ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 3 จากข้อมูลทั้งหมด 3 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | มาตราการช่วยเหลืออสังหาริมทรัพย์ภายใต้ Flexible Plus Program | กก. | 19/10/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับบัตรสมาชิกพิเศษ (Thailand Privilege Card) อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการทำงาน
และร่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับบัตรสมาชิกพิเศษ
(Thailand Privilege Card) อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการทำงาน รวม ๒ ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับบัตรสมาชิกพิเศษ (Thailand Privilege Card) อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการทำงาน รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการลงทุน
เพื่อเข้าร่วมโครงการ Flexible Plus Program ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ควรปรับปรุงข้อกำหนดข้างต้นเป็น
“ลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. 2535” เพื่อให้ร่างหลักเกณฑ์ข้างต้นมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงแรงงาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการในเรื่องนี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของตน
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ และธนาคารแห่งประเทศไทย ที่อาจพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เอื้อให้เกิดการลงทุนและขยายกิจการที่สร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในระยะยาว
และพิจารณามาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศเพิ่มเติมร่วมด้วย
เนื่องจากกำลังซื้อในตลาดหลักทรัพย์ของไทยส่วนใหญ่มาจากผู้ซื้อภายในประเทศ เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรจัดทำกลยุทธ์การตลาด เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมาย
และแนวทางการบริหารความเสี่ยงเพิ่มเติม ที่สะท้อนให้เห็นความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน
และผลกระทบต่อการช่วยเหลืออสังหาริมทรัพย์ และเศรษฐกิจในภาพรวม
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๔. ให้กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
โดยให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหารือร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ
มาประกอบการพิจารณากำหนดสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องภายใต้มาตรการของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนพฤษภาคม 2564 | นร.11 | 29/06/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ
เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๔ ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ
เช่น การพัฒนาระบบ eMENSCR สำหรับการกำกับ
ติดตาม และประเมินผล ความคืบหน้าของกิจกรรม Big Rock และการนำเข้าข้อเสนอโครงการภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓
รวมทั้งได้เสนอแนะประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์
โดยสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างหน่วยงานในการขอรับจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการต่าง
ๆ รวมทั้งสำนักงบประมาณต้องพิจารณาความเหมาะสมของโครงการ/การดำเนินงานของหน่วยงานกับเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางการแพทย์และการสาธารณสุข พ.ศ. 2563-2565 | สธ. | 20/04/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางการแพทย์และการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๕ โดยแผนปฏิบัติการด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ เป็นไปตามวิสัยทัศน์
“ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยได้รับบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ
ปลอดภัย และมีความมั่นใจในระบบบริการสาธารณสุขทุกระยะของการเกิดภัยอย่างทันท่วงทีในทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น”
โดยมีเป้าหมาย พันธกิจ และกรอบยุทธศาสตร์ เป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับการดำเนินงาน
รวมทั้งได้กำหนดตัวชี้วัดและกลไกการประเมินผลและติดตามเพื่อเป็นช่องทางการติดตาม
รายงานความคืบหน้า
ตลอดจนวัดประสิทธิภาพและระดับความสำเร็จของผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการดังกล่าวด้วย
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ข้อสังเกตของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของกระทรวงศึกษาธิการ เช่น (๑) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรคำนึงถึงความคุ้มค่า
ต้นทุน และผลประโยชน์ ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ ประกอบการดำเนินการภายใต้แผนปฏิบัติการด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ (๒) กำหนดความเชื่อมโยงของแผนปฏิบัติการด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ ที่ครอบคลุมถึงแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
(ฉบับปรับปรุง) และ (๓)
ให้ความสำคัญกับการจัดการภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ
ทั้งการเตรียมความพร้อมในทุกพื้นที่
การคำนึงถึงผลกระทบต่อพื้นที่และประชาชนบริเวณอื่นโดยรอบพื้นที่
และการจัดทำแผนรองรับการบริการทางการแพทย์ฯ เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินงานแผนปฏิบัติการด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ
ให้มีความชัดเจน เหมาะสม เพื่อลดความซ้ำซ้อนด้านภารกิจและงบประมาณของหน่วยงานต่าง
ๆ และกำหนดกลไกลำดับขั้นตอนในการรายงานและสื่อสารข้อมูลสถานการณ์ที่ชัดเจน
ตลอดจนมีการซักซ้อมและทดสอบประสิทธิภาพของระบบที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ
เพื่อให้มีความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์จริงอย่างเป็นเอกภาพ
รวมทั้งกำหนดกลไกการเชื่อมโยงฐานข้อมูลร่วมกันของหน่วยงานในแต่ละระดับ
เพื่อให้หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละพื้นที่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถปรับปรุงแผนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมกับสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นต่อไป |