ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 4 จากข้อมูลทั้งหมด 4 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ขอผ่อนผันการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ เพื่อการดำเนินโครงการหลวง จำนวน 39 โครงการ | ทส. | 13/12/2565 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. อนุมัติผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรี
เพื่อดำเนินโครงการหลวง จำนวน ๓๙ โครงการ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
ดังนี้
๑.๑ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓
ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ในเขตพื้นที่ต้นน้ำชั้นที่
๑
๑.๒ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ และวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๓๕
ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มเติม
(โซนซี)
๑.๓ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๒๘ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๙
และวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ บี และลุ่มน้ำชั้นที่ ๒ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เช่น (๑)
การดำเนินกิจกรรมของโครงการหลวงจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อพื้นที่ต้นน้ำและทรัพยากรป่าไม้ในบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์
(๒)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำที่สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
๒๐ ปี ด้วย ตัวอย่างเช่น การอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำ การรักษาสมดุลของระบบนิเวศทั้งลุ่มน้ำ
และ (๓) หากมีการดำเนินการใด ๆ ในแม่น้ำลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ ทะเล หรือบนชายหาดของทะเลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย
พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||
2 | ร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 | ปปง. | 20/09/2565 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. ๒๕๔๒ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ผู้ประกอบการธุรกิจเป็นทรัสตีตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน
และผู้ประกอบธุรกิจให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาแนวทางเพื่อลดผลกระทบในระบบคราวด์ฟันดิงที่ผู้ระดมทุนส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) และอาจมีการกำหนดเงื่อนไขในการรายงานหรือปฏิบัติตามกฎหมายของ
MSME
ให้มีขั้นตอนที่ง่ายต่อการปฏิบัติและไม่เป็นภาระมากเกินไป ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินรับความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ที่เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาแนวทางเพื่อลดผลกระทบในระบบคราวด์ฟันดิงที่ผู้ระดมทุนส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) การกำหนดให้นิติบุคคลใดเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินย่อมทำให้ผู้ประกอบธุรกิจนั้นมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น
การรายงานการทำธุรกรรม ตามมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ การจัดให้ลูกค้าแสดงตนตามมาตรา
๒๐ การกำหนดนโยบายการรับลูกค้า การบริหารความเสี่ยงที่อาจเกี่ยวกับการฟอกเงิน
หรือตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าตามมาตรา ๒๐/๑
จึงมีข้อที่จะต้องพิจารณาว่าจะเป็นการก่อให้เกิดภาระในการประกอบอาชีพของประชาชนเกินสมควรหรือไม่ด้วย
หากเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาธุรกิจนี้ในประเทศได้
และเนื่องจากการระดมทุนผ่านธุรกิจคราวฟันดิงเป็นช่องทางที่สามารถให้ผู้ประกอบการ MSME
สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อีกช่องทางหนึ่ง
และมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน โดยเฉพาะสตาร์ทอัพ ดังนั้น
เพื่อการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ และมิให้เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ MSME
อาจมีการกำหนดเงื่อนไขในการรายงานหรือปฏิบัติตามกฎหมายของ MSME ให้มีขั้นตอนที่ง่ายต่อการปฏิบัติและไม่เป็นภาระมากเกินไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||
3 | ขอความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (นายวิฑูรย์ ด่านวิบูลย์) | สธ. | 17/05/2565 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง นายวิฑูรย์
ด่านวิบูลย์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ต่อไปอีกวาระหนึ่ง
โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในอัตราเดือนละ ๓๙๐,๐๐๐ บาท
ตามมติคณะกรรมการองค์การเภสัช ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕
และครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
ซึ่งกระทรวงการคลังได้เห็นชอบแล้ว โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป
แต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
||||||||||||||||||
4 | ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และ 39 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | กต. | 24/01/2565 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ ๓๘ และ ๓๙ และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
รวม ๑๐ รายการ เมื่อวันที่ ๒๖-๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนการาบรูไนดารุสซาลาม
(บรูไน) ทรงเป็นประธานการประชุม โดยมีผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้นำของคู่เจรจา
๘ ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินเดีย รัสเซีย
และนิวซีแลนด์ ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน ๒๕ ฉบับ
และแสดงวิสัยทัศน์ของไทยโดยเน้นเรื่องการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด ๑๙) การฟื้นฟูและสร้างอนาคตที่ยั่งยืน และการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
โดยที่ประชุมฯ ได้หารือในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น การสร้างประชาคมอาเซียน การรับมือกับโรคโควิด-๑๙
การฟื้นฟูเศรษฐกิจและการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน
ความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและภาคีภายนอก สถานการณ์ระหว่างประเทศและในภูมิภาค และการส่งมอบตำแหน่งประธานอาเซียนให้แก่กัมพูชา
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมฯ
ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่ควรดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
และควรเพิ่มประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพ ในตารางติดตามผลการประชุมฯ หัวข้อ ๓
การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ ๒๔ ข้อ ๖ การพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อย่อย ๖.๒
เรื่องการส่งเสริมความร่วมมือ
เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |