ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 16 จากข้อมูลทั้งหมด 16 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ | รง. | 21/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง
อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ ๑๓) ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖
เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับต่อไป ตามที่กระทรวงแรงงาน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 | อว. | 21/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ และพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ ออกไปอีก
๑ ปี ตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ดังนี้ ๑. ให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ จำนวน ๒ ฉบับ ได้แก่ ๑) ร่างกฎกระทรวงกำหนดตำแหน่งอื่น
ซึ่งประธานกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษาและคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา
จะดำรงตำแหน่งไม่ได้ พ.ศ. .... และ ๒) ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักการอื่นที่คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษาต้องยืดถือในการกำหนดมาตรฐานการอุดมศึกษา
พ.ศ. .... ๒. ให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำฎหมายลำดับรอง
ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ จำนวน ๓ ฉบับ ได้แก่ ๑)
ร่างกฎกระทรวงความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. .... ๒)
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานภาคเอกชนส่งข้อมูลเกี่ยวกับการอุดมศึกษาและการอื่นที่เกี่ยวข้อง
พ.ศ. .... และ ๓) ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักการอื่นในการจัดการอุดมศึกษา
พ.ศ. ....
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง เสรีภาพในการประกอบอาชีพและความเสมอภาคของบุคคล กรณีกำหนดให้การเป็นบุคคลล้มละลายเป็นลักษณะต้องห้ามในการรับราชการหรือเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ | สม. | 24/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง
เสรีภาพในการประกอบอาชีพและความเสมอภาคของบุคคล กรณีกำหนดให้การเป็นบุคคลล้มละลายเป็นลักษณะต้องห้ามในการรับราชการหรือเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ
เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๔๗ (๓)
และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๒๖ (๓) ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอ ๒. มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.
เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงยุติธรรม
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานศาลปกครอง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว
โดยให้สำนักงาน ก.พ. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวม
แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การจัดกิจกรรมสาธารณกุศลเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันครบรอบ 7 ปีแห่งการสวรรคต | นร. | 03/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๖
ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐพิจารณาจัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ ครบ ๗ ปี ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม
เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติถวายพระราชกุศลเนื่องในโอกาสดังกล่าว
และเชิญชวนประชาชนและเอกชนทุกภาคส่วนจัดกิจกรรม/เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
ดังกล่าวอย่างพร้อมเพรียงกันด้วย นั้น กิจกรรมหนึ่งที่สมควรเร่งดำเนินการเพื่อเป็นการร่วมเทิดพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลในโอกาสดังกล่าวข้างต้น
คือ การให้การช่วยเหลือดูแลคนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ที่เร่ร่อน
เป็นบุคคลจรจัดที่ไม่มีที่พักอาศัยเป็นหลักแหล่ง
รวมตลอดถึงผู้ที่เคยเสพยาเสพติด และผู้ที่ไม่สมประกอบที่พักพิงอยู่ทั่วไปในพื้นที่ต่าง
ๆ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้รับปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ทั้ง
๔ ประการ (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค)
อย่างเหมาะสมและเพียงพอ รวมถึงสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
โดยให้พิจารณาจัดฝึกอาชีพและจัดหางานให้ทำตามความรู้ความสามารถหรือความถนัดที่มี
ตามที่เจ้าตัวสมัครใจเพื่อให้สามารถสร้างรายได้มาเลี้ยงตนเองได้
สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการนี้ ให้หน่วยงานเจ้าของกิจกรรมเบิกจ่ายจากงบประมาณของหน่วยงานเป็นลำดับแรก
และหากไม่สามารถปรับแผนการใช้จ่ายได้หรือมีงบประมาณไม่เพียงพอก็ให้เสนอขอใช้เงินงบกลางเพิ่มเติมได้ตามแต่กรณี
จึงขอมอบให้รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ) รับเรื่องนี้ไปประสานและหารือกับกระทรวงกลาโหม
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตามขั้นตอนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วและมีความยั่งยืนต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ร่างระเบียบ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. .... | สกมช. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
ตามที่คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาที่สรรหาควรพิจารณาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
และเห็นว่าการเสนอขอความเห็นชอบร่างระเบียบนี้เป็นการกำหนดรายละเอียดการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้
และมิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปตามมาตรา
๑๖๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑
มีนาคม ๒๕๖๖ เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์) | กค. | 25/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์
ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ต่ออีกหนึ่งวาระ เนื่องจากครบวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี
เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๕ กรกฎาคม
๒๕๖๖) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๖๙ (๒) แล้ว
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2566 (เพิ่มเติม) | นร.05 | 25/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบกำหนดให้วันจันทร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษอีก
๑ วัน ในปี ๒๕๖๖ ๒.
