ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 24 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | สรุปผลการพิจารณามาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ | รง. | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การแก้ไขข้อขัดข้องให้กับคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 และการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว | รง. | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การอนุญาตให้ผู้ควบคุมอากาศยานต่างชาติ (นักบิน) ทำการบินในเส้นทางการบินภายในประเทศเป็นการชั่วคราว | รง. | 03/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการอนุญาตให้ผู้ควบคุมอากาศยานต่างชาติ
(นักบิน) ทำการบินในเส้นทางการบินภายในประเทศเป็นการชั่วคราว
โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๔ แห่งพระระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อยกเว้นให้ผู้ควบคุมอากาศยานต่างชาติ
(นักบิน) ที่มาพร้อมอากาศยาน (เครื่องบิน) สามารถทำงานได้เป็นการชั่วคราว และเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงแรงงาน
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ประจำหน้าที่นักบิน
หรือผู้ควบคุมอากาศยานในอากาศยานด้วยวิธีการเช่าพร้อมผู้ประจำหน้าที่ (Wet Lease) และประชาสัมพันธ์
สร้างการรับรู้และความเข้าใจให้นายจ้าง ผู้ประกอบการ คนต่างด้าว
และผู้ที่เกี่ยวข้อง รับทราบข้อมูลการดำเนินการดังกล่าวอย่างทั่วถึง ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ๒. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ประจำหน้าที่นักบินประจำอากาศยานด้วยวิธีการเช่าพร้อมผู้ประจำหน้าที่
(Wet Lease) ตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ดังนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมชื่อร่างประกาศเป็น
“ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวซึ่งจะเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ประจำหน้าที่นักบินประจำอากาศยานด้วยวิธีการเช่าพร้อมผู้ประจำหน้าที่
(Wet Lease) ตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ”
เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพิ่มการกำหนดขอบเขตการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามร่างประกาศนี้ให้ชัดเจนว่าคนต่างด้าวมีสิทธิทำงานเฉพาะงานขับขี่เครื่องบินในประเทศกับผู้ดำเนินการเดินอากาศและอากาศยานที่ระบุไว้ในหนังสือแจ้งที่ได้รับจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
และจะทำงานอื่นหรือทำงานกับนายจ้างรายอื่นมิได้ (ร่างข้อ ๔) เป็นต้น
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... | นร.09 | 29/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสียใหม่ โดยยกเลิกกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๘ และแก้ไขชื่อ “คณะเทคโนโลยี” เป็น “คณะเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์”
เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจและการดำเนินงานในปัจจุบัน
โดยเป็นการปรับชื่อส่วนราชการระดับคณะที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา
และสอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศให้มีประสิทธิภาพ
และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | รัฐบาลสาธารณรัฐโอเรียนทัลอุรุกวัยเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐโอเรียนทัลอุรุกวัยประจำประเทศไทย (นางบาเลเรีย ซูกาซี กาเบรรา) | กต. | 01/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางบาเลเรีย ซูกาซี
กาเบรรา (Mrs. Valeria Csukasi Cabrera) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐโอเรียนทัลอุรุกวัย
ประจำประเทศไทยคนใหม่ โดยมีถิ่นพำนัก ณ
กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย สืบแทน นางเอลซา นูรี เบาซาน เบนซาโน (Mrs. Elsa Nuy Bauzan Benzano)
ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2566 ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย | มท. | 01/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง
- ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย
และอนุมัติให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคระบาดอันตราย
โดยดำเนินการผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูล การฝึกอบรม เป็นต้น ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้ กระทรวงการต่างประเทศ เห็นว่าร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นว่ากระทรวงมหาดไทยควรวิเคราะห์และประเมินผลจากการร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับด้วย
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การมอบหมายให้กรมท่าอากาศยานมอบความรับผิดชอบการบริหารท่าอากาศยานตากให้กับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร | คค. | 01/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมอบหมายให้กรมท่าอากาศยานมอบความรับผิดชอบการบริหารท่าอากาศยานตากให้กับกรมฝนหลวงและการบินเกษตรตามนัยข้อ
๑ (๔) แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบข้อ
๑ (๕) แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. ๒๕๕๖ ก่อนกรมท่าอากาศยาน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
และกรมธนารักษ์ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้กระทรวงคมนาคม (กรมท่าอากาศยาน)
และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมฝนหลวงและการบินเกษตร) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงาน ก.พ. รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงบประมาณ เห็นว่าค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและค่าบริหารจัดการท่าอากาศยานตากที่จะเกิดขึ้นให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
และ/หรือจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายประมาณ โดยคำนึงถึงภารกิจ
ความคุ้มค่า ประหยัด ความจำเป็นและเหมาะสม ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน
และประโยชน์ที่ทางราชการและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป สำนักงาน ก.พ. เห็นว่ากรมท่าอากาศยานควรกำหนดแผนการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานตาก
เพื่อรองรับการดำเนินการตามแนวทางการมอบความรับผิดชอบการบริหารท่าอากาศยานดังกล่าว
โดยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ
และระเบียบที่เกี่ยวข้องตามประเภทของบุคลากรด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2567 | รง. | 24/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ๒. อนุมัติในหลักการ ๒.๑
ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ... ๒.๒
ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ... รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๓. เห็นชอบในหลักการ ๓.๑
ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ... ๓.๒
ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ... ๓.๓
ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การขยายระยะเวลาการเปลี่ยนนายจ้างและระยะเวลาการทำงานกับนายจ้างรายใหม่
สำหรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
ภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ ๓.๔
ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การยกเว้นการแจ้งข้อมูลการทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๔/๒ รวม
๔ ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข
ที่เห็นว่าการทำประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยจะต้องมีสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าการทำประกันสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
และอายุความคุ้มครองต้องไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตทำงาน
รวมทั้งในกรณีที่นายจ้างได้รับการยกเว้นไม่ต้องเข้าประกันสังคม
คนต่างด้าวต้องทำประกันสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๔.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการต่างประเทศ เห็นควรสนับสนุนการบริหารจัดการให้แรงงานต่างด้าวในไทยมีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
และเพื่อให้แรงงานต่างด้าวได้รับการคุ้มครองและเข้าถึงสิทธิที่พึงได้ตามกฎหมาย และอาจพิจารณาแจ้งแนวทางดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของราชอาณาจักรกัมพูชา
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามทราบและปฏิบัติให้สอดคล้องกันด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ขออนุมัติเพิ่มวงเงินและขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการก่อสร้างหอผู้ป่วยใน 7 ชั้น (จำนวน 156 เตียง) เป็นอาคาร คสล. 7 ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ 6,184 ตารางเมตร โรงพยาบาลสีคิ้ว ตำบลมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 1 หลัง | สธ. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างรายการหอผู้ป่วยใน ๗
ชั้น (จำนวน ๑๕๖ เตียง) เป็นอาคาร คสล. ๗ ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ ๖,๑๘๔ ตารางเมตร โรงพยาบาลสีคิ้ว ตำบลมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว
จังหวัดนครราชสีมา ๑ หลัง จำนวนเงิน ๕๑,๔๖๓,๗๐๐ บาท ซึ่งจากเดิมได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
จำนวน ๑๐๖.๓ ล้านบาท เป็นวงเงินก่อสร้างรวมทั้งสิ้น ๑๕๗,๗๒๕,๒๐๐ บาท โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จำนวน
๑๕,๙๓๙,๓๐๐ บาท ที่ได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้แล้ว
ส่วนที่เหลือ จำนวน ๑๔๑,๗๘๕,๓๐๐ บาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ - พ.ศ. ๒๕๗๐ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้กระทรวงสาธารณสุข
(สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข) เร่งรัดติดตามการดำเนินการก่อสร้างอาคารหอผู้ป่วยใน
๗ ชั้น โรงพยาบาลสีคิ้ว ตำบลมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปดำเนินการด้วย
เช่น กระทรวงการคลัง เห็นควรเร่งรัดดำเนินการเพื่อให้สามารถเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างได้โดยเร็ว
เพื่อไม่ให้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ พับไปโดยผลของกฎหมาย และขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นควรมีการเร่งรัดและกำกับการดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องและข้อกำหนดในสัญญา
เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... | สธ. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตผลิต นำเข้า
ส่งออก หรือจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ.ร. ที่เห็นควรเร่งดำเนินการตามมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนและเผยแพร่ตามช่องทางที่กำหนด
รวมถึงในเว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (www.info.go.th)
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ผลการประชุมสมัชชากองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ครั้งที่ 7 และการรับรองข้อเสนอโครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุน Global Biodiversity Framework Fund (GBFF) | ทส. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. รับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
