ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 3 จากข้อมูลทั้งหมด 3 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศและกิจการยุโรปแห่งสาธารณรัฐโครเอเชียว่าด้วยการหารือทางการเมือง | กต. | 14/05/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศและกิจการยุโรปแห่งสาธารณรัฐโครเอเชีย
ว่าด้วยการหารือทางการเมือง (Memorandum of
understanding between the Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of
Thailand and the Ministry of Foreign and European Affairs of the Republic of
Croatia on Political Consultations) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจฯ
โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งกลไกการหารือทางการเมืองระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นต่าง ๆ
ที่มีความสนใจและเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ๒. ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
ในอนาคตอาจพิจารณาขยายประเด็นการหารือให้ครอบคลุมประเด็นความมั่นคงที่เป็นข้อกังวลของทั้งสองฝ่าย
เช่น อาชญากรรมข้ามชาติ ความมั่นคงทางไซเบอร์ การต่อต้านการก่อการร้าย
การต่อต้านแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง
และให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๗ (เรื่อง
การดำเนินการตามพิธีการทางการทูต)
เกี่ยวกับการสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงผลประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ของการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 6 แผนงาน | มท. | 02/04/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ของการไฟฟ้านครหลวง
จำนวน ๖ แผนงาน ภายในกรอบวงเงินรวม ๓๘,๙๐๐ ล้านบาท
โดยให้ทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นรายปีจนกว่าการดำเนินงานจะแล้วเสร็จ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทย (การไฟฟ้านครหลวง) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
เช่น คำนึงถึงความคุ้มค่า ความสามารถในการชำระหนี้ และการกระจายภาระการชำระหนี้
ตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมทั้งดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมาย
ระเบียบและหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
และจัดทำแผนการกู้เงินส่งให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเพื่อบรรจุวงเงินกู้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณตามระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารหนี้สาธารณะ
พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยขอให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน
เงื่อนไขและรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินตามความเหมาะสมและความจำเป็นต่อไป ควรคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
และหากได้รับอนุมัติให้กู้เงินแล้วควรดำเนินโครงการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
และข้อบังคับให้ถูกต้อง ครบถ้วน
โดยคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับเป็นสำคัญด้วย เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 | นร. | 30/01/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ
โดยเฉพาะเรื่องฝุ่นละออง PM2.5 มาอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่กระทำความผิดอย่างเข้มงวด
และขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหา
ตลอดจนประสานการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
ส่งผลให้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในหลายพื้นที่บรรเทาความรุนแรงลง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในอีกหลายพื้นที่ของประเทศยังน่าเป็นห่วง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงขอมอบหมายการดำเนินการ
ดังนี้ ๑. ให้รองนายกรัฐมนตรีทุกท่านลงพื้นที่ในเขตตรวจราชการในความรับผิดชอบเพื่อติดตามและตรวจสอบสภาพปัญหาฝุ่นละออง
PM2.5
และกำกับดูแลการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวให้ทั่วถึงและเพียงพอ ๒. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม [สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)]
ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 และจุดความร้อนในพื้นที่ต่าง ๆ
ให้ครบถ้วนอย่างต่อเนื่อง
เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประกอบการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เหมาะสม ถูกต้องต่อไป
|