ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 3 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 47 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง
นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
....
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงอุตสาหกรรมเป้าหมายสำหรับให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง
นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง
และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นมีสิทธิขออนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
(Smart Visa) เพื่อให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิมของ
Smart Visa
และอุตสาหกรรมเป้าหมายตามพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๐ พร้อมทั้งเพิ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีศักยภาพสูงในอนาคต (เดิมจาก ๑๓
อุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็น ๑๘ อุตสาหกรรมเป้าหมาย) ทั้งนี้
เพื่อให้สอดล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2564/2565 | อก. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น
PM 2.5 ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดเป็นกรณีเฉพาะเป็นการชั่วคราว
ภายในกรอบวงเงินโครงการ ๘,๓๑๙,๒๓๙,๐๑๐.๐๙ บาท
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดทำแผนการปฏิบัติงาน
และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป
และเพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเห็นควรให้มีระบบกลไกในการตรวจสอบให้มีมาตรฐาน
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และครบถ้วน รวมทั้งปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี
และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วน ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๗๖๒ ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๕)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรกำกับดูแลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ให้เร่งรัดการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยให้ได้รับเงินโดยด่วน
และขอให้มีการกำกับดูแลการตรวจสอบการจ่ายเงินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ถูกต้อง ครบถ้วน โดยเคร่งครัด ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนการลดพื้นที่เผาอ้อย
หาแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) อย่างยั่งยืน
เพื่อลดการใช้เงินงบประมาณจากภาครัฐ
บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้
รวมถึงส่งเสริมและหนุนเสริมให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัด
“อ้อยสดคุณภาพดี” ส่งโรงงาน เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๓/๑๓๘ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕)
ที่เห็นควรมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังภาครัฐ
ได้กำหนดให้มีการประชุมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาความจำเป็นของโครงการ
ประกอบด้วย โครงการประกันรายได้ของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา
มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อย
โครงการที่เกี่ยวกับการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร โครงการประกันภัยพืชผล เป็นต้น
และพิจารณาถึงความสามารถของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่จะต้องตั้งงบประมาณรองรับ
รวมถึงภาระทางการคลัง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนพิจารณาถึงความคุ้มค่า
ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างยั่งยืน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณทุนประเดิมตามมาตรา 9 และมาตรา 48 ของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) โดยใช้รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) | คค. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๓๖๓,๐๐๓,๙๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง
(องค์การมหาชน) ตามที่กะทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม [สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล
การใช้จ่ายเงินงบประมาณของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)
ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้งบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และเร่งจัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap) ของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางที่จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาระบบรางของประเทศให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางและขนส่งสินค้า
พร้อมทั้งกำหนดกลไกการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศเป็นลำดับแรก
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (1. นางสุพร ตรีนรินทร์ ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | กปร. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(สำนักงาน กปร.) ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน ๓ ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่สำนักงาน กปร. เสนอ ดังนี้ ๑. นางสุพร ตรีนรินทร์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน กปร. ตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๕ ๒. นางพิชญดา หัศภาค ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนา
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน กปร. ตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๕ ๓. นายหทัย วสุนันต์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน กปร. ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๕
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .... [สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 และวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 256)] | ปสส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน
พ.ศ. .... ต่อรัฐสภาเพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | ขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 | กก. | 16/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | การปรับปรุงแนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรม | นร.12 | 09/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2565 - 2570 | อว. | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๖๕-๒๕๗๐ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำร่างแผนปฏิบัติการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยร่างแผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์
“ประเทศไทยเกิดระบบนิเวศที่ครบถ้วนและเชื่อมโยงแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในปี พ.ศ. ๒๕๗๐”
และวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
รวมทั้งเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคการศึกษาที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนและดำเนินงานที่สอดคล้องกัน ประกอบด้วย ๕
ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม
กฎหมายและกฎระเบียบสำหรับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (๒)
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(๓) การเพิ่มศักยภาพบุคลากรและการพัฒนาการศึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์ (๔)
การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ (๕)
การส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ๒.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงมหาดไทย เช่น
ควรมีการทดลองร่วมกับภาคเอกชนในการนำเทคโนโลยี AI
มาใช้ในลักษณะ Sandbox เพิ่มเติมจากการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างครอบคลุมในทุกมิติ
ซึ่งจะทำให้สามารถเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ได้
และควรส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทนำในการขับเคลื่อนและพัฒนา AI โดยภาครัฐทำหน้าที่อำนวยความสะดวกและสนับสนุนการดำเนินงานของภาคส่วนอื่น ๆ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 19/2565 | นร.11 สศช | 18/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การกำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานคดีประจำศาลยุติธรรม) | ศย. | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(การกำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานคดีประจำศาลยุติธรรม)
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ คุณสมบัติ และวิธีการคัดเลือกเจ้าพนักงานคดี
และแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติของผู้สมัครทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
ให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน
ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการกำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานคดีประจำศาลยุติธรรมเป็นการกำหนดกรอบอัตรากำลังของตำแหน่งดังกล่าว
เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสอดคล้องของภาระงานและภาระงบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคตของศาลอย่างแท้จริง
และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗
และจัดทำแผนกรอบอัตรากำลังของตำแหน่งดังกล่าวเท่าที่จำเป็น
โดยคำนึงถึงความจำเป็นตามภารกิจงาน รายได้
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใดที่ศาลยุติธรรมมีอยู่ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเลื่อมล้ำ: กรณีศึกษาการแก้ปัญหาระดับจุลภาคในประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเลื่อมล้ำ วุฒิสภา | สว. | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
แนวทางการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเลื่อมล้ำ :
กรณีศึกษาการแก้ปัญหาระดับจุลภาคในประเทศไทย
ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเลื่อมล้ำ วุฒิสภา
ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า
เห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการฯ และได้ดำเนินการ ดังนี้ (๑)
กลไกที่สนับสนุนส่งเสริมการแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับจุลภาค
โดยให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการวางแผนการแก้ไขปัญหาและกำหนดเป้าหมายความสำเร็จ (๒)
การสร้างพันธมิตร การพัฒนาที่ยั่งยืนมีจุดแข็งในการทำงานในภาพรวม
โดยการสร้างระบบการทำงานระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคมมีการทำงานร่วมกับอาสาพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และมูลนิธิต่าง
ๆ เช่น มูลนิธิกระจกเงา และมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก เป็นต้น รวมทั้ง
มีการดำเนินงานกับภาคีเครือข่ายภาคเอกชนในการช่วยเหลือประชาชนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
COVID-19 (๓)
การแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับจุลภาค
โดยกำหนดแนวทางพัฒนาการเข้าถึงบริการภาครัฐทั้งในระบบออนไลน์และในสำนักงานที่สามารถเข้าถึงในทุกพื้นที่ได้
(๔) การแก้ไขปัญหาความยากจน โดยกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง
โดยมุ่งเน้นการดำเนินการแบบบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และประชาชนที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | แต่งตั้งอะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ) ประจำปี พ.ศ. 2565 (ฮ.ศ. 1443) | มท. | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งให้
นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล เป็นอะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์
อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ (ฮ.ศ. ๑๔๔๓)
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมติ (๗ มิถุนายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 พ.ศ. .... | กค. | 24/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ รวม ๔ ชนิด ได้แก่ ๑)
เหรียญกษาปณ์ทองคำ ชนิดราคาสองหมื่นบาท ๒) เหรียญกษาปณ์เงิน ชนิดราคาหนึ่งพันบาท
๓) เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท ประเภทขัดเงา และ
๔) เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท ประเภทธรรมดา
เพื่อเป็นที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม
๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
โดยกระทรวงการคลังแก้ไขถ้อยคำในบัญชีท้ายกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง
จากเดิม “... “สก” ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี ...” เป็น “... “ส.ก.”
ภายใต้พระมหามงกุฎ ...” และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 17/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเชล
และน้ำมันอื่น ๆ ที่คล้ายกัน ตั้งแต่วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม
๒๕๖๕
เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผ่านราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ลดลงโดยตรง
และสะท้อนไปยังราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จะลดลงตามไปด้วย
อันเนื่องมาจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่เป็นต้นทุนทางอ้อมลดราคาลง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าว
ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก ตลอดจนรายงาน
ติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินมาตรการเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น พ.ศ. .... | ดศ. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับอัตราไปรษณียากรสำหรับบริการไปรษณียภัณฑ์ในประเทศใหม่
ให้สอดคล้องกับกิจการไปรษณีย์ในปัจจุบัน และเพื่อมิให้เกิดการขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้น ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่เห็นว่า การกำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่สามารถทำได้
และการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขกรณีส่วนลดสำหรับไปรษณียภัณฑ์เป็นการมอบอำนาจช่วงไม่อาจทำได้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่า บริษัท ไปรษณีย์ไทย
จำกัด ควรยกระดับคุณภาพการให้บริการ
โดยอาจนำเทคโนโลยีหรือรูปแบบการบริการอื่นมาสนับสนุน และประชาสัมพันธ์การปรับอัตราค่าบริการขั้นสูงสุดและยังคงมีส่วนลดค่าบริการให้แก่ลูกค้า
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้รับความเห็นของรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอขอให้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ลดอัตราค่าบริการฝากส่งสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และเกษตรกร ไปพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | ผลการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 6 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 6 และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 3 | กก. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน
ครั้งที่ ๖ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน
ครั้งที่ ๖ และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่
๓ ผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๔
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือด้านกีฬาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
รวมทั้งทบทวนและประเมินผลโครงการและกิจกรรมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียนและองค์กรย่อยตามแผนการดำเนินการด้านกีฬาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์แผนงานประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
และสายงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากีฬาอาเซียน และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้การรับรองเอกสารต่อร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน
ครั้งที่ ๖ และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่
๓ ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนถ้อยคำในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าคณะรัฐมนตรีสามารถพิจารณารับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ครั้งที่ ๖
และการประชุมที่เกี่ยวข้องได้ตามที่เห็นสมควร
และควรให้ความสำคัญกับมาตรการรักษาความปลอดภัยด้านสุขอนามัย และควรมีกรอบแผนการดำเนินงานในการพัฒนาการกีฬาให้ครอบคลุม
โดยคำนึงถึงบริบทการดำเนินชีวิตตามแนววิถีใหม่ (New Normal)
เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านกีฬาที่ยั่งยืนต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร | นร.08 | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๕ จนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ๒. เห็นชอบและรับทราบร่างประกาศ ดังนี้ ๒.๑ เห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่
๑๗) และร่างประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ๒.๒ รับทราบร่างประกาศ เรื่อง
การให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งนายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ รวม ๓ ฉบับ
ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | ร่างแถลงข่าวร่วม (Joint Press Statement) สำหรับการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย | กต. | 22/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงข่าวร่วมสำหรับการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ และให้นายกรัฐมนตรีร่วมรับรองร่างแถลงข่าวร่วมฯ
ในการหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ โดยร่างแถลงข่าวร่วมฯ
มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองระดับผู้นำรัฐบาลของทั้งสองประเทศในโอกาสที่นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเยือนไทยหลังจากการเข้ารับตำแหน่งใหม่
เพื่อย้ำการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่าง ๆ ได้แก่
การฟื้นฟูความเชื่อมโยง การกระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจ การกระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงเพื่อรักษาเสถียรภาพ
และการรื้อฟื้นกลไกความร่วมมือทวิภาค ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงข่าวร่วมสำหรับการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | สรุปการดำเนินโครงการ Country Programme (CP) ระยะที่ 1 ระหว่างไทยกับ OECD | นร.11 สศช | 15/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการภายใต้ Country
Programme (CP) ระยะที่ ๑ มีระยะเวลาดำเนินการ ๒-๓ ปี
มีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่าง OECD กับไทยอย่างบูรณาการ
เพื่อให้ไทยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ และแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD ๒.
