ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 441 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | (ร่าง) แนวทางปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) | ทส. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
2 | มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติและมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ | สช. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติและมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
โดยมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
เช่น การบูรณาการแรงงานข้ามชาติเข้าสู่นโยบายพัฒนาประเทศ
การพัฒนาหลักประกันสุขภาพที่มีเสถียรภาพครอบคลุมแรงงานข้ามชาติทุกกลุ่ม
โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการพำนักอยู่ในไทย และการพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิครอบคลุมแรงงานข้ามชาติ
และมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
เช่น การพัฒนาปรับปรุงมาตรการ หลักเกณฑ์
แนวปฏิบัติการรับรองการเกิดและมาตรการเชิงรุก
การจดทะเบียนครบขั้นตอนทันทีหลังการเกิดเพื่อรองรับสิทธิในสัญชาติ
และการปรับปรุงกฎหมาย และพัฒนาบริการสาธารณสุข
สิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงบประมาณ
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณาและออกแบบแหล่งที่มาของเงินสนับสนุนการคุ้มครองและส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิทางสุขภาพสำหรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว
โดยคำนึงถึงสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ
และระดับความสามารถในการร่วมจ่ายเงินของนายจ้างและกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวตามสมควร ให้หน่วยรับประมาณที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
มาดำเนินการในโอกาสแรก สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน
ควรคำนึงถึงการวางแนวทางรองรับผลกระทบที่อาจมีต่อความเสี่ยงทางการคลังของประเทศในระยะยาว
ควรมีการบูรณาการการทำงานและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เพื่อมิให้ขัดกับกฎหมายที่มีอยู่ เช่น
กฎหมายว่าด้วยการกำหนดสัญชาติ
รวมทั้งควรมีการบูรณาการวางแผนการบริหารจัดการการเงินการคลังด้านสุขภาพภาครัฐให้มีความสมดุล
เพียงพอรองรับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของกลุ่มคนดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และมีความยั่งยืนในอนาคต มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
เช่น ประเด็น “การบูรณาการแรงงานข้ามชาติสู่นโยบายพัฒนาประเทศ”
ควรเน้นการวางแผนการจัดการและการบูรณาการในนโยบายพัฒนาประเทศ “ในระยะยาว ระยะกลาง
และระยะสั้น” ภายใต้บริบทที่สังคมไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
และมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
เช่น ควรพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
รวมถึงระบบสนับสนุนการเข้าถึงระบบประกันสุขภาพ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ครั้งที่ 1/2565 | อก. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
(กอช.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๕ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
ในฐานะรองประธาน กอช. เป็นประธานการประชุม
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติที่ประชุม กอช. ดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ ๑) (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐)
เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตอุปกรณ์และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในอาเซียน
และมีเทคโนโลยีเป็นของตนเองภายในปี ๒๕๗๐ โดยมีแนวทางดำเนินงาน ๓ มาตรการหลัก
ได้แก่ ยกระดับศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เดิม
กระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ และสร้างและพัฒนาระบบนิเวศสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ๒)
(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพืชกัญชงเชิงอุตสาหกรรมแห่งอาเซียนภายใน ๕ ปี
มีแนวทางดำเนินงาน ๔ มาตรการหลัก ได้แก่
สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่กัญชง
ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปเชิงพาณิชย์ ส่งเสริมด้านการตลาด
และสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการประกอบการ และ ๓)
การส่งเสริมและแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
มีแนวทางการดำเนินงาน ได้แก่ การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะ
๕ ปี (๒๕๖๖-๒๕๗๐)
จัดตั้งกองทุนอุตสาหกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เข่น ควรคำนึงถึงความยั่งยืนในการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรเชิงพาณิชย์
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานอย่างครบวงจรเพื่อเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชุมชนทั้งในภาคเกษตร
อุตสาหกรรมและบริการ
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้ระเบียบ
กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ และกฎระเบียบอย่างอื่นอย่างเคร่งครัด
ควรติดตามผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุม กอช. เพื่อเสนอต่อ กอช.
และคณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ การพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ควรให้ความสำคัญกับความต้องการของตลาดเป็นหลักจึงจะสามารถรองรับความผันผวนของราคาได้
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อว. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ รวมทั้งกำหนดสีประจำสาขาวิชาดังกล่าว
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การทบทวนนโยบายและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ วุฒิสภา | สว. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง
การทบทวนนโยบายและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ของคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ วุฒิสภา โดยมีข้อเสนอแนะ เช่น
ควรมีการทบทวนการจัดการศึกษา ทั้งในมิตินโยบาย ยุทธศาสตร์ โครงสร้าง ทรัพยากร
บุคลากร (ผู้บริหารและครู) งบประมาณ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด
ควรมีการทบทวนแนวทางการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาอาเซียน พ.ศ.
๒๕๕๙-๒๕๖๓ นโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) แผนการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๔ และแผนยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙) ควรปลูกฝั่งอุดมการณ์แบบแผนทางความคิด ความเชื่อ
และค่านิยมที่อยู่บนหลักสังคมพหุวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ควบคู่กับความมั่นคงของประเทศ
เป็นต้น ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
ได้แก่ การทบทวนการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งระบบ
การทบทวนแนวทางการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีความเป็นเอกภาพ (Unity) การทบทวนถึงแนวทางการปลูกฝังอุดมการณ์ แบบแผนทางความคิด ความเชื่อ
และค่านิยม การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา
และถ่ายทอดวัฒนธรรมความเป็นอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมค่าย
“ประวัติบ้านตำนานเมือง” รู้เข้า รู้เรา สร้างสันติสุขชายแดนใต้
ข้อจำกัดและเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาของเด็กและเยาวชนในพื้นที่
การบูรณาการพัฒนาการศึกษาควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตได้ดำเนินการพัฒนาและให้ความรู้แก่ผู้ปกครองของเด็กในพื้นที่ให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประกอบอาชีพ
รวมทั้งได้ดำเนินการยกระดับมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่
และมีการบูรณาการการเรียนการสอนหลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้น ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชุ่มน้ำ | ทส. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐ และวันที่ ๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จากเดิม ที่มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานประสานงานระดับชาติและตั้งงบประมาณสำหรับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ
รวมทั้งเป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินการตามมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็น
ให้กรมทรัพยากรน้ำ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบแทน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้แก้ไขชื่อหน่วยงานในมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ (เรื่อง
การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ เรื่อง
ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติของประเทศไทย
และมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ) จากเดิม “กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี”
เป็น “กรมเจ้าท่า” ตามความเห็นของกระทรวงคมนาคม รวมทั้งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่เห็นควรปรับรายชื่อหน่วยงานสนับสนุนท้ายมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่ขอทบทวนให้สอดคล้องเป็นปัจจุบัน
และขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นเงินบริจาคสนับสนุนอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ที่ได้รับจัดสรรแล้ว
โดยค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป
ขอให้กรมทรัพยากรน้ำจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามอัตราที่กำหนดตามขั้นตอนต่อไป
ควรใช้กลไกที่มีอยู่เพื่อให้การอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมความหลากหลายของระบบนิเวศ
เช่น การดำเนินการของสถาบันการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาศักยภาพ
เสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะในการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกกระทรวง
ตลอดจนประชาชนทั่วไป และพิจารณาวางแผนการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ของพื้นที่ชุ่มน้ำตามลำดับความสำคัญแต่ละแห่งให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | มาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงาน สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2565 | มท. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในกรอบวงเงินรวม ๖,๖๙๓,๓๐๘,๐๐๐ บาท เพื่อให้กระทรวงมหาดไทย (การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)
ใช้จ่ายในการดำเนินมาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงาน
สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ๒๕๖๕ ทั้งนี้
ให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๕/๑๕๓๑ ลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕)
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงพลังงาน ที่เห็นว่าการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่การไฟฟ้าทั้ง
๒ แห่ง ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายมณเฑียร ชูเสือหึง) | วธ. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายมณเฑียร ชูเสือหึง ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตรกรรม
(จิตรกรเชี่ยวชาญ) สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
ให้ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่างศิลปกรรม (ช่างศิลปไทย)
(นักวิชาการช่างศิลป์ทรงคุณวุฒิ) กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งแต่วันที่ ๓๐
ตุลาคม ๒๕๖๓ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติวัฒนธรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อว. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมและสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์เพิ่มขึ้น
และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชาดังกล่าว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... | มท. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... | มท. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่จังหวัดนนทบุรี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาจังหวัดนนบุรีให้เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย
มีคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดีมีการพัฒนาบริการสาธารณะที่ได้มาตรฐาน
และมีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ
สอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการผลิต การค้า การบริการและการลงทุน
ตลอดจนดำรงรักษาพื้นที่เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น
และวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน
โดยมีแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาจังหวัดนนทบุรีให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวม จำแนกออกเป็น ๑๔
ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ไห้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติกฎหมาย
กฎ หรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ควรคำนึงถึงกฎ ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งการตั้งสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตทางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
ประเภท ชนิด และจำพวกของโรงงานในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... ฉบับนี้ ลำดับที่ ๓๔ (๒)
ให้พิจารณากำหนดให้ตั้งในพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขาพของประชาชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | แผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 3 (พ.ศ. 2564-2568) | กต. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ (๑)
ผลการเข้าร่วมการรับรองผลการนำเสนอรายงานประเทศตามกลไก Universal
Periodic Review (UPR) รอบที่ ๓
ในการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human
Rights Council-UNHCR) สมัยที่ ๔๙ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕
ซึ่งคณะผู้แทนถาวรไทย ณ นครเจนีวา ได้ร่วมรับรองผลการนำเสนอรายงานประเทศฯ และแจ้งตอบรับข้อเสนอแนะภายใต้กลไก
UPR เพิ่มอีก ๒๕ ข้อ
(จากเดิมที่ได้ตอบรับไว้แล้วในที่ประชุมคณะทำงาน UPR สมัยที่
๓๙ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ จำนวน ๑๙๓ ข้อ และขอนำกลับมาพิจารณาเพิ่มเติม ๘๕
ข้อ) รวมเป็น ๒๑๘ ข้อ และรับทราบ (ไม่ตอบรับ) ข้อเสนอแนะ ๖๐ ข้อ รวมทั้งได้ให้คำมั่นโดยสมัครใจรวม
๘ ข้อ และ (๒) ผลการดำเนินการภายหลังการรับรองผลการนำเสนอรายงานประเทศฯ
ซึ่งรวมถึงการยกร่างแผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก
UPR รอบที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๘) และเห็นชอบร่างแผนการปฏิบัติตามฯ
พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนการปฏิบัติตามดังกล่าวไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาปรับกรอบระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมตามร่างแผนการปฏิบัติตามฯ
ให้เหมาะสมสอดคล้องกับข้อเท็จจริง รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น
การกำหนดให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหน่วยงานรองในการร่วมมือกับหน่วยงานต่าง
ๆ ในการบริหารจัดการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-๑๙
(ศบค.) นั้น ปัจจุบันการปฏิบัติภารกิจของ ศบค. ได้ยุติลงแล้ว เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น | พน. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ๓๐๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท
ให้กรมธุรกิจพลังงาน โดยให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้อนุมัติและดำเนินการแทนกรมธุรกิจพลังงาน
ผ่านวิธีการเบิกจ่ายงบประมาณแทนกัน
และให้กระทรวงพลังงานดำเนินมาตรการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน (กรมธุรกิจพลังงาน)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร
๐๗๐๘/๒๑๔๐ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๕) โดยให้กรมธุรกิจพลังงานดำเนินการใช้จ่ายจากงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและมีเหลือจ่ายในลำดับแรกก่อน
โดยเบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป
ในกรณีที่มีการเริ่มใช้สิทธิแก่ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ
ปี ๒๕๖๕ ก่อนสิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๖๖
ให้โครงการดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันที่จะเริ่มใช้สิทธิ ต่อไป ๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรเร่งรัดการเริ่มใช้สิทธิแก่ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐปี
๒๕๖๕ เพื่อให้รัฐสามารถจัดสวัสดิการให้ความช่วยเหลือประชาชนแบบมุ่งเป้า
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๓.
ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2559 เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยุติการดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำบ้านจันเดย์ | พน. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๖ มกราคม ๒๕๕๙ (เรื่อง โครงการไฟฟ้าพลังงานบ้านจันเดย์) เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยุติการดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำบ้านจันเดย์
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่เห็นควรกำกับการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนต่าง
ๆ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประทศไทย ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
ให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ให้จัดหาพลังงานไฟฟ้าทดแทนจากแหล่งพลังงานอื่นโดยเฉพาะที่มาจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อประโยชน์ต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า
รวมทั้งเป็นไปและสอดคล้องกับนโยบาย BCG ของรัฐบาลต่อไป และควรยุติโครงการฯ ไว้ก่อน แต่ไม่ควรยกเลิกอย่างสิ้นเชิง
ในระหว่างนี้ให้ติดตามข้อมูลลงทุนความเหมาะสมของการพัฒนาโครงการฯ ในอนาคตต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาทบทวนการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ ๑ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ให้เหมาะสมและเป็นปัจจุบัน โดยคำนึงถึงความจำเป็น ความคุ้มค่า
และความเหมาะสมทางเทคนิคที่จะนำมาใช้ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบและรัดกุมเพื่อให้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐ มีความถูกต้อง ชัดเจน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ศธ. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้สถานศึกษาที่มีนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งตั้งครรภ์อยู่ในสถานศึกษาต้องไม่ให้นักเรียนหรือนักศึกษานั้นออกจากสถานศึกษาดังกล่าว
เว้นแต่เป็นการย้ายสถานศึกษาตามเจตนารมณ์ของนักเรียนหรือนักศึกษาที่ตั้งครรภ์
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | โครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรมทางหลวง | คค. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข ๘๒ สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว
สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรมทางหลวง เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
โดยโครงการร่วมลงทุน O&M
มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาสภาพการจราจรที่ติดขัดบนทางหลวงหมายเลข ๓๕
(ถนนพระราม ๒) โดยเฉพาะช่วงเร่งด่วนเช้าและเย็น
เพิ่มโครงการถนนสายหลักในพื้นที่ตอนล่างของกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง
ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม
กรมทางหลวง และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒
รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานอัยการสูงสุด และคณะกรรมการนโยบายการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ที่ กค
๐๘๒๐.๑/๔๗๗๐ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๕) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง เช่น ให้กรมทางหลวงพิจารณาแนวทางการเปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันและกำหนดเงื่อนไขการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน
และให้เร่งรัดการก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | การจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) [ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....] | ดศ. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ
(องค์การมหาชน) พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการยกฐานะของสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ
(Government Big Data Institute : GBDI)
หน่วยงานภายในภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ให้เป็นสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (National Big
Data Institute : NBDI) ซึ่งเป็นองค์การมหาชน
เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อน วิเคราะห์
และบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศโดยตรง ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้แก้ไขชื่อหน่วยงาน ตัดคำว่า
“คลัง” และ “แห่งชาติ” ออก เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน
ตลอดจนมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ที่กำหนดว่า
“ไม่ควรใช้คำว่า “แห่งชาติ”
ในการกำหนดชื่อหน่วยงานของรัฐเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเอกรัฐ
และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งทำหน้าที่ในฐานะ “แห่งชาติ” อยู่แล้ว” และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ เช่น การกู้ยืมเงินของ NDBI ต้องทำด้วยความระมัดระวัง
รอบคอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk)
โดยจะต้องยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะและกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ตลอดจนระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรให้ผู้บริหารหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับมิติด้านเศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นกรรมการด้วย
ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาปรับเปลี่ยนองค์กรรูปแบบใหม่
เมื่อได้ดำเนินการจัดตั้ง NDBI ครบ ๒ ปี เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | รายงานผลการติดตามและการประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism: JCM) | ทส. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการติดตามและการประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง
ๆ ภายใต้กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting
Mechanism : JCM) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (๑)
การสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการพัฒนาโครงการต้นแบบโดยญี่ปุ่นได้ให้เงินทุนสนับสนุนในการพัฒนาโครงการฯ
จำนวน ๔๙ โครงการ คิดเป็นมูลค่า ๓,๐๑๘ ล้านบาท
มีผู้รับทุนเป็นบริษัทเอกชนไทย จำนวน ๔๕ แห่ง
โดยมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้เท่ากับ ๒๖๒,๓๕๗
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (๒) สถานภาพการดำเนินโครงการ โครงการต้นแบบ
JCM ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว จำนวน ๑๑ โครงการ
มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้เท่ากับ ๕๘,๐๙๖ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
และมีโครงการที่ได้รับการรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิต จำนวน ๕ โครงการ
มีปริมาณคาร์บอนเครดิตเท่ากับ ๔,๐๓๒
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | การร่วมทุนในบริษัท LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง | พน. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าร่วมทุนในบริษัท LNG Receiving
Terminal (แห่งที่ ๒) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง
จังหวัดระยอง ในสัดส่วนร้อยละ ๕๐ โดยมีมูลค่าเงินลงทุนตามสัดส่วนดังกล่าวไม่เกิน
๑๖,๓๕๐ ล้านบาท และ กฟผ. ได้รับอนุมัติงบประมาณเพื่อการลงทุนตามแผนการประมาณการเบิกจ่ายประจำปี
๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงาน และ กฟผ.
