ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 29 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน เพื่อให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยใช้ประโยชน์พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองกะลาเส และป่าคลองไม้ตาย ท้องที่ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการศึกษาตามภารกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย | อว. | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | มาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง ปี 2567/68 | พณ. | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลการดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง
ปี ๒๕๖๖/๖๗ การดำเนินโครงการเพิ่มช่องทางการตลาดสินค้าพืชโร่ ปีการผลิต ๒๕๖๗/๖๘
และแนวทางมาตรการในการขยายตลาดส่งออกสินค้ามันสำปะหลัง
ปี ๒๕๖๗/๖๘ และอนุมัติในหลักการมาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง ปี
๒๕๖๗/๖๘ จำนวน ๔ โครงการ ภายในกรอบวงเงิน ๓๖๘,๙๐๐,๐๐๐ บาท ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทยไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ภายใต้มาตรการฯ ดังกล่าว
เพื่อให้การดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง ปี ๒๕๖๗/๖๘
บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นว่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.)
ควรกำหนดเพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันเพื่อลดความเสี่ยงกรณีที่หลักประกันมีคุณภาพเสื่อมลง
และมีการควบคุมและตรวจสอบสต็อกของหลักประกัน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดแนวทางชดเชยความเสียหายให้
ธ.ก.ส. เพิ่มเติม หากโครงการเกิดความเสียหายมากกว่าที่ประมาณการไว้
รวมทั้งควรประเมินผลการดำเนินของมาตรการ
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการออกแบบมาตรการในระยะต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสนับสนุนและส่งเสริมการนำมันสำปะหลังมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้มากยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าของมันสำปะหลัง
และเพื่อช่วยระบายสต๊อกในช่วงที่ผลผลิตมันสำปะหลังภายในประเทศมีแนวโน้มกระจุกตัวอันเนื่องมาจากการส่งออกมันสำปะหลังไปยังต่างประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลง |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำ และเตรียมความพร้อมโครงการ และฟื้นฟูโครงการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย | กษ. | 29/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ขออนุมัติกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน (กรณีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับรายจ่าย) วงเงิน 17,500 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 | คค. | 19/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกู้เงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ มาตรา ๓๙ (๔) โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน
รวมทั้งพิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดตามความเหมาะสม
ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยจะดำเนินการกู้เงินได้ภายหลังจากวงเงินกู้ได้รับการบรรจุไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ ที่ผ่านความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
ทั้งนี้ การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมการกู้เงิน ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง สำหรับการกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน (กรณีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับรายจ่าย) ในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ วงเงิน ๑๗,๕๐๐ ล้านบาท
และให้กระทรวงการคลังพิจารณาเร่งรัดการกำหนดหลักเกณฑ์การขอรับการจัดสรรเงินชดเชยของรัฐวิสาหกิจตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ต่อไป ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการโอนนักโทษ พ.ศ. .... | ยธ. | 19/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการโอนนักโทษ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ในการโอนนักโทษเด็ดขาดระหว่างประเทศ
เพื่อให้สอดคล้องกับสนธิสัญญาว่าด้วยการโอนผู้กระทำผิดและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญาที่ประเทศไทยจัดทำกับต่างประเทศ
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงบประมาณ เห็นว่าเมื่อร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้จ่ายต่าง
ๆ เกี่ยวกับการโอนนักโทษ พ.ศ. .... มีผลบังคับใช้ และหากมีภาระงบประมาณเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ ให้กระทรวงยุติธรรมใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘
ของกรมราชทัณฑ์ โดยพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ในโอกาสแรกก่อน สำหรับภาระงบประมาณในปีต่อ ๆ ไป ให้กรมราชทัณฑ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า และประหยัด รวมถึงผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะได้รับอย่างยั่งยืน
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างกฎกระทรวงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อาจส่งผลกระทบกับทรัพยากรน้ำสาธารณะ พ.ศ. .... | มท. | 12/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อาจส่งผลกระทบกับทรัพยากรน้ำสาธารณะ
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ที่ดินที่อาจส่งผลกระทบกับทรัพยากรน้ำสาธารณะ
เพื่อมิให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อทรัพยากรน้ำสาธารณะ หรือเพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์หรือพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะให้เป็นโปโดยเหมาะสม
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เห็นควรกำหนดความหมายและลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อาจส่งผลกระทบกับทรัพยากรน้ำสาธารณะให้มีความชัดเจน
เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันในทางปฏิบัติ และข้อ ๔ (๒)
ของร่างกฎกระทรวงดังกล่าว หากมีการดำเนินการใด ๆ ในเขตพื้นที่ป่า
จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (พลเอก ไตรศักดิ์ อินทรรัสมี) | กห. | 08/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง พลเอก ไตรศักดิ์
อินทรรัสมี เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๘ ตุลาคม ๒๕๖๗) เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การแต่งตั้งผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค (นายจักรพงศ์ คำจันทร์) | มท. | 01/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายจักรพงศ์ คำจันทร์
เป็นผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค โดยได้รับค่าตอบแทนคงที่ในปีแรกอัตราเดือนละ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป แต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ สำหรับสิทธิประโยชน์อื่นให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจเพื่อให้ไทยได้ให้การรับรอง และ/หรือให้ความเห็นชอบในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 56 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 24 และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจเพื่อให้ไทยได้ให้การรับรอง
และ/หรือให้ความเห็นชอบในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ ๕๖
และการประชุมที่เกี่ยวข้อง การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ครั้งที่ ๒๔ และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๔๔ และ ๔๕ โดยร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ
ที่จะมีการรับรอง และ/หรือให้ความเห็นชอบในช่วงการประชุมฯ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทยในเชิงนโยบายและอาจเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหลายหน่วยงาน
จึงเข้าข่ายที่จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามนัยมาตรา ๔ (๗)
ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้
เอกสารดังกล่าวไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
ครั้งที่ ๕๖ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่
๒๔ และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๔๔ และ ๔๕ และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
จำนวน ๔ ฉบับ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... | ทส. | 03/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. ....
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ.
๒๕๖๐ ที่จะสิ้นสุดระยะเวลาการใช้บังคับในวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๗ เพื่อกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ตให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
และเพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างการบังคับใช้กฎหมาย ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นควรให้บังคับใช้ตามกฎกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง
ในบริเวณจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในพื้นที่
ความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของชาวประมงบริเวณพื้นที่ดังกล่าวอย่างยั่งยืนต่อไป กระทรวงมหาดไทย เห็นควรให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชฝิ่นและพืชเห็ดขี้ควาย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พ.ศ. .... | ยธ. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชฝิ่นและพืชเห็ดขี้ควาย
เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พ.ศ. ....
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสาระสำคัญจากฝิ่นและเห็ดขี้ควาย
เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
รวมทั้งกำหนดมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเพาะปลูกและสารสกัดสำคัญจากพืชดังกล่าว
โดยอาศัยอำนาจในมาตรา ๕๕ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
โดยให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไปปรับแก้พื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควายในร่างพระระราชกฤษฎีกาเพื่อความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป ๒.
ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้ กระทรวงมหาดไทย เห็นว่าหน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมการดำเนินการทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญ
ต้องตรวจสอบการทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญ ให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมพืชดังกล่าว
รวมทั้งควบคุมไม่ไห้มีการปลูกฝิ่นนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตโดยเคร่งครัด เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน
สังคม และความมั่นคงของประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เห็นควรกำหนดให้มีรูปแบบการรายงานผลการดำเนินงานได้หลายรูปแบบ
เช่น แบบฟอร์มกระดาษ และแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ทั้งนี้
สถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการกำหนดให้เป็นพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย
มีความพร้อมในการดำเนินการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง
โดยขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในมาตรา ๕ เพื่อความถูกต้องและความเป็นปัจจุบันของพื้นที่ดังกล่าว
ดังนี้ ๑. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในมาตรา ๕ (๑) จาก “(ก) อาคารปฏิบัติการวิจัยกลาง”
เป็น “(ก) อาคารปฏิบัติการวิจัยกลาง
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร” ๒. มหาวิทยาลัยพายัพ ในมาตรา ๕ (๕) จาก “อาคารวิวรณ์
สำนักบริการวิชาการและวิจัย” เป็น “อาคารวิวรณ์ สำนักบริการวิชาการ” |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | โครงการเพิ่มการผลิตบุคลากรสาขาพยาบาลศาสตร์ (ปีการศึกษา 2566-2570) | อว. | 30/07/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการเพิ่มการผลิตบุคลากรสาขาพยาบาลศาสตร์
(ปีการศึกษา ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) เพื่อผลิตพยาบาลวิชาชีพ จำนวน ๕
รุ่น จำนวนรวมทั้งสิ้น ๑๕,๙๘๕ คน ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ
จำนวน ๑๑๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี หรือ ๔๔๐,๐๐๐
บาท/คน/หลักสูตร
ซึ่งเป็นอัตราค่าใช้จ่ายเดิมตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในโครงการเพิ่มการผลิตฯ
ระยะที่ ๑ (ปีการศึกษา ๒๕๖๑ - ๒๕๖๒) สำหรับวงเงินงบประมาณจนสิ้นสุดโครงการ จำนวน ๗,๐๓๓,๔๐๐,๐๐๐ บาท ให้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
พร้อมทั้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และกรุงเทพมหานครรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ข้อเสนอแนะของสำนักงาน ก.พ.ร. และข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นควรกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขการชดใช้ทุนสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการฯ
เพื่อให้การใช้งบประมาณแผ่นดินสนับสนุนการผลิตบุคลากรสาขาพยาบาลศาสตร์เป็นไปอย่างคุ้มค่า
มีประสิทธิภาพ สอดรับกับทิศทางการพัฒนาด้านสาธารณสุขของประเทศ สำนักงาน ก.พ. เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรบริหารอัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์
การพยาบาล และการสาธารณสุข
ตามหลักการและแนวทางการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ
(คปร.) กำหนดไว้ในมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. ๒๕๖๒ - ๒๕๗๐) ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการประชุมเมื่อวันที่
๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖ เพื่อให้การบริหารอัตรากำลังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
ตลอดจนสอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศในภาพรวม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-level Political Forum on Sustainable Development: HLPF) ประจำปี ค.ศ. 2024 | กต. | 16/07/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน
(High-level Political
Forum on Sustainable Development : HLPF)
ประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๔ และให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ
หรือเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก
ร่วมรับรองร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน
(High-level Political Forum on Sustainable Development :
HLPF) ประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๔ ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๘-๑๘ กรกฎาคม
๒๕๖๗ ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก โดยร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับ
(๑) สถานการณ์ปัจจุบันและความท้าทายในการบรรลุ SDGs และ (๒)
การกำหนดแนวทางการดำเนินการและการลงทุนเพื่อสนับสนุนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.
๒๐๓๐ ตามเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสนับสนุนการจัดทำ VNRs โดยไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
กอปรกับไม่มีการลงนามในร่างปฏิญญาดังกล่าว ดังนั้น ร่างปฏิญญาฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นควรคำนึงถึงประเด็นความมุ่งมั่นระดับประเทศ (National Commitment) ที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ใน HLPF ห้วงปี ค.ศ. ๒๐๒๓ ด้วย
และให้กระทรวงการต่างประเทศรวบรวมผลการปรับแก้ร่างปฏิญญาดังกล่าวกับผลการปรับแก้เอกสารผลลัพธ์ความตกลงระหว่างประเทศของกรอบความร่วมมืออื่น
ๆ พร้อมทั้งผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องรายงานต่อคณะรัฐมนตรีทราบในคราวเดียวกัน
รวมทั้งสื่อสารผลลัพธ์ให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2567-2570) | นร.12 | 09/07/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
(พ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๗๐) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาระบบราชการของไทย
โดยมุ่งเน้นการเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีความทันสมัย
พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ และยกระดับการให้บริการประชาชน
โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑) วิสัยทัศน์ “ภาครัฐที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ
มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน” และมีเป้าหมายสู่การเป็น “รัฐที่ล้ำหน้าและรัฐที่เปิดกว้าง”
๒) ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ จำนวน ๓ ยุทธศาสตร์
ได้แก่ (๑) ยุทธศาสตร์การยกระดับบริการภาครัฐโดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
(๒) ยุทธศาสตร์การลดบทบาทภาครัฐและเปิดการมีส่วนร่วมกับภาคส่วนอื่น และ (๓)
ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนผลิตภาพภาครัฐด้วยนวัตกรรมและดิจิทัล ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการาชการเสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการรับความเห็น ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
(องค์การมหาชน) ไปพิจารณาประกอบการปรับปรุงแก้ไข (ร่าง)
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น
ก่อนให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐนำไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินภารกิจของหน่วยงานต่อไป
เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เห็นควรมีการวางระบบติดตามและประเมินผล เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานตามกลยุทธ์และแผนยุทธศาสตร์อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะ (Skill) และการปรับกระบวนการทางความคิด (Mindset) ของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้มีความพร้อม
สามารถรองรับกระบวนการทำงานในรูปแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการทบทวนและปรับปรุงกฎหมาย
กฎ และระเบียบ ให้มีความทันสมัย
และไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานและการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กระทรวงพลังงาน เห็นควรมีการกำหนดบทบาทและขอบเขตการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานที่ชัดเจน
เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการดำเนินงาน
เกิดการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริงต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | สรุปผลการปฏิบัติราชการของคณะรัฐมนตรีในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 | นร.11 สศช | 02/07/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
ในการปฏิบัติราชการในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๑ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
ในการปฏิบัติราชการในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๑
และรายงานผลการดำเนินงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทราบต่อไป ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ๒.
ในส่วนของเรื่องการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำลำเชียงไกร (ตอนบน) จังหวัดนครราชสีมา เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นอย่างซ้ำซาก
เนื่องจากภูมิประเทศมีลักษณะเป็นที่ราบสูงลาดเอียงไปทางตอนเหนือของจังหวัดและไม่มีหุบเขาหรือพื้นที่รองรับน้ำ
ทำให้ไม่สามารถก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ได้ แต่หากสร้างเป็นอาคารบังคับน้ำและมีระบบระบายน้ำเป็นช่วง
ๆ จากลุ่มน้ำลำเชียงไกร (ตอนบน) ไปจนถึงลุ่มน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง)
ก็จะทำให้กักเก็บน้ำได้ในฤดูแล้งและสามารถระบายน้ำได้ในฤดูน้ำหลาก ดังนั้น
จึงขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับเรื่องนี้ไปประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ ให้พิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งให้ครอบคลุมไปถึงกรณีอื่น
ๆ ที่มีอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ อยู่แล้ว แต่ยังไม่มีคลองส่งน้ำ/ระบบระบายน้ำที่เหมาะสมและเพียงพอด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทวัสดุกัมมันตรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทเครื่องกำเนิดรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... | อว. | 25/06/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทวัสดุกัมมันตรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดประเภทวัสดุกัมมันตรังสีที่บุคคลธรรมดาสามารถขอรับใบอนุญาตผลิต
มีไว้ในครอบครอบครองหรือใช้ นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านวัสดุกัมมันตรังสี และร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทเครื่องกำเนิดรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดประเภทเครื่องกำเนิดรังสีที่บุคคลธรรมดาสามารถขอรับใบอนุญาตทำเครื่องกำเนิดรังสี
มีไว้ในครอบครองหรือใช้ นำเข้าหรือส่งออกเครื่องกำเนิดรังสี รวม ๒ ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องควรเน้นการกระจายองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
เพื่อขยายโอกาสในการพัฒนางานด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุกัมมันตรังสีและเครื่องกำเนิดรังสีในวงกว้าง
รวมถึงสร้างโอกาสในการต่อยอดธุรกิจของผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพต่อไปในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | การขอใช้งบประมาณคงเหลือจากการจ่ายค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย สำหรับงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน (เพิ่มเติม) | พน. | 04/06/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร ๕
หมู่บ้าน (เพิ่มเติม) จำนวน ๗ รายการ โดยใช้งบประมาณจำนวน ๘๒,๕๘๔,๐๐๐ บาท
จากวงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๖ จำนวน ๒,๙๗๐,๕๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งแบ่งออกเป็นค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย อพยพราษฎร ๕ หมู่บ้าน จำนวน
๒,๑๓๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท
และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร จำนวน ๘๓๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท
โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยคาดว่าจะมีค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย เกิดขึ้นจริง
จำนวน ๑,๗๑๙,๐๓๙,๐๐๐
บาท คงเหลือจำนวน ๔๑๘,๙๖๑,๐๐๐ บาท
ซึ่งงบประมาณคงเหลือดังกล่าวครอบคลุมและเพียงพอกับการจ่ายค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย
ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแล้ว และกรณีในอนาคตหากงบประมาณการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร
๕ หมู่บ้าน ไม่เพียงพอ เห็นควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสามารถพิจารณาอนุมัติการใช้งบประมาณคงเหลือจากงบประมาณค่ารื้อย้าย/ค่าชขดเชย
ดังกล่าว เพื่อใช้สำหรับงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร ๕
หมู่บ้าน (เพิ่มเติม) เป็นรายกรณีตามความจำเป็น โดยไม่กระทบต่องบประมาณที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๖ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ให้กระทรวงพลังงาน
(การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของสำนักงบประมาณ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทยไปดำเนินการต่อไปอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
เช่น สำนักงบประมาณ เห็นควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นควรพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๖ อย่างเคร่งครัด โดยในระยะต่อไป
กรณีมีความจำเป็นต้องก่อสร้างสาธารณูปโภคเพิ่มเติมนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ตามที่ได้รับอนุมัติไว้
เห็นควรให้เป็นหน้าที่หน่วยงานรับผิดชอบพิจารณาขอรับจัดสรรจากแหล่งเงินงบประมาณ
กองทุนพัฒนาไฟฟ้า หรือแหล่งเงินอื่นตามขั้นตอนต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา พ.ศ. .... | ทส. | 28/05/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี
อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง
และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในบริเวณอำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด
อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นว่าความหมายของคำว่า “ประมงพื้นบ้าน”
ตามความในข้อ ๕ (๑)(ก) ที่ให้ทำการประมงพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
ในบริเวณพื้นที่ตามข้อ ๔ บริเวณที่ ๑ ได้นั้น หากหมายความถึง ความหมายของ “ประมงพื้นบ้าน”
และ “ที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ” ตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ควรให้ความเห็นชอบต่อร่างประกาศกระทรวงดังกล่าว
แต่หากความหมายของ “ประมงพื้นบ้าน” ตามร่างประกาศกระทรวงดังกล่าว ไม่ได้หมายความรวมถึง
ความหมายของ “ที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ” ตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และร่างประกาศกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
อาจส่งผลกระทบต่อการกำหนดเขตพื้นที่ที่อนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเขตพื้นที่จังหวัดพังงาได้ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
และกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น กระทรวงคมนาคม เห็นว่าหากมีการดำเนินการใด ๆ
ในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ ทะเล หรือบนชายหาดของทะเล
ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช
๒๔๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติมด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | แนวทางการสร้างมูลค่าที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน | สคทช | 14/05/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางการสร้างมูลค่าที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชนของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายละเอียดและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามหน้าที่และอำนาจให้ถูกต้อง
เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เห็นว่าควรมีแนวทางบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานด้านระบบฐานมูลที่ดินหนึ่งเดียวที่มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
เพื่อประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาและสร้างมูลค่าที่ดิน และพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เห็นว่าการดำเนินการใด ๆ ในพื้นที่ป่าไม้ ขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ขอความเห็นชอบกู้ยืมเงินเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย | กษ. | 02/04/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกู้ยืมเงินเบิกเกินบัญชีเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องทางการเงินขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๒๕๐ ล้านบาท
ระยะเวลา ๓ ปี ตั้งแต่วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๗๐ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๕/๒๔๖๖ ลงวันที่ ๘ มกราคม
๒๕๖๗) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๒๔/๗๒๙๐
ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๖) เช่น การกู้เงินจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย และอยู่ภายใต้ขอบวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐผู้กู้
เพื่อประโยชน์ของประเทศและของหน่วยงานของรัฐ โดยต้องกระทำด้วยความรอบคอบ
และคำนึงถึงความคุ้มค่า ความสามารถในการชำระหนี้ การกระจายภาระการชำระหนี้
เสถียรภาพ และความยั่งยืนทางการเงินการคลัง ตลอดจนความน่าเชื่อถือของประเทศ และของหน่วยงานของรัฐผู้กู้
รวมถึงให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะโดยเคร่งครัด เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา
๔๙ และ ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ให้องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยพิจารณาการเบิกจ่ายเงินกู้ตามความจำเป็นของสถานการณ์การเงินในแต่ละช่วงเวลา
รวมทั้งดำเนินการตามแผนวิสาหกิจโดยเฉพาะการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ใหม่ตามแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจประเด็นสุขภาพและความปลอดภัยผลิตภัณฑ์นมให้ได้ตามเป้าหมาย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|