ดังนี้ ๑.๑
รับทราบผลการประชุมสมัชชากองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF
Assembly) ครั้งที่ ๗ ที่มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๒-๒๖ สิงหาคม
๒๕๖๖ ณ นครแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา โดยผลการประชุม GEF Assembly ครั้งที่ ๗ มีสาระสำคัญ เช่น
ที่ประชุมให้การรับรองข้อมติเรื่องการจัดตั้งกองทุน Global Biodiversity
Framework Fund (GBFF) เพื่อเป็นกลไกทางการเงินสนับสนุนการดำเนินงานตามเป้าหมายของกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก
โดยประเทศแคนาดาจะบริจาคเงินเข้ากองทุน GBFF จำนวน ๒๐๐
ล้านดอลลาร์แคนาดา และสหราชอาณาจักรจะบริจาคเงินเข้ากองทุน GBFF จำนวน ๑๐ ล้านปอนด์สเตอร์ลิง นอกจากนี้ ธนาคารโลก (World Bank) ในฐานะผู้จัดการดูแล (Trustee) ของกองทุน GBFF
จะเร่งจัดตั้งและระดมเงินเข้ากองทุนดังกล่าว ในเดือนมกราคม ๒๕๖๗
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอโครงการที่จะขอรับการสนับสนุนจากกองทุน GBFF ๑.๒
มอบหมายให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมปฏิบัติหน้าที่หน่วยงานกลางประสานการดำเนินงานของกองทุน
GBFF ของประเทศไทย มีอำนาจในการพิจารณาให้การรับรองข้อเสนอโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน
GBFF ๑.๓
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน GBFF นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการลงนามในข้อตกลงทางการเงินสำหรับกรณีที่โครงการได้รับอนุมัติสนับสนุนทางการเงินจากกองทุน
GBFF และมีข้อผูกพันทางการเงินที่เป็นตัวเงิน (In
Cash) ร่วมสนับสนุนในการดำเนินโครงการ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและกระทรวงมหาดไทย
รวมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่เห็นควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบเกี่ยวกับการขอรับการสนับสนุน
รวมทั้งควรมีการสื่อสารและประสานงานให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงช่องทางระดมทุน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
การขอรับการสนับสนุนจากกองทุน GBFF ในเรื่องใด ๆ
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายละเอียด
ความจำเป็นเหมาะสม และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างรอบคอบและรอบด้าน
ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ (เรื่อง การขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ)
อย่างเคร่งครัด |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | โครงการเพิ่มการผลิตบุคลากรสาขาพยาบาลศาสตร์ (ปีการศึกษา 2566-2570) | อว. | 30/07/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการเพิ่มการผลิตบุคลากรสาขาพยาบาลศาสตร์
(ปีการศึกษา ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) เพื่อผลิตพยาบาลวิชาชีพ จำนวน ๕
รุ่น จำนวนรวมทั้งสิ้น ๑๕,๙๘๕ คน ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ
จำนวน ๑๑๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี หรือ ๔๔๐,๐๐๐
บาท/คน/หลักสูตร
ซึ่งเป็นอัตราค่าใช้จ่ายเดิมตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในโครงการเพิ่มการผลิตฯ
ระยะที่ ๑ (ปีการศึกษา ๒๕๖๑ - ๒๕๖๒) สำหรับวงเงินงบประมาณจนสิ้นสุดโครงการ จำนวน ๗,๐๓๓,๔๐๐,๐๐๐ บาท ให้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
พร้อมทั้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และกรุงเทพมหานครรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ข้อเสนอแนะของสำนักงาน ก.พ.ร. และข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นควรกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขการชดใช้ทุนสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการฯ
เพื่อให้การใช้งบประมาณแผ่นดินสนับสนุนการผลิตบุคลากรสาขาพยาบาลศาสตร์เป็นไปอย่างคุ้มค่า
มีประสิทธิภาพ สอดรับกับทิศทางการพัฒนาด้านสาธารณสุขของประเทศ สำนักงาน ก.พ. เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรบริหารอัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์
การพยาบาล และการสาธารณสุข
ตามหลักการและแนวทางการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ
(คปร.) กำหนดไว้ในมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. ๒๕๖๒ - ๒๕๗๐) ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการประชุมเมื่อวันที่
๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖ เพื่อให้การบริหารอัตรากำลังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
ตลอดจนสอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศในภาพรวม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 57 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กต. | 23/07/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ครั้งที่ ๕๗ และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๗ ฉบับ ได้แก่ ๑) ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ครั้งที่ ๕๗ ๒) ร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน - สหราชอาณาจักร : การเสริมสร้างความเชื่อมโยงเพื่ออนาคตที่เจริญรุ่งเรืองและยั่งยืน
๓) ร่างแถลงการณ์ร่วมของ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน -
จีนว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม ๔)
ร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและรัสเซีย เฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ ๒๐
ปี
ของการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของรัสเซีย
๕)
ร่างแถลงการณ์ของการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย
- แปซิฟิกว่าด้วยเพิ่มพูนความร่วมมือระดับภูมิภาคด้านความปลอดภัยของเรือโดยสาร ๖)
ร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย และ ๗)
ร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยราชรัฐลักเซมเบิร์ก โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ทั้ง ๕ ฉบับ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจาในการส่งเสริมความร่วมมือและต่อยอดการดำเนินงานในด้านต่าง
ๆ
โดยมิได้มีการใช้ถ้อยคำที่มุ่งหมายให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ
กรณีดังกล่าวจึงไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมลงนามในร่างหนังสือฯ
ทั้ง ๒ ฉบับ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแสดงความยินยอมฝ่ายเดียวของประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มิใช่การทำหนังสือสัญญาขึ้นใหม่ประเทศสมาชิกอาเซียน
กรณีจึงดังกล่าวไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา
๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การเร่งรัดออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 | นร.05 | 16/07/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว เห็นว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ (เรื่อง การเร่งรัดออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา
๒๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๒) เห็นชอบแนวทางการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยเร่งรัดออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด
ตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งต่อมาหน่วยงานต่าง ๆ
ได้เสนอขอขยายระยะเวลาดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว นั้น บัดนี้
จะครบกำหนดการขยายระยะเวลาการดำเนินการดังกล่าว
โดยเฉพาะกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะต้องออกตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะครบกำหนดในวันที่
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ดังนั้น
เพื่อให้การดำเนินการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและตรงตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการดังกล่าว ให้มีผลบังคับใช้ก่อนวันที่
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2567-2570) | นร.12 | 09/07/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
(พ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๗๐) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาระบบราชการของไทย
โดยมุ่งเน้นการเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีความทันสมัย
พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ และยกระดับการให้บริการประชาชน
โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑) วิสัยทัศน์ “ภาครัฐที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ
มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน” และมีเป้าหมายสู่การเป็น “รัฐที่ล้ำหน้าและรัฐที่เปิดกว้าง”
๒) ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ จำนวน ๓ ยุทธศาสตร์
ได้แก่ (๑) ยุทธศาสตร์การยกระดับบริการภาครัฐโดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
(๒) ยุทธศาสตร์การลดบทบาทภาครัฐและเปิดการมีส่วนร่วมกับภาคส่วนอื่น และ (๓)
ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนผลิตภาพภาครัฐด้วยนวัตกรรมและดิจิทัล ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการาชการเสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการรับความเห็น ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
(องค์การมหาชน) ไปพิจารณาประกอบการปรับปรุงแก้ไข (ร่าง)
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น
ก่อนให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐนำไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินภารกิจของหน่วยงานต่อไป
เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เห็นควรมีการวางระบบติดตามและประเมินผล เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานตามกลยุทธ์และแผนยุทธศาสตร์อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะ (Skill) และการปรับกระบวนการทางความคิด (Mindset) ของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้มีความพร้อม
สามารถรองรับกระบวนการทำงานในรูปแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการทบทวนและปรับปรุงกฎหมาย
กฎ และระเบียบ ให้มีความทันสมัย
และไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานและการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กระทรวงพลังงาน เห็นควรมีการกำหนดบทบาทและขอบเขตการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานที่ชัดเจน
เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการดำเนินงาน
เกิดการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริงต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ ปี 2566 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค | มท. | 21/05/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ ปี ๒๕๖๖ จำนวน ๕ แผนงาน ภายในกรอบวงเงินรวม
๓,๐๕๒.๐๐
ล้านบาท โดยให้ทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็น ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ให้กระทรวงมหาดไทย (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน สำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๑๕/๔๕๗๑ ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ นร ๑๑๒๔/๙๐๓ ลงวันที่ ๑๓
