ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 4 จากข้อมูลทั้งหมด 4 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ | กต. | 19/10/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ
ประจำปี ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๔ โดยประเทศนิวซีแลนด์
เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ผ่านระบบการประชุมทางไกล
ซึ่งนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมฯ
ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยผลการประชุมฯ มีประเด็นที่สำคัญ เช่น
การรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
และการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก การช่วยเหลือ MSMEs และการส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าการดำเนินงานควรมีการวางแผนบูรณาการการทำงานร่วมกัน
การวางแผนการจัดการความเสี่ยงหรือวางแผนการลงทุนทางสังคม ควรมีการดำเนินการควบคู่ไปกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด
19 รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจระยะยาว
และให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานหลักในการประสาน ติดตาม
และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรายงานผลสัมฤทธิ์ต่อยุทธศาสตร์ชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ขออนุมัติกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน (เงินกู้เพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่อง) วงเงิน 13,500.000 ล้านบาท และวงเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 800.000 ล้านบาท (วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2565 | คค. | 28/09/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกู้เงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ มาตรา ๓๙ (๔) โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน รวมทั้งพิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดตามความเหมาะสม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยจะดำเนินการกู้เงินได้ภายหลังจากวงเงินกู้ได้รับการบรรจุไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ที่ผ่านความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว สำหรับการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมการกู้เงิน ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป สำหรับเงินกู้เพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่องในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ วงเงิน ๑๓,๕๐๐.๐๐๐ ล้านบาท และเงินกู้ระยะสั้น (วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี) วงเงิน ๘๐๐.๐๐๐ ล้านบาท โดยให้ดำเนินการคัดเลือกสถาบันการเงินด้วยวิธีการขอเจรจาต่ออายุสัญญาเงินกู้ ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๐/๑๔๒๒๕ ลงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๔) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หนังสือสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ นร ๑๑๒๔/๓๙๐๒ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔) ไปดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 | กค. | 28/09/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติและรับทราบตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ
ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๔
ตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะเสนอ ดังนี้ ๑.๑ อนุมัติแผนฯ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕
ที่ประกอบด้วย แผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงิน ๑,๓๔๔,๗๘๓.๘๔ ล้านบาท
แผนการบริหารหนี้เดิม วงเงิน ๑,๕๐๕,๓๖๙.๖๔ ล้านบาท และแผนการชำระหนี้ วงเงิน
๓๓๙,๒๙๑.๘๗ ล้านบาท ๑.๒ อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจ จำนวน ๔ แห่ง
ได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย การเคหะแห่งชาติ
และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ที่มีสัดส่วน DSCR ต่ำกว่า ๑ สามารถกู้เงินและบริหารหนี้ภายใต้แผนฯ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕
โดยให้รัฐวิสาหกิจทั้ง ๔
แห่งดังกล่าวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการด้วย ๑.๓ รับทราบแผนความต้องการเงินกู้ระยะปานกลาง
๕ ปี (ปีงบประมาณ ๒๕๖๕-๒๕๖๙) และมอบหมายให้กระทรวงเจ้าสังกัดประสานงานกับรัฐวิสาหกิจที่เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการในกลุ่มโครงการที่ยังขาดความพร้อมในการดำเนินการ
เพื่อเร่งรัดการดำเนินการและการลงทุนเพื่อเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐในระยะต่อไป ๑.๔
อนุมัติการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อการก่อหนี้ใหม่ การกู้มาและการนำไปให้กู้ต่อ
การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ
ตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะฯ มาตรา ๗
แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ และมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
รวมทั้งอนุมัติการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนา และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้
ภายใต้กรอบวงเงินของแผนฯ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕
และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข
และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน การค้ำประกัน
และการบริหารความเสี่ยงในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้
หากรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการกู้เงินได้เอง
ก็ให้สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ ๒. ให้คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ
กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นควรติดตามและเร่งรัดหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการและเบิกจ่ายเงินกู้ให้สอดคล้องและบรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่กำหนดไว้
และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะแผนการกู้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
คุ้มค่า และเกิดประสิทธิผลต่อการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓.
ให้คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ข้อเสนอแนวทางการจัดสรรกรอบอัตรากำลังและกลไกการบริหารจัดการพนักงานราชการเฉพาะกิจ เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) | นร.10 | 08/06/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอแนวทางการจัดสรรกรอบอัตรากำลังและกลไกการบริหารจัดการพนักงานราชการเฉพาะกิจ
จำนวน ๑๐,๐๐๐ อัตรา เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) และอนุมัติการขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน ๒,๒๕๔,๓๒๐,๐๐๐ บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19)
ตามนโยบายของรัฐบาลให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ
โดยให้สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงพลังงาน
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๓๐/๑๑๑๐๘ ลงวันที่ ๑๗
พฤษภาคม ๒๕๖๔) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เกี่ยวกับการจ้างงานตามกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเฉพาะกิจที่ได้รับการจัดสรรที่กำหนดให้ส่วนราชการที่ได้รับการจัดสรรรายงานผลการจ้างงาน
ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔
พร้อมทั้งสภาพปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจให้สำนักงาน
ก.พ. ภายในวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๔ มีระยะเวลาสั้นเกินไป ส่วนราชการอาจดำเนินการไม่ทันตามระยะเวลาที่กำหนด
จึงควรขยายระยะเวลาจนถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ อีกทั้งแนวทางฯ ดังกล่าว
เป็นการบรรเทาปัญหาการว่างงานระยะสั้นเพียง ๑ ปี
ควรมีแนวทางในการแก้ปัญหาในระยะกลาง และระยะยาวต่อไป
และเพื่อให้การจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจมีความคุ้มค่ามากที่สุด ควรกำหนดผลผลิตและผลลัพธ์ในการทำงานของพนักงานราชการให้ชัดเจน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันนโยบายรัฐบาลดิจิทัลและนโยบาย BCG Economy แทนที่จะให้พนักงานราชการเฉพาะกิจนี้ทำงานปกติประจำ (routine) ซึ่งไม่มีมูลค่าเพิ่มต่อการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจมากนัก
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |