ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 31 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 ให้แก่ประชาชน สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) | นร.01 | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่
พ.ศ. ๒๕๖๗ ให้แก่ประชาชน ของสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)
เสนอ ดังนี้ ๑. การรับแจ้งเหตุ แจ้งเบาะแส เรื่องร้องทุกข์ในช่วงเทศกาลปีใหม่
ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ผ่านช่องทางสายด่วนของรัฐบาล ๑๑๑๑ เว็บไชต์ www.111.go.th โมบายแอปพลิเคชัน PSC 1111 และแอปพลิเคชันไลน์ @PSC1111 (ไลน์สร้างสุข)
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้
ประชาชนสามารถติดตามเรื่องร้องทุกข์ผ่านระบบการติดตามและสถานะเรื่องร้องทุกข์ (Tracking
System) ได้ทุกที่ทุกเวลา
และการประสานเร่งรัดติดตามผลการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้ข้อยุติโดยเร็วตลอดปี
๒๕๖๗ ๒. จัดกิจกรรมการแสดงดนตรีภายใต้โครงการ “PRD
Band ดนตรีสร้างสุข” โดยวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความสุข
ความบันเทิงผ่านเสียงเพลงและเสียงดนตรีสอดแทรกความรู้ ความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและนโยบายรัฐไปสู่ประชาชนมีกำหนดการแสดง
จำนวน ๑ ครั้ง ในระหว่างเดือนธันวาคม ๒๕๖๖-มกราคม ๒๕๖๗ ๓. กิจกรรม “สัญจรปลอดภัย”
โดยจัดรายการวิทยุทั่วประเทศเป็นเพื่อนขับขี่ปลอดภัยตลอดการเดินทาง
โดยสามารถโฟนอินเข้ามาในรายการ สนทนาและขอเพลง รวมทั้งให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
เชิญหน่วยราชการมาให้ข้อมูลพูดคุย ให้ข้อแนะนำ ภายใต้แนวคิด “ขับไม่ดื่ม
ดื่มไม่ขับ” ๔. กิจกรรม “สวดมนต์ข้ามปีออนไลน์”
โดยสามารถเข้าร่วมสวดมนต์ได้ทางสื่อออนไลน์ผ่านการรับชมการถ่ายทอดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี
ได้ที่เว็บไซต์ http://prdee.prd.go.th ๕. กิจกรรม “คืนความสุขด้วยคูปองแทนเงินสด เครดิตเงินคืนและส่วนลด” โดยมีหน่วยงานเข้าร่วม
เช่น (๑) บริษัท ลาซาด้า จำกัด (๒) บริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด (๓) บริษัท
ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) (๔) บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) (๕)
บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด (๖) บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ชิสเทม จำกัด
(๗) บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (๘) ธุรกิจรถยนต์ (๙)
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ๖. กิจกรรม “ให้รอยยิ้มด้วย Code ส่วนลดของสายการบิน”
โดยมีหน่วยงานเข้าร่วม เช่น (๑) บริษัท ไทย ไลอ้อน เมนทารี จำกัด (๒) บริษัท
ไทยแอร์เอเชีย จำกัด (๓) บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) (๔) บริษัท ไทย
เวียตเจ็ท แอร์ จอยท์ สต็อค จำกัด ๗. กิจกรรม “สร้างความเชื่อมั่นในการเดินทาง”
โดยเป็นการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในการเดินทางโดยใช้ขนส่งโดยสารสาธารณะในช่วงเทศกาลปีใหม่
จำนวน ๔ แห่ง ได้แก่ (๑) ท่าอากาศยานดอนเมือง (๒) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (๓)
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพหมอชิต (จตุจักร) และ (๔) สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ
(สายใต้ใหม่) ดำเนินการพร้อมกันในวันพุธที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๖
|
|||||||||||||||||||||
2 | มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 และกลไกการบริหารจัดการ | ทส. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ๒๕๖๗
และกลไกการบริหารจัดการ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป และรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ
และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการต่างประเทศ
เห็นว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่องควรพิจารณาติดตามความคืบหน้าและทบทวนความมีประสิทธิภาพของมาตรการเป็นระยะ
ๆ ตามที่เห็นเหมาะสม
ซึ่งรวมถึงการบังคับใช้มาตรการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในทุกระดับอย่างเคร่งครัดด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เห็นควรเพิ่มเติมการบูรณาการการทำงานระหว่างจังหวัด
และขจัดปัญหาอุปสรรคในการกระจายอำนาจการบริหารจัดการสถานการณ์ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ควรเร่งรัดการออกกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาด
และกฎหมายการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant
Release and Transfer Register : PRTR)
ต่อไป ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน
กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดให้การลดหรือการควบคุมปริมาณการปล่อยมลพิษทางอากาศ
(PM2.5) เป็นตัวชี้วัด (KPIs) ที่สำคัญของแต่ละจังหวัด
รวมทั้งเร่งชี้แจงทำความเข้าใจให้ทุกจังหวัดทราบและถือปฏิบัติต่อไปได้อย่างถูกต้อง
เหมาะสม เพื่อให้การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (PM2.5)
เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมได้อย่างยั่งยืนต่อไป |
|||||||||||||||||||||
3 | ขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 | คค. | 14/11/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในกฎหมายที่กระทรวงคมนาคมรับผิดชอบ
ออกไปอีก ๑ ปี ตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||
4 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายอรรถสิทธิ์ กันมล) | นร.09 | 14/11/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายอรรถสิทธิ์ กันมล
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (นิติการ) สูง)] กองกฎหมายการบริหารราชการแผ่นดิน
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการร่างกฎหมายประจำ
(นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่
๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
|
|||||||||||||||||||||
5 | ขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม) | มท. | 14/11/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก ๑ ปี ตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
|||||||||||||||||||||
6 | การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | ดศ. | 14/11/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ จำนวน ๒ ราย ตามลำดับ
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ดังนี้ ๑. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายชลน่าน ศรีแก้ว) ๒. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
|
|||||||||||||||||||||
7 | การจัดประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2566 | นร.04 | 14/11/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการกำหนดจัดประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ ณ จังหวัดหนองบัวลำภู และติดตามการตรวจราชการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
(บึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี) ระหว่างวันที่ ๓-๔ ธันวาคม ๒๕๖๖ ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||
8 | ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 | รง. | 14/11/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ ออกไปอีก ๑ ปี นับตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ จำนวน ๙ ฉบับ
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้ ๑.
พระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการให้กิจการที่มีลูกจ้างน้อยกว่าสิบคนเป็นสมาชิกของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ๒. พระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการกำหนดเวลาเริ่มให้มีการส่งเงินสะสมและเงินสมทบให้แก่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ๓.
กฎกระทรวงเกี่ยวกับการให้นายจ้างจัดให้มีการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานหรือตาย ๔. กฎกระทรวงเกี่ยวกับอัตราเงินสะสม
และเงินสมทบที่จะต้องส่งให้แก่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ๕.
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเกี่ยวกับการให้ลูกจ้างที่มิได้อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ สมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ๖.
ประกาศหรือระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเกี่ยวกับแบบหลักเกณฑ์
และวิธีการยื่นขอเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขแบบรายการแสดงรายชื่อลูกจ้างและการออกหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนให้แก่นายจ้าง ๗.
ประกาศหรือระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเกี่ยวกับการนำส่งเงินสะสม
เงินสมทบ และเงินเพิ่มเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ๘.
ประกาศหรือระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเงินสะสมและเงินสมทบที่นายจ้างต้องนำส่งกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
|
|||||||||||||||||||||
9 | รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดตั้งสำนักบริหารการมัธยมศึกษา (สบม.) ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา | สว. | 14/11/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดตั้งสำนักบริหารการมัธยมศึกษา
ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ซึ่งเป็นการศึกษาการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่ยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยปรับปรุงสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเป็นการภายใน
ให้จัดตั้งเป็นหน่วยงานตามโครงสร้างและให้มีชื่อใหม่ว่า “สำนักบริหารการมัธยมศึกษา”
เพื่อเป็นหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการจัดการมัธยมศึกษาโดยตรง
พร้อมกับได้เสนอขอบเขตอำนาจหน้าที่ของสำนักบริหารการมัธยมศึกษา ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ
|
|||||||||||||||||||||
10 | รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของสถาบันการบินพลเรือน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 | คค. | 14/11/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของสถาบันการบินพลเรือน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะทางการเงิน
และงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว
เห็นว่างบการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||
11 | รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การวิจัยทางคลินิกและการจัดการข้อมูลการใช้สมุนไพรในคน ของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา | สว. | 14/11/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
การวิจัยทางคลินิกและการจัดการข้อมูลการใช้สมุนไพรในคน
ของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา และข้อสังเกตเพิ่มเติมของที่ประชุมวุฒิสภาในเรื่องดังกล่าว
เกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยทางคลินิกรวมถึงการจัดการข้อมูลการใช้สมุนไพรในคนอย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์สมุนไพรและภูมิปัญญาไทยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
และการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพของคนในประเทศเพื่อการบำบัดรักษาและป้องกันโรคภัย ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ ๒.
มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักรับรายงาน ข้อเสนอแนะของ คณะกรรมาธิการ
และข้อสังเกตเพิ่มเติมของที่ประชุมวุฒิสภาไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะและข้อสังเกตดังกล่าว
และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม
แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
|||||||||||||||||||||
12 | ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 18 | กต. | 14/11/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย
ครั้งที่ ๑๘ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๖ ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก
สหรัฐอเมริกา โดยที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนงาน ACD ค.ศ. ๒๐๒๑-๒๐๓๐ การส่งเสริมบทบาทของ ACD เพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเอเชีย
และการส่งเสริมความร่วมมือในประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน เป็นต้น รวมทั้งได้ร่วมรับรองปฏิญญาบาห์เรน ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||
13 | ข้อเสนอแนะกรณีสายการบินปฏิบัติต่อคนพิการไม่เหมาะสม | สม. | 14/11/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบข้อเสนอแนะกรณีสายการบินปฏิบัติต่อคนพิการไม่เหมาะสม
โดยพิจารณาข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใด ๆ
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๔๗ (๓)
และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๒๖ (๓) (ตามข้อ ๒.๓) ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอ
๒.
มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย บริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว
โดยให้กระทรวงคมนาคมสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวม
แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
|||||||||||||||||||||
14 | ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 | สธ. | 14/11/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
พ.ศ. ๒๕๔๒ ออกไปอีก ๑ ปี ตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ จำนวน ๓ ฉบับ ได้แก่ ๑)
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอจดทะเบียน
การออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน
และการเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์พื้นเมือง พ.ศ. .... ๒) ร่างกฎกระทรวงการจัดทำแผนที่แนวเขตที่ดินกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสมุนไพร
พ.ศ. .... และ ๓)
ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตจัดการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพร
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
|||||||||||||||||||||
15 | รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2565 | พม. | 14/11/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย
ประจำปี ๒๕๖๕ โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย (๑) สรุปผลการดำเนินงานฯ ประจำปี ๒๕๖๕ แบ่งออกเป็น
๓ ด้าน ได้แก่ ด้านการดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย เช่น
สถิติการดำเนินคดี/ผู้กระทำผิด/ผู้เสียหาย
การปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ
เช่น การคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงาน การคุ้มครองช่วยเหลือที่คำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจของผู้เสียหาย
และด้านการป้องกัน เช่น การป้องกันการค้ามนุษย์ในกลุ่มเด็กและเยาวชน
การป้องกันการค้ามนุษย์ในแรงงานประมง และ (๒) แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป เช่น
เพิ่มความร่วมมือกับภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และผู้รอดจากการค้ามนุษย์ในการออกแบบนโยบายและขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญ
อบรมให้ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่คำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจของผู้เสียหายสำหรับเจ้าหน้าที่ในสถานคุ้มครองของรัฐและเอกชน
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||
16 | การดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ | ทส. | 07/11/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำร่างกฎกระทรวงหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ
พ.ศ. .... ที่อยู่ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ หมวด ๖ การอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ
มาตรา ๗๘ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่เห็นควรกำชับให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคำนึงถึงระยะเวลาการตรวจพิจารณาและการประกาศบังคับใช้กฎหมายลำดับรองดังกล่าวให้สอดคล้องกับกรอบระยะเวลาที่ขอขยายข้างต้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย
|
|||||||||||||||||||||
17 | สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง | ทส. | 24/10/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม
ครั้งที่ ๑๗ (17th ASEAN Ministerial Meeting on the
Environment : 17th AMME) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
(สปป.ลาว) โดยมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ
โดยการประชุมประกอบด้วย การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ ๑๗
และการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมกับคู่เจรจา ซึ่งที่ประชุมได้มีการรับรองและรับทราบประเด็นต่าง
ๆ ที่สำคัญ เช่น การรับรองการขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกอาเซียนของประเทศไทย
(เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และอุทยานแห่งชาติภูกระดึง)
การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สมัยที่ ๒๘ และผลสรุปความสำเร็จความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์อาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
รวมถึงความก้าวหน้าในการดำเนินความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของอาเซียนร่วมกับจีน
ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยเฉพาะประเด็นปัญหาขยะพลาสติกในทะเล นอกจากนี้ ไทยได้หารือร่วมกับ
สปป.ลาว เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการก่อสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว
ที่สร้างขึ้น ณ โรงเรียนมัธยมสมบูนนาซอน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ |
|||||||||||||||||||||
18 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายธนสุนทร สว่างสาลี ฯลฯ จำนวน 5 ราย) | พม. | 03/10/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๕ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และสับเปลี่ยนหมุนเวียน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ดังนี้ ๑. นายธนสุนทร สว่างสาลี ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ๒. นายอนันต์ ดนตรี ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ๔. นายโชคชัย วิเชียรชัยยะ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
|||||||||||||||||||||
19 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพิจารณาศึกษา ขับเคลื่อน เร่งรัดการปฏิรูประบบทันตสาธารณสุขไทย และการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรม ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา | สว. | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง การพิจารณาศึกษา ขับเคลื่อน เร่งรัดการปฏิรูประบบทันตสาธารณสุขไทย
และการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรม ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา
โดยกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการฯ
แล้ว สรุปผลการพิจารณาว่า การจัดตั้ง “กรมทันตสุขภาพ”
อยู่ระหว่างการศึกษาพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐
และตามหลักการและแนวทางของสำนักงาน ก.พ.ร. เรื่องการยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยงานในสังกัดที่มีอยู่เดิม
(One-In, X-Out) โดยพิจารณาเป้าหมายที่สำคัญ
คือ การเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรม
เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรมซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขไทย
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||
20 | ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | วธ. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดสีประจำวิทยาลัยนาฏศิลป์และวิทยาลัยช่างศิลป์ทุกแห่งที่มีการเปิดสอนระดับปริญญาเพิ่มขึ้น
และแก้ไขลักษณะ ชนิด ประเภทของส่วนประกอบครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|