ในกรณีที่หน่วยงานใดมีภารกิจในการให้บริการประชาชน หรือมีความจำเป็น
หรือราชการสำคัญในวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษดังกล่าวที่ได้กำหนดหรือนัดหมายไว้ก่อนแล้ว
ซึ่งหากยกเลิกหรือเลื่อนไปจะเกิดความเสียหายหรือกระทบต่อการให้บริการประชาชน
ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร
โดยมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและกระทบต่อการให้บริการประชาชน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ขออนุมัติรายชื่อผู้เข้ารับการศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ประจำปีการศึกษา 2566 - 2567 | กห. | 11/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติรายชื่อผู้เข้ารับการศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร
ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖-๒๕๖๗ ห้วงเวลาการศึกษาตั้งแต่ตุลาคม ๒๕๖๖ ถึงกันยายน ๒๕๖๗ ทั้งนี้
หากผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการศึกษาหลักสูตรข้างต้น
แจ้งความประสงค์สละสิทธิ์ หรือหากการตรวจสอบคุณสมบัติในภายหลัง
พบว่าผู้ที่ได้รับการคัดเลือกฯ ขาดคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรฯ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้กระทรวงกลาโหมตัดรายชื่อออกจากที่ได้รับอนุมัติ
รวมทั้งพิจารณาผู้ที่จะเข้ารับการศึกษาทดแทนได้ตามความเหมาะสม
โดยไม่ต้องขออนุมัติใหม่ทั้ง ๒ กรณี ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ประธานสภาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารฯ สายสีเหลือง สายเฉลิมรัชมงคล และสายฉลองรัชธรรม ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม พ.ศ. 2565 พ.ศ. .... และร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยอัตราและวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์และค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่นๆ เกี่ยวกับการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ พ.ศ. .... (รวม 5 ฉบับ) | คค. | 27/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบ ๑.๑
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร
วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดค่าโดยสาร โดยมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้น ๑๕ บาท
สูงสุด ๔๕ บาท (๒๓ สถานี) ๑.๒
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร
วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร
สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร
สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อเพิ่มหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนถ่ายระบบกับรถไฟฟ้าสายอื่น
ๆ (คงอัตราค่าโดยสารตามข้อบังคับฉบับเดิม มี ๓๘ สถานี เริ่มต้นที่ ๑๗ บาท สิ้นสุด
๔๓ บาท ๑.๓
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร
วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร
สายฉลองรัชธรรม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร
สายฉลองรัชธรรม พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อเพิ่มหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนถ่ายระบบกับรถไฟฟ้าสายอื่น
ๆ (คงอัตราค่าโดยสารตามข้อบังคับฉบับเดิม มี ๑๖ สถานี เริ่มต้นที่ ๑๔ บาท สิ้นสุด
๔๒ บาท ๑.๔
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม พ.ศ. ๒๕๖๕ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม พ.ศ. ๒๕๖๕
เนื่องจากได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การให้ส่วนลดกรณีการเปลี่ยนถ่ายระบบภายใต้การจัดเก็บค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวไว้ในร่างข้อบังคับตามข้อ
๑.๑ ข้อ ๑.๓ ไว้แล้ว ๑.๕
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยอัตราและวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์และค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่น
ๆ เกี่ยวกับการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเพื่อให้การกำหนดอัตราค่าบริการจอดรถยนต์และวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์สำหรับอาคารจอดรถยนต์ทุกแห่ง
