ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 3 จากข้อมูลทั้งหมด 3 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การเชื่อมโยงและปรับปรุงฐานข้อมูลประชาชนในกลุ่มเปราะบางและกลุ่มคนพิการ | นร. | 15/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
ตามที่รัฐบาลได้ดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ปี ๒๕๖๗ ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ โดยสนับสนุนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาทต่อคน ไปแล้ว นั้น
ทำให้พบว่ามีข้อมูลประชาชนกลุ่มเปราะบางและกลุ่มคนพิการอยู่ในฐานข้อมูลของหน่วยงานต่าง
ๆ ของรัฐซึ่งไม่เชื่อมโยงกัน ทำให้เกิดปัญหาข้อมูลไม่ถูกต้อง ครบถ้วน
และมีความซ้ำซ้อนกัน จึงขอมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งบูรณาการการจัดทำฐานข้อมูลของประชาชนในกลุ่มเปราะบางและกลุ่มคนพิการของหน่วยงานต่าง
ๆ ให้มีความเชื่อมโยง ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นระเบียบเดียวกัน
เพื่อจะได้นำฐานข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป
ทั้งนี้ ให้สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) (Big
Data Institute)
ให้การสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นให้แล้วเสร็จโดยเร็วด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. .... | มท. | 25/06/2567 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมเป็นเวลา
๒ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๙
เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID - 19) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้
สำนักงบประมาณ เห็นควรให้กระทรวงมหาดไทยเร่งสร้างการรับรู้และความเข้าใจ
และประโยชน์ที่จะได้รับเกี่ยวกับมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งแจ้งกระทรวงการคลังจัดทำประมาณการรายได้ เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
3 | แนวทางเพิ่มเติมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละออง PM2.5 | นร. | 06/02/2567 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่
๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๖ (เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี ๒๕๖๗ และกลไกการบริหารจัดการ)
เห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM ปี ๒๕๖๗
และกลไกการบริหารจัดการ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
รวมทั้งรับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ นั้น
จากการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์และสั่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง พบว่า
ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5
ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ยังคงอยู่ในระดับที่สูงและส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
จึงขอมอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องรับแนวทางเพิ่มเติมในเรื่องต่าง
ๆ ไปพิจารณาดำเนินการเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น ดังนี้ ๑. การตัดสิทธิในการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ (Negative Incentive) ๑.๑
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากวิธีการเผาแปลงเพาะปลูกไปใช้วิธีอื่น
เช่น การไถกลบตอซัง และให้พิจารณาตัดสิทธิการได้รับความช่วยเหลือชดเชยต่าง ๆ จากภาครัฐสำหรับเกษตรกรที่ไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการดังกล่าว ๑.๒
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการลดหรือห้ามนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านที่พิสูจน์ได้ว่ามีกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเผา ๒. การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด (Law Enforcement) ๒.๑
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุขบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องตามหน้าที่และอำนาจอย่างเคร่งครัด
เช่น ๒.๑.๑
ให้กระทรวงมหาดไทยสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดออกประกาศเขตห้ามเผา โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
พ.ศ. ๒๕๕๐ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้ฝ่าฝืนประกาศดังกล่าว ๒.๑.๒
ให้กระทรวงมหาดไทยบังคับใช้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในกรณีการเผาที่เป็นเหตุรำคาญ ๒.๒
ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการป้องกัน ปราบปราม และบังคับใช้กฎหมายกับผู้ลักลอบนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการเผาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างเข้มงวด ๒.๓
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำกับดูแลไม่ให้มีการเผาหรือการลักลอบนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการเผาในพื้นที่ความรับผิดชอบ
รวมทั้งให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการทางกฎหมายกับข้าราชการทุกระดับที่ปล่อยปะละเลยให้มีการกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างเคร่งครัดด้วย ๓. การสนับสนุนเชิงรุก (Proactive Campaign) ๓.๑
ให้กรมประชาสัมพันธ์และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
ดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเกี่ยวกับการดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศของรัฐบาล
เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหา ๓.๒
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้คำแนะนำและสร้างการรับรู้ให้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับวิธีการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรโดยไม่เผาให้ชัดเจนและทั่วถึง
เช่น การไถกลบตอซัง การแปรรูปเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นพลังงานทดแทน
รวมทั้งผลเสียของการเผา ๓.๓
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการและกำหนดมาตรการสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้มีการรับซื้อเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อนำมาแปรรูป
อันจะเป็นการลดการเผาต่อไป ๓.๔ ให้กระทรวงกลาโหมจัดกำลังพลและอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในการขนส่งเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจากพื้นที่การเกษตรไปยังโรงงานแปรรูปเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นพลังงานและปุ๋ย ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืนนำแนวทางเพิ่มเติมทั้ง ๓
ข้อดังกล่าวข้างต้นไปพิจารณาในรายละเอียดร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
และจัดทำเป็นมาตรการที่ครบถ้วนและชัดเจนมากยิ่งขึ้น แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งต่อไปด้วย
|