ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 17 จากข้อมูลทั้งหมด 17 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 | สธ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ออกไปอีก ๑ ปี ตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | กต. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ ๔๓ และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง โดยมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (นายศรัณย์
เจริญสุวรรณ) ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
ซึ่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ เมื่อวันที่ ๕-๗
กันยายน ๒๕๖๖ ในหัวข้อหลัก “อาเซียนเป็นศูนย์กลาง : สรรค์สร้างความเจริญ” โดยผลการประชุมสุดยอดอาเซียนดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการสะท้อนเจตนารมณ์ทางการเมืองของผู้นำอาเซียนและคู่เจรจาในการขับเคลื่อนความร่วมมือโดยมีอาเซียนเป็นแกนกลาง
ซึ่งสอดคล้องกับหัวข้อหลักของการเป็นประธานอาเซียนของอินโดนีเซีย คือ
"อาเซียนเป็นศูนย์กลาง : สรรค์สร้างความเจริญ" (ASEAN Matters :
Epicentrum of Growth) รวมทั้งได้สนับสนุนประเด็นการเติบโตที่ยั่งยืน
ผ่านการพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า และมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบหลักนำผลการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ
ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่เห็นว่าในประเด็นความประสงค์ของอินเดียในการริเริ่มการหารือด้านการเงินประจำปีอาเซียน-อินเดีย
(ASEAN-India Annual Financial Dialogue) เห็นควรให้สำนักเลขาธิการอาเซียนจัดให้มีการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางของอาเซียนและอินเดียก่อน
และนำผลการหารือรายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน
(ASEAN Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting) ต่อไป และให้ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ
ที่มีอยู่ในปัจจุบันและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตฉ้อโกงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ | สผ. | 31/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตฉ้อโกงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การขอก่อหนี้ผูกพันงบประมาณมากกว่าหนึ่งปีงบประมาณสำหรับรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของกระทรวงมหาดไทย | มท. | 03/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้กระทรวงมหาดไทยนำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่
๑๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป ของ ๓ หน่วยงาน จำนวน ๔ โครงการ วงเงินทั้งสิ้น ๑๐,๖๓๖.๒๔๓๘ ล้านบาท
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓
กันยายน ๒๕๖๖ เรื่องการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณ
พร้อมแนวทางการจัดทำงบประมาณและยุทธศาสตร์ชาติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยจัดทำแผนการดำเนินการและยืนยันความพร้อมของโครงการดังกล่าว
โดยมีคุณลักษณะเฉพาะ ประมาณการหรือผลการสอบราคา รายละเอียดแบบรูปรายการ
ประมาณการค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีสถานที่/พื้นที่พร้อมจะดำเนินการ
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ประหยัด การพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทย (สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย การประปาส่วนภูมิภาค
และกรุงเทพมหานคร) รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการป้องกันและการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน
กรุงเทพมหานคร และศูนย์สำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่ง ของกรุงเทพมหานคร
และโครงโครงการก่อสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
รวมถึงการจัดทำและจัดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการฯ ตามมาตรา ๕๑/๕
แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาค
กระทรวงมหาดไทยควรควบคุมและกำกับดูแลการดำเนินโครงการ
ให้เป็นไปตามมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ข้อ ๔(๑) (ก) ข้อ ๔ (๓) (ค) ข้อ ๔ (๕) (ก)
และข้อ ๖ (๖) ของประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฯ กรณีโครงการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียมีนบุรี
ระยะที่ ๒ ของกรุงเทพมหานคร ไม่เข้าข่ายโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ
ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ
หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ประกาศราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๒ ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การแก้ไขปรับปรุงแนวทางปฏิบัติและขั้นตอนการดำเนินการตามมาตรา 169 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 | ลต. | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบการแก้ไขปรับปรุงแนวทางปฏิบัติและขั้นตอนการดำเนินการตามมาตรา ๑๖๙ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ ในการประชุมครั้งที่ ๔๘/๒๕๖๖ เมื่อวันอังคารที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๖
โดยมีมติให้แก้ไขปรับปรุงแนวทางปฏิบัติและขั้นตอนดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอ ๒. เห็นชอบให้ปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๑ มีนาคม ๒๕๖๖ (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร)
ในส่วนของข้อ ๒.๒.๒.๔ (๒)
เกี่ยวกับการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามมาตรา
๑๖๙ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จากเดิมว่า “เมื่อมีกรณีที่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งให้สำนักงบประมาณรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเหตุผลและความจำเป็นในการขอใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ
ที่มีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณรายจ่ายดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป” เป็น
“เมื่อมีกรณีที่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเหตุผลและความจำเป็นในการขอใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ
ที่มีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณรายจ่ายดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป” และให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย (1. นายอัศวิน โชติพนัง และนางวันทนี มณีศิลาสันต์) | มท. | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้คณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสียมีจำนวนเกินกว่าสิบเอ็ดคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน
(นับรวมประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการอื่นที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง และผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย
เป็นกรรมการและเลขานุการ) ตามมาตรา ๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
พ.ศ. ๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย
จำนวน ๒ คน ได้แก่ (๑) นายอัศวิน โชติพนัง และ (๒) นางวันทนี มณีศิลาสันต์)
เพื่อแทนกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ และแต่งตั้งเพิ่มเติม
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖)
และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนและเพิ่มเติมอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกว่าด้วยการขยายความร่วมมือในสาขาเฉพาะ | พณ. | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN) และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property
Organization : WIPO) ว่าด้วยการขยายความร่วมมือในสาขาเฉพาะ (Memorandum
of Understanding between the Association of Southeast Asian Nations and the
World Intellectual Property Organization on Expansion of Cooperation in
Specific Areas) และอนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
ในนามอาเซียน โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายขอบเขตความร่วมมือระหว่างอาเซียนและ WIPO ในด้านทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องใหม่นอกเหนือจากที่ดำเนินการอยู่แล้วตามแผนปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญา
พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๘ ที่อาเซียนดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยดำเนินการใน ๔ ประเด็น ได้แก่
(๑) การให้ความช่วยเหลือ SME และสตาร์ทอัพในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาสนับสนุนการค้าภายในภูมิภาคอาเซียนและระหว่างภูมิภาค
(๒)
การยกระดับเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อความสำเร็จทางธุรกิจด้วยการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ
(๓) การสนับสนุนการนำทรัพย์สินทางปัญญาและสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้มาใช้ค้ำประกันเงินกู้เพื่อต่อยอดธุรกิจ
และ (๔) การสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีผลบังคับใช้
๔ ปี และไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันด้านงบประมาณ ตามที่กระทรวงพาณิชย์
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ๒.
ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศที่เห็นว่าร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการและสถานที่ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กำแพงเพชร และโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สระแก้ว | ศธ. | 11/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการ
โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเปลี่ยนแปลงรายการและขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
จากปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-พ.ศ. ๒๕๖๘
รายการก่อสร้างอาคารเรียนและรายการหอพักนักเรียนแบบพิเศษของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
กำแพงเพชร และโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สระแก้ว
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๖ ที่ได้ตั้งงบประมาณรองรับไว้แล้ว และเห็นควรให้กระทรวงศึกษาธิการ
โดยสำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐานเสนอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อ ๆ ไป
ให้ครบวงเงินค่างานตามสัญญาต่อไป
ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงสถานที่ดำเนินการก่อสร้างดังกล่าว
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องได้รับอนุญาตการใช้พื้นที่จากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการ
และปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี
และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารฯ สายสีเหลือง สายเฉลิมรัชมงคล และสายฉลองรัชธรรม ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม พ.ศ. 2565 พ.ศ. .... และร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยอัตราและวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์และค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่นๆ เกี่ยวกับการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ พ.ศ. .... (รวม 5 ฉบับ) | คค. | 27/06/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบ ๑.๑
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร
วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดค่าโดยสาร โดยมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้น ๑๕ บาท
สูงสุด ๔๕ บาท (๒๓ สถานี) ๑.๒
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร
วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร
สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร
สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อเพิ่มหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนถ่ายระบบกับรถไฟฟ้าสายอื่น
ๆ (คงอัตราค่าโดยสารตามข้อบังคับฉบับเดิม มี ๓๘ สถานี เริ่มต้นที่ ๑๗ บาท สิ้นสุด
๔๓ บาท ๑.๓
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร
วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร
สายฉลองรัชธรรม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร
สายฉลองรัชธรรม พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อเพิ่มหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนถ่ายระบบกับรถไฟฟ้าสายอื่น
ๆ (คงอัตราค่าโดยสารตามข้อบังคับฉบับเดิม มี ๑๖ สถานี เริ่มต้นที่ ๑๔ บาท สิ้นสุด
๔๒ บาท ๑.๔
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม พ.ศ. ๒๕๖๕ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม พ.ศ. ๒๕๖๕
เนื่องจากได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การให้ส่วนลดกรณีการเปลี่ยนถ่ายระบบภายใต้การจัดเก็บค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวไว้ในร่างข้อบังคับตามข้อ
๑.๑ ข้อ ๑.๓ ไว้แล้ว ๑.๕
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยอัตราและวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์และค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่น
ๆ เกี่ยวกับการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเพื่อให้การกำหนดอัตราค่าบริการจอดรถยนต์และวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์สำหรับอาคารจอดรถยนต์ทุกแห่ง
รวมถึงอาคารจอดรถยนต์อื่น ๆ ในอนาคตของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยรวมไว้ในฉบับเดียวกัน รวม ๕ ฉบับ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ๒. ให้กระทรวงคมนาคม
(การรถไฟฟ้าขนส่งมวลแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในกรณีการดำเนินการตามร่างข้อบังคับดังกล่าวจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หรือกระทบต่อการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลแห่งประเทศไทยดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
รวมทั้งกรณีการยกเว้นค่าโดยสารให้แก่พนักงานและลูกจ้างของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลแห่งประเทศไทย
ควรสร้างความชัดเจนว่าเข้าข่ายเป็นค่าตอบแทนหรือสวัสดิการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่
และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิทธิบัตร (1. นายมงคล รักษาพัชรวงศ์ ฯลฯ จำนวน 12 คน) | พณ. | 20/06/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิทธิบัตร
จำนวน ๑๒ คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการ ๑. นายมงคล รักษาพัชรวงศ์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ ๒. นายธีรยศ เวียงทอง สาขาวิศวกรรมศาสตร์ ๓. นางสาวณัฐนันท์
สินชัยพานิช สาขาเภสัชศาสตร์ ๔. นายพีระ เจริญพร สาขาเศรษฐศาสตร์ ๕. นายเพชร
เจียรนัยศิลาวงศ์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน ๖. นายวิชา ธิติประเสริฐ สาขาเกษตรศาสตร์ ๗. นายนำชัย
เอกพัฒนพานิชย์ สาขานิติศาสตร์ ๘. นายบุญสนอง
รัตนสุนทรากุล สาขาอุตสาหกรรม ๙. นายชลธิศ
เอี่ยมวรวุฒิกุล สาขาวิศวกรรมศาสตร์ ๑๐. นายเกรียงศักดิ์
ขาวเนียม สาขาวิทยาศาสตร์ ๑๑. นายพงศ์พันธ์
อนันต์วรณิชย์ สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ๑๒. นางสาวโอภา
วัชระคุปต์ สาขาเภสัชศาสตร์
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคง และเศรษฐกิจของประเทศ | รง. | 30/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ๓ สัญชาติ
(กัมพูชา ลาว และเมียนมา) เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคง และเศรษฐกิจของประเทศ
และร่างประกาศ รวม ๔ ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ได้แก่ ๑.๑ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการทำงานสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา
ลาว และเมียนมา
ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ .... ๑.๒ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา และเวียดนาม
ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕ (ฉบับที่ ..) ๑.๓ ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา
ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
ภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ .. ๑.๔ ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การอนุญาตให้ต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕ (ฉบับที่ ..) ๒. อนุมัติและเห็นชอบในหลักการ ๒.๑ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการทำงานสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา
ลาว และเมียนมา
ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ .... ๒.๒ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา และเวียดนาม
ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕ (ฉบับที่ ..) รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการคต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลป่างิ้ว ตำบลศาลาแดง ตำบลย่านซื่อ ตำบลตลาดกรวด ตำบลบ้านรี อำเภอเมืองอ่างทอง และตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง พ.ศ. .... | คค. | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่ตำบลป่างิ้ว ตำบลศาลาแดง ตำบลย่านซื่อ ตำบลตลาดกรวด ตำบลบ้านรี
อำเภอเมืองอ่างทอง และตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลป่างิ้ว ตำบลศาลาแดง
ตำบลย่านซื่อ ตำบลตลาดกรวด ตำบลบ้านรี อำเภอเมืองอ่างทอง และตำบลชัยฤทธิ์
อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๗๗
ทางสายทางเลี่ยงเมืองอ่างทอง ตอนทางเลี่ยงเมืองอ่างทอง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าก่อนการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินทุกเส้นทาง
ขอให้กระทรวงคนนาคม (กรมทางหลวง)
ให้ความสำคัญและตระหนักถึงแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างทางหลวงกีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ
เพื่อป้องกันปัญหาการระบายน้ำไม่ทัน
และอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมหรืออุทกภัยต่อไปในอนาคต กระทรวงคมนาคมควรตระหนักและให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามกฎหมายในการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาในครั้งต่อไป
และให้กรมทางหลวงเร่งจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
พร้อมทั้งการเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการรวมถึงร่างพระราชกฤษฎีกาที่เสนอในครั้งนี้
เพื่อให้กรมทางหลวงสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลการสำรวจและทราบข้อเท็จจริงของสภาพพื้นที่ที่ดำเนินโครงการ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่) | กค. | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน
๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่) โดยปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ขอรับสินเชื่อ
ปรับปรุงวงเงินโครงการฯ ปรับวงเงินกู้ต่อรายและขยายระยะเวลาเงินกู้
ขยายระยะเวลาเบิกจ่ายสินเชื่อของธนาคารออมสิน และเงื่อนไขอื่น ๆ เช่น
ให้ธนาคารกำหนดหลักเกณฑ์และกระบวนการในการให้สินเชื่อกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง
ธนาคารออมสิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการและโครงการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
ควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ ๓ จังหวัด
รับรู้และสามารถเข้ามาตรการในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินจากภาครัฐได้อย่างทั่วถึง
ควรกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และกระบวนการสินเชื่อของธนาคาร
และสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการให้มีความชัดเจนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) | นร.12 | 28/02/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการทบทวนการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์
และเห็นชอบในหลักการการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน)
และมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร.
ดำเนินการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในการจัดร่างกฎหมาย
เพื่อการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน)
และปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
และให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
หลักเกณฑ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๒
กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ และกฎหมายอื่น
ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
และหากการดำเนินการรับโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้
และงบประมาณของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีแล้วเสร็จ
ไปเป็นของหน่วยงานของรัฐประเภทอื่น (มิได้เป็นส่วนราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ
พ.ศ. ๒๕๖๒) จะต้องยื่นขอเช่าอาคารและสิ่งปลูกสร้าง
ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุให้ถูกต้องตามกฎหมายที่ราชพัสดุต่อไป หากมีการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี
(องค์การมหาชน) จำเป็นต้องกำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลองค์กร โดยเฉพาะในช่วง ๕
ปีแรกของการดำเนินงาน
และควรมีการกำหนดมาตรการ/แนวทางการดำเนินงานเพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น
กรณีผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้
เพื่อไม่ให้เป็นภาระด้านงบประมาณของภาครัฐ และในเรื่องของการจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างและเงินช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ปฏิบัติงาน
ควรกำหนดจ่ายในอัตราเดียวกันกับที่จ่ายแก่เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาพิงคนคร
(องค์การมหาชน)
ในส่วนที่ปฏิบัติงานในศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ๗
รอบพระชนมพรรษา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๑
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและอยู่บนบรรทัดฐานเดียวกัน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ขอขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ | กษ. | 31/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
จากเดิมสิ้นสุดปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นสิ้นสุดปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ตามปริมาณงานที่ยังเหลือ และตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมการข้าว)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพัฒนาช่องทางการขายข้าวอินทรีย์ เช่น การค้าออนไลน์
เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง
ตลอดจนพัฒนาการตลาดและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคทุกช่วงวัย
ให้ความสำคัญกับการควบคุมและกำกับดูแลการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย
ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
ควรให้มีการกำกับติดตามประเมินผลความสำเร็จการดำเนินงานของโครงการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
โปร่งใส
บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกรอย่างนั่งยืนและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทาง/มาตรการในการดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากข้าวอินทรีย์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคทุกช่วงวัยทั้งในและต่างประเทศ
รวมทั้งพัฒนาช่องทางการตลาดของข้าวอินทรีย์และผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ให้ขยายเพิ่มมากขึ้น
เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพของข้าวอินทรีย์และผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | มาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้น | พน. | 24/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบการขอแก้ไขข้อเสนอของกระทรวงพลังงานตามหนังสือกระทรวงพลังงาน
ด่วนที่สุด ที่ พน ๐๖๐๕/๘๒ ลงวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๖ โดยขอตัดข้อ ๔.๒
ที่เสนอขอให้เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการตามมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
วงเงิน ๓,๒๐๐ ล้านบาทออก
ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์
พันธ์มีเชาว์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอเพิ่มเติม ๒. เห็นชอบในหลักการสำหรับมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้น
และมอบหมายให้กระทรวงพลังงานและกระทรวงมหาดไทยกำกับและติดตามให้หน่วยงานในสังกัดที่มีอำนาจและหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ๓. ให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญในเรื่องการเตรียมความพร้อมของโครงการ
วิธีดำเนินงาน เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ และเร่งศึกษาการกำหนดมาตรการระยะยาว
เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการ
เร่งรัดดำเนินการเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์อย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจ
ความพร้อม และความสามารถทางการเงินของภาครัฐ รวมถึงปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนถูกขั้นตอน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๔.
ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (นายณฐพงศ์ วรรณรัตน์) | กค. | 10/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายณฐพงศ์ วรรณรัตน์ เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
แทนกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๐ มกราคม ๒๕๖๖) เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|