ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 38 จากข้อมูลทั้งหมด 38 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | การเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด | นร.04 | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีเห็นว่า
แนวทางการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด
พ.ศ. ๒๕๖๕ มุ่งเน้นการดูแลผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด
ด้วยกลไกสาธารณสุขตามสภาพปัญหาแทนการดำเนินคดีอาญา โดยถือว่า “ผู้เสพ ผู้ติด คือ
ผู้ป่วย” ซึ่งต้องเข้ารับการบำบัดรักษาตามความสมัครใจ
แต่จากสถานการณ์การแก้ไขปัญหายาเสพติดในปัจจุบันพบว่า
ยังมีผู้ติดยาเสพติดจำนวนมากที่เป็นผู้ป่วยยาเสพติดที่หลีกเลี่ยงหรือขาดการบำบัดรักษาตามกระบวนการอย่างต่อเนื่องและครบถ้วน
ทำให้มีอาการผิดปกติทางจิตนำไปสู่การก่อเหตุร้ายรุนแรง
สร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่ครอบครัวและสังคมอยู่อย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าในขณะนี้ได้มีการจัดตั้งศูนย์คัดกรอง สถานพยาบาลเสพติด จำนวน ๑,๐๓๒ แห่ง
และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดอีกจำนวน ๑๔๒ แห่ง
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขแล้ว
แต่ก็ยังไม่สามารถรองรับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดได้อย่างเพียงพอ
ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ ดังนี้ ๑. เร่งรัดดำเนินการส่งเสริมให้สถานพยาบาลยาเสพติดและสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่จัดตั้งขึ้นสามารถรองรับการบำบัดรักษาผู้ป่วยเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีศักยภาพเท่าเทียมกับโรงพยาบาลจิตเวช ๒. ประสานกับสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของภาครัฐที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการรองรับผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตและผ่านการบำบัดรักษาจากสถานพยาบาลยาเสพติดมาแล้ว
เพื่อแบ่งเบาภาระของสถานพยาบาลยาเสพติดด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | ขออนุมัติโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ 2 | กษ. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ ๒ เพื่อชดเชยเยียวยาและบรรเทาผลกระทบให้กับเจ้าของเรือประมงจากมาตรการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายของภาครัฐ
และรักษาความสมดุลของจำนวนเรือประมงพาณิชย์กับปริมาณสัตว์น้ำที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการโครงการ
โดยมีงบประมาณค่าใช้จ่ายในการชดเชยเรือประมง จำนวน ๕๙ ลำ เป็นเงิน ๒๘๗,๑๘๑,๘๐๐ บาท โดยขอใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี
๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรกำหนดมาตรการและกำกับดูแลให้เรือออกนอกระบบได้อย่างแท้จริง ควรดูแลและสนับสนุนให้ผู้ที่ไม่ประสงค์จะทำการประมงได้มีโอกาสในการประกอบอาชีพอื่น
ควรพิจารณาทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากเรือประมงที่นำออกนอกระบบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | การโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่คู่สัญญาในการขายที่ราชพัสดุที่ตกเป็นของแผ่นดินตามคำพิพากษาของศาล | กค. | 13/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่คู่สัญญาในการขายที่ราชพัสดุที่ได้มาโดยคำพิพากษาของศาลให้ตกเป็นของแผ่นดิน
จำนวน ๒๕ ราย ๓๓ รายการ (๔๐ แปลง)
ตามกฎกระทรวงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุที่มิใช่ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๙ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ เห็นควรที่หน่วยงานจะปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงความจำเป็น เหมาะสม และประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับเป็นสำคัญด้วย
ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน | นร.01 | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทานประจำเดือน
เมษายน-มิถุนายน ๒๕๖๕
โดยมีผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น (๑)
การรายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน (มท.)
โดยมีประชาชนลงทะเบียนแล้ว ๖,๙๔๐,๘๔๔ คน จำแนกเป็นกรุงเทพมหานคร ๔๕๔,๙๗๘ คน
และส่วนภูมิภาค ๖,๔๘๖,๐๖๖ คน (๒)
การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ ๑๙ หน่วยงาน ประกอบด้วย จิตอาสาพัฒนา
จิตอาสาภัยพิบัติ จิตอาสาเฉพาะกิจ และวิทยากรจิตอาสา ๙๐๔ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๑,๒๑๐,๑๒๔ คน และ (๓) การติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน เช่น โครงการที่ได้รับเงินพระราชทานบริจาคช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติภาคใต้โครงการจิตอาสาพระราชทานในการดูแลป่าชุมชนของประชาชนจิตอาสาประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จังหวัดขอนแก่น กิจกรรมจิตอาสาฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระดุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) และกิจกรรมอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม
๒๕๖๕ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ. .... | สธ. | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ประเภท ๒ หรือประเภท ๕ หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท
๑ หรือประเภท ๒ ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ (ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง)
ประเภท ๒ (ยาเสพติดให้โทษทั่วไป) หรือประเภท ๕
(ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท ๑ ถึงประเภท ๔ เช่น พืชฝิ่น)
หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ (วัตถุออกฤทธิ์ที่ไม่ใช้ในทางการแพทย์
และอาจก่อให้เกิดการนำไปใช้หรือมีแนวโน้มในการนำไปใช้ในทางที่ผิดสูง) หรือประเภท ๒
(วัตถุออกฤทธิ์ที่ใช้ในทางการแพทย์
และอาจก่อให้เกิดการนำไปใช้หรือมีแนวโน้มในการนำไปใช้ในทางที่ผิดสูง)
ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ครอบครองเพื่อเสพ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ที่ควรกำหนดบทนิยามคำว่า
“หน่วยการใช้” ในร่างกฎกระทรวง โดยให้หมายความว่า เม็ด ซอง ขวด
หรือหน่วยอย่างอื่นที่ทำขึ้นซึ่งโดยปกติสำหรับการเสพหนึ่งครั้ง
ในลักษณะเดียวกับที่เคยมีการกำหนดคำนิยามดังกล่าวในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ยกเลิกไป ควรระบุให้ชัดเจนว่ายาเสพติดให้โทษประเภท ๕ แต่ละชนิดดังกล่าวนั้นจะต้องมีปริมาณน้ำหนักเท่าใด
จึงจำให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ
และการเพิ่มปริมาณการครอบครองยาเสพติดเพื่อให้โอกาสแก่ผู้เสพที่มีไว้เสพโดยไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรงและกฎหมายพิจารณาเพียงให้เข้ารับการบำบัดรักษาอาจส่งผลกระทบต่อการเพิ่มระดับความรุนแรงของการเสพยาเสพติด
และเป็นภัยอันตรายต่อสังคมมากยิ่งขึ้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินงานโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม | อก. | 02/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการพัฒนาอาชีพเสริม
เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม ภายในกรอบวงเงิน ๑,๒๔๙.๒๙๖ ล้านบาท ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และให้กระทรวงอุตสาหกรรมบูรณาการการดำเนินโครงการพัฒนาอาชีพเสริม
เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม
ร่วมกับหน่วยงานที่มีโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะของคนในชุมชน (เช่น
โครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมและโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสินค้าเกษตรสู่ผู้บริโภค
ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก ของกระทรวงมหาดไทย
เป็นต้น) เพื่อให้การดำเนินการมีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเกิดประโยชน์สูงสุด
รวมทั้งให้ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วย ๒. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๑๐๗๔๒
ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
พร้อมทั้งเร่งรัดการใช้จ่ายเงินให้ทันภายในปีงบประมาณ ควรมีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพอย่างเป็นรูปธรรมให้กลุ่มเป้าหมายตามโครงการหลังการอบรม
และควรดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งติดตามและประเมินผลโครงการอย่างต่อเนื่อง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม และกำหนดแบบใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถและลักษณะเครื่องหมายพิเศษ พ.ศ. .... | คค. | 18/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม
และกำหนดแบบใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถและลักษณะเครื่องหมายพิเศษ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม โดยกำหนดอายุของใบอนุญาต และเงื่อนไขให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องรายงานการใช้เครื่องหมายพิเศษ
(ป้ายแดง) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งปรับปรุงแบบใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถ
และลักษณะเครื่องหมายพิเศษ เพื่อให้ทางราชการสามารถควบคุม กำกับ ดูแล
การใช้เครื่องหมายพิเศษ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดปัญหาการหลีกเลี่ยงการใช้รถโดยไม่จดทะเบียน
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้พิจารณาประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
รวมทั้งปรับปรุงประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | การขออนุมัติแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570 | มท. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | นร.01 | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน
ในไตรมาสที่ ๑ ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะได้ประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
เพื่อขอความร่วมมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน
และการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ต่อไป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑)
สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ ๑ ของปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น
รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์หมายเลขสายด่วน ๑๑๑๑
รวมทั้งสิ้น ๑๗,๖๘๗ เรื่อง โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับการประสานเรื่องร้องทุกข์มากที่สุด
๙๓๐ เรื่อง สำหรับเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด คือ
การรักษาพยาบาล ๑,๗๓๖ เรื่อง ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์
เช่น ขาดการประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ
ที่เกี่ยวกับโรคโควิค-๑๙ (๒) แนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะได้ประสานแจ้งและขอความร่วมมือให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
เช่น ขอให้หน่วยงานเจ้าของข้อมูลจัดทำเนื้อหาข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง
โดยครอบคลุมประชาชนทุกภาคส่วนให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | การพิจารณาเพิ่มราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียในรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและอยู่ในราชอาณาจักรไม่เกิน 30 วัน (ผ.30) | กต. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการเพิ่มราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียในรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและอยู่ในราชอาณาจักรไม่เกิน
๓๐ วัน (ผ.๓๐)
โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และกระทรวงมหาดไทย
ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขประกาศหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าหน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้องควรมีการตรวจสอบข้อมูลและติดตามอย่างใกล้ชิดต่อนักท่องเที่ยวชาวซาอุดีอาระเบียที่มีพฤติกรรมต่อความมั่นคงที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศด้วย
ควรดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวซาอุดีอาระเบียเข้ามาในประเทศมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการกระจายรายได้ไปยังภูมิภาคต่าง
ๆ ควรให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย
ทั้งในมิติของความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการตลาดและมติการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวให้สอดรับกับพฤติกรรมการท่องเที่ยว
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | ขออนุมัติกรอบวงเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 เพิ่มเติม | พณ. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบการเพิ่มกรอบวงเงินงบประมาณโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต ๒๕๖๔/๖๕ จากเดิม
๕๔,๙๗๒.๗๒
ล้านบาท เป็น ๕๕,๕๖๗.๓๖ ล้านบาท จำแนกเป็น ๑.๑ วงเงินที่จ่ายให้เกษตรกร จากเดิม จำนวน
๕๓,๘๗๑.๘๔ ล้านบาท เพิ่มขึ้น
๕๘๓.๑๐ ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๔,๔๕๔.๙๔ ล้านบาท ๑.๒ ค่าชดเชยต้นทุนเงิน จากเดิม จำนวน ๑,๐๗๗.๔๔ ล้านบาท เพิ่มขึ้น ๑๑.๕๔ ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น
๑,๐๘๘.๙๘ ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจะใช้จ่ายจากงบประมาณคงเหลือจากโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปี ๒๕๖๔/๖๕ (โครงการประกันรายได้ฯ) ๒.
รับทราบการขยายระยะเวลาตามที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติเห็นชอบแล้ว
ดังนี้ ๒.๑ ขยายระยะเวลาการจ่ายเงิน จากเดิม
สิ้นสุดวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๕ เป็น สิ้นสุดวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๒.๒ ขยายระยะเวลาโครงการ จากเดิม
สิ้นสุดวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เป็น สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ เช่น
ควรมีการวางระบบที่สามารถตรวจสอบและประมาณการจำนวนครัวเรือนเกษตรกรทั้งพื้นที่ขึ้นทะเบียนที่ถูกต้อง
รัดกุมให้เป็นไปตามข้อเท็จจริง มีกระบวนการตรวจสอบและรับสิทธิ
การสำรวจพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมย่างรัดกุมตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการรับสิทธิ และคุ้มค่ากับงบประมาณในการดำเนินโครงการ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) | พม. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐)
มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท
เพิ่มคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้เพิ่มพูนศักยภาพของตนเองอย่างเต็มกำลังความสามารถ
ให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกมิติ รองรับสังคมสูงวัยเชิงรุก ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นข้อเสนอแนะ
และข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณสำนักงาน ก.พ.
และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น ควรกำหนดบทบาทของหน่วยงานรับผิดชอบหลัก/หน่วยงานรับผิดชอบร่วมในรูปของผังกระบวนงานหรือ
Work Flow ให้ชัดเจน
ควรมีแนวทางในการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการที่ชัดเจน
อาจเพิ่มตัวชี้วัดที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการเสริมสร้างพลังให้กับผู้สูงวัย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงสาธารณสุข
และกระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ที่เห็นว่าในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ
ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐) นั้น เห็นควรมอบหมายเพิ่มเติมให้กระทรวงกลาโหม
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อส่งเสริมการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยอาจร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย
เพื่อผลิตสิ่งอำนวยความสะดวก/อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ
และให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม
รวมทั้งอาจพิจารณาผลิตสิ่งอำนวยความสะดวก/อุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อการส่งออกอีกด้วย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากร ลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก (ฉบับที่ ..) | กค. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากร
ลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก
(ฉบับที่ ..) มีสาระสำคัญในการลดอัตราอากรนำเข้าสำหรับสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้
WTO ในโควตา ตามประเภทย่อย ๑๐๐๕.๙๐.๙๙ รหัสย่อย ๗๑
จากเดิมอัตราในโควตาร้อยละ ๒๐ เป็นอัตราอากรในโควตาร้อยละ ๐
ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โดยให้แก้ไขถ้อยคำในร่างประกาศให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรติดตามสถานการณ์การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างใกล้ชิด
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเงื่อนไขการสิ้นสุดการผ่อนปรนในกรณีที่มีการนำเข้ารวมกันทุกช่องทางครบ
๑.๒๐ ล้านตัน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าว
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน ความยั่งยืนด้านการบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง | คค. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน ความยั่งยืนด้านการบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง
และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน
ความยั่งยืนด้านการบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง โดยร่างแถลงการณ์ร่วมฯ มีสาระสำคัญเพื่อเน้นย้ำบทบาทสำคัญของการบินพลเรือนในการสร้างความเชื่อมโยงเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกโดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19
นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำบทบาท ของผู้นำการบินในการสนับสนุนการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ
มาใช้เพื่อพัฒนาภาคการบินพลเรือนให้มีความปลอดภัย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน
ความยั่งยืนด้านการบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือในการรักษาประสบการณ์ของบุคลากรการบินที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ ในลักษณะหลักสูตรการฝึกอบรมทบทวน (Refresher/Requalification Training) ซึ่งจะช่วยให้รักษามาตรฐานบุคลากรภาคการบินของไทยให้พร้อมในการประกอบอาชีพในระดับสากลต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | ขอปรับเพิ่มเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าและโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ระยะที่ 3 | พน. | 12/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการปรับเพิ่มวงเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้า
(Transmission System Improvement
Project in Eastern Region to Enhance System Security : TIPE) (โครงการ TIPE) และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่
ระยะที่ ๓ (Independent Power Producer 3 : IPP3) (โครงการ IPP3) และอนุมัติวงเงินงบประมาณลงทุนในปี
พ.ศ. ๒๕๖๔ และปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สำหรับโครงการ TIPE และโครงการ IPP3
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๗/๑๘๙๓๙ ลงวันที่๑๕ กันยายน ๒๕๖๔)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่
สกพ ๕๕๐๑/๐๐๓๖ ลงวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๔) เช่น
ควรศึกษาและพิจารณาแนวทางการดำเนินการไม่ให้มีผลกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้าของประชาชนทั่วประเทศ
ควรกำหนดมาตรการบริหารจัดการเงินและการลงทุนให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และต้องดำเนินการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเร็วเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานได้ตามแผนงานที่วางไว้
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงานกำกับการดำเนินโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า
และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ระยะที่ ๓
ให้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งบริหารความเสี่ยงของโครงการที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบเพื่อมิให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการเพิ่มเติม
ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนของทั้งสองโครงการเพิ่มขึ้นในอนาคต |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 | มท. | 12/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
กรมโยธาธิการและผังเมือง สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบและรับรองงบการเงินแล้ว โดยมีความเห็นว่า
ผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของกองทุนดังกล่าวถูกต้องในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังประกาศใช้
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | ร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ พ.ศ. .... | ปช. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกลไกการคุ้มครองประชาชนที่ถูกฟ้องคดีปิดปากอันเนื่องมาจากการแสดงความคิดเห็น
การให้ถ้อยคำ การแจ้งเบาะแสหรือข้อมูล หรือการจัดทำคำร้องหรือคำกล่าวหา
เกี่ยวกับการกระทำของเจ้าพนักงานของรัฐหรือบุคคลใดอันเป็นที่มาของการสอบสวน
การตรวจสอบ หรือการไต่สวน ในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบเพื่อให้เกิดการบังคับใช้อย่างบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
หน่วยงานภาครัฐ
รวมถึงหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาด้วยว่าอาจดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ แทนการออกเป็นกฎหมายเฉพาะได้หรือไม่ และให้รับความเห็นกระทรวงยุติธรรม
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น
ควรคำนึงถึงมาตรการหรือกลไกที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน
รวมทั้งต้องพิจารณากำหนดมาตรการหรือกลไกเพิ่มเติมขึ้นเป็นการเฉพาะ
เพื่อให้การป้องกันหรือคุ้มครองบุคคลที่แสดงความเห็นหรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลโดยสุจริตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
ควรปรับคำนิยาม “ประพฤติมิชอบ” ในร่างมาตร ๓ ให้ครอบคลุมถึงพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมด้วย
เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป และให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด
๑๖ การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | ขอผ่อนผันการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีในการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์ หรือรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย และโครงการร้อยใจรักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ | กห. | 04/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้กระทรวงกลาโหมได้รับการผ่อนผันการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๒ (เรื่อง ขอผ่อนผันใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
เพื่อก่อสร้างทางเพื่อความมั่นคง) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์
๒๕๓๘ [เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง
การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคตะวันตก ภาคกลาง และลุ่มน้ำป่าสัก
และการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนอื่น ๆ
(ลุ่มน้ำชายแดน)] เพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
ในการดำเนินโครงการพัฒนาดอยดุง จังหวัดเชียงราย และโครงการร้อยใจรักษ์
จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ ให้กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(หนังสือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด่วนที่สุด ที่ ทส ๐๒๒๐.๒/๑
ลงวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๕) สำนักงบประมาณ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน
โดยมุ่งเน้นให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาและการอนุรักษ์ควบคู่กันไป
หากมีความจำเป็นที่จะดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่
กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้โครงการจะต้องปฏิบัติตามข้อเสนอแนะมาตรการการใช้ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำ
เช่น การบำรุงรักษาป่าธรรมชาติ
การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่รกร้างว่างเปล่าป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าอย่างเข้มงวด
และบริเวณที่ราษฎรดั้งเดิมให้จัดที่ทำกินให้เป็นการถาวร เพื่อมิให้มีการโยกย้ายและทำลายป่าขยายขอบเขตออกไปอีก
เป็นต้น ตลอดจนควรมีแผนการติดตามประเมินผลการดำเนินการตามมาตรการและข้อเสนอแนะต่าง
ๆ พร้อมทั้งแผนการบำรุงรักษาและแผนการสร้างจิตสำนึกของชุมชนในพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
และให้กองทัพบก กระทรวงกลาโหม ควรประสานการดำเนินงานร่วมกับกรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชนในพื้นที่โครงการต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. สำหรับการขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ (เรื่อง การดำเนินโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นจะต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า)
เกี่ยวกับการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ นั้น
ให้กระทรวงกลาโหม (กองทัพบก)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปหารือร่วมกับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ชัดเจน
แล้วดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
เงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป |