ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 34 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | รายงานผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 | รง. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
กรณีการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ ซึ่งกระทรวงแรงงานได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
มีผลสรุปในภาพรวม ดังนี้ ๑) การให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้ง ๒
ฉบับโดยที่ยังไม่ได้แก้ไขกฎหมายภายในย่อมส่งผลให้รัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีตามอนุสัญญาทั้ง
๒ ฉบับได้อย่างครบถ้วน จึงควรยึดถือแนวปฏิบัติที่ผ่านมาว่า ประเทศไทยควรมีกฎหมายรองรับที่ครบถ้วนก่อนการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาทั้ง
๒ ฉบับ และ ๒) กระทรวงแรงงานได้ยกร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ให้มีหลักการที่สอดคล้องกับอนุสัญญาทั้ง
๒ ฉบับ และได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางต่าง ๆ แล้ว
โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับหลักการที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | รายงานผลการเดินทางลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย และจังหวัดท่าขี้เหล็ก สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายนภินทร ศรีสรรพางค์) | พณ. | 29/11/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตหรือการรับรองให้นำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า พ.ศ. .... | ทส. | 19/11/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตหรือการรับรองให้นำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า
ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า พ.ศ. ....
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตให้นำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า
ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าที่เป็นสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง
สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ และสัตว์ป่าควบคุม
รวมทั้งการขอรับใบรับรองและการออกใบรับรองเพื่อการดำเนินการดังกล่าว
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ขออนุมัติกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน (กรณีรายได้ไม่พอสำหรับจ่าย) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ | คค. | 05/11/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน (กรณีรายได้ไม่พอสำหรับรายจ่าย) ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ รวมจำนวน ๘,๕๔๐.๗๓ ล้านบาท
และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ กำหนดวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข
และรายละเอียดต่าง ๆ ในการกู้เงิน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้กระทรวงคมนาคม องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๐๙/๖๗๑๘ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๗)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ นร ๑๑๒๔/๓๒๑๐ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗) ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการคลัง เห็นควรมอบหมายให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
(ขสมก.) เร่งดำเนินการปรับปรุงแผนขับเคลื่อนกิจการ ขสมก. โดยให้นำความเห็นของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจไปดำเนินการต่อไป
ให้กระทรวงคมนาคม
และกรมการขนส่งทางบกดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาฯ
ในประเด็นการกำหนดบทบาทของ ขสมก.
ให้ชัดเจนในกรณีที่มีผู้ประกอบการเอกชนสามารถให้บริการได้ดี และกำหนดเส้นทางเดินรถของ
ขสมก. ให้สอดคล้องกับบทบาทดังกล่าว และในระหว่างการจัดทำแผนขับเคลื่อนกิจการ ขสมก.
ขอให้กระทรวงคมนาคมกำกับให้ ขสมก. เร่งดำเนินมาตรการต่าง ๆ
เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ขององค์กร เช่น การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ แผนการศึกษาพัฒนาพื้นที่เชิงธุรกิจ
ตลอดจนการปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความกระชับ เป็นต้น
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวลิลิน ทรงผาสุก และนายวิษณุ ทรัพย์สมบัติ) | ศธ. | 22/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้ ๑. นางสาวลิลิน ทรงผาสุก ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ มีนาคม
๒๕๖๗ ๒. นายวิษณุ ทรัพย์สมบัติ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการศึกษา
(นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๗
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 (1. นางวันทรา ผ่านคำ ฯลฯ รวม 13 คน) | กษ. | 22/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
รวม ๑๓ คน ประกอบด้วย กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชน จำนวน ๑๐ คน
และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๓ คน เนื่องจากกรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๗) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑. กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชน ๑.๑
นางวันทรา ผ่านคำ กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดอุตรดิตถ์ ๑.๒
นายอิทธิ แจ่มแจ้ง กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดระยอง ๑.๓
นางสาวพิชชาภา สุทัศน์ กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดพิจิตร ๑.๔
นายกฤษฏิ์ พยัคกาฬ กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดเชียงใหม่ ๑.๕
นายธนากร จีนกลาง กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดบุรีรัมย์ ๑.๖
นางสารภี อิสโร กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดสงขลา ๑.๗
ว่าที่ร้อยเอก จำรัส มีลิ กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดเพชรบุรี ๑.๘
นางปนิดา มูลนานัด กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดเพชรบุรี ๑.๙
นายวันชัย บุญสำราญ กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๑.๑๐
นายกิติศักดิ์ ขจรภัย กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดสระบุรี ๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๒.๑
นางสาวชญานุช มณีรินทร์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารธุรกิจ ๒.๒
นางสาวนภาพร เพ็ชร์จินดา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ ครั้งที่ 11 ณ เมืองมะละกา มาเลเซีย | วธ. | 22/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ
ครั้งที่ ๑๑ “เชื่อมโยงวัฒนธรรม สร้างสรรค์อนาคต : เอกภาพบนความหลากหลาย” (Joint Media Statement the 11th Meeting of the ASEAN Ministers Responsible for Culture and Arts “Bridging Cultures, Building Futures :
Unity in Diversity”) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะแห่งราชอาณาจักรไทย
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ
ครั้งที่ ๑๑ ให้การรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ในวันที่
๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๗ ณ เมืองมะละกา มาเลเซีย โดยร่างถ้อยแถลงฯ เป็นการเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของวัฒนธรรมและศิลปะในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุม
เพื่อส่งเสริมความเป็นเอกภาพของอาเซียน โดยระบุถึงประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น (๑)
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความสร้างสรรค์เป็นทรัพยากรสำคัญที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาอาเซียน
(๒)
ความสำคัญของปฏิญญาวังเวียงว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจวัฒนธรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (๓)
ความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาภายใต้แผนงานอาเซียนบวกสามว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและศิลปะ
พ.ศ. ๒๕๖๕ - ๒๕๖๘ เป็นต้น ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ (1. ศาสตราจารย์พงษ์เทพ สันติกุล ฯลฯ จำนวน 8 คน) | พม. | 22/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
จำนวน ๘ ราย เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๗) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ดังนี้ ๑. ศาสตราจารย์พงษ์เทพ
สันติกุล ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดสวัสดิการสังคม ๒. นายชินชัย ชี้เจริญ ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดสวัสดิการสังคม ๓. นางสาววิจิตา รชตะนันทิกุล ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดสวัสดิการสังคม ๔. นายสมชัย จิตสุชน ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดสวัสดิการสังคม ๕. นายถาวร สกุลพาณิชย์ ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพอนามัย ๖. ศาสตราจารย์สมพงษ์ จิตระดับ ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ๗. นายสุเทพ ชิตยวงษ์ ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวอัณณ์ณิชา โตกิจกล้าธวัฒน์) | อว. | 22/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสาวอัณณ์ณิชา โตกิจกล้าธวัฒน์
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการสูง)
กองมาตรฐานการวิจัยและสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านระบบวิจัย
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งแต่วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๗
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ขอความเห็นชอบการจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ (Agreement for Cooperation between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the United States of America concerning Peaceful Uses of Nuclear Energy) (123 Agreement) | อว. | 22/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวรัตนา แสงบัวเผื่อน) | ศธ. | 22/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสาวรัตนา แสงบัวเผื่อน ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการสูง) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ ๗ พฤษภาคม
๒๕๖๗ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายชนะ สุ่มมาตย์) | ศธ. | 22/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายชนะ สุ่มมาตย์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการแนะแนว
(นักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ) สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส
(นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (1. นายธีรเดช ถิรพร ฯลฯ จำนวน 4 ราย) | นร.07 | 15/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน ๔ ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้ ๑. นายธีรเดช ถิรพร ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ
(นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗ ๒. นางสาวศรินทิพย์ ธนวิจิตรพันธ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ)
สำนักงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๗ ๓. นายพลากร ม่วงพันธ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ
(นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๗ ๔. นางอมรรัตน์ ภูมิวสนะ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ
(นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๗
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ร่างเอกสารถ้อยแถลงในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านปัญญาประดิษฐ์ [ASEAN Ministerial Meeting on Science, Technology and Innovation (AMMSTI) Statement on Artificial Intelligence (AI)] | อว. | 08/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (1. นายอัครุตม์ สนธยานนท์ ฯลฯ รวม 7 คน) | กค. | 08/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์
รวม ๗ คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๘ ตุลาคม ๒๕๖๗) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. นายอัครุตม์ สนธยานนท์ ประธานกรรมการ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) ๒. นายชุมพล สุวรรณกิจบริหาร กรรมการ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) ๓. นายกฤษณ์ เสสะเวช กรรมการ ๔. นายธะเรศ โปษยานนท์ กรรมการ ๕. นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการ ๖. นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ กรรมการ ๗. นายดรุฒ คำวิชิตธนาภา กรรมการ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2567 | รง. | 24/09/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ๒. อนุมัติในหลักการ ๒.๑
ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ... ๒.๒
ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ... รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๓. เห็นชอบในหลักการ ๓.๑
ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ... ๓.๒
ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ... ๓.๓
ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การขยายระยะเวลาการเปลี่ยนนายจ้างและระยะเวลาการทำงานกับนายจ้างรายใหม่
สำหรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
ภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ ๓.๔
ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การยกเว้นการแจ้งข้อมูลการทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๔/๒ รวม
๔ ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข
ที่เห็นว่าการทำประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยจะต้องมีสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าการทำประกันสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
และอายุความคุ้มครองต้องไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตทำงาน
รวมทั้งในกรณีที่นายจ้างได้รับการยกเว้นไม่ต้องเข้าประกันสังคม
คนต่างด้าวต้องทำประกันสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๔.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการต่างประเทศ เห็นควรสนับสนุนการบริหารจัดการให้แรงงานต่างด้าวในไทยมีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
และเพื่อให้แรงงานต่างด้าวได้รับการคุ้มครองและเข้าถึงสิทธิที่พึงได้ตามกฎหมาย และอาจพิจารณาแจ้งแนวทางดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของราชอาณาจักรกัมพูชา
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามทราบและปฏิบัติให้สอดคล้องกันด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... | สธ. | 03/09/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. ๒๕๖๒ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขอขึ้นทะเบียน การขึ้นทะเบียน การเพิกถอนทะเบียน และการประเมินคุณภาพการให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมหรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงแรงงาน สำนักงาน ก.พ.ร.
กรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
เช่น กรุงเทพมหานคร เห็นควรให้หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้รับผิดชอบ
ต้องสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีความพร้อมมากยิ่งขึ้นในการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวด้วย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นควรรับฟังข้อคิดเห็นจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพื่อประกอบการพิจารณา
และควรพิจารณาทบทวนการกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามความจำเป็น ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ.ร. และกรุงเทพมหานคร ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ดังนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นว่าการกำหนดให้กฎกระทรวงใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามร่างกฎกระทรวงข้อ
๑ ควรพิจารณาให้กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้เร็วกว่าที่กำหนด
การกำหนดระยะเวลาแจ้งผลการพิจารณารับขึ้นทะเบียนให้แก่หน่วยบริการตามร่างกฎกระทรวงฯ
ข้อ ๙ วรรคหนึ่ง ควรกำหนดให้สอดคล้องตามมาตรา ๑๐
แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นต้น กรุงเทพมหานคร เห็นควรให้หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้รับผิดชอบ
ต้องสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีความพร้อมมากยิ่งขึ้นในการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. .... | อว. | 13/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ.
.... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการบริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับของรัฐ
เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ มีความคล่องตัวและมีธรรมาภิบาล
สามารถจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง
รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม
และการปฏิรูปการอุดมศึกษา ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา โดยให้ส่งความเห็นของกระทรวงการคลังไปเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน และการส่งเสริมความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภค | นร.14 | 13/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายใต้กรอบวงเงิน
๙,๑๘๗.๔๔๖๒ ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน
และการส่งเสริมความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภค จำนวน ๓,๐๓๒
รายการ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๗/๘๖๙๘ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๗) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงบประมาณ เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ตามขั้นตอนของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒ และให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการให้ทันต่อสถานการณ์และสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
และให้เร่งรัดดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน ๒๕๖๗
โดยให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | ยธ. | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ในอัตรา ไม่เกิน ๑๓,๐๔๗ อัตรา
โดยแบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง
และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด ดังนี้ ๑)
บำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๒.๕
ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง จำนวน ๓๗๒,๖๕๘ อัตรา คิดเป็นอัตราไม่เกิน ๙,๓๑๖ อัตรา และ ๒)
บำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๑.๕ ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด
จำนวน ๒๔๘,๗๑๕ อัตรา คิดเป็นอัตราไม่เกิน ๓,๗๓๑ อัตรา ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงบประมาณ เห็นควรที่กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้พิจารณากำหนดกรอบอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษฯ
อย่างเคร่งครัด
โดยการทบทวนปรับลดการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดประเภทเกื้อกูลเท่าที่จำเป็น
รวมทั้งควรมีการพิจารณาคัดเลือกและจัดสรรอัตราบำเหน็จความชอบที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว
ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง สำหรับงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าว
เห็นควรให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของส่วนราชการต้นสังกัดในโอกาสแรกก่อน
หากไม่เพียงพอให้เบิกจ่ายจากงบกลาง
รายการเงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการเป็นลำดับต่อไป |