ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 22 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ | รง. | 21/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง
อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ ๑๓) ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖
เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับต่อไป ตามที่กระทรวงแรงงาน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การเร่งรัดจัดทำกฎหมายว่าด้วยการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษ (ยาบ้า) | นร. | 07/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ
(๓ และ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๖) มอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมร่วมกับกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการทบทวนกฎหมายและอนุบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งหมดที่อาจเป็นอุปสรรคและส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
และให้พิจารณาการกำหนดปริมาณยาเสพติดในครอบครองของบุคคลที่เข้าข่ายเป็นผู้เสพยาเสพติดที่ต้องรับโทษตามกฎหมายให้ชัดเจน
ครบถ้วน
รวมทั้งให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องบูรณาการแผนงาน ประสานงานขับเคลื่อน
และติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในภาพรวม นั้น
โดยที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หารือกัน เพื่อกำหนดปริมาณยาเสพติด (ยาบ้า)
ในครอบครองของบุคคลที่เข้าข่ายเป็นผู้เสพยาเสพติดหรือเป็นผู้จำหน่ายยาเสพติดเสร็จเรียบร้อยแล้ว
รวมทั้งให้มีการสืบสวนขยายผลไปสู่ต้นตอของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ดังนั้น จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการจัดทำกฎหมายว่าด้วยการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษ
(ยาบ้า) และที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จและเสนอคณะรัฐมนตรีโดยด่วน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางนิพัทธา บรรจงลิขิตสาร) | นร.10 | 07/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางนิพัทธา บรรจงลิขิตสาร ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ (ผู้อำนวยการสูง) ศูนย์นักบริหารระดับสูง สำนักงาน ก.พ.
ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่สำนักงาน
ก.พ. เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตฉ้อโกงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ | สผ. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตฉ้อโกงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (สินค้าน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน) | กค. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการปรับลดอัตราภาษีสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันประเภทน้ำมันเบนซิน
๑ บาทต่อลิตร โดยให้อนุพันธ์ของน้ำมันดังกล่าวมีการปรับลดอัตราภาษีตามสัดส่วนเนื้อน้ำมันที่ผสมอยู่
ตั้งแต่วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๗
และหลังจากนั้นให้อัตราภาษีกลับสู่อัตราเดิมก่อนการปรับลด ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. มอบหมายกระทรวงพลังงานใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อปรับราคาขายปลีกให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคณะรัฐมนตรีในการลดราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์
๙๑ ต่อไป ๓. ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซินที่สะท้อนต้นทุนตามข้อเท็จจริง ประชาชนตระหนักถึงภาระการชดเชยต้นทุนส่วนต่าง
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์
และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการทางภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ความสำคัญกับการดูแลแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบางต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและราคาน้ำมัน
และพิจารณาให้ราคาน้ำมันเบนซินเคลื่อนไหวสอดคล้องกับราคาน้ำมันในตลาดโลก
เพื่อให้ประชาชนและระบบเศรษฐกิจมีการปรับตัวไปสู่การประหยัดพลังงาน
รวมทั้งลดแรงกดดันทางด้านการคลัง
และรักษาขีดความสามารถของกลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรองรับความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงศึกษาธิการ) | ศธ. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง
ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน ๑๕ คณะ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้ ๑. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(ซีมีโอ) ๒. คณะกรรมการพิจารณายกเว้นอากรนำเข้าสื่อ วัสดุ
เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการศึกษา ๓.
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(ยูเนสโก) ๔. คณะกรรมการฝ่ายการศึกษาของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(ยูเนสโก) ๕.
คณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรมของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(ยูเนสโก) ๖.
คณะกรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(ยูเนสโก) ๗.
คณะกรรมการฝ่ายสังคมศาสตร์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(ยูเนสโก) ๘.
คณะกรรมการฝ่ายสื่อสารมวลชนของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(ยูเนสโก) ๙.
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ๑๐.
คณะกรรมการโครงการมนุษย์และชีวมณฑลของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ๑๑. คณะกรรมการโครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน ๑๒. คณะกรรมการ PISA
แห่งชาติ ๑๓.
คณะกรรมการกำหนดนโยบายผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๑๔. คณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตรองรับสังคมสูงวัย ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา | สว. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง ข้อเสนอการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตรองรับสังคมสูงวัย
ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ
และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โดยคณะกรรมาธิการฯ
มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองและการแสดงเจตนาไม่รับการรักษาพยาบาลในระยะสุดท้ายของชีวิต
การจัดทำนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิต
รวมทั้งแผนมาตรการ และแนวทางการพัฒนาครอบคลุมทุกมิติให้ชัดเจนและเป็นระบบ
การจัดตั้งหน่วยบริการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative
Care Unit) และการพัฒนากฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม
Opioids เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดการเข้าถึงยาจำเป็นสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ ๒.
มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักรับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
ไปพิจารณาร่วมกระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงแรงงาน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
แพทยสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว
และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม
แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม | กษ. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรโคนม
โดยปรับเพิ่มราคารับซื้อน้ำนมโคเป็น
๒๒.๗๕ บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ ให้มีผลนับตั้งแต่วันที่กระทรวงพาณิชย์อนุญาตให้ผู้ประกอบการนมพาณิชย์ปรับราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมในตลาดนมพาณิชย์ได้
โดยให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาการปรับขึ้นราคาผลิตภัณฑ์นม (นมพาณิชย์) ให้เหมาะสม
สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้ประกอบการ
ตามมติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์ นม ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๔
มีนาคม ๒๕๖๖ กรณีโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน โดยคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน และให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พิจารณาทบทวนแนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรโคนมให้เหมาะสมและตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้เลี้ยงโคนมรายย่อย
รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำนมโคให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมด้วย และให้เร่งดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมปศุสัตว์และองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงพาณิชย์
เช่น ควรพิจารณาให้มีผลในปีงบประมาณถัดไป เนื่องจากอาจส่งผลให้มีการปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม
โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ซึ่งเกิดจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น
และส่งผลกระทบต่องบประมาณของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและหน่วยรับงบประมาณ
(องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมือง กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา) ที่ได้รับการจัดสรร
สำหรับใช้ในการดำเนินการตามโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ไม่เพียงพอ ดังนั้น
ควรให้สำนักงบประมาณพิจารณาให้ความเห็นในประเด็นดังกล่าว อีกทางหนึ่ง ควรมีการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์นมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กระทรวงสาธารณสุข กำหนดเพื่อให้นักเรียนได้บริโภคอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
ที่มีคุณภาพ ควรพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านปริมาณน้ำนมดิบ
นอกเหนือจากการปรับราคาด้วย เช่น การลดต้นทุนให้แก่เกษตรกร
การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเลี้ยงโคนม
และการสนับสนุนให้มีผลิตภัณฑ์นมที่หลากหลายเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค เป็นต้น ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นางสุพร ตรีนรินทร์) | กปร. | 26/09/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสุพร ตรีนรินทร์
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๖
เป็นต้นไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | นร.01 | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ ๓
ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ (เดือนเมษายน-มิถุนายน ๒๕๖๖)
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑.
สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ ๓
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น
รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ ผ่านช่องทางการร้องทุกข์
๑๑๑๑ รวมทั้งสิ้น ๑๓,๘๗๗ เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ ๑๑,๗๕๗
เรื่อง โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับการประสานเรื่องร้องทุกข์ฯ มากที่สุด (๑,๒๓๒ เรื่อง) สำหรับเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด คือ
เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน (๑,๓๔๘ เรื่อง) และข้อจำกัดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์
เช่น (๑) สถิติการใช้บริการช่องทางรับเรื่องร้องทุกข์มีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ และ (๒) ปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญยังเป็นปัญหาที่ประชาชนร้องเรียนเป็นจำนวนมาก
ประกอบกับปัจจุบันประชาชนมีช่องทางในการเข้าถึงการร้องเรียน ร้องทุกข์ได้ง่าย
ส่งผลให้ปัญหาดังกล่าวมีจำนวนมากในทุกไตรมาส ๒.
ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงาน เช่น (๑) ควรให้หน่วยงานส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค และระดับท้องถิ่นที่มีระบบสารสนเทศเรื่องร้องทุกข์
และมีความพร้อมกำหนดแนวทางเข้าร่วมร้องทุกข์กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อการแบ่งปันข้อมูลและเชื่อมโยงการทำงานและเพื่อขับเคลื่อนการบริการประชาชนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
และ (๒) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญเคร่งครัดในการตรวจสอบ
ปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อลดการเกิดเหตุในพื้นที่
และควรประชาสัมพันธ์ให้สถานประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 | พม. | 25/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติตามกฎหมายจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐประจำปี
๒๕๖๑-๒๕๖๕ และให้หน่วยงานของรัฐซึ่งมีผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่ ๑๐๐ คนขึ้นไป
เร่งรัดดำเนินการจ้างงานคนพิการตามที่กฎหมายกำหนดให้ครบถ้วนภายในปี ๒๕๖๖
และรายงานผลการจ้างงานคนพิการประจำปีต่อกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ๒. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร.
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เช่น ดำเนินการสรรหาและคัดเลือกคนพิการเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
และขึ้นบัญชีผู้ผ่านการคัดเลือก โดยแยกลักษณะความพิการคุณวุฒิการศึกษา องค์ความรู้
และภารกิจงานของส่วนราชการ เพื่อให้ส่วนราชการอื่นสามารถดำเนินการนำบัญชีผู้ผ่านการคัดเลือกดังกล่าว
มาดำเนินการคัดเลือกจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกในตำแหน่งอื่น
เพื่อบรรจุและแต่งตั้งคนพิการเข้ารับราชการให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่งต่อไป
ควรมีมาตรการอื่นที่เหมาะสมกับหน่วยงานของรัฐเพื่อเป็นทางเลือก
นอกเหนือจากการดำเนินการตามมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๕ ควรผลักดันให้เป็นการจ้างงานตามมาตรา
๓๓ มากยิ่งขึ้น
เพื่อให้คนพิการได้รับสวัสดิการความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพด้วย ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติดังกล่าวให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติอยางเคร่งครัด
ควรสนับสนุนให้มีการศึกษาถึงปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้หน่วยงานของรัฐบางแห่งสามารถจ้างงานคนพิการได้ตามอัตราส่วนที่กฎหมายกำหนด
และนำมาประกอบการขับเคลื่อนการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐให้บรรลุเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
ควรประมวลปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัด
และข้อเสนอแนะในการจ้างงานคนพิการของหน่วยงานที่ผ่านมา
เพื่อวางแนวทางแก้ไขและสนับสนุนให้หน่วยงานสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่กำหนดต่อไป
และให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบข้อมูลคนพิการที่ควรครอบคลุมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการศึกษา
สาขาและทักษะความสามารถของคนพิการ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บางส่วนมาใช้บังคับ พ.ศ. .... | ดศ. | 11/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ
หรือหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.
๒๕๖๒ บางส่วนมาใช้บังคับ พ.ศ. .... ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดำเนินการเก็บ
รวบรวม ใช้เปิดเผย ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อดำเนินการตามภารกิจ ตามกฎหมาย
เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต การจัดเก็บภาษีอากร
ค่าธรรมเนียมทางภาษีอากร ค่าฤชาธรรมเนียม
การดำเนินการตามพันธกรณีหรือความร่วมมือระหว่างประเทศ การจัดเก็บภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
การสถาปนาสมณศักดิ์ การแต่งตั้งหรือถอดถอนข้าราชการ บุคคลหรือคณะบุคคล
ซึ่งเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์หรือที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี
และการขอพระราชทานหรือเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑๓) เกี่ยวกับปัญหาเชิงโครงสร้าง
เนื้อหาสาระและมาตรการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
เช่น
ผู้อยู่ในบังคับของกฎหมายขาดความรู้ความเข้าใจและความพร้อมที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
ปัญหาการใช้บังคับกฎหมายเฉพาะซึ่งอาจมีหลักเกณฑ์คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่สูงกว่า
รวมทั้งควรมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
ทันที ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตซ์ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน เล่ม 1 ข้อกำหนดทั่วไป ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... | อก. | 27/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตซ์ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน
เล่ม ๑ ข้อกำหนดทั่วไป ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตซ์ไฟฟ้า สำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกันต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
เนื่องจากมาตรฐานบังคับดังกล่าวใช้มาเกิน ๕ ปีแล้ว
เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและมาตรฐานสากลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ขอความเห็นชอบและรับรองต่อเอกสารผลลัพธ์ในระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน และคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 | พณ. | 02/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค
และร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต
ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โดยร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค
เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพในภูมิภาค
เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการปล่อยคาร์บอน
เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในภูมิภาค
ส่วนร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต
ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
เป็นเอกสารที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินการเข้าเป็นภาคีตามความตกลงของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก่อนการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนอย่างสมบูรณ์
โดยติมอร์-เลสเต ต้องมีความพร้อมในการดำเนินการตามความตกลงและตราสารสำหรับเสาประชาคมเศรษฐกิจภายในร่างภาคผนวกรวม
๒๒๐ ฉบับ แบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ได้แก่ ๑) ต้องมีความพร้อมในการเข้าร่วมทันที จำนวน
๖๖ ฉบับ ๒) ต้องเข้าร่วมภายใน ๒ ปี
หลังเป็นสมาชิกอาเซียน จำนวน ๔๘ ฉบับ และ ๓) ต้องเข้าร่วมภายใน ๕ ปี
หลังเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน จำนวน ๑๐๖ ฉบับ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค
และร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต
ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรประชาสัมพันธ์สาระสำคัญของร่างปฏิญญาฯ
รวมถึงแนวทางและมาตรการที่คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะกำหนดขึ้นในอนาคตอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถปรับตัวและใช้ประโยชน์จากร่างปฏิญญา และมาตรการต่าง
ๆ ได้อย่างเหมาะสม เร่งศึกษาโอกาส ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
และแนวทางการเตรียมความพร้อมของไทย
เพื่อสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการทางเศรษฐกิจภายใต้กรอบความร่วมมือของอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะความตกลงที่ติมอร์-เลสเตจะเข้าร่วมทันทีเมื่อภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนตามร่างภาคผนวกฯ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2565 | ทส. | 18/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ครั้งที่ ๖/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๕ จำนวน ๓ เรื่อง ประกอบด้วย (๑)
รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (จำนวน ๘ โครงการ) เช่น โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าให้พื้นที่เกาะต่าง
ๆ [เกาะกระเต็น (แตน)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี] ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
โครงการถนนตามผังเมือง ผังเมืองรวมเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
ของกรมทางหลวงชนบท โครงการปรับปรุงท่าอากาศยานบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ของกรมท่าอากาศยาน (๒) ร่างแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5
ภายใต้แผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษฝุ่นละออง ปี ๒๕๖๖ และ (๓) แผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาปนเปื้อนสารตะกั่วบริเวณห้วยคลิตี้
ระยะที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๘ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับสหภาพยุโรปว่าด้วยการยอมรับแลสเซ-ปาสเซ ที่ออกโดยสหภาพยุโรปว่าเป็นเอกสารการเดินทางที่สมบูรณ์ | กต. | 07/03/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับสหภาพยุโรปว่าด้วยการยอมรับแลสเซ-ปาสเซ
ที่ออกโดยสหภาพยุโรปว่าเป็นเอกสารการเดินทางที่สมบูรณ์
และเห็นชอบให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามร่างความตกลงฯ
ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทน ให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามดังกล่าว
รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงมหาดไทยพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
กฎ และระเบียบในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับร่างความตกลงฯ ในโอกาสแรก โดยร่างความตกลงฯ
มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการยอมรับแลสเซ-ปาสเซ ที่ออกโดยสหภาพยุโรป หรือ EU เป็นเอกสารการเดินทางของเจ้าหน้าที่ EU ที่สมบูรณ์เทียบเท่ากับหนังสือเดินทางสำหรับการเดินทางเข้ามาในไทย
โดยผู้ที่ถือแลสเซ-ปาสเซ เข้ามาในไทยจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่มีผลใช้บังคับในไทย
ซึ่งสามารถยื่นคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางการทูต
เพื่อขอแก้ไขหรือปรับปรุงความตกลงฯ ในทั้งหมดหรือการปรับใช้ข้อบทในความตกลงฯ จะต้องยุติอย่างฉันมิตร
โดยความตกลงฯ จะมีผลใช้บังคับในวันที่ ๖๐
นับจากวันที่ได้รับการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งสุดท้ายโดยคู่ภาคี
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ๒. ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติที่เห็นควรดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมทั้งควรจัดทำแนวทางการแลกเปลี่ยนข้อมูล/แจ้งเตือนระหว่างสองฝ่ายหากมีการตรวจพบการปลอมแปลงเอกสารแลสเซ-ปาสเซ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ขอความเห็นชอบการปรับปรุงอัตราค่าจ้างขั้นสูงสุดของพนักงานระดับรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด | กค. | 07/03/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงอัตราค่าจ้างขั้นสูงสุดของพนักงานระดับรองกรรมการผู้จัดการ
บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด จากเดิมอัตรา ๑๕๐,๐๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน เป็น ๑๘๐,๐๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๗ มีนาคม ๒๕๖๖)
เห็นชอบ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้กระทรวงการคลัง (บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด)
รับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงาน ก.พ.ร.
