใน ๓ เดือน
นับจากวันที่สิ้นสุดการดำเนินโครงการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖
เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๕
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตามหลักเกณฑ์
อัตราค่าใช้จ่าย และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด รวมทั้งเร่งรัดการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลโครงการ เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 | พม. | 25/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติตามกฎหมายจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐประจำปี
๒๕๖๑-๒๕๖๕ และให้หน่วยงานของรัฐซึ่งมีผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่ ๑๐๐ คนขึ้นไป
เร่งรัดดำเนินการจ้างงานคนพิการตามที่กฎหมายกำหนดให้ครบถ้วนภายในปี ๒๕๖๖
และรายงานผลการจ้างงานคนพิการประจำปีต่อกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ๒. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร.
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เช่น ดำเนินการสรรหาและคัดเลือกคนพิการเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
และขึ้นบัญชีผู้ผ่านการคัดเลือก โดยแยกลักษณะความพิการคุณวุฒิการศึกษา องค์ความรู้
และภารกิจงานของส่วนราชการ เพื่อให้ส่วนราชการอื่นสามารถดำเนินการนำบัญชีผู้ผ่านการคัดเลือกดังกล่าว
มาดำเนินการคัดเลือกจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกในตำแหน่งอื่น
เพื่อบรรจุและแต่งตั้งคนพิการเข้ารับราชการให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่งต่อไป
ควรมีมาตรการอื่นที่เหมาะสมกับหน่วยงานของรัฐเพื่อเป็นทางเลือก
นอกเหนือจากการดำเนินการตามมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๕ ควรผลักดันให้เป็นการจ้างงานตามมาตรา
๓๓ มากยิ่งขึ้น
เพื่อให้คนพิการได้รับสวัสดิการความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพด้วย ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติดังกล่าวให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติอยางเคร่งครัด
ควรสนับสนุนให้มีการศึกษาถึงปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้หน่วยงานของรัฐบางแห่งสามารถจ้างงานคนพิการได้ตามอัตราส่วนที่กฎหมายกำหนด
และนำมาประกอบการขับเคลื่อนการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐให้บรรลุเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
ควรประมวลปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัด
และข้อเสนอแนะในการจ้างงานคนพิการของหน่วยงานที่ผ่านมา
เพื่อวางแนวทางแก้ไขและสนับสนุนให้หน่วยงานสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่กำหนดต่อไป
และให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบข้อมูลคนพิการที่ควรครอบคลุมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการศึกษา
สาขาและทักษะความสามารถของคนพิการ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ร่างกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 จำนวน 5 ฉบับ | อว. | 25/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๘ จำนวน ๕ ฉบับ ดังนี้ ๑.๑
ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทและชนิดของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดชนิดและประเภทของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ๑.๒
ร่างกฎกระทรวงกำหนดสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นสัตว์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดสิ่งมีชีวิตอื่นที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประสาทรับรู้ถึงความเจ็บปวดเป็นสัตว์ ๑.๓
ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตใช้หรือผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต
คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต
และการขอรับใบแทนใบอนุญาตใช้หรือผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ๑.๔
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการใช้และผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการใช้และผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ๑.๕
ร่างกฎกระทรวงกำหนดงานที่ไม่เป็นงานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดงานที่ไม่เป็นงานทางวิทยาศาสตร์ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรพิจารณาร่างกฎกระทรวงให้มีความชัดเจน ไม่ขัดต่อกฎระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่าง
ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นการลดอุปสรรคหรือช่องว่างในทางปฏิบัติ
โดยเฉพาะประเด็นการกำหนดคำนิยาม “สัตว์ทดลอง” “สัตว์เลี้ยง” และ
“สัตว์จากธรรมชาติ”
ในร่างกฎกระทรวงกำหนดชนิดและประเภทของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ....
รวมทั้งพิจารณากำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม
และสร้างความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนต่อการนำสัตว์เลี้ยงและสัตว์จากธรรมชาติมาใช้เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งจะเป็นการลดปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายกับประชาชนผู้เลี้ยงสัตว์
ผู้ประกอบการฟาร์มสัตว์ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสัตว์จากธรรมชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บางส่วนมาใช้บังคับ พ.ศ. .... | ดศ. | 11/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ
หรือหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.
