ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 4 จากข้อมูลทั้งหมด 4 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น (HLJC) ครั้งที่ 5 | กต. | 19/10/2564 | ||||||||||||||||||||||||
2 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 36/2564 | นร.11 สศช | 12/10/2564 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ ๓๖/๒๕๖๔
เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ ซึ่งได้พิจารณาเห็นชอบให้กรมส่งเสริมการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน
(One Stop Service) โดยเป็นการขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการเป็นภายในสิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๖๔
และเห็นชอบให้จังหวัดนครพนม จังหวัดตรัง จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอุบลราชธานี
และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ หรือยกเลิกโครงการ
เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้กระทรวงต้นสังกัด หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
รายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากคลัง
รวมทั้งให้ความสำคัญกับการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการทั้งในช่วงระหว่างดำเนินโครงการและภายหลังสิ้นสุดโครงการ
เพื่อประกอบการจัดทำรายงานตามข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ. ๒๖๕๓
ตามขั้นตอนต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||
3 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุม ครั้งที่ 6/2564 | นร.11 สศช | 30/08/2564 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในคราวประชุม
ครั้งที่ ๖/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๔ ซึ่งได้พิจารณาอนุมัติโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (Covid-๑๙)
สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย เพิ่มเติม จำนวน ๙,๙๙๘,๘๒๐ โดส (Pfizer) ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มอบหมายให้กรมควบคุมโรค
กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ
ดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน อนุมัติให้สำนักงานประกันสังคม
กระทรวงแรงงาน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา
๓๙ และมาตรา ๔๐ ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ
ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม
พิจารณาความเหมาะสมในการจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนและรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา
๔๐ เนื่องจากอายุเกินคุณสมบัติที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดไว้ ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ
และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการควรเตรียมความพร้อมให้ทันต่อสถานการณ์
และปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้ครบถ้วนถูกต้องอย่างเคร่งครัด ตลอดจนเร่งรัดประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรับรู้และความเข้าใจในมาตรการที่ถูกต้องให้กับประชาชน
และเร่งรัดการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงาน
และให้ความสำคัญกับระบบการติดตามและประเมินผลให้ทันต่อสถานการณ์ รวมทั้ง ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินการตามข้อสังเกตและความเห็นเพิ่มเติมของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
โดยเคร่งครัดตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.
ในการดำเนินโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย
เพิ่มเติม จำนวน ๙,๙๙๘,๘๒๐ โดส (Pfizer) ให้กระทรวงสาธารณสุข
(กรมควบคุมโรค) บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน
เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
ให้อยู่ในวงจำกัดโดยเร็วที่สุด โดยเร่งกระจายวัคซีนอย่างเป็นระบบ ทั่วถึง
และเป็นธรรม
รวมทั้งให้สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนให้มีความพร้อมในการเข้ารับการฉีดวัคซีนและการป้องกันโรคในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ ที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ให้เผยแพร่ข้อมูลผลการดำเนินงานดังกล่าวสู่สาธารณชนเพื่อให้เกิดความโปร่งใสด้วย ๓. ให้สำนักงานเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดอย่างเป็นระบบ
ครอบคลุมในทุกมิติ พร้อมทั้งเผยแพร่ผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือให้ประชาชนทราบเป็นระยะ
ๆ ด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
4 | ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับดอกเบี้ยที่ได้จากตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ | กค. | 13/07/2564 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง
ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้หัก
ณ
ที่จ่ายสำหรับดอกเบี้ยที่ได้จากตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับดอกเบี้ยที่ได้จากพันธบัตรออมทรัพย์ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก
เพื่อให้ผู้เสียภาษีสามารถขอคืนเงินภาษีเงินได้ตามกฎหมาย โดยยื่นผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงินที่มีความตกลงเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการขอคืนภาษีอากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ไว้กับกรมสรรพากรแล้ว
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นว่าควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|