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น กระทรวงการคลัง เห็นควรเร่งเตรียมความพร้อมระบบส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย
(Grid Modemization) เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด
(Energy Transition) และแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยที่มุ่งเน้นการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
(Renewable Energy) และควรพิจารณาใช้จ่ายเงินลงทุนจากเงินรายได้เป็นลำดับแรก
โดยพิจารณาฐานะการเงินในแต่ละปีประกอบด้วย
และกู้เงินเพื่อลงทุนตามความจำเป็นในภารกิจหลักขององค์กรเพื่อลดความเสี่ยงจากภาระหนี้ขององค์กรในระยะยาว สำนักงบประมาณ เห็นควรบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และพิจารณาเบิกเงินกู้เท่าที่จำเป็นเพื่อไม่ให้เกิดภาระดอกเบี้ยต่อองค์กรในระยะยาว
โดยการดำเนินการกู้เงินดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ภายใต้วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานอย่างถูกต้องครบถ้วน
ประโยชน์ที่จะได้รับ และคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรพิจารณากู้เงินตามความจำเป็นโดยพิจารณาฐานะการเงินในปีนั้น
ๆ ประกอบด้วย เพื่อลดความเสี่ยงด้านภาระหนี้สินขององค์กรในระยะยาว |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. .... | นร.12 | 02/04/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
เพื่อลดขั้นตอนการอนุญาตที่ไม่จำเป็น ปรับปรุงระบบและขั้นตอนการอนุญาตให้สะดวกและทันสมัยยิ่งขึ้น
รวมทั้งลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการอนุมัติ อนุญาต อันจะนำไปสู่การลดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า
ต้นทุน ผลประโยชน์ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติ มาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ควรกำหนดให้มีการตรวจสอบ
ทบทวน และปรับปรุงกระบวนการ
ขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตตามที่กำหนดในคู่มือประชาชนเป็นประจำอย่างน้อย
๒ ปี ตามร่างมาตรา ๘ วรรคสี่ เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป
โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นร่างกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด
๑๖ การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ๓.
เห็นชอบข้อเสนอการทดลองดำเนินการตามหลักการสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน
พ.ศ. .... และมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาคัดเลือกและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทดลองดำเนินการตามหลักการสำคัญต่อไป
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | การผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 | รง. | 26/03/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา
เดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๗
ในช่วงระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๗
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการดำเนินการ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ๒. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา
ลาว และเมียนมา
ซึ่งเข้ามาเพื่อทำงานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานหรือได้รับอนุญาตทำงานในเรือประมงและมีหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรกลับประเทศต้นทางเพื่อไปร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี
พ.ศ. ๒๕๖๗ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงซาเกร็บ สาธารณรัฐโครเอเชีย และการปรับสถานะสถานทำการทางกงสุลจากสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ กรุงซาเกร็บ สาธารณรัฐโครเอเชียเป็นสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงซาเกร็บ สาธารณรัฐโครเอเชีย (นายสเตียปัน ชูริช) | กต. | 26/03/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ดังนี้ ๑. แต่งตั้ง นายสเตียปัน ชูริช (Mr. Stjepan Curic) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงซาเกร็บ สาธารณรัฐโครเอเชีย
โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมสาธารณรัฐโครเอเชีย สืบแทน นายอะลอยซีเย ปัพโลวิช (Mr.
Alojzije Pavlovic) กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ กรุงซาเกร็บ สาธารณรัฐโครเอเชีย
ที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 20/02/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่
..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยกำหนดให้กรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เกี่ยวกับการจัดประชุมระดับผู้นำประเทศ
หรือระดับรัฐมนตรีขึ้นไปที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ และการประชุมที่เกี่ยวข้องทุกระดับ
รวมทั้งการเตรียมการ
การประชาสัมพันธ์หรือการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว
สามารถกระทำได้โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
เพื่อให้การจัดงานดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมกับการที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมผู้นำความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ
(Bay of Bengal Initiative for
Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation-BIMSTEC) ครั้งที่
๖ ในปี ๒๕๖๗ และการประชุมอื่น ๆ ต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|