ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 2 จากข้อมูลทั้งหมด 2 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | รายงานการประเมินผลการดำเนินงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - 2564 | สช. | 19/10/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบรายงานการประเมินผลการดำเนินงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้การสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
(กขป.) ต่อไป ซึ่งประกอบด้วย (๑) ผลการดำเนินงานของ กขป. เช่น ประเด็นสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มเปราะบางทางสังคม
ประเด็นอาหารปลอดภัย (๒) ข้อค้นพบสำคัญ กรรมการผู้แทนส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐมีแนวโน้มการมีส่วนร่วมในการประชุมน้อย
ส่งผลให้การบูรณาการขับเคลื่อนงานเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในเขตพื้นที่เป็นการทำงานของ
กขป. ร่วมกับหน่วยงานภาคเอกชนและภาคประชาสังคม
ทำให้การบูรณาการภารกิจและบทบาทหน้าที่เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงระบบยังไม่เกิดขึ้นมากนัก
รวมทั้งยังไม่สามารถผลักดันเป็นนโยบายของหน่วยงานภาครัฐได้ (๓)
ปัจจัยความสำเร็จของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เช่น ความเข้าใจเรื่องบทบาทหน้าที่ของ
กขป. และ (๔) ข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนา เช่น ควรสนับสนุนให้เกิดการแก้ไขปัญหาเชิงระบบ
ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ข้อเสนอของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและข้อสังเกตของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เช่น ควรมีกระบวนการสนับสนุนให้ กขป. เกิดความเป็นเจ้าของในการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่
ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสุขภาพเชิงระบบ สนับสนุนงบประมาณในการจัดทำโครงการ ๆ
ของภาคเอกชนและภาคประชาสังคม และควรดำเนินการให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
โดยเน้นการบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ
รวมถึงควรมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกมิติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2564 | นร.11 สศช | 10/08/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ๒๕๖๔
เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๔ โครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐
ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ของสำนักงานประกันสังคม
กระทรวงแรงงาน กรอบวงเงินจำนวน ๓๓,๔๗๑.๐๐๕๐ ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่
๒ เพื่อช่วยเหลือเยียวยา บรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกันตนมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐
ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๕ ฉบับที่
๒๘ และฉบับที่ ๓๐) ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวม ๒๙ จังหวัด ทั้งนี้
เห็นควรให้สำนักงานประกันสังคม รับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ โดยให้เร่งดำเนินการตรวจสอบยืนยันตัวตนของผู้ได้รับความช่วยเหลือตามเป้าหมาย
พิจารณาดำเนินการต่าง ๆ ให้สามารถโอนเงินให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา
๓๙ และมาตรา ๔๐ ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดใน ๑๐ จังหวัดก่อน กำหนดเงื่อนไขของกลุ่มเป้าหมายตามโครงการฯ
โดยเฉพาะในส่วนของผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา ๔๐ เพิ่มเติม
จัดทำข้อเสนอขยายระยะเวลาให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดโควิด-๑๙
ในพื้นที่ ๑๓ จังหวัด การดำเนินโครงการนี้ทำให้มีประชาชนเข้าร่วมเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา
๔๐ จำนวนเพิ่มขึ้น จึงควรต้องประมาณการภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้นให้ชัดเจน
พร้อมทั้งติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน
กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ไปดำเนินการโดยเคร่งครัด
ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้กระทรวงแรงงาน (สำนักงานประกันสังคม)
รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ที่เห็นว่าให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการต่าง
ๆ โดยใช้วงเงินกู้ตามพระราชกำหนดนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด สร้างความรับรู้และความเข้าใจในมาตรการที่ถูกต้องให้กับประชาชน
รวมทั้งดำเนินการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการภายใต้มาตรการดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
พร้อมทั้งเผยแพร่ผลการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือแก่สาธารณชนได้รับทราบข้อมูลอย่างถูกต้องและทั่วถึงเป็นระยะ
ๆ ต่อไป ตลอดจนประชาสัมพันธ์เรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนประเภทต่าง ๆ
เพื่อจูงใจให้ผู้ประกันตนอยู่ในระบบประกันสังคมอย่างต่อเนื่อง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๒. ให้เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
(เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้ |