ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 6 จากข้อมูลทั้งหมด 6 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2565 เรื่อง ร่าง แผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ | สกพอ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เรื่อง ร่าง แผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
มีสาระสำคัญเป็นการรายงานสรุปผลการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) ที่มีมติอนุมัติร่างแผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
ซึ่งเป็นการดำเนินการในกรอบหน้าที่และอำนาจของ กพอ. ตามมาตรา ๑๑ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าว
มีวัตถุประสงค์เป็นหลักในการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจและการเงินระดับภูมิภาค และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด่วนที่สุด
ที่ นร ๑๑๑๐/๕๐๙๘ ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕) เช่น
ในการชดเชยผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเดิมควรตระหนักถึงหลักเกณฑ์การชดเชยที่มีความเป็นธรรมต่อผู้ที่ถูกเวนคืนที่ดินให้มากที่สุด
ควรเน้นสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานภายใต้ร่างแผนปฏิบัติการฯ
เห็นควรให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๖
โดยดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
2 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา | สว. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซี่งสำนักงานศาลปกครอง
โดยคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้พิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎร
ในประเด็นที่เกี่ยวกับการพิจารณาดำเนินการให้ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง
ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
และพนักงานราชการและลูกจ้างของสำนักงานศาลปกครองซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่พิเศษในศาลปกครองยะลา
ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ เงินสวัสดิการ เงินรางวัลหรือค่าตอบแทนอื่นใด
ซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกัน
ตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวเริ่มปฏิบัติหน้าที่ที่ศาลปกครองยะลาร่วมกับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีแล้ว
เห็นว่าเนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่
๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๔
มิได้บัญญัติให้คณะกรรมการบริหารศาลปกครองมีอำนาจออกระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง
ว่าด้วยค่าตอบแทนพิเศษในพื้นที่เสี่ยงภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานในศาลปกครองยะลา พ.ศ. ๒๕๖๔
โดยให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ศาลปกครองยะลาเปิดทำการได้
หากจะดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ดังกล่าว
อาจจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจยังไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการในขณะนี้
สำหรับในประเด็นข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของวุฒิสภา
ที่เกี่ยวกับระเบียบเกี่ยวกับเงินค่าตอบแทนพิเศษรวมทั้งสิทธิและประโยชน์อื่นที่จะออกตามมาตรา
๔๑/๘ (๘)
ควรมีเนื้อหาและกลไกที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ศาลปกครองสามารถพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
สำนักงานศาลปกครองได้รายงานว่าปัจจุบันได้มีระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง
ว่าด้วยการปฏิบัติงานในวันหยุดราชการเพื่อเร่งรัดคดีของศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๖๕
เพื่อให้เป็นไปตามข้อสังเกตดังกล่าวแล้ว
ซึ่งคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้มีมติให้รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตดังกล่าวไปยังสภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป ตามที่สำนักงานศาลปกครองเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||
3 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา | สผ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซี่งสำนักงานศาลปกครอง
โดยคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้พิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎร
ในประเด็นที่เกี่ยวกับการพิจารณาดำเนินการให้ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง
ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
และพนักงานราชการและลูกจ้างของสำนักงานศาลปกครองซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่พิเศษในศาลปกครองยะลา
ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ เงินสวัสดิการ เงินรางวัลหรือค่าตอบแทนอื่นใด
ซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกัน
ตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวเริ่มปฏิบัติหน้าที่ที่ศาลปกครองยะลาร่วมกับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีแล้ว
เห็นว่าเนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่
๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๔
มิได้บัญญัติให้คณะกรรมการบริหารศาลปกครองมีอำนาจออกระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง
ว่าด้วยค่าตอบแทนพิเศษในพื้นที่เสี่ยงภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานในศาลปกครองยะลา พ.ศ. ๒๕๖๔
โดยให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ศาลปกครองยะลาเปิดทำการได้
หากจะดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ดังกล่าว
อาจจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจยังไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการในขณะนี้
สำหรับในประเด็นข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของวุฒิสภา
ที่เกี่ยวกับระเบียบเกี่ยวกับเงินค่าตอบแทนพิเศษรวมทั้งสิทธิและประโยชน์อื่นที่จะออกตามมาตรา
๔๑/๘ (๘)
ควรมีเนื้อหาและกลไกที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ศาลปกครองสามารถพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
สำนักงานศาลปกครองได้รายงานว่าปัจจุบันได้มีระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง
ว่าด้วยการปฏิบัติงานในวันหยุดราชการเพื่อเร่งรัดคดีของศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๖๕
เพื่อให้เป็นไปตามข้อสังเกตดังกล่าวแล้ว
ซึ่งคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้มีมติให้รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตดังกล่าวไปยังสภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป ตามที่สำนักงานศาลปกครองเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานดอนเมืองและด่านศุลกากรหนองคาย) | กค. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน (ฉบับที่
..) พ.ศ. .... (สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานดอนเมืองและด่านศุลกากรหนองคาย)
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากร พ.ศ ๒๕๖๐
โดยกำหนดให้สนามบินดอนเมืองเป็นสำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานดอนเมือง (เดิมอยู่ภายใต้สำนักงานศุลกากร
กรุงเทพ) และกำหนดเพิ่มเติมให้บริเวณด่านศุลกากรหนองคายและสถานีรถไฟหนองคายเป็นเขตศุลกากร
ด่านศุลกากรหนองคาย (เดิมไม่ได้กำหนดไว้) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไป ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรให้ความสำคัญกับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจปล่อยสินค้าผ่านระบบ
NSW เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบขนส่งและ โลจิสติกส์ในภาพรวมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ไปพิจารณาดำเนินการ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ครั้งที่ 12 (The 12th ASEAN Ministers Meeting on Rural Development and Poverty Eradication) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | มท. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนครั้งที่
๑๒ (The 12th ASEAN Ministers Meeting on
Rural Development and Poverty Eradication : การประชุม AMRDPE
ครั้งที่ ๑๒) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ
ประกอบด้วย (๑)
รายงานของประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนเสนอต่อการประชุม
AMRDPE ครั้งที่ ๑๒ และ (๒) แถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุม AMRDPE ครั้งที่ ๑๒ และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยนำผลการประชุมฯ
ไปปฏิบัติเพื่อติดตามความคืบหน้าต่อไป ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ๒.
ในการดำเนินการจัดทำเอกสารใด ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศในครั้งต่อไปที่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการต่อไป
ให้กระทรวงมหาดไทยถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ (เรื่อง
การทำความตกลงกับต่างประเทศ การทำอนุสัญญา และสนธิสัญญาต่าง ๆ) และวันที่ ๓๐
มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
อย่างเคร่งครัด |
||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพสมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่หนึ่ง ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน | ทส. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
สมัยที่ ๑๕ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่หนึ่ง ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านระบบการประชุมทางไกล
ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ มีสาระสำคัญ ประกอบด้วย (๑)
การประชุมระดับสูง
โดยไทยได้เน้นย้ำในเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนในการฟื้นฟูระบบนิเวศ และนำเสนอการดำเนินงานเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในเชิงนโยบายของไทย
โดยเฉพาะการดำเนินนโยบาย BCG Model รวมทั้ง ได้มีการรับรองปฏิญญาคุนหมิงในระหว่างการกระชุมระดับรัฐมนตรี
ซึ่งได้มีการปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนตามความเห็นของประเทศภาคีอนุสัญญา
โดยไม่กระทบกับสาระสำคัญ (๒) การประชุมระดับเจ้าหน้าที่
ที่ประชุมได้รับทราบรายงานผลการดำเนินงานขององค์กรย่อยและคณะทำงานต่าง ๆ ภายใต้อนุสัญญาฯ
และรับรองกรอบงบประมาณ ปี ค.ศ. ๒๐๒๐ สำหรับการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ
และพิธีสารภายใต้อนุสัญญาฯ (๓) จีนมีกำหนดประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
สมัยที่ ๑๕ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่สอง ระหว่างวันที่ ๒๕ เมษายน-๘
พฤษภาคม ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาดำเนินการศึกษา
สำรวจและจัดเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศไทย
โดยอาจบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ
และพิจารณาจ้างงานนักศึกษาที่เพิ่งจบการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการสำรวจและเก็บข้อมูลต่าง
ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีงานทำและแก้ปัญหาการว่างงานของบัณฑิตใหม่ในเบื้องต้นด้วย
|