ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 5 จากข้อมูลทั้งหมด 5 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ขอความเห็นชอบแผนการดำเนินงาน กรอบงบประมาณ การจัดงาน Expo 2025 Osaka Kansai ณ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น | สธ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการดำเนินงานเข้าร่วมการจัดงาน
Expo 2025 Osaka Kansai ณ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น
และกรอบงบประมาณจำนวนเงินทั้งสิ้น ๙๗๓,๔๘๒,๐๑๑ บาท ระยะเวลาปีงบประมาณ ๒๕๖๖-๒๕๖๙ เพื่อใช้จัดงานนิทรรศการ Expo
2025 Osaka Kansai ณ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น
และมอบหมายสำนักงบประมาณพิจารณาแหล่งเงินที่เหมาะสมในการดำเนินงาน โดยให้อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
โดยตำแหน่งเป็น Commissioner General of Section (CG)
ของประเทศไทย เป็นผู้ลงนามในสัญญาต่าง ๆ สำหรับการเข้าร่วมงาน Expo
2025 Osaka Kansai ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ทั้งนี้
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดงาน Expo 2025 Osaka Kansai ให้กระทรวงสาธารณสุข
(กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม และกำกับดูแลการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
สำหรับการจัดสรรงบประมาณและแหล่งเงินในการดำเนินงานให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
การสนับสนุนบริการสุขภาพต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ก่อนลงนามในสัญญาใด ๆ อย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||
2 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... | นร.01 | 08/11/2565 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(ฉบับปรับปรุง)
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบและสภาพการณ์ปัจจุบัน
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ
และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เช่น ในการกำหนดบทนิยามคำว่า
“บุคคลในครอบครัว” ตามข้อ ๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว
ควรบัญญัติบทคำนิยามคำว่า “บุคคลในครอบครัว” ให้สอดคล้องกับบทนิยามคำว่า
“คู่ชีวิต”
ตามร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วและปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา
ข้อคิดเห็นในข้อที่ ๙ ควรพิจารณาเพิ่มข้อความว่า
“ของขวัญนั้นต้องไม่จูงใจให้เกิดการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ควรปรับปรุงร่างข้อ ๑๒ วรรคสาม
โดยใช้คำว่า “บุคคลในครอบครัว” เนื่องจากมีการกำหนดไว้ในบทนิยาม เป็นต้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้
รวมถึงการให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับเพื่อให้รับทราบและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
และให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างกลไกเพื่อบังคับใช้ร่างระเบียบดังกล่าวให้ครอบคลุมทุกหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
ปรับหลักเกณฑ์หรือสาระให้สอดคล้องกับกฎหมายที่มีอยู่ เช่น
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๔
และพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้น
และควรนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลบันทึกรายงานเกี่ยวกับการรับของขวัญด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||
3 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ) | มท. | 24/05/2565 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย
ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
||||||||||||||||||
4 | ผลการประชุม United Nations Global Sustainable Transport Conference ครั้งที่ 2 | คค. | 01/02/2565 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุม United Nations Global Sustainable Transport Conference ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๔–๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ ณ กรุงปักกิ่ง
สาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านระบบการประชุมทางไกล
โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมประชุม
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) ภาพรวมการประชุม องค์การสหประชาชาติ (United
Nations : UN) ร่วมกับจีนจัดการประชุมฯ
เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืนซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักที่สำคัญในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน
ค.ศ. ๒๐๓๐ ของ UN และได้กำหนดมาตรการเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายของประเทศ
การพัฒนาที่ยั่งยืน และความตกลงปารีส (๒) ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจีน
ได้กล่าวถ้อยแถลงโดยเน้นย้ำความมุ่งมั่นที่จะมุ่งสู่การพัฒนาระบบการขนส่งที่ยั่งยืน
โดยเฉพาะการฟื้นฟูจากสถานการณ์โควิด-๑๙ (๓) ประเด็นหารือที่สำคัญ เช่น ๑)
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสำหรับการขนส่งที่ยั่งยืน ๒)
การขนส่งที่ยั่งยืนและพัฒนาระดับภูมิภาค ๓)
บทบาทของภาคธุรกิจในการพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืน และ ๔)
การขนส่งที่ยั่งยืนและการพัฒนาสีเขียว การแก้ไข การปรับตัว
และความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ (๔)
การนำเสนอร่างแถลงการณ์ปักกิ่งซึ่งเน้นย้ำความสำคัญของการขนส่งที่ยั่งยืนที่สามารถเข้าถึงได้
การเพิ่มความปลอดภัย และการนำไปสู่การบรรลุการเปลี่ยนแปลงด้านการขนส่งอย่างยั่งยืน
ซึ่งร่างแถลงการณ์ปักกิ่งเป็นเอกสารที่ไม่มีการเปิดให้เจรจา
โดยจะมีการนำเสนอเอกสารดังกล่าวในที่ประชุมสมัชชา UN ต่อไป ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
|
||||||||||||||||||
5 | รายงานการปฏิบัติงานของศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง ประจำปี 2563 | ศป. | 04/01/2565 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการปฏิบัติงานของศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง
(ศป.)ประจำปี ๒๕๖๓ ตามมาตรา ๙๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ มีสาระสำคัญ ได้แก่ (๑) การพิจารณาพิพากษาคดีด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว
และเป็นธรรม (๒)
การวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีปกครองและการวางหลักกฎหมายและแนวทางปฏิบัติราชการที่ดี
(๓) การเสริมสร้างโอกาสการเข้าถึงความยุติธรรมทางปกครอง ศป.
ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลปกครองแห่งใหม่ และอาคารที่ทำการศาลปกครองในภูมิภาค (๔)
การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ทุกภาคส่วนในสังคม ศป.
ได้ดำเนินภารกิจสนับสนุนแผนแม่บทด้านที่ ๒ การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสังคม
และภารกิจสนับสนุนแผนแม่บทด้านที่ ๔ การบริหารจัดการองค์กรให้มีมาตรฐานในระดับสากล
(๕) การพัฒนาศาลปกครองอิเล็กทรอนิกส์ ศป.
ได้ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง
และปรับปรุงการให้บริการประชาชน (๖) การเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ศาลปกครองได้ดำเนินการเสริมสร้างความร่วมมือกับประชาชนศาลปกครอง
องค์กรหรือหน่วยงานระหว่างประเทศและการรับรองคณะผู้แทนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ (๗) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรศาลปกครอง
ประกอบด้วย การพัฒนาตุลาการศาลปกครอง และการพัฒนาข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง (๘)
การเสริมสร้างวัฒนธรรมศาลปกครอง และองค์กรแห่งความสุข และ (๙)
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ ศป. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓
ตามที่สำนักงานศาลปกครองเสนอ
|