รวมถึงอาคารจอดรถยนต์อื่น ๆ ในอนาคตของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยรวมไว้ในฉบับเดียวกัน รวม ๕ ฉบับ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ๒. ให้กระทรวงคมนาคม
(การรถไฟฟ้าขนส่งมวลแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในกรณีการดำเนินการตามร่างข้อบังคับดังกล่าวจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หรือกระทบต่อการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลแห่งประเทศไทยดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
รวมทั้งกรณีการยกเว้นค่าโดยสารให้แก่พนักงานและลูกจ้างของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลแห่งประเทศไทย
ควรสร้างความชัดเจนว่าเข้าข่ายเป็นค่าตอบแทนหรือสวัสดิการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่
และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนมีนาคม 2566 | นร.11 สศช | 23/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ
ประจำเดือนมีนาคม ๒๕๖๖ ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (๑)
ความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ (๒)
การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ (๓) การติดตาม
การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ (๔)
ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ และ (๕) นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้มอบหมายทุกหน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญในการติดตามเร่งรัดโครงการที่มีผลการดำเนินการต่ำกว่าเป้าหมาย
รวมทั้งดำเนินการหาวิธีแก้ไข ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 29 [Joint Statement of the Twenty - Ninth ASEAN Socio - Cultural Community (ASCC) Council] | พม. | 02/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ ๒๙ [Joint Statement of the Twenty-Ninth ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council] และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะมนตรีประชาคมอาเซียนและวัฒนธรรมอาเซียน
ครั้งที่ ๒๙ [29th ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council Meeting] ให้การรับรองร่างถ้อยแถลงสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมอาเซียนและวัฒนธรรมอาเซียน
ครั้งที่ ๒๙ ในวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยร่างถ้อยแถลงร่วมฯ
มีสาระสำคัญเพื่อสนับสนุนและชื่นชมความก้าวหน้าและความสำเร็จในการดำเนินงานภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ภายใต้แนวคิด “อาเซียนเป็นศูนย์กลาง สรรสร้างความเจริญ” “ASEAN
Matters : Epicentrum of Growth”ตลอดจนการรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานต่าง
ๆ ภายใต้ประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
ในกรณีที่มีการปรับแก้ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่องพิจารณาให้ร่างสุดท้ายของร่างถ้อยแถลงร่วมดังกล่าวเป็นไปตามแนวทางในข้อ
๑.๑ ไปดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ครั้งที่ ๒๙
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่อง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (1. นายสมัย ลี้สกุล ฯลฯ จำนวน 4 ราย) | นร.04 | 28/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี จำนวน ๔ ราย
ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่งหนึ่งปี โดยลำดับที่ ๑-๒ ในวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๖
และลำดับที่ ๓-๔ ในวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๖ คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ
และให้ลำดับที่ ๑-๒ มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๖ และลำดับที่ ๓-๔
มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๖ ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายสมัย ลี้สกุล ๒. นายนิรุตติ สิทธินนท์ ๓. นางลลิต สิริพัชรนันท์ ๔. นายประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) | นร.12 | 28/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการทบทวนการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์
และเห็นชอบในหลักการการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน)
และมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร.
ดำเนินการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในการจัดร่างกฎหมาย
เพื่อการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน)
และปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
และให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
หลักเกณฑ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๒
กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ และกฎหมายอื่น
ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
และหากการดำเนินการรับโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้
และงบประมาณของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีแล้วเสร็จ
ไปเป็นของหน่วยงานของรัฐประเภทอื่น (มิได้เป็นส่วนราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ
พ.ศ. ๒๕๖๒) จะต้องยื่นขอเช่าอาคารและสิ่งปลูกสร้าง
ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุให้ถูกต้องตามกฎหมายที่ราชพัสดุต่อไป หากมีการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี
(องค์การมหาชน) จำเป็นต้องกำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลองค์กร โดยเฉพาะในช่วง ๕
ปีแรกของการดำเนินงาน
และควรมีการกำหนดมาตรการ/แนวทางการดำเนินงานเพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น
กรณีผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้
เพื่อไม่ให้เป็นภาระด้านงบประมาณของภาครัฐ และในเรื่องของการจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างและเงินช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ปฏิบัติงาน
ควรกำหนดจ่ายในอัตราเดียวกันกับที่จ่ายแก่เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาพิงคนคร
(องค์การมหาชน)
ในส่วนที่ปฏิบัติงานในศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ๗
รอบพระชนมพรรษา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๑
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและอยู่บนบรรทัดฐานเดียวกัน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ขออนุมัติจ่ายเงินค่าขนย้าย (ค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ) เป็นกรณีพิเศษให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี | กษ. | 21/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้มีการจ่ายเงินค่าเยียวยาให้แก่เกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายห้วยหลวงหรือทายาทของบุคคลดังกล่าว
[ตามหนังสือของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ด่วนที่สุด ที่ กษ ๐๓๐๗ (คกร)/๕๒๔๖ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๕] สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร
๐๗๐๗/๓๑๗ ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖) ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจ่ายเงินดังกล่าวให้ถูกต้อง
รอบคอบ
โดยคณะรัฐมนตรีไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงิน
เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง
แนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล)
ที่เห็นชอบให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติตามแนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
โดยไม่ควรกำหนดให้คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งของฝ่ายบริหารทำงานปกติประจำ
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
(หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๔๐๒.๕/๑๔๗๗๔ ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เช่น
จะต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าต่อการใช้งบประมาณและภาระทางการคลัง
โดยดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
และกรมชลประทานควรพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐในกรณีต่าง
ๆ มีการประชาสัมพันธ์หลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐในกรณีต่าง
ๆ เช่น กรณีที่ดินมีเอกสารสิทธิ กรณีที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
และกรมชลประทานควรตรวจสอบข้อเท็จจริงให้รอบคอบและครบถ้วน เพื่อให้การจ่ายเงินค่าขนย้ายทำได้ในครั้งเดียว
และไม่เกิดปัญหาเช่นเดียวกับโครงการอื่น ๆ ที่ผ่านมา เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ผลการประชุมระดับสูงในห้วงสัปดาห์ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี 2565 | กต. | 31/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๑) รับทราบผลการประชุมระดับสูงในห้วงสัปดาห์ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ๒๕๖๕
ซึ่งภาพรวมการประชุมประสบผลเป็นไปตามเจตนารมณ์และเป้าหมายที่ตั้งไว้
ภายใต้หัวข้อหลัก “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล (Open. Connect. Balance.) โดยสามารถผลักดันประเด็นสำคัญ
(Priorities) ๓ ประการ ได้แก่
การอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน การฟื้นฟูความเชื่อมโยง
โดยเฉพาะการเดินทางและการท่องเที่ยว และการผลักดันการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม
โดยมีแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว [Bio-Circular-Green
(BCG) Economy] เป็นแนวคิดหลัก (๒) มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้า
รวมถึงดำเนินภารกิจเพื่อต่อยอดการเป็นเจ้าภาพเอเปคในปี ๒๕๖๕ ของไทยต่อไป และ (๓) มอบหมายคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจ
BCG Model และคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG
Model เป็นกลไกหลักในการผลักดันการขับเคลื่อน ประเมินผล
และติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามเป้าหมายกรุงเทพฯ
ภายในประเทศอย่างบูรณาการระหว่างทุกภาคส่วนและทุกคน (whole-of-society
partnerships) โดยอาศัยกลไกจตุภาคีของคณะกรรมการฯ ทั้งสองคณะ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงพลังงานและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น ให้กระทรวงการต่างประเทศวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงาน
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนรับทราบถึงประโยชน์ที่ไทยได้รับในโอกาสแรก
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ผลการพิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง ปัญหาที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ของคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 24/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|