ที่ควรมีการจัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานหรือเพิ่มรายได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในทุกมิติ
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาระงบประมาณและเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน
รวมถึงฐานะทางการเงินในอนาคต ควรบริหารค่าใช้จ่ายในภาพรวมด้วยความระมัดระวังและกำหนดแนวทางบริหารจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสมและรอบคอบ
พร้อมทั้งประเมินสถานการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อผลประกอบการขององค์กรและปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานให้ทันต่อสถานการณ์
และเพื่อให้การปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐในภาพรวม
กระทรวงการคลังควรกำกับให้บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด
ปฏิบัติตามแผนการหารายได้และแผนการบริหารความเสี่ยงทางการเงินจากการปรับปรุงอัตราค่าจ้างขั้นสูงสุด
ของพนักงานอย่างเคร่งครัด
และกำหนดตัวชี้วัดเพื่อติดตามประเมินผลสำเร็จของแผนดังกล่าว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปอย่างเคร่งครัด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 บีเอ็ม เพื่อต่ออายุประทานบัตรทำเหมืองแร่ของบริษัท หินอ่อน จำกัด ที่จังหวัดสระบุรี | อก. | 21/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | หลักเกณฑ์การได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการ กรรมการ และอนุกรรมการ ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 | ยธ. | 14/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการ
กรรมการ และอนุกรรมการ ตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง
พ.ศ. ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑) เบี้ยประชุมคณะกรรมการ เห็นควรปรับถ้อยคำจากเดิมเป็น
“ให้ประธานกรรมกรรมการ และกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน
ในอัตราประธานกรรมการ ๑๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน รองประธานกรรมการ ๙,๐๐๐ บาทต่อเดือน และกรรมการ ๘,๐๐๐ บาทต่อเดือน ทั้งนี้
ให้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมรายเดือนเฉพาะเดือนที่มีการประชุม
หากเดือนใดไม่มีการประชุมหรือมีการประชุมแต่ไม่ได้เข้าประชุม ให้งดจ่าย”
และตัดข้อความ “ทั้งนี้ ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือประธานอนุกรรมการไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ให้ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับประธานกรรมการหรือประธานอนุกรรมการ
แล้วแต่กรณี” เพื่อให้สอดคล้องกับการได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ
พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (๒) เบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการ
ควรปรับอัตราเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการเป็น
“อนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง
เฉพาะครั้งที่เข้าร่วมประชุมและให้ได้รับเบี้ยประชุมไม่เกิน ๔ ครั้งต่อเดือน
ในอัตราประธานอนุกรรมการ ๑,๒๕๐ บาทต่อครั้ง รองประธานอนุกรรมการ
๑,๑๒๕ บาทต่อครั้ง และอนุกรรมการ ๑,๐๐๐
บาทต่อครั้ง และ (๓) ประโยชน์ตอบแทนอื่น เห็นควรปรับถ้อยคำจากเดิมเป็น
“ให้ประธานกรรมการ กรรมการ
และอนุกรรมการในคณะกรรมการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้าร่วมประชุมเป็นค่าพาหนะ
ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก
และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดตามนัยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง ตามความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง ทั้งนี้
ให้กระทรวงยุติธรรม (กรมคุมประพฤติ) รับความเห็นของสำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.
รวมทั้งข้อเสนอแนะของสำนักงาน ก.พ.ร. .โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๖.ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกรมคุมประพฤติตามที่ได้รับจัดสรร
สำหรับค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป
ให้กรมควบคุมประพฤติจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ควรรับฟังความเห็นของกระทรวงการคลังซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบกฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเพื่อประกอบการพิจารณา
และเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ
และการกำหนดองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการ ควรมีเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมต่อการสนับสนุนการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง
เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า และไม่ให้เป็นภาระงบประมาณภาครัฐในระยะยาว
และควรมีการทบทวนความคงอยู่ของคณะอนุกรรมการเมื่อสิ้นสุดการดำเนินภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย.ไปพิจารณาดำเนินการด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นของสำนักงานอัยการสูงสุด | อส. | 14/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ของสำนักงานอัยการสูงสุด
และให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๑,๔๘๐,๖๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการว่าด้วยกลไกการส่งต่อระดับชาติ
การบริหารจัดการคดี และการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามข้อ ๘ และข้อ ๙ (๑)
ของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่าย งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้รับทราบด้วยแล้ว
และขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับความเห็นของกระทรวงการคลัง ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม
และกำกับดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|