๒๕๖๒ บางส่วนมาใช้บังคับ พ.ศ. .... ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดำเนินการเก็บ
รวบรวม ใช้เปิดเผย ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อดำเนินการตามภารกิจ ตามกฎหมาย
เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต การจัดเก็บภาษีอากร
ค่าธรรมเนียมทางภาษีอากร ค่าฤชาธรรมเนียม
การดำเนินการตามพันธกรณีหรือความร่วมมือระหว่างประเทศ การจัดเก็บภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
การสถาปนาสมณศักดิ์ การแต่งตั้งหรือถอดถอนข้าราชการ บุคคลหรือคณะบุคคล
ซึ่งเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์หรือที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี
และการขอพระราชทานหรือเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑๓) เกี่ยวกับปัญหาเชิงโครงสร้าง
เนื้อหาสาระและมาตรการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
เช่น
ผู้อยู่ในบังคับของกฎหมายขาดความรู้ความเข้าใจและความพร้อมที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
ปัญหาการใช้บังคับกฎหมายเฉพาะซึ่งอาจมีหลักเกณฑ์คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่สูงกว่า
รวมทั้งควรมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
ทันที ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตซ์ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน เล่ม 1 ข้อกำหนดทั่วไป ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... | อก. | 27/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตซ์ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน
เล่ม ๑ ข้อกำหนดทั่วไป ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตซ์ไฟฟ้า สำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกันต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
เนื่องจากมาตรฐานบังคับดังกล่าวใช้มาเกิน ๕ ปีแล้ว
เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและมาตรฐานสากลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ร่างกฎกระทรวงวัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงวัสดุกัมมันตรังสีที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | อว. | 06/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงวัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดวัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และร่างกฎกระทรวงวัสดุกัมมันตรังสีที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดวัสดุกัมมันตรังสีที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต
รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรเร่งดำเนินการให้ร่างกฎกระทรวงทั้ง
๒ ฉบับ มีผลบังคับใช้โดยเร็ว และประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนทราบอย่างทั่วถึง
เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามได้ถูกต้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ขอความเห็นชอบและรับรองต่อเอกสารผลลัพธ์ในระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน และคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 | พณ. | 02/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค
และร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต
ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โดยร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค
เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพในภูมิภาค
เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการปล่อยคาร์บอน
เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในภูมิภาค
ส่วนร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต
ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
เป็นเอกสารที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินการเข้าเป็นภาคีตามความตกลงของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก่อนการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนอย่างสมบูรณ์
โดยติมอร์-เลสเต ต้องมีความพร้อมในการดำเนินการตามความตกลงและตราสารสำหรับเสาประชาคมเศรษฐกิจภายในร่างภาคผนวกรวม
๒๒๐ ฉบับ แบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ได้แก่ ๑) ต้องมีความพร้อมในการเข้าร่วมทันที จำนวน
๖๖ ฉบับ ๒) ต้องเข้าร่วมภายใน ๒ ปี
หลังเป็นสมาชิกอาเซียน จำนวน ๔๘ ฉบับ และ ๓) ต้องเข้าร่วมภายใน ๕ ปี
หลังเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน จำนวน ๑๐๖ ฉบับ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค
และร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต
ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรประชาสัมพันธ์สาระสำคัญของร่างปฏิญญาฯ
รวมถึงแนวทางและมาตรการที่คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะกำหนดขึ้นในอนาคตอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถปรับตัวและใช้ประโยชน์จากร่างปฏิญญา และมาตรการต่าง
ๆ ได้อย่างเหมาะสม เร่งศึกษาโอกาส ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
และแนวทางการเตรียมความพร้อมของไทย
เพื่อสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการทางเศรษฐกิจภายใต้กรอบความร่วมมือของอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะความตกลงที่ติมอร์-เลสเตจะเข้าร่วมทันทีเมื่อภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนตามร่างภาคผนวกฯ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2565 | ทส. | 18/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ครั้งที่ ๖/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๕ จำนวน ๓ เรื่อง ประกอบด้วย (๑)
รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (จำนวน ๘ โครงการ) เช่น โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าให้พื้นที่เกาะต่าง
ๆ [เกาะกระเต็น (แตน)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี] ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
โครงการถนนตามผังเมือง ผังเมืองรวมเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
ของกรมทางหลวงชนบท โครงการปรับปรุงท่าอากาศยานบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ของกรมท่าอากาศยาน (๒) ร่างแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5
ภายใต้แผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษฝุ่นละออง ปี ๒๕๖๖ และ (๓) แผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาปนเปื้อนสารตะกั่วบริเวณห้วยคลิตี้
ระยะที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๘ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2564 | ยธ. | 28/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นของสำนักงานอัยการสูงสุด | อส. | 14/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ของสำนักงานอัยการสูงสุด
และให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๑,๔๘๐,๖๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการว่าด้วยกลไกการส่งต่อระดับชาติ
การบริหารจัดการคดี และการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามข้อ ๘ และข้อ ๙ (๑)
ของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่าย งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้รับทราบด้วยแล้ว
และขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับความเห็นของกระทรวงการคลัง ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม
และกำกับดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | การดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีการกำหนดให้กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย | กค. | 07/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
กรณีการกำหนดให้กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามที่คณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ขออนุมัติหลักการโครงการส่งเสริมการสร้างคนดีตามหลักการทางศาสนาที่ถูกต้องเพื่อสืบสานและรักษาสังคมพหุวัฒนธรรมที่ดีงามของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566-2570 | นร.52 | 07/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการโครงการส่งเสริมการสร้างคนดีตามหลักการทางศาสนาที่ถูกต้องเพื่อสืบสานและรักษาสังคมพหุวัฒนธรรมที่ดีงามของจังหวัดชายแดนภาคใต้
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ทั้งนี้
ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงยุติธรรม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าให้มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามระบบและมีความต่อเนื่อง
ให้ความสำคัญกับการสื่อสารและการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเจตนารมณ์ของโครงการฯ
ให้กลุ่มเป้าหมายทราบอย่างชัดเจน พิจารณาปรับแผนงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
หรือโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ
ตามระเบียบว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-๒๕๗๐
ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้บูรณาการการดำเนินงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงวัฒนธรรม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินโครงการต่าง ๆ
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในภาพรวมมีความเหมาะสม คุ้มค่า
เป็นไปตามความลำดับความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อลดความซ้ำซ้อน
เกิดความเสมอภาค และไม่เป็นภาระงบประมาณเกินจำเป็น
|