เห็นชอบมอบหมายสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจละสังคมแห่งชาติและกระทรวงการต่างประเทศ
ดำเนินการร่วมกันในการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดทำโครงการภายใต้ CP ระยะที่ ๒
โดยพิจารณาจากประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ
ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาของไทยและความคุ้มค่าด้านงบประมาณ ทั้งนี้
เห็นควรให้กระทรวงการต่างประเทศ. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจ
(MOU) เกี่ยวกับ CP ระยะที่ ๒
ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
(Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) โดยคำนึงถึงความต่อเนื่องและความสอดคล้องกับนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตลอดจนพันธกรณีของไทยภายใต้ความตกลงที่เกี่ยวข้อง
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เป็นหน่วยงานหลักในการขอรับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อจ่ายเป็นเงินอุดหนุนให้กับ
OECD และงบดำเนินการที่เกี่ยวข้องโดยให้หารือกับสำนักงบประมาณ
เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการ CP ระยะที่ ๒ ตลอดจนดำเนินการติดตามผลการดำเนินโครงการและบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ๓.
เห็นชอบมอบหมายกระทรวงการต่างประเทศ ศึกษาถึงความพร้อมและความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิก
OECD ตลอดจนประโยชน์ในการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิก
OECD ที่ไทยจะได้รับเนื่องด้วยการมีส่วนร่วมกับ OECD จะช่วยให้ไทยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD ในการยกระดับมาตรฐานนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ของไทยให้ทัดเทียมสากล
ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาขีดความสามารถและปฏิรูปกฎระเบียบภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้น ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรพิจารณาจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อจัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | ขออนุมัติปรับกรอบวงเงินลงทุนและจัดหาแหล่งเงินเพิ่มเติม กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้แหล่งเงินกู้ ECP กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มงวด 27 ถึง 29 กรณีความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และกรณีค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรจากการนำเข้า (Import VAT & Import Duty) พร้อมทั้งขออนุมัติจัดหาแหล่งเงินรองรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต และช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน | คค. | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย
(รฟท.) ปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) (โครงการฯ
สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน ๒,๙๑๗,๗๕๒,๑๓๗.๙๕ บาท และอนุมัติให้กระทรวงการคลังกู้เงินในประเทศเพื่อให้ รฟท. กู้ต่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการฯ
ช่วงบางซื่อ-รังสิต ภายใต้กรอบวงเงิน ๗,๐๗๘,๘๙๓,๙๑๑.๐๙ บาท
เพื่อชำระค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรจากการนำเข้าต่าง ๆ ให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
จำนวน ๒,๐๑๑,๔๖๓,๙๒๒.๗๐
บาท จ่ายค่างานโยธา งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหาตู้รถไฟฟ้า และค่าที่ปรึกษา
เนื่องจากความผันผวนของอัตราการแลกเปลี่ยน จำนวน ๔,๔๐๖,๗๔๑,๓๒๑.๑๙ บาท และชำระค่าอากรจากการนำเข้า จำนวน ๖๖๐,๖๘๘,๖๖๗.๒๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๕,๐๖๗,๔๒๙,๙๘๘.๓๙ บาท รวมทั้งอนุมัติให้ รฟท.
กู้เงินในประเทศและให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นที่ต้องชำระผู้รับจ้างในส่วนที่เป็นเงินเยนจากความผันผวนของอัตราการแลกเปลี่ยนเนื่องจากเงินบาทแข็งค่ามากกว่าที่ประมาณการไว้
และค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าของระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหารถตู้ไฟฟ้า
ของโครงการฯ ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน ๙๐๖,๒๘๘,๒๑๕.๒๕ บาท โดยให้ รฟท. รับภาระเงินต้น ดอกเบี้ย
และค่าใช้จ่ายอื่นในการกู้เงิน และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน
วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ
ของการกู้เงินตามความเหมาะสมและจำเป็น ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร
๐๗๒๐/๑๖๒๐ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๔)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ นร ๑๑๐๖/๕๙๒๙ ลงวันที่ ๘
ตุลาคม ๒๕๖๔) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง ที่ควรเร่งตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงานเพิ่ม
(Variation Order) และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับการจ้างที่ปรึกษาในโครงการฯ
ให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว ให้ความสำคัญกับการติดตามการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
และพิจารณาแนวทางการลงทุนในส่วนต่อขยายให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อสามารถดำเนินโครงการต่อไปได้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงคมนาคมหารือกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณากำหนดแนวทางการบริหารโครงการลงทุนขนาดใหญ่อย่างเป็นระบบ
ครอบคลุมประเด็นการบริหารจัดการปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการลงทุนดังกล่าว
อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ต่อไป
|