ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 3 จากข้อมูลทั้งหมด 3 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | มาตราการช่วยเหลืออสังหาริมทรัพย์ภายใต้ Flexible Plus Program | กก. | 19/10/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับบัตรสมาชิกพิเศษ (Thailand Privilege Card) อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการทำงาน
และร่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับบัตรสมาชิกพิเศษ
(Thailand Privilege Card) อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการทำงาน รวม ๒ ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับบัตรสมาชิกพิเศษ (Thailand Privilege Card) อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการทำงาน รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการลงทุน
เพื่อเข้าร่วมโครงการ Flexible Plus Program ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ควรปรับปรุงข้อกำหนดข้างต้นเป็น
“ลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. 2535” เพื่อให้ร่างหลักเกณฑ์ข้างต้นมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงแรงงาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการในเรื่องนี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของตน
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ และธนาคารแห่งประเทศไทย ที่อาจพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เอื้อให้เกิดการลงทุนและขยายกิจการที่สร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในระยะยาว
และพิจารณามาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศเพิ่มเติมร่วมด้วย
เนื่องจากกำลังซื้อในตลาดหลักทรัพย์ของไทยส่วนใหญ่มาจากผู้ซื้อภายในประเทศ เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรจัดทำกลยุทธ์การตลาด เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมาย
และแนวทางการบริหารความเสี่ยงเพิ่มเติม ที่สะท้อนให้เห็นความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน
และผลกระทบต่อการช่วยเหลืออสังหาริมทรัพย์ และเศรษฐกิจในภาพรวม
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๔. ให้กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
โดยให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหารือร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ
มาประกอบการพิจารณากำหนดสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องภายใต้มาตรการของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การนำแนวทางการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ สำหรับหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างหรือการร่วมลงทุนภายใต้กฎหมายอื่น นอกเหนือจากพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ไปกำหนดใช้โดยอนุโลม | กค. | 29/06/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการนำแนวทางการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม
(Integrity Pact)
ตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
สำหรับหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างหรือการร่วมลงทุนภายใต้กฎหมายอื่น
นอกเหนือจากพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
ไปกำหนดใช้โดยอนุโลม
เพื่อสนับสนุนให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
รวมถึงสร้างความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้อย่างครอบคลุมทุกโครงการจัดซื้อจัดจ้างในทุกหน่วยงานของรัฐ
ตามที่คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ กระทรวงการคลัง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรมีการจัดทำข้อกำหนดของเป้าหมายการดำเนินงานดัชนี
และตัวชี้วัดของข้อตกลงคุณธรรมดังกล่าว
และควรกำหนดให้ชัดเจนว่าจะนำไปใช้ในกรณีใดในทางปฏิบัติต่อไป เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทุกแห่งถือปฏิบัติตามแนวทางการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม
(Integrity Pact) ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบตามข้อ ๑ อย่างเคร่งครัด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาววิจิตา รชตะนันทิกุล) | พม. | 19/01/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสาววิจิตา รชตะนันทิกุล
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาวิชาการพัฒนาสังคม
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตั้งแต่วันที่
๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
|