ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 4 จากข้อมูลทั้งหมด 4 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | แนวคิดการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ | ยธ. | 19/10/2564 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบผลการศึกษาแนวทางการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์
ซึ่งเป็นการดำเนินการในลักษณะของความร่วมมือระหว่างกระทรวงยุติธรรม
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)
และผู้ประกอบการภาคเอกชนในการดำเนินการจัดตั้งนิคมฯ ซึ่งกระทรวงยุติธรรม
(กรมราชทัณฑ์) จะดำเนินการพัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงานของนักโทษที่ได้รับการพักการลงโทษและพ้นโทษแล้วให้เข้าทำงานในนิคมฯ
โดยความสมัครใจ และจัดให้มีมาตรการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้ผู้ประกอบการเข้ามาลงทุน
เช่น จัดให้มีเขตปลอดอากร จัดให้มีสถานีรถไฟ/ท่าเรือเพื่อขนส่งหรือขนถ่ายสินค้า
การยกเว้นภาษีส่วนบุคคลให้แก่แรงงานเป็นเวลา ๓ ปี
และการเข้าถึงสินเชื่อบุคคลดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
สำหรับแนวทางการจัดตั้งนิคมฯ และแนวทางการสนับสนุนของ กนอ. นั้น ให้ กนอ.
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามความจำเป็น เหมาะสม โดยให้ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ๒.
ให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อสังเกต
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักนายกรัฐมนตรี
(สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น
ควรให้มีการพิจารณาหลักสูตรการฝึกวิชาชีพให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมเน้นการสร้างจุดเด่นในการฝึกอาชีพเฉพาะด้านในแต่ละเรือนจำและทัณฑสถาน
เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||
2 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 2/2564 เรื่อง การจัดตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติม | สกพอ. | 05/10/2564 | ||||||||||||||||||
3 | ผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปค (APEC Business Advisory Council: ABAC) และการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2021 (Ministers Responsible for Trade Meeting 2021) | พณ. | 24/08/2564 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปค
และการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี ๒๐๒๑ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการกระชุมฯ
ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยนิวซีแลนด์ได้จัดการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปค
เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๔ และการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี ๒๐๒๑ เมื่อวันที่
๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว สรุปได้ ดังนี้ (๑) การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปค
ได้เน้นย้ำเรื่องการกระจายการฉีดวัคซีนโควิด-๑๙
ที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชนในเอเปคอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม (๒) การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค
ประจำปี ๒๐๒๑ มีการแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นการสนับสนุนความร่วมมือในการรับมือโควิด-๑๙
ในระดับภูมิภาคและระบบการค้าพหุภาคี และ (๓) รัฐมนตรีการค้าเอเปคได้ร่วมรับรองแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีการค้าเอเปค
ประจำปี ๒๕๖๔ แถลงการณ์เอเปคเรื่องห่วงโซ่อุปทานวัคซีนโควิด-๑๙ และแถลงการณ์เอเปคเรื่องการบริการเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีความจำเป็น
โดยมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำแต่ไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑ มิถุนายน
๒๕๖๔) เห็นชอบ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพลังงาน ที่เห็นควรมีการติดตามอย่างใกล้ชิดถึงแนวทางการปรับปรุงรายการสินค้าสิ่งแวดล้อมตามพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์
ติดตามประเด็นที่เกี่ยวข้องจากการประชุมอย่างใกล้ชิด
และหารือถึงการบูรณาการกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ครบถ้วนก่อนดำเนินการในระยะต่อไป
และควรพิจารณาถึงความจำเป็นของประเทศไทยที่ยังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล
และยังคงมีการดำเนินนโยบายการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลในบางกรณีเป็นการเฉพาะเจาะจง
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเฉพาะกลุ่ม
ในช่วงที่เกิดสถานการณ์วิกฤติที่จำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน
โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||
4 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 10/2564 | นร.04 | 20/07/2564 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (โควิด-
19) (ศบค.) ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๔ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๔ สรุปได้ดังนี้ ๑) การประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 ในห้วงปัจจุบัน และวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต
พร้อมข้อเสนอเกี่ยวกับมาตรการรองรับ ๒) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ Antigen Test Kit ๓) มาตรการการควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ
(Bubble and Seal) มาตรการแยกกักตัวที่บ้าน (Home
Isolation) และมาตรการแยกกักตัวที่ศูนย์ดูแลโควิดชุมชน (Community
Isolation) ๔) ประเด็นเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ๕)
ที่ประชุมได้หารือแนวทางในการออกข้อกำหนดตามความในมาตรา ๙
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๘)
และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(โควิด-19) ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๔ เรื่อง
พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดพื้นที่ควบคุมสูงสุด
พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูง ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามที่สำนักงานเลขาธิการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เสนอ
|