ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 5 จากข้อมูลทั้งหมด 5 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2564 เรื่อง แนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน | สกพอ. | 19/10/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบและเห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน มติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๔ และมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ร่วมกันดำเนินงานโดยเร็ว เพื่อให้บริการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในฐานะหน่วยงานเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรกำกับดูแลและติดตามโครงการฯ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุนที่มีความจำเป็นต้องมีการแก้ไขสัญญา ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ในกรณีที่คู่สัญญาเอกชนไม่สามารถปฏิบัติเงื่อนไขของสัญญาได้ เพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่องต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ในฐานะหน่วยงานเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษามาตรการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรณีศึกษา การบริหารจัดการจราจรโดยใช้ระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transport System : ITS) ของคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา | สว. | 12/10/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษามาตรการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
กรณีศึกษา การบริหารจัดการจราจรโดยใช้ระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transport System : ITS) ของคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
สรุปผลการพิจารณาได้ว่า
ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการที่มีความสอดคล้องกับแนวทางตามรายงานการพิจารณาศึกษาดังกล่าวแล้ว
และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมบางประการ เช่น ควรพิจารณาใช้งานโครงข่ายส่วนตัว (Private
Network) ในการเชื่อมโยงระบบที่ใช้งานร่วมกับระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (ITS)
เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงระบบดังกล่าวได้
การจัดเตรียมศูนย์บริหารจัดการให้มีขนาดเพียงพอกับการบูรณาการระบบอื่นที่เกี่ยวข้องแบบรวมศูนย์
ควรเร่งผลักดันการใช้ระบบตัดแต้มใบอนุญาตขับรถ
รวมทั้งพัฒนาระบบตัดคะแนนความประพฤติของผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถ
และจัดทำมาตรการทางภาษี มาตรการส่งเสริมให้ประชาชนและผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้น
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลคลองควาย ตำบลบางเตย ตำบลสามโคก ตำบลบ้านปทุม และตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. .... | คค. | 12/10/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่ตำบลคลองควาย ตำบลบางเตย ตำบลสามโคก ตำบลบ้านปทุม และตำบลเชียงรากใหญ่
อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่ตำบลคลองควาย ตำบลบางเตย ตำบลสามโคก ตำบลบ้านปทุม และตำบลเชียงรากใหญ่
อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑๔ สายบางเตย-คลองเจ็ด ตอน
บางเตย-บ้านพร้าว จังหวัดปทุมธานี ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่เห็นควรให้ความสำคัญและตระหนักถึงแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากการก่อสร้างกีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ
เพื่อป้องกันปัญหาการเกิดอุทกภัย
ให้กระทรวงคมนาคมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาจัดลำดับความสำคัญและบูรณาการแผนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง
เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่อำเภอสามโคกและพื้นที่ใกล้เคียง
รวมทั้งกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗
พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เรื่อง แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการตราร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน เพื่อก่อสร้างหรือขยายถนนอย่างเคร่งครัดต่อไป
และพิจารณาความสอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนและต้องมีผลเป็นการกีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติเพียงเท่าที่จำเป็น
รวมทั้งต้องสร้างระบบการระบายน้ำที่เพียงพอต่อการขยายตัวของชุมชนหรือเมืองในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องอีก
๑๐-๑๕ ปี ข้างหน้าไปพร้อมกันด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกรกฎาคม 2564 | นร.11 สศช | 17/08/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกรกฎาคม
๒๕๖๔ ซึ่งมีผลการการดำเนินงานที่สำคัญ
ได้แก่ (๑) ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
(๒) ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ (๓) การติดตาม ตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ (๔) การสร้างการตระหนักรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของภาคีต่าง ๆ
ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแผนการปฏิรูปประเทศ และ (๕)
ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ คือ
การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. .... | นร.09 | 13/07/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดการแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน ๖ ส่วนราชการ
ได้แก่ สำนักงานผู้อำนวยการ กองกฎหมาย กองที่ดินของรัฐ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
กองส่งเสริมความร่วมมือและขับเคลื่อนการบริหารจัดการที่ดิน และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ดินและทรัพยากรดิน
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นว่าควรให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเตรียมการจัดแบ่งงานภายในตามโครงสร้างส่วนราชการ
รวมทั้งการจัดอัตรากำลังและตำแหน่งให้สอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|