ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 4 จากข้อมูลทั้งหมด 4 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2564 เรื่อง แนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน | สกพอ. | 19/10/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบและเห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน มติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๔ และมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ร่วมกันดำเนินงานโดยเร็ว เพื่อให้บริการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในฐานะหน่วยงานเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรกำกับดูแลและติดตามโครงการฯ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุนที่มีความจำเป็นต้องมีการแก้ไขสัญญา ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ในกรณีที่คู่สัญญาเอกชนไม่สามารถปฏิบัติเงื่อนไขของสัญญาได้ เพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่องต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ในฐานะหน่วยงานเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 3 โครงการ | กษ. | 14/09/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน ๓ โครงการ
ประกอบด้วย (๑) โครงการอ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี จากเดิม ๗ ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-พ.ศ. ๒๕๖๑) เป็น ๑๑ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๖๕)
ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม ๓,๗๔๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒)
โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดอุตรดิตถ์ จากเดิม ๑๑
ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔-พ.ศ ๒๕๖๔) เป็น ๑๕ ปี (ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๔-พ.ศ ๒๕๖๘) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม ๔,๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และ (๓)
โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดพะเยา จากเดิม ๖ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙-พ.ศ. ๒๕๖๔) เป็น ๑๐ ปี (ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๙-พ.ศ. ๒๕๖๘) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม ๓,๙๘๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามระเบียบและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนและพิจารณาการเตรียมความพร้อมในการจัดหาที่ดินก่อนดำเนินการ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
กรณีโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพะเยา ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาใช้สิทธิของผู้ว่าจ้างภายหลังบอกเลิกสัญญาเพื่อเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้รับจ้างรายเดิมในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามสัญญาด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ครั้งที่ 12/2564 | นร. | 17/08/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (โควิด-19)
(ศบค.) ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๔ ซึ่งมีผลการประชุมที่สำคัญ
ได้แก่ (๑) การผ่อนผันการจัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมร่วมกันของรัฐสภา
และผ่อนผันการเคลื่อนย้ายในห้วงเวลาการห้ามออกนอกเคหะสถาน (๒) การรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19
(๓) มาตรการป้องกันควบคุมในพื้นที่เฉพาะ (Bubble & Seal) และโครงการนำร่องการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory
Sandbox) (๔) แผนการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 (๕) การรับความช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุขจากต่างประเทศ (๖)
การประเมินผลการปราบปรามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อโควิด-19 (๗)
มาตรการควบคุมสำหรับการเดินทางเข้าออกทางน้ำ เฉพาะกรณีเรือที่ไม่มีสัญชาติไทย
เพื่อภารกิจเกี่ยวกับการปิโตรเลียม ภารกิจอื่นใดบนยานพาหนะหรือสิ่งปลูกสร้างในทะเล
(๘) การเปิดพื้นที่นำร่องรับนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตเชื่อมต่อจังหวัดนำร่อง (๙)
แนวทางการประชาสัมพันธ์ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และ (๑๐) ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ตามที่สำนักงานเลขาธิการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. .... | นร.09 | 13/07/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดการแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน ๖ ส่วนราชการ
ได้แก่ สำนักงานผู้อำนวยการ กองกฎหมาย กองที่ดินของรัฐ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
กองส่งเสริมความร่วมมือและขับเคลื่อนการบริหารจัดการที่ดิน และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ดินและทรัพยากรดิน
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นว่าควรให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเตรียมการจัดแบ่งงานภายในตามโครงสร้างส่วนราชการ
รวมทั้งการจัดอัตรากำลังและตำแหน่งให้สอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|