ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 6 จากข้อมูลทั้งหมด 6 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | โครงการจัดทำรายงานความโปร่งใสรายสองปี ฉบับที่ 1 และรายงานแห่งชาติ ฉบับที่ 5 รวมกับรายงานความโปร่งใสรายสองปี ฉบับที่ 2 [Thailand's First Biennial Transparency Report (BTR1) and combined Fifth National Communication and Second Biennial Transparency Report (NC5/BTR2)] | ทส. | 22/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความตกลงระหว่างโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติและหน่วยดำเนินงาน
และร่างเอกสารโครงการภายใต้โครงการจัดทำรายงานความโปร่งใสรายสองปี ฉบับที่ ๑ และรายงานแห่งชาติ
ฉบับที่ ๕ รวมกับรายงานความโปร่งใสรายสองปี ฉบับที่ ๒ [Thailand’s First Biennial Transparency Report (BTR1) and combined Fifth National Communication and
Second Biennial Transparency Report (NC5/BTR2)] และให้เลขาธิการสำนักงานโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในบันทึกความตกลงฯ โดยร่างความตกลงฯ เป็นข้อตกลงที่จะขอรับการสนับสนุน
จาก UNDP เพื่อให้อำนวยความสะดวกในการดำเนินโครงการจัดทำรายงาน
BTR/NC โดย UNDP จะให้การสนับสนุนและช่วยเหลือในกิจกรรมต่าง
ๆ ของโครงการฯ (เช่น สรรหาบุคลากรอำนวยความสะดวกในกิจกรรมการฝึกอบรม
ส่งรายงานความก้าวหน้าในการสนับสนุนการดำเนินโครงการ) ตามคำขอของประเทศไทย ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นควรให้ความสำคัญกับการให้ความรู้และสร้างความร่วมมือในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ขอทบทวนหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 | มท. | 08/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน
ปี ๒๕๖๗ และให้ใช้แทนหลักเกณฑ์เดิมที่คณะรัฐมนตรีเคยมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ ๑๗
กันยายน ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ให้กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น สำนักงบประมาณ
เห็นควรเร่งดำเนินการตรวจสอบกลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยอย่างชัดเจน
ครอบคลุมในทุกพื้นที่ และปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี
และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การมอบหมายผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | คค. | 01/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ จำนวน ๒ ราย ตามลำดับ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
ดังนี้ ๑. นางมนพร เจริญศรี
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ปรับปรุงช่วงที่ 1 พ.ศ. 2566 - 2580) | นร.14 | 11/06/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบ (ร่าง)
แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ๒๐ ปี (ปรับปรุงช่วงที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๘๐)
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนงาน
รวมถึงแผนปฏิบัติการ รวมทั้งจัดทำรายละเอียดเป้าหมายรายลุ่มน้ำให้สอดคล้องกับ
(ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ๒๐ ปี (ปรับปรุงช่วงที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๖ -
๒๕๘๐) ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการจัดหาน้ำให้เพียงพอสำหรับใช้ในภาคอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะมีการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงต่อไปในอนาคตและจะมีความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นในปริมาณมาก
รวมทั้งให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำในภาพรวมทั้งระบบให้เกิดความสมดุล
ครอบคลุมถึงภาคการเกษตร การอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศ และด้านอื่น ๆ ด้วย ๒.ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงบประมาณ
เห็นควรที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติจะพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วน
โดยคำนึงถึงวงเงินงบประมาณของประเทศที่จะดำเนินการตามแผนให้ประสบผลสำเร็จ
ประโยชน์ที่ได้รับ รวมทั้งประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินโครงการ
และมอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานให้เป็นไปตามแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ
๒๐ ปี (ปรับปรุงช่วงที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๘๐) และรายงานต่อคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ตามนัยมาตรา ๑๘ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เห็นควรให้มีการปรับปรุงรายละเอียดเป้าหมาย การดำเนินงาน
และหน่วยงานรับผิดชอบ ในภาคผนวก ก ค่าเป้าหมาย พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ ในด้านที่ ๕ การบริหารจัดการ
ให้สอดคล้องกับ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ๒๐ ปี (ปรับปรุงช่วงที่
๑) พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๘๐ ๓. ให้กระทรวงมหาดไทย (การประปาส่วนภูมิภาค)
ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้
ในการดำเนินโครงการผันน้ำจากจังหวัดสระแก้วไปยังจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดชลบุรี
เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่
EEC ให้เพียงพอและมีความยั่งยืน
โดยให้มีการพิจารณาเปรียบเทียบระบบการผันน้ำ โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างท่อส่งน้ำ
การก่อสร้างคลองส่งน้ำ เพื่อให้การดำเนินโครงการมีความเหมาะสม คุ้มค่า
และเกิดประโยชน์สูงสุด |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | รายงานสรุปผลและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 | อว. | 30/01/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
ประจำปี ๒๕๖๕ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (๑) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๘ เช่น ๑ การจัดทำกฎหมายลำดับรองประกอบการบังคับใช้พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ฯ
จำนวน ๓๑ ฉบับ ๒) รับคำขอใบอนุญาตใช้-ผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ๓) จัดทำระบบการให้บริการแบบออนไลน์
และ ๔) จัดทำแผนกลยุทธ์ว่าด้วยการพัฒนางานสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙
และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๙ (๒) ผลการดำเนินการที่สำคัญ เช่น ๑) มีสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
๓๐๓ แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยมากที่สุด ๒)
มีการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ๑๖๒.๘๐ ล้านตัว
โดยหนูเมาส์เป็นสัตว์ทดลองที่นิยมใช้มากที่สุด ๓)
มีผู้ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ยื่นขอรับใบอนุญาต ๑,๒๘๒ คน ๔)
มีผู้ผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ยื่นขอรับใบอนุญาต ๓ คน และ ๕) มีการแจ้งนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศ
๕๕๓ ตัว และแจ้งส่งออกสัตว์ไปยังต่างประเทศ ๘๖,๔๑๖ ตัว และ (๓)
การพัฒนางานการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ในระยะต่อไป เช่น
พัฒนาคุณภาพสัตว์ทดลองทั้งชนิดและปริมาณให้หลากหลายตามความต้องการของผู้ใช้สัตว์พัฒนาสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ให้ได้มาตรฐาน
พัฒนาบุคลากร พัฒนาหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ฯ
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศของกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของจีนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน | กต. | 30/01/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศของกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของจีนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
และให้อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศหรือผู้แทนที่กระทรวงการต่างประเทศมอบหมายเป็นผู้ลงนามร่างความบันทึกความเข้าใจฯ
โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ จัดทำขึ้นระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
กับองค์การความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของจีนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ มีสาระสำคัญเป็นการดำเนินความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนบุคลากร และการส่งเสริมมิตรภาพระหว่างสองประเทศ
โดยฝ่ายจีนจะจัดให้มีการดำเนินการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านการฝึกอบรม
มอบทุนการศึกษา และจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ส่วนฝ่ายไทยจะรับผิดชอบการจัดส่งข้อเสนอสำหรับความร่วมมือที่ครอบคลุมถึงรูปแบบการฝึกอบรม
สาขา และระยะเวลาดำเนินงาน ตลอดจนการคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการอบรม ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ๒. ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์และสำนักงบประมาณที่เห็นควรประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานของไทยรับทราบอย่างทั่วถึง
เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากบันทึกความเข้าใจฯ
ที่ครอบคลุมและเป็นรูปธรรมมากที่สุด
และหากมีค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเห็นควรใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ไปพลางก่อน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |