ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 32 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | มติการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 | นร.13 | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติมติรับทราบและเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ สรุปได้ ดังนี้ (๑) เรื่องเพื่อทราบ
จำนวน ๔ เรื่อง ได้แก่ ๑) รับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายฯ
ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายฯ มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๖
โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป็นกรรมการและเลขานุการ ๒) รับทราบความคืบหน้าของการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
๓) รับทราบการนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในราชการตามมติคณะรัฐมนตรี (๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๔, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ และ ๑๖ ตุลาคม
๒๕๖๖) และ ๔) รับทราบมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า และ (๒)
เรื่องเพื่อพิจารณา รวม ๕ เรื่อง ได้แก่ ๑) การแก้ไขหลักเกณฑ์ภายใต้มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
(EV3) ๒) มาตรการ EV3.5 คณะกรรมการนโยบายฯ
ได้พิจารณามาตรการ EV3.5 เพื่อให้มีผลใช้บังคับในช่วงปี ๒๕๖๗-๒๕๗๐
โดยครอบคลุมทั้งรถยนต์นั่ง รถกระบะและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
รวมถึงสิทธิประโยชน์สำหรับรถยนต์แต่ละประเภทด้วย ๓) สนับสนุนงบประมาณสำหรับมาตรการ
EV3 ในส่วนที่ขาด และ EV3.5 ๔) การขยายเวลาสิทธิประโยชน์ภาษีสรรพสามิตของรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล
(ECO Car) และ ๕) การปรับปรุงกระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญสำหรับรถยนต์นั่งในเขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการเสรี
(Free Zone) : คณะกรรมการนโยบายฯ
ในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ตามที่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นควรกำหนดเป้าหมายในการสนับสนุน
Eco Car ที่ชัดเจน
โดยหลังจากขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยซน์ด้านภาษีสรรพสามิตในครั้งนี้แล้ว
ควรใช้อัตราภาษีตามโครงสร้างภาษีสรรพสามิตสินค้ารถยนต์ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม ๒๕๖๙ เป็นต้นไป หากมีการดำเนินกิจกรรม มาตรการ
หรือโครงการที่อาจก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคต
รวมทั้งการยกเว้นหรือการลดภาษีอากรใด ๆ
หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐต่อไป สำหรับงบประมาณในการดำเนินการตามมาตรการการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าดังกล่าว
สำนักงบประมาณได้เสนอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๙
ให้กรมสรรพสามิต ภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต
โครงการการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ งบเงินอุดหนุน
เงินอุดหนุนทั่วไป รายการเงินอุดหนุนตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์
จำนวน ๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐
บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเงินอุดหนุนตามมาตรการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘-๒๕๗๐
เห็นควรให้กรมสรรพสามิตเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
และควรพิจารณากำหนดแผนงานในส่วนของการดำเนินการตาม “มาตรการเพื่อพัฒนารถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล
(ECO Car) และรถกระบะในระยะต่อไป
ให้เป็นไปในทิศทางที่สอดรับกับแนวทางการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ”
ให้ชัดเจนต่อไปโดยเร็ว นอกจากเรื่องการส่งเสริมการผลิต และประเด็นการพัฒนารถยนต์ ECO
Car และรถกระบะ รวมถึงเป้าหมายการแก้ไขปัญหา PM 2.5 และการมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon neutrality ในขณะเดียวกัน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของรองนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ | นร 05 | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.)
ของรองนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ รวมทั้งหมด ๓๗ ราย
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายชนินทร์
รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๒. นางสาวอรณี
รัตนประเสริฐ นักทัณฑวิทยาชำนาญการ ๓. นายศึกษิษฏ์
ศรีจอมขวัญ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๔. นายชื่นชอบ
คงอุดม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๕. พลเอก
ธนะศักดิ์ ชื่นอิ่ม รองปลัดกระทรวงกลาโหม ๖. นางสาวพินทุ์สุดา
ชัยนาม เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง ๗. นายมนตรี
เดชาสกุลสม รองปลัดกระทรวงคมนาคม ๘. นายเวทางศ์
พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ๙. นางโสรดา
เลิศอาภาจิตร์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ๑๐. นายสมคิด
จันทมฤก รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ๑๑. นายสมาสภ์
ปัทมะสุคนธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ๑๒. นางโชติกา
อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ๑๓.
นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ๑๔. นายพงศธร พอกเพิ่มดี นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านสาธารณสุข) รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๑๕. นายเอกภัทร
วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ๑๖. นายมงคลชัย
สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๑๗. นางนิชา
หิรัญบูรณะ ธุวธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ๑๘. นางอุดมพร
เอกเอี่ยม รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๑๙.
นางสาวสาวิตรี ชำนาญกิจ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๐. นายวีรศักดิ์
ทิพย์มณเฑียร รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ๒๑. นายยุทธนา
สาโยชนกร รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ๒๒. นายฉัตรชัย
บางชวด รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งซาติ ๒๓. นายกิตติศักดิ์ จุลสำรวล กรรมการร่างกฎหมายประจำ
(นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) ๒๔. นายสุวัฒน์ เอื้อเฟื้อ รองเลขาธิการ
ก.พ. ๒๕. นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ
ก.พ.ร. ๒๖. นายนฤชา ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษาด้านการลงทุน ๒๗. นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ๒๘. นายศุภฤกษ์ ภู่พงศ์ศักดิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ๒๙. นายประเสริฐ ศิรินภาพร รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ๓๐. นางพิชญดา หัศภาค รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ ๓๑. นายศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา
รักษาราชการแทนเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา ๓๒. นายเทพสุ บวรโชติดารา เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ๓๓. นายธัชพล กาญจนกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ๓๔. พลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ๓๕. พลเรือตรี จุมพล นาคบัว ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทาง ทะเล ๓๖. นายทศพร แย้มวงษ์ รองเลขาธิการวุฒิสภา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2566 | นร.11 สศช | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖
เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๖ ดังนี้ (๑) รับทราบการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ปี ๒๕๖๔ ของกระทรวงมหาดไทย (จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดสุพรรณบุรี)
โดยยกเลิกการดำเนินโครงการ จำนวน ๓ โครงการ วงเงิน ๗.๙๖๕๐ ล้านบาท เนื่องจากไม่สามารถลงนามและผูกพันสัญญาได้ภายในเดือนพฤษภาคม
๒๕๖๕ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕ และ (๒) รับทราบผลการนำส่งเงินกู้เหลือจ่ายโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ
พ.ศ. ๒๕๖๓ คืนคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ของสำนักบริหารหนี้สาธารณะ ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานเจ้าของโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นควรให้กระทรวงต้นสังกัดติดตามหน่วยงานเจ้าของโครงการในการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
และกำกับดูแลหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้เป็นไปอย่างคุ้มค่า
มีประสิทธิภาพ และบรรลุผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามที่ได้กำหนดไว้ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ข้อ ๒๒ และ ๒๓ สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
หากมีเงินกู้เหลือจ่ายของโครงการนั้น ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ รายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังภายใน ๓ เดือน
นับจากวันที่สิ้นสุดการดำเนินโครงการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖
เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรกำกับติดตามหน่วยงานในสังกัดให้ดำเนินการตามแผนงานโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
และกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด
และหน่วยงานรับผิดชอบโครงการจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตามหลักเกณฑ์
อัตราค่าใช้จ่าย และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม | กษ. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรโคนม
โดยปรับเพิ่มราคารับซื้อน้ำนมโคเป็น
๒๒.๗๕ บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ ให้มีผลนับตั้งแต่วันที่กระทรวงพาณิชย์อนุญาตให้ผู้ประกอบการนมพาณิชย์ปรับราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมในตลาดนมพาณิชย์ได้
โดยให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาการปรับขึ้นราคาผลิตภัณฑ์นม (นมพาณิชย์) ให้เหมาะสม
สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้ประกอบการ
ตามมติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์ นม ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๔
มีนาคม ๒๕๖๖ กรณีโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน โดยคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน และให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พิจารณาทบทวนแนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรโคนมให้เหมาะสมและตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้เลี้ยงโคนมรายย่อย
รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำนมโคให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมด้วย และให้เร่งดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมปศุสัตว์และองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงพาณิชย์
เช่น ควรพิจารณาให้มีผลในปีงบประมาณถัดไป เนื่องจากอาจส่งผลให้มีการปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม
โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ซึ่งเกิดจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น
และส่งผลกระทบต่องบประมาณของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและหน่วยรับงบประมาณ
(องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมือง กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา) ที่ได้รับการจัดสรร
สำหรับใช้ในการดำเนินการตามโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ไม่เพียงพอ ดังนั้น
ควรให้สำนักงบประมาณพิจารณาให้ความเห็นในประเด็นดังกล่าว อีกทางหนึ่ง ควรมีการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์นมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กระทรวงสาธารณสุข กำหนดเพื่อให้นักเรียนได้บริโภคอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
ที่มีคุณภาพ ควรพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านปริมาณน้ำนมดิบ
นอกเหนือจากการปรับราคาด้วย เช่น การลดต้นทุนให้แก่เกษตรกร
การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเลี้ยงโคนม
และการสนับสนุนให้มีผลิตภัณฑ์นมที่หลากหลายเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค เป็นต้น ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การสนับสนุนการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ | นร. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
ตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้
สรุปว่ารัฐบาลจะไม่ละเลยเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
สานต่อนโยบาย Carbon Neutrality เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ
และจะใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ นั้น
เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าว
ผ่านการส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero
Emission Vehicle) ซึ่งกำหนดเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่ร้อยละ
๓๐ ของกำลังการผลิตยานยนต์ภายในประเทศภายในปี ๒๕๗๓
จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ ๑.
ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐพิจารณาดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) มาใช้ในราชการแทนรถยนต์เดิมที่จะหมดอายุการใช้งานหรือที่จะต้องจัดซื้อจัดจ้างขึ้นใหม่เพื่อรองรับภารกิจใหม่หรือผู้ดำรงตำแหน่งใหม่
รวมทั้งให้กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงพลังงานสำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่าง
ๆ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าวให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมร่วมกับกระทรวงการคลังพิจารณากำหนดมาตรการและมาตรฐานเพื่อขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนรถสาธารณะทุกชนิด
[เช่น รถโดยสารประจำทาง
รถยนต์รับจ้าง (แท็กซี่) และรถสามล้อ] ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV)
และดำเนินการตามขั้นตอนให้ถูกต้อง
เพื่อให้มีผลใช้บังคับโดยเร็วต่อไป ๓.
ให้กระทรวงพลังงานร่วมกับกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการเพื่อสนับสนุนการก่อสร้างโครงข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ
รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานตามความจำเป็นเร่งด่วนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ๔.
ให้กระทรวงคมนาคมประสานความร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและสงเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาและกำหนดนโยบายและมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาปภายในมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า
(EV) เช่น
การส่งเสริมให้เกิดตลาดรถยนต์ใช้แล้วสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
การส่งเสริมผู้ประกอบการซ่อมบำรุงรถยนต์ไฟฟ้า การกำจัดรถยนต์ที่หมดอายุการใช้งาน (End
of Life Vehicle) และการนำชิ้นส่วนรถยนต์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
รวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้ามีความเหมาะสมและจูงใจให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น ๕.
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงการคลัง
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการทุน
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกพิจารณากำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อส่งเสริมให้เกิดห่วงโซ่อุปทาน
(Supply Chain) ยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศอย่างครบวงจร
โดยเฉพาะการผลิตชิ้นส่วนสำคัญ (เช่น แบตเตอรี่ และระบบส่งกำลังด้วยไฟฟ้า)
ภายในประเทศ เพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ภายในประเทศ
และรองรับการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนสำคัญของภูมิภาค
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์) | คค. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบหลักการโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง
เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์)
และให้กระทรวงคมนาคมรับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุนต่างประเทศ (Road Show) ในการพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์เพื่อนำมาประกอบในการจัดทำร่างเอกสารเชิญชวนผู้ลงทุนในการร่วมลงทุนโครงการ
(RFP) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ที่เห็นว่าในการดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้
เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน
กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ป่าเพื่อลดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดระนองที่มีพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์และมีพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง
(Ranong Biosphere Reserve) ตั้งอยู่
รวมทั้งมีพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ระหว่างดำเนินการตามกระบวนการเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ทั้งนี้
ให้ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 4/2566 | นร.08 | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ปรับลดพื้นที่อำเภอยี่งอ
จังหวัดนราธิวาส อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี และอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ออกจากพื้นที่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อนำพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๕๑ มาบังคับใช้แทน ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ๒.
เห็นชอบให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
เป็นระยะเวลา ๓ เดือน ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๗ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ๓. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
ยกเว้นอำเภอยี่งอ อำเภอศรีสาคร อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน
จังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอยะหริ่ง อำเภอมายอ อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ
และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง
ออกไปอีก ๓ เดือน ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๗
ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ๔. เห็นชอบและรับทราบร่างประกาศ ดังนี้ ๔.๑
เห็นชอบร่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ๔.๒
เห็นชอบร่างประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
ยกเว้นอำเภอยี่งอ อำเภอศรีสาคร อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดปัตตานี
ยกเว้นอำเภอยะหริ่ง อำเภอมายอ อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ
และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง ๔.๓
เห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ ๔.๔
รับทราบร่างประกาศ เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ ๔.๕
รับทราบร่างประกาศ เรื่อง
ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอยี่งอ
จังหวัดนราธิวาส อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี และอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา รวม
๕ ฉบับ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๕.
เห็นชอบข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนไปสู่การยกเลิกกฎหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๖
ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ๖.
ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติจัดทำประกาศและคำสั่งตามที่พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ กำหนดไว้
เพื่อรองรับการออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตพื้นที่อำเภอศรีสาคร
จังหวัดนราธิวาส ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การกำหนดให้การจัดการขยะเป็นวาระเร่งด่วน | นร. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า เนื่องจากปัญหาขยะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชนจำเป็นจะต้องร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน
ให้สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
จึงเห็นควรดำเนินการ ดังนี้ ๑. ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเป็นหน่วยงานนำร่องในการดำเนินการบริหารจัดการขยะภายในหน่วยงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและมีความต่อเนื่อง
โดยให้ดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งระบบ ตั้งแต่ในระดับต้นทาง เน้นการลดปริมาณขยะ (Reduce) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ระดับกลางทาง
เน้นการส่งเสริมให้มีการแยกขยะเพื่อให้สามารถนำขยะกลับมาใช้ซ้ำหรือใช้ใหม่
และนำขยะเข้าสู่กระบวนการกำจัดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และระดับปลายทาง
มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีภารกิจจัดการขยะเร่งดำเนินการกำจัดขยะที่มีอยู่ให้หมดไปและไม่เกิดการตกค้าง
รวมทั้งให้จัดหาพื้นที่กำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะ
โดยใช้วิธีการกำจัดขยะที่เหมาะสมกับขยะแต่ละประเภทตามหลักวิชาการและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณากำหนดแนวทางการลดปริมาณขยะของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐให้ชัดเจน
เหมาะสม เช่น การลดการใช้ขวดและถุงพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติกต่าง ๆ
แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติรัสเซีย เป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว | กต. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบการกำหนดให้
“สหพันธรัฐรัสเซีย” อยู่ในรายชื่อประเทศในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว
ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน
เป็นกรณีพิเศษ โดยมีเงื่อนไขให้มีผลบังคับใช้ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน
๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๗
เพื่อประโยชน์ต่อมิติเศรษฐกิจและการต่างประเทศกับสหพันธรัฐรัสเซีย
โดยเฉพาะด้านความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนที่เป็นรากฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ๒.
เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา
และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน เป็นกรณีพิเศษ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้
“สหพันธรัฐรัสเซีย”
อยู่ในรายชื่อประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน
๙๐ วัน ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๐
เมษายน ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขบทอาศัยอำนาจของร่างประกาศให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรเป็นหน่วยงานกลางในการประสานการกำกับ
ติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการเข้ามาของนักท่องเที่ยวสัญชาติรัสเซียร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ทั้งในมิติของหลักประติบัติต่างตอบแทนกับต่างประเทศ
มิติความมั่นคง มิติเศรษฐกิจ และมิติการท่องเที่ยว
เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชน และผลประโยชน์แห่งชาติ รวมทั้งควรมีการติดตามประเมินผลการดำเนินมาตรการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดผลกระทบจากการให้สิทธิการยกเว้นการตรวจลงตรา
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๔.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการท่องเที่ยวไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนามัคคุเทศก์ให้ได้มาตรฐานทั้งทักษะด้านภาษาต่างประเทศ
และภาษารัสเซีย ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม
และสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ รวมทั้งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ทราบในวงกว้าง
และเผยแพร่ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพของประเทศไทย อาทิ
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism)
ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพอีกทางหนึ่ง
ตลอดจนพัฒนาระบบความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยวที่สามารถเข้าถึงการแจ้งเหตุเตือนภัยหรือแจ้งเหตุประสบอันตรายได้อย่างสะดวก
เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความมั่นใจในการเดินทางมายังประเทศไทย
และสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีในระหว่างการพำนักในประเทศไทย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การเร่งจับกุมผู้กระทำผิดในคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี | นร. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
ในช่วงระยะเวลา ๑ ปีกว่า ๆ ที่ผ่านมา
ได้เกิดคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นจำนวนมากกว่า ๓๓๐,๐๐๐ คดี
และมีมูลค่าความเสียหายโดยรวมมากกว่า ๔๕,๐๐๐ ล้านบาท แต่สามารถจับกุมตัวผู้กระทำผิดเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมหรือให้ได้รับการลงโทษได้เพียงจำนวนน้อย
ดังนั้น
จึงขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการการทำงานกับกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเชิงรุก
ระดมกำลังปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในทุกรูปแบบอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง
เพื่อติดตามและจับกุมตัวผู้กระทำผิดในคดีดังกล่าวมาลงโทษตามกฎหมายให้มากยิ่งขึ้น
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการก่ออาชญากรรมดังกล่าวให้เท่าทันสถานการณ์และสร้างการรับรู้แก่ประชาชนให้ทั่วถึงและต่อเนื่องด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การเร่งรัดการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด | นร. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ
ดังนี้ ๑. ให้กระทรวงยุติธรรมกับกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการ
ดังนี้ ๑.๑
พิจารณาทบทวนกฎหมายและอนุบัญญัติต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งหมดที่อาจเป็นอุปสรรคและส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
รวมทั้งให้พิจารณาแนวทางในการควบคุมวัตถุ/เคมีภัณฑ์และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดชนิดต่าง
ๆ ตลอดจนเกณฑ์การกำหนดปริมาณยาเสพติดในการครอบครองของบุคคลที่เข้าข่ายเป็นผู้เสพยาเสพติดหรือเป็นผู้จำหน่ายยาเสพติดที่ต้องรักษาโทษตามกฎหมายให้ชัดเจน
ครบถ้วน ๑.๒ ลดปริมาณผู้เสพยาเสพติด โดยใช้วิธีชุมชนบำบัด
ซึ่งเป็นการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยเสพติดที่ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ
ทั้งนี้ ให้กำหนดเป็นตัวชี้วัด (KPI)
ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนและสามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการแผนงาน ประสานงาน ขับเคลื่อน
และติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในภาพรวม ทั้งนี้ มอบให้ พลตำรวจเอก
ชินภัทร สารสิน ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูการดำเนินการในภาพรวมของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดกฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวชายแดน | นร. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
ได้รับข้อร้องเรียนว่า
มีกลุ่มบุคคลได้กระทำความผิดกฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยการล่าและการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายในพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซียอยู่บ่อยครั้ง
ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
รวมทั้งป้องกันปัญหาการรุกล้ำเขตแดนของต่างประเทศ
จึงขอมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงกลาโหม
กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจเพื่อติดตาม ดูแล
และแก้ปัญหาการกระทำผิดกฎหมายดังกล่าวข้างต้นโดยด่วน ทั้งนี้
ให้บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของประเทศเพื่อนบ้านตามความจำเป็นและเหมาะสมด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การป้องกันและแก้ปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง พื้นที่การเกษตร หมอกควัน และฝุ่นควัน PM2.5 | นร. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
ตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้ว่า
รัฐบาลจะแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นวาระแห่งชาติ โดยเฉพาะเรื่องฝุ่นควัน PM2.5 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปีและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทุกคนด้วยการสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจทั้งทางบวกและทางลบในภาคเกษตรกรรม
รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว นั้น
จึงขอมอบให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีรับไปดำเนินการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน
โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานกรรมการ
และมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการให้ครบถ้วน
เพื่อเป็นกลไกเร่งรัดการจัดทำแผนและการดำเนินมาตรการเพื่อลดฝุ่นควัน PM2.5 ทั้งระบบ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ
ครอบคลุมทั้งการเผาในพื้นที่ป่า พื้นที่โล่ง และพื้นที่การเกษตร
รวมถึงการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ไขปัญหาหมอกควันดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ร่างแถลงการณ์แสดงเจตจำนงระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงการอุดมศึกษาและการวิจัยแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสว่าด้วยความร่วมมือด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | อว. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์แสดงเจตจำนงระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงการอุดมศึกษาและการวิจัยแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสว่าด้วยความร่วมมือด้านการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้ลงนามในร่างแถลงการณ์แสดงเจตจำนงฯ โดยร่างแถลงการณ์แสดงเจตจำนงฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบการดำเนินความร่วมมือด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานของทั้งสองประเทศบนพื้นฐานความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์แสดงเจตจำนงฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมความร่วมมือภายใต้ร่างแถลงการณ์เจตจำนงฯ ควรศึกษาข้อกฎหมายและกฎระเบียบที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันของสาธารณรัฐฝรั่งเศส
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อแนวทางการดำเนินงานร่วมกันทั้งในส่วนของการแบ่งผลประโยชน์และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
ซึ่งจะมีผลให้แถลงการณ์เจตจำนงฯ เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศอย่างเหมาะสม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (นายจิรุตม์ วิศาลจิตร) และอธิบดีกรมทางหลวง (นายสราวุธ ทรงศิวิไล) | คค. | 26/09/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ ๔ ปี ในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ ต่อไปอีก
๑ ปี (ครั้งที่ ๑) ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗ จำนวน ๒
ราย ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้ ๑. นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ๒. นายสราวุธ ทรงศิวิไล ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (1. นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | กค. | 13/09/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
จำนวน ๓ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๓ กันยายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. นายมานะศักดิ์
จันทร์ประสงค์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) ๒.
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ๓.
นายณัฏฐ์พัฒน์ รัฐไผท ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์
อมรวิวัฒน์)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. .... | นร.11 สศช | 18/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
(Strategic Environmental Assessment : SEA) ตามประเภทของแผน เช่น คมนาคม พลังงาน และอุตสาหกรรม โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างสมดุล และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศตามประเภทของแผนที่กำหนด ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
และความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่เห็นว่าการวางและจัดทำผังเมืองเป็นการดำเนินการภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติการผังเมือง
พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยมีกระบวนการจัดการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนที่เกี่ยวข้อง
และมีขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการผังเมืองที่ครอบคลุมและสอดคล้องกับการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ตามร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
พ.ศ. .... อยู่แล้ว ดังนั้น การกำหนดให้การวางแผนและจัดทำผังเมืองต้องได้รับการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ตามร่างระเบียบฉบับนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคและความล่าช้าในการขับเคลื่อนการวางผังเมือง
ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน เมือง จังหวัด รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมได้
ควรเพิ่มประเภทแผนที่ต้องจัดทำ SEA และควรระบุนิยามแต่ละประเภทของแผนที่เพื่อให้เกิดความชัดเจน
ควรพิจารณาความสัมพันธ์ของแผนที่เชื่อมโยงกับประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพที่อาจส่งผลได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่เห็นว่าการวางและจัดทำผังเมืองเป็นการดำเนินการภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติการผังเมือง
พ.ศ. ๒๕๖๒
โดยมีกระบวนการจัดการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนที่เกี่ยวข้อง
และมีขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการผังเมืองที่ครอบคลุมและสอดคล้องกับการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ตามร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
พ.ศ. .... อยู่แล้ว ดังนั้น การกำหนดให้การวางแผนและจัดทำผังเมืองต้องได้รับการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ตามร่างระเบียบฉบับนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคและความล่าช้าในการขับเคลื่อนการวางผังเมือง
ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน เมือง จังหวัด
รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมได้ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลโดยเคร่งครัด
ควรให้ความสำคัญในการกำหนดแนวทางการประเมินที่ชัดเจนครอบคลุมมิติด้านเศรษฐกิจ
สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสอดคล้องกับบริบทภารกิจระดับโลก ระดับประเทศ และระดับพื้นที่
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดทำประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับโครงการหน่วยงานของรัฐที่ต้องดำเนินการจัดทำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในส่วนที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพด้วย
เพื่อให้การดำเนินโครงการต่าง ๆ
ของหน่วยงานของรัฐเป็นไปอย่างถูกต้องและไม่เกิดความล่าช้า ๓. ให้สำนักงบประมาณรับความเห็นของกระทรวงพลังงาน ที่เห็นว่าสำนักงบประมาณต้องมีการจัดงบประมาณเพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่จะต้องดำเนินการ
SEA
สามารถดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การบรรจุผู้เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูงกลับเข้ารับราชการ (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) | นร.05 | 11/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง
การบรรจุผู้เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูงกลับเข้ารับราชการ
ราย นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล ซึ่งได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม
๒๕๖๖ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ขออนุมัติการลงนามใน Letter of application for cooperating status เพื่อเข้าร่วมเป็น Cooperating Non - Contracting Party (CNCP) กับคณะกรรมาธิการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิตทางทะเลของมหาสมุทรแอนตาร์กติก (CCAMLR) ของประเทศไทย | กษ. | 11/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้มีการลงนามใน
Letter of application for cooperating status เพื่อเข้าร่วมเป็น Cooperating Non-Contracting
Party (CNCP) กับคณะกรรมาธิการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิตทางทะเลของมหาสมุทรแอนตาร์กติก
(CCAMLR) ของประเทศไทย และอนุมัติในหลักการโดยก่อนที่จะมีการลงนาม
และให้อธิบดีกรมประมงหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเป็นผู้ลงนามใน Letter of application for cooperating status
โดยเอกสารการลงนามฯ เป็นเอกสารแสดงความจำนงเพื่อขอเป็นประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกแต่ให้ความร่วมมือต่อคณะกรรมาธิการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิตทางทะเลของมหาสมุทรแอนตาร์กติก
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยปฏิบัติตามการอนุรักษ์ ๑๐-๐๕
ที่เป็นมาตรการที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการป้องกันการทำประมงที่ผิดกฎหมาย
ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม สำหรับปลาหิมะโดยเฉพาะ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเอกสาร Letter of
application for cooperating status
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์โอกาสและสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบกิจการประมงจะได้รับจากการเข้าร่วมเป็น
CNCP
และการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดกฎระเบียบที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามมาตรการอนุรักษ์
๑๐-๐๕ อย่างต่อเนื่องให้กับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ และผู้ประกอบกิจการประมงที่มีการนำเข้าและส่งออกปลาหิมะให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | การถวายพระราชสมัญญา "พระอัครราชูปถัมภิกาการจดหมายเหตุไทย" แด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | วธ. | 06/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการถวายพระราชสมัญญา "พระอัครราชูปถัมภิกาการจดหมายเหตุไทย"
แด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
|