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจที่เห็นควรให้ กฟผ.
กำหนดขอบเขตการดำเนินงานด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงจากปัจจัยต่าง ๆ ที่จะส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้
และ กฟผ.
ควรกำกับดูแลบริษัทในเครือให้ดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งเป้าหมายการดำเนินงาน
สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และไม่เป็นภาระทางการเงินกับ กฟผ. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. อนุมัติในหลักการการยกเว้นภาษี
เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้าง
การจัดตั้งบริษัทฯ และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องจากการร่วมทุนในบริษัทดังกล่าว
ทั้งนี้
ในส่วนของการลดหย่อนค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนการจำนองให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
และให้กระทรวงพลังงาน และ กฟผ. ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไปอย่างเคร่งครัด
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | รายงานผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุน โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว | อก. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว
เพื่อให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฯ กับเอกชน
ผู้ผ่านการพิจารณาข้อเสนอร่วมลงทุนต่อไป ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ให้กระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานอัยการสูงสุด และประธานกรรมการนโยบายร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เช่น
จะต้องกำกับการดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
สอดคล้องกับระยะเวลาของสัญญาฉบับเดิมที่จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน ๒๕๖๕
ควรคำนึงถึงการเจรจาผลประโยชน์ตอบแทนระหว่างรัฐและเอกชนอย่างเป็นธรรมตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูลด้วย
ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำกับติดตามให้คู่สัญญาตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามที่เสนอไว้ในรายงาน
EIA อย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรม
(การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) ดำเนินการดังต่อไปนี้ด้วย ๑.๑ พิจารณาปรับแก้ร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเรือสาธารณะ
เพื่อขนถ่ายสินค้าเหลวให้ถูกต้อง สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น ร่างสัญญาร่วมทุนฯ
ข้อ ๓.๑.๒)ก. เกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๕ (เรื่อง
การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูลโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว)
ซึ่งเป็นการอนุมัติให้ใช้วิธีการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยใช้วิธีประมูล ตามมาตรา
๓๔ แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒ เท่านั้น เป็นต้น ๑.๒
พิจารณากำหนดแนวทางดำเนินการในกรณีที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยไม่ได้รับอนุญาตให้ขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมหรือการถมทะเลเพื่อขยายพื้นที่สำหรับก่อสร้างถังเก็บบรรจุสินค้าเหลว
(Tank
Farm) เพิ่มเติม
เพื่อป้องกันมิให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือเป็นเหตุให้เอกชนคู่สัญญาใช้เป็นข้ออ้างในการบอกเลิกสัญญาหรือเรียกร้องค่าเสียหายในภายหลัง ๑.๓ พิจารณากำหนดมาตรการรองรับในกรณีที่เอกชนคู่สัญญาใช้สิทธิตามสัญญาในการขยายระยะเวลาการก่อสร้างถังบรรจุสินค้าเหลวหรือการถมทะเล
ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้าและสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้จากการให้บริการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว ๒.
ให้กระทรวงอุตสาหกรรม (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลพิจารณาทบทวนมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุน้ำมันหรือสารเคมีรั่วไหลลงทะเล
โดยให้พิจารณานำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการตามความจำเป็นและเหมาะสมด้วย
เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ ชดเชย
เยียวยาแก่ผู้ประสบภัยหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น
ให้เหมาะสม ชัดเจน และเป็นรูปธรรม เพื่อให้การดำเนินการช่วยเหลือฯ
เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ และถึงมือผู้ประสบภัยฯ อย่